งานวิจัย


เมตาคอคนิซัน
ความเป็นมา
- เมตาคอคนิชันมีความสำคัญต่อกระบวนการคิดและความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหา และ การแก้ปัญหาคณิตศาสตร์เป็นการพัฒนาการคิดด้านนามธรรมหากเด็กได้รับการฝึกฝนการคิดแก้ปัญหาที่เหมาะสม สอดคล้องกับช่วงพัฒนาการของเขาแล้ว จะทำให้การเรียนรู้ในการแก้ปัญหาของเขาเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นไปตามพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์ โดยเฉพาะนักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์สูง จะเป็นผู้ที่มีความคิดสร้างสรรค์ จับประเด็นได้เร็ว มีความจำดีชอบแก้ไขปัญหาด้วยวิธีของตนเอง สนุกในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ สามารถโยงความสัมพันธ์ได้ดี มองเนื้อหาที่เป็นรูปธรรมได้ มีความสามารถในการแสดงออกเป็นผู้มีอิสระในการคิด และสามารถมองโลกเป็นแบบอย่างคณิตศาสตร์ได้ สมควรที่จะได้รับการส่งเสริมในด้านต่างๆให้สูงขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านที่เกี่ยวข้องกับความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาให้รวดเร็ว และมีกลวิธีมากขึ้นเพื่อให้ได้ทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพและสามารถช่วยพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้าต่อไป ตามแนวคิดเมตาคอคนิชันของ Beyer(1987) เพื่อให้นักเรียนได้ฝึกกระบวนการคิดและควบคุมการคิดของตนเองในการแก้โจทย์ปัญหา และเป็นพื้นฐานที่สำคัญในการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ในระดับสูงขึ้นไป
แนวคิดทฤษฎี
-
วัตถุประสงค์
- เพื่อพัฒนาความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์สูงโดยใช้เมตาคอคนิชัน
สมมุติฐานการวิจัย
- ค่าเฉลี่ยของคะแนนความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์สูง หลังการสอนแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์โดยใช้เมตาคอคนิชัน มีค่าสูงกว่าของคะแนนความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ก่อนได้รับการสอน
ระเบียบวิธีวิจัย
- การวิจัยเชิงทดลอง (Experimental Research)
ประชากร/กลุ่มตัวอย่าง
นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์สูง ของโรงเรียนอนุบาลสุพรรณบุรี ปีการศึกษา 2539 สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรีจำนวน 59 คน
ตัวแปร
-
นิยามศัพท์
-
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
- แบบสอบความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาซึ่งผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง
วิธีการรวบรวมข้อมูล
-
การวิเคราะห์ข้อมูล
- เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์หลังการสอนด้วยการทดสอบค่าสถิติ t-test และนำวิธีการที่ นักเรียนปฎิบัติในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์จัดหมวดหมู่และหาค่าร้อยละ
สรุปผลวิจัย
- ค่าเฉลี่ยของคะแนนความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์สูง หลังการสอนแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์โดยใช้เมตาคอคนิชัน มีค่าสูงกว่าค่าเฉลี่ยของคะแนนความสามรถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ก่อนได้รับการสอนอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ.05
ข้อเสนอแนะ
- 1. ผู้บริหารควรสนับสนุนการสอนแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ โดยใช้เมตาคอคนิชันและกลวิธีที่ใช้ในการแก้โจทย์ปัญหาต่างๆ ด้วยการจัดหาเอกสารที่เกี่ยวกับการสอนโดยใช้เมตาคอคนิชัน สนับสนุนด้านงบประมาณในการจัดหาและจัดทำสื่อการเรียนการสอนตามความเหมาะสม
2.
ครูผู้สอนนักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์สูง สามารถนำเมตาคอคนิชันไปใช้ในการพัฒนาความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ของนักเรียนโดยเน้นขั้นการวางแผน โดยเฉพาะการวิเคราะห์เป้าหมายของการแก้โจทย์ปัญหา การเรียงลำดับขั้นตอนตามกลวิธีที่เลือกไว้ และการประมาณคำตอบที่คาดว่าจะได้รับ ขั้นการประเมินโดยเฉพาะการตรวจสอบคำตอบที่ได้ เนื่องจากมีความสำคัญต่อความชำนาญในการแก้โจทย์ปัญหา
3.
ครูผู้สอนควรพัฒนาความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ของนักเรียนด้วยการสอนให้นักเรียนได้แก้โจทย์ปัญหาแปลกๆ ที่ไม่พบในหนังสือเรียน และกลวิธีแก้โจทย์ปัญหาต่างๆ โดยเฉพาะกลวิธีสร้างรายการ กลวิธีสร้างตาราง และกลวิธีค้นหารูปแบบ เพื่อให้นักเรียนสามารถแก้โจทย์ปัญหาได้อย่างหลากหลาย เลือกใช้กลวิธีแก้โจทย์ปัญหาให้เหมาะสมกับโจทย์ปัญหา ความสามารถและความถนัดของตนเองมากที่สุด
คำสำคัญ (Tags): #วิจัย
หมายเลขบันทึก: 34061เขียนเมื่อ 13 มิถุนายน 2006 23:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:08 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
ได้เลือกอ่านบทคัดย่อเกี่ยวกับงานวิจัยที่เกี่ยวกับการสอนวิชาคณิตศาสตร์ ทำให้ได้รู้รูปแบบและวิธีการสอนที่หลากหลายจากนักวิจัยหลายๆท่าน มีประโยชน์มากสามารถที่จะนำไปเป็นแนวทางในการเลือกทำวิทยานิพนธ์
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท