ล้อมวงสนทนากับปราชญ์ชาวบ้านจังหวัดพิจิตร


เกิดมาทั้งทีทำดีให้ได้ ตายไปเดี๋ยวไม่ได้ทำดี

ช่วงเย็นย่ำ คุณหมอสุรเดช เดชคุ้มวงศ์  เลขานุการมูลนิธิร่วมพัฒนาพิจิตร นัดหมายปราชญ์ชาวบ้าน ร่วมล้อมวงสนทนากันอีกครั้งหนึ่ง ครั้งนี้เกิดขึ้นที่ "บ้านลุงสมพงษ์ ธูปอ้น" ปราชญ์ชาวบ้านรุ่นที่ 1 ของจังหวัดพิจิตร  ผมเองก็ได้ร่วมด้วยทั้งที่เนื้อตัวมอมแมมเลยทีเดียว (กำลังทำบ้านดินกันอยู่) หมอสุรเดชให้ผมช่วยมาบันทึกครับ  ผู้เข้าร่วมพูดคุยมี 6 คน  คือ หมอสุรเดช, คุณแดง, ลุงณรงค์, ลุงจวน, ลุงสมพงษ์ และผม (เปีย)   มาที่สวนลุงสมพงษ์ทีไรก็มีอะไรใหม่ๆให้เห็นเป็นประจำและรู้สึกชื่นชอบกับสวนแห่งนี้มาก มีความร่มเย็น สบายสบาย คราวนี้มีเรือนหลังใหม่กลางบ่อน้ำ เป็นฝีมือของลุงสมพงษ์เอง โต๊ะ เก้าอี้ ที่ทำโดยตอไม้ น่ารักๆจริงเลย  คุณหมอสุรเดช เริ่มนำการพูดคุยเช่นเคย ส่วนผมก็จดบันทึก ภาพถ่ายไม่มีเพราะไม่ได้เตรียมกล้องมา ก็เลยว่ากันตามที่มีอยู่แล้วกัน

หมอสุรเดช >>> มีเรื่องเร่งด่วน ตอนนี้ผู้ว่าฯ สนใจเราให้ร่วมออกพื้นที่ อำเภอละ 1 หมู่ ตามแนวทางแก้ไขปัญหาความยากจน  ส่วนทางนายกฯอบจ. เร่งรัดให้ทำกิจกรรมได้แล้วหลังจากอนุมัติเงินมาแล้ว จนบัดนี้ยังไม่ทำอะไรเลย คาดว่าจะนำมาทำการสำรวจภูมิปัญญา เพราะทางการเมืองกำลังรีบหาเสียงเพื่อเตรียมตัวเลือกตั้งใหม่   หลักๆแล้วประเด็นโดยรวมๆ ตอนนี้ชีวิตความเป็นอยู่ของแกนนำเป็นอย่างไร? ซึ่งจะเห็นได้ว่าคนใกล้ชิด ชีวิตดีขึ้น สามารถก้าวมาเป็นผู้นำได้ องค์ความรู้มีเยอะแต่ยังขาดการจัดการ คือตอนนี้ทางการสนใจเราเพราะเค้าเจอทางตันในการทำงาน เช่น เกษตรฯ อบต.   สิ่งที่เราทำมาเริ่มได้รับการยอมรับ ทีนี้ช่วงระหว่างเดือน พ.ค.- มิ.ย. เราจะเจรจาผู้สนับสนุนหลายๆฝ่าย ให้ได้ข้อยุติ เท่าที่มองเราอยากจะเห็นอะไรเกิดภาพชัดๆลุงจวน >>> เราต้องไปให้ความรู้เค้าก่อน ตรงไหนที่เราจะไปช่วยเค้าได้แนวคิดการทำเกษตรพอเพียงนั้นเริ่มต้นจากตรงไหนก่อนหมอสุรเดช >>> อยากจะเห็นครอบครัวเป็นอย่างไร?ลุงสมพงษ์ >>> เราต้องทำเองก่อนให้เห็นผล ครอบครัวมีสุขไม่เดือดร้อน มีสิ่งแวดล้อมที่ปรารถนา หมอสุรเดช >>> ทีนี้คำถามคือว่า มีเกษตรกรอย่างลุงสมพงษ์กี่คน?ลุงสมพงษ์ >>> ไม่มีเลยหมอสุรเดช >>> สิ่งที่ลุงสมพงษ์มีแล้วคนอื่นไม่มีลุงสมพงษ์ >>> ชีวิตความเป็นอยู่ของคนสมัยนี้ สบายเกินไป มีโทรศัพท์ มีอะไรต่อมิอะไรมากมายขาดความพอเพียงหมอสุรเดช >>> ลุงสมพงษ์พึ่งตนเองได้ มีอยู่มีกิน เผื่อแผ่ มีน้ำใจ แบ่งปันลุงสมพงษ์ >>> คือตนเองมีประสบการณ์ความทุกข์มาเยอะ เป็นหนี้ ลูกหนี ตอนนี้ไม่เป็นอย่างนั้นแล้ว หมอสุรเดช >>> เป้าหมายของลุงสมพงษ์คือครอบครัวมีความสุข ไม่มีหนี้ลุงสมพงษ์ >>> ทำสวนมา 18 ปี คนทั่วไปตอนนี้มองว่าต้องรอให้อายุ 50 ปีขึ้นไปก่อนถึงจะสนใจทำ เพราะเห็นแล้วมีความสุขหลายอย่าง หมอสุรเดช >>> อยากให้ลุงณรงค์เล่าให้ฟังบ้าง ว่าหลังจากไปร่วมงานกับทางพัฒนาชุมชน ในการแก้ไขปัญหาความยากจนเป็นอย่างไรบ้าง?ลุงณรงค์ >>> ส่วนใหญ่เป้าหมายมักจะเป็นผู้สูงอายุ หรือเป็นตัวแทนที่สนใจจริงตั้งใจปลดหนี้ของตัวเองก็จะได้ประโยชน์มากหมอสุรเดช >>> ลุงณรงค์ไปสร้างแกนนำอย่างคุณชิต ลุงยะ ลุงสืบ ไปสร้างกลุ่มต่อเป็นอย่างไรบ้าง?ลุงณรงค์ >>>  ตอนนี้คุณชิต มีทาง กศน. เชิญไปเป็นวิทยากรแก้จน แล้วให้ผมเข้าไปเสริม เค้าพร้อมทางครอบครัว สามารถขยายกลุ่มไปถึงกิ่งอ.ดงเจริญ เค้าเรียนรู้แล้วทำเลย ทำจริง หมอสุรเดช >>> กศน.  พัฒนาชุมชน ไปช่วยแก้ปัญหาความยากจน แล้วคิดว่ามีประโยชน์ แต่กลุ่มแกนนำเรามีอำเภอละ 3 คนเป็นทีมงาน ลุงจวน >>> ที่บ้านทุ่งทอง มี 3 4 คน แต่ก็ไม่ได้เริ่มอะไรชัดเจนนัก มีอยู่แต่เค้าออกนอกพื้นที่ได้ไม่ ไม่มีเวลา หมอสุรเดช >>> คนส่วนใหญ่ที่มาดูงาน เป็นคนต่างพื้นที่ แต่คนใกล้ๆในพื้นที่ไม่เชื่อลุงจวน >>> ทั้งๆที่เราให้ความรู้ มีแหล่งเรียนรู้ให้เห็นในพื้นที่ มีกลุ่มออมทรัพย์ ก็ยังไม่สนใจเท่าไรหมอสุรเดช >>> ทำอย่างไรให้มีแกนนำแถวสองขึ้นมาได้? ลุงณรงค์ >>> คุณชิต เป็นคนมีศีลธรรมสามารถขึ้นมาทดแทนได้ลุงจวน >>> หนึ่งต้องศรัทธา มีความดีลุงณรงค์ >>> เป็นการร่วมกันแก้ ช่วยกันตอบคุณสุรเดช >>> ที่เคยคุยกับลุงอิน ลุงบญมา ได้สร้างกำลังใจในการทำความดีต่อไป สำหรับประเด็นต่างๆที่ได้มีการสนทนาพูดคุย แยกเป็นแต่ละประเด็นคือ การขับเคลื่อนกระบวนการถ่ายทอดความรู้สร้างผู้นำ คือ-          แบ่งบทบาทหน้าที่ ช่วยเสริม ตามประเด็น 7 cop เพราะบางคนรู้ลึกเฉพาะเรื่องแตกต่างกัน ซึ่งมีอยู่ทุกพื้นที่ เห็นได้จากเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ -          การบริหารจัดการ/ ค่าใช้จ่าย จะต้องไม่เดือดร้อน เหตุผลที่ทางหน่วยงานภาครัฐเชิญไปเป็นวิทยากร (ตัวชี้วัดผู้นำ)-          เป็นเกษตรกรก้าวหน้าดีเด่น จากการได้มีโอกาสได้นำเสนอความดีเด่นที่ตนเองทำอยู่-          เป็นคนมีศีลธรรม มีน้ำใจ แก้จนได้  กิจกรรมอะไรที่เสริมแรงได้เยอะ?-          เข้าวัดฟังธรรมะ มีความสุข เกิดความอยากให้ ความรู้,แก้จน,ขั้นตอนการผลิต ซึ่งเหมาะสำหรับผู้นำเบอร์ 5 ช่วยลดบางอย่าง ลดความอยากได้  พัฒนาชีวิตให้ดีขึ้น (พัฒนาด้านจิตใจ)-          ไปถ่ายทอดความรู้ให้กับสมาชิกทั้งในพื้นที่และนอกพื้นที่ด้วยกัน-          ปฏิบัติตนให้เป็นตัวอย่าง วิสาหกิจชุมชน (ทางออกพึ่งตนเองได้ เพื่ออยู่รอด) จะต้องมีอะไรบ้าง?-          สินค้า เช่น กากน้ำตาล, พันธุ์ข้าว, ผัก-          ทีมงาน ลุงจวน, ลุงณรงค์, วิสันต์, ลุงอิน, ลุงบุญมา การรวมกลุ่ม Cop มีประโยชน์อย่างไรบ้าง?-          เกิดการแบ่งบทบาทหน้าที่รับผิดชอบเต็มกำลังกับหน้าที่มีความชัดเจน-          มีการจดบันทึกองค์ความรู้ เผยแพร่ได้ พัฒนาได้ชัดขึ้น ข้อควรระวังของผู้นำ-          เงินตรา-          นารี

-          ชื่อเสียง (อย่าหลง)

หลังจากสนทนาพูดคุยเสร็จ ลุงสมพงษ์ ได้ชวนทานอาหารเย็น

ร่วมกัน จากฝีมือแฟนลุงสมพงษ์เอง  อร่อยจริงๆ เพราะเป็น

อาหารประเภทปลาทั้งนั้น ของชอบๆครับ อิ่มหนำสำราญแล้วก็

เดินทางกลับบ้านกัน ***ขอบอกนะครับ เก้าอี้ตอไม้ลุงสมพงษ์

ผมง่ะชอบใจจริงๆ เลย อยากเห็นเชิญเข้าไปเยี่ยมเยียน

ลุงสมพงษ์ ได้นะครับ ที่ ต.ทับหมัน อ.ตะพานหิน จ.พิจิตร

หมายเลขบันทึก: 34023เขียนเมื่อ 13 มิถุนายน 2006 17:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 20:15 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท