ความคิดสร้างสรรค์


บทบาทของครูผู้สอนในการส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์

นำเสนอความคิดสร้างสรรค์ ท่านอาจารย์ ผศ.ดร.ศุภวรรณ์  เล็กวิไล รายวิชากระบวนการคิด 

       จากการนำเสนอเรื่องความคิดสร้างสรรค์สะท้อนเห็นสิ่งต่างๆ ของความคิดของแต่ละคน ซึ่งมุมมองการคิดของสมองแต่ละคนนี่ช่างมีความคิดที่ไม่มีขีดจำกัดจริงๆ  

สมองซีกซ้าย และซีกขวา 

      ความคิดสร้างสรรค์ คือ กระบวนการคิดของสมองซึ่งมีความสามารถในการคิดได้หลากหลายและแปลกใหม่จากเดิม โดยสามารถนำไปประยุกต์ทฤษฎี หรือหลักการได้อย่างรอบคอบและมีความถูกต้อง จนนำไปสู่การคิดค้นและสร้างสิ่งประดิษฐ์ที่แปลกใหม่หรือรูปแบบความคิดใหม่

      นอกจากลักษณะการคิดสร้างสรรค์ดังกล่าวนี้แล้ว ยังมีสามารถมองความคิดสร้างสรรค์ในหลาย ซึ่งอาจจะมองในแง่ที่เป็นกระบวนการคิดมากกว่าเนื้อหาการคิด โดยที่สามารถใช้ลักษณะการคิดสร้างสรรค์ในมิติที่กว้างขึ้น เช่นการมีความคิดสร้างสรรค์ในการทำงาน การเรียน หรือกิจกรรมที่ต้องอาศัยความคิดสร้างสรรค์ด้วย อย่างเช่น การทดลองทางวิทยาศาสตร์  หรือการเล่นกีฬาที่ต้องสร้างสรรค์รูปแบบเกมให้หลากหลายไม่ซ้ำแบบเดิม เพื่อไม่ให้คู่ต่อสู่รู้ทัน เป็นต้น

ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าเป็นลักษณะการคิดสร้างสรรค์ในเชิงวิชาการ แต่อย่างไรก็ตาม ลักษณะการคิดสร้างสรรค์ต่างๆ โดยที่บุคคลสามารถเชื่อมโยงนำไปใชในชีวิตประจำวันได้ดี 

บทบาทของครูผู้สอนในการส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ 

           ควร  จัดบรรยากาศเอื้อต่อการคิดสร้างสรรค์ ไม่เน้นระเบียบแบบแผน ยืดหยุดด้านเวลา ส่งเสริมให้เด็กใช้ความคิดโดยตั้งคำถามแปลกๆ สนใจและเคารพในความคิดของผู้เรียน  จัดกิจกรรมหลากหลาย ชักชวนให้ผู้เรียนตะหนักว่า ทุกคำตอบไม่จำเป็นต้องถูกต้องเพียงคำตอบเดียว ไม่ยึดติดกับตัวอย่างที่ดีที่สุด ให้อิสระการเลือกทำกิจกรรม ส่งเสริมคิดแบบเอกนัย (คิดริเริ่ม  คิดคล่องแคล่ว คิดยืดหยุ่น คิดละเอียดลออ) สร้างความสนใจแก่ผู้เรียน ให้ความสำคัญกับความคิดใหม่ๆ

     

การเรียนรู้โดยการเรียนการสอนที่เปิดสมอง หรือการเรียนรู้ด้วยความคิดเด็ก ทำให้เด็กอยากเรียนรู้ และทำกิจกรรมดังกล่าวได้ดีกว่าการสอนในกรอบ หรือตามกิจกรรมที่ออกคำสั่ง

            

 อุปสรรค์ของความคิดสร้างสรรค์ 

             สืบเนื่องมาจากหลายปัจจัย นับตั้งแต่การเลี้ยงดูของบิดา มารดา ที่อาจไม่ก่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ วัฒนธรรม ประเพณี และค่านิยมที่สืบต่อกันมา ทำให้เด็กไม่ชอบซักถาม การทำตามกันมา คิดว่าทุกสิ่งทุกอย่างมีคำตอบเดียว ทำตามความเคยชิน ไม่สนสิ่งที่ท้าทาย ด่วนสรุปความคิดเร็วเกินไป กลัวเป็นคนประหลาดไม่เหมือนผู้อื่น มีอคติ ยึดมั่นความคิดเดิม ไม่ยอมรับความคิดเห็นใหม่ๆ เฉื่อยชา เกียจคร้าน

 สรุปจาการนำเสนอ

      จากการนำเสนอ ได้ตระหนักถึงบทบาทของครูผู้สอนถือว่าเป็นผู้ที่ต้องส่งเสริมให้เด็กกล้าที่จะนำเสนอแนวคิด เสนอความคิดที่แปลกใหม่ โดยครูผู้สอนไม่ตีกรอบ หรือยึดมั่นในความคิดของครูเองทั้งหมด ควรเปิดโอกาสให้เด็กได้นำเสนอความคิด ที่เด็กคิดเอง ซึ่งจะทำให้เด็กเกิดจินตนาการ เกิดความกล้าที่จะนำความริเริ่มที่สร้างสรรค์ของตนเอง

      ปัจจุบันจะเห็นได้ว่าเด็กกล้าที่จะนำเสนอความคิด กล้าที่จะแสดงออกมากขึ้น ซึ่งแตกต่างจากเด็กรุ่นหลังเนื่องจาก ถูกตีกรอบความคิดโดยต้องทำตามคำสั่ง

หมายเลขบันทึก: 340219เขียนเมื่อ 26 กุมภาพันธ์ 2010 22:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ความคิด สร้างสรรค์ มัก สรรสร้าง สิ่งมหัศจรรย์อยู่เสมอค่ะ

ขอบคุณแนวคิดดีดีค่ะ

สวัสดีค่ะ P hanako

- ยินดีที่ได้รู้จักนะค่ะ ว่างๆ แวะมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันนะค่ะ

 

เรียกผมว่า เน ก็ได้นะครับยินดีที่ได้รู้จัก

อยู่เชียงใหม่ครับ เป็นครูสอน คอมฯที่โงเรียนสารสาสน์วิเทศเชียงใหม่ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท