ระบบห้องสมุดอัติโนมัติในฝัน กับความเป็นไท


ระบบห้องสมุดอัติโนมัติ ความเป็นไท
"เมื่อไหร่เราจึงจะเป็นไท" จากเมืองขึ้นฝรั่งเสียที สมัยก่อนฝรั่งต้องการล่าเมืองขึ้นกองยกกองกำลังเรือรบเข้ามาปิดล้อมใช้กำลังเข้าต่อสู้กับเมืองที่ต้องการล่าอณานิคม และเมื่อประเทศใดที่ตกเป็นเมืองขึ้นก็ต้องส่งส่วยไปให้ แต่เดี๋ยวนี้ฝรั่งยุคใหม่ไม่ต้องใช้กำลังในการล่าอนานิคมเหมือนกับในยุคโบราณ แล้วแต่ใช้ปัญญาและมันสมองที่เหนือกว่าคิดสินค้า และเทคโนโลยีเข้ามาขายให้กับประเทศที่ด้อยพัฒนากว่า ตัวอย่างเช่น โปรแกรมระบบห้องสมุดอัติโนมัติ ซึ่งปัจจุบันนี้มีมหาวิทยาลัยในประเทศไทย กว่า 150 แห่งเลือกใช้ โดยมี 24 มหาวิทยาลัยของรัฐดั้งเดิมใช้งานอยู่ พบว่าระบบห้องสมุดอัติโนมัติส่วนใหญ่เป็นซอฟต์แวร์ที่นำเข้าจากต่างประเทศ ตั้งแต่ระบบ Innopact ระบบ ซึ่งพบว่างบประมาณในการจัดหาระบบห้องสมุดอัติโนมัติดังกล่าวแต่ละระบบ ใช้งบประมาณเริ่มต้นไม่น้อยกว่า 2- 5 ล้านบาทในระยบะเริ่มต้น และแต่ละสถาบันก็ต้องจ่ายค่าปรับปรุงแก้ไขระบบรายปี อีกปีหนึ่งเกือบล้านบาท หรือบางแห่งก็มากกว่าล้าน เมื่อรวมๆกันหลายมหาวิทยาลัย พบว่าเราต้องส่งส่วยไปให้กับฝรั่งเจ้าของเทคโนโลยีไม่น้อยกว่าปีละ 50 ล้านบาท และเมื่อใช้ระบบดังกล่าวไปแล้วฝรั่งเจ้าความคิดก็พัฒนา ปรับปรุงระบบใหม่ๆ เข้ามาให้อัพเดต แต่การอัพเดตดังกล่าวก็ไม่ใช่ว่าจะได้มาฟรีๆ ต้องจ่ายเงินอีก อย่างเช่นของห้องสมุดมหาวิทยาลัยของเราก็ต้องจ่ายค่าปรับปรุงระบบ ประมาณ 3 ล้านกว่าบาท ซึ่งในปัจจุบันมีมหาวิทยาลัยหลายมหาวิทยาลัยที่กล้าประกาศตัวหลุดจากการเป็นเมืองขึ้นของฝรั่ง ประกาศความเป็นไทย เช่น มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ที่ พัฒนาระบบสารสนเทศ และระบบคอมพิวเตอร์ต่างๆ ขึ้นใช้เองโดยลงทุนกับการพัฒนาบุคลากรทางคอมพิวเตอร์ และพัฒนาระบบห้องสมุดอัติโนมัติขึ้นมาก (ต้องขอปรบมือให้) โดยมีโมดูลต่างๆ เหมือนกับระบบห้องสมุดอัติโนมัติของต่างประเทศ ซึ่งวันนี้ สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา ก็มีนโยบายเอาด้วยกับแนวคิดดังกล่าวที่จะไม่ต้องส่งส่วยไปเมืองนอก โดยการเชิญชวน มหาวิทยาลัยต่างๆ ให้หันมาใช้ระบบห้องสมุดอัติโนมัติที่คนไทยทำขึ้นเองกัน ซึ่งผมเห็นด้วยกับแนวทางดังกล่าวและคิดว่ามหาวิทยาลัยนเรศวรก็ควรจะเฟดตัวจากระบบเดิมและหันมาใช้ระบบห้องสมุดอัติโนมัติของไทยกันเสียที
หมายเลขบันทึก: 3402เขียนเมื่อ 3 กันยายน 2005 14:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 13:57 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ห้องสมุดได้คนรุ่นใหม่ไฟแรง  ไม่นานเกินรอ ห้องสมุด มน.ต้องเปลี่ยนโฉมใหม่แน่นอน  ดิฉันจะคอยเป็นกำลังใจให้  

เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาดิฉันได้ไปดูงานห้องสมุดมารวยของ ตลท.เขาใช้เนื้อที่ไม่มากให้บริการได้ดีเยี่ยม เหมือนกับห้องสมุดในห้างสรรพสินค้า มีทั้งการให้บริการยืมหนังสือ  ขายหนังสือ ขายกาแฟ&ขนม สิ่งที่น่าประทับใจคือความชาญฉลาดในการบริหารจัดการ และการนำผลการวิจัยการตลาดมาจัดสร้างห้องสมุด

ถูกใจกับบทความมากครับ ผมก็ชื่อหนึ่งเหมือนกันและตอนนี้กำลังเขียน Proposal เพื่อเสนองานวิจัยชิ้นนึงที่มีจุดมุ่หมายคล้ายกันกับ อ.หนึ่ง นั่นก็คือ ทำไมต้องซื้อ ต้องจ้าง ต้องทำใหม่ (เอง) ในการให้ได้มาซึ่งระบบห้องสมุดอัตโนมัติดี ๆ เพื่อใช้งาน ทั้งที่ปัจจุบันมี OSS ด้านนี้ที่มีประสิทธิภาพเกลื่อนเมือง เช่น Koha, OpenBiblio

พูดคุยกันได้ครับ

เอไอทีก็เริ่มใช้ koha ซึ่งเป็น OSS-ILS แล้วค่ะ สามารถเข้าไปดูได้ที่ http://opac.lib.som.ait.ac.th/ (search เป็นภาษาอังกฤษนะคะ เพราะมีแต่หนังสือภาษาอังกฤษ) หรือจะเข้าไปดูระบบที่ทำให้ทางมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เข้ามาศึกษาและทดลองเล่นได้ที่ http://opac.tu.test.knows.in.th (อันนี้มีหนังสือทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ)

หากมีหน่วยงานใดสนใจนำไปใช้ ติดต่อมาได้นะคะ เพราะว่าทางเราทำแล้ว ก็อยากจะแชร์กันใช้ค่ะหรือมาร่วมกันพัฒนาเพิ่มเติมก็ได้นะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท