เด็กเร่ร่อน : เกมจับผิดระหว่างรัฐและเอกชน


ปัญหาเด็กเร่ร่อนจริง ๆ แล้ว ไม่ใช่เพิ่งจะเริ่มมีในสังคมไทยแต่ เรื่องราวของเด็กที่หนีออกจากบ้านแล้ว เร่ร่อนอยู่ตามที่สาธารณะมีมานานจนในช่วงแรก ๆ เป็นภาพที่เจนสายตาคนทั่วไปด้วยซ้ำไป และเมื่อมีคนเริ่มให้ความสำคัญ ให้ความสนใจเรื่องของเด็กเร่ร่อนขึ้นมา

 

ปัญหาเด็กเร่ร่อนจริง ๆ แล้ว ไม่ใช่เพิ่งจะเริ่มมีในสังคมไทยแต่ เรื่องราวของเด็กที่หนีออกจากบ้านแล้ว เร่ร่อนอยู่ตามที่สาธารณะมีมานานจนในช่วงแรก ๆ เป็นภาพที่เจนสายตาคนทั่วไปด้วยซ้ำไป และเมื่อมีคนเริ่มให้ความสำคัญ ให้ความสนใจเรื่องของเด็กเร่ร่อนขึ้นมา สังคมก็เริ่มมีคนที่ก้าวเข้ามาทำงานเรื่องนี้ และเมื่อพูดถึงเรื่องของเด็กเร่ร่อนภาพแรกที่ฉายออกมาถึงคนทำงานในเรื่องนี้ จะเห็นภาพ  สองภาพ ที่แจ่มชัดที่สุดคือ กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ(กรมประชาสงเคราะห์เดิม) ที่ทำงานในฝ่ายภาครัฐ และ มูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก ของ ท่านวุฒิสมาชิก นายวัลลภ ตังคณานุรักษ์ หรือครูหยุย ในฝ่ายภาคเอกชน

การทำงานในช่วงแรก ๆ แน่นอนที่สุด ต่างฝ่ายต่างก็ทำงานกันไปตามแนวคิด อุดมคติความเชื่อของตนเองที่ต่างฝ่ายต่างทำงานกันโดยตลอด มีการประสานงานกันเป็นระยะ ๆ เพื่อหาทางออกที่เหมาะสมที่สุดกับการแก้ไขปัญหา แต่ก็ยังไม่มีการร่วมไม้ร่วมมือกันอย่างเป็นทางการอะไร ออกจะเป็นการทำงานในรูปแบบขับเคี่ยวกันด้วยซ้ำไป ต่อมาจึงเริ่มมีการนำแนวคิดการทำงานในรูปแบบของเครือข่ายเข้ามาใช้ในการทำงานแก้ไขปัญหาเด็กเร่ร่อนเพิ่มมากขึ้น

                ในฝ่ายภาคเอกชนเองก็ มีเครือข่ายที่ตั้งขึ้น เพื่อทำงานประสานงานการทำงานในเรื่องนี้อย่างเป็นรูปธรรมในนาม เครือข่ายคนทำงานด้านเด็กเร่ร่อน ที่มีหน่วยงานทั้งภาครับและเอกชนเข้ามาเป็นสมาชิก เกือบจะทุกองค์กรที่ทำงานด้านนี้  ในฝ่ายภาครัฐเองก็มีความพยายามจัดตั้งคณะทำงานด้านนี้เพื่อทำงานประสานงานกันเช่นกัน แต่จะด้วยปัญหาอุปสรรคใดไม่ทราบได้ ข้อมูลที่เกี่ยวกับเด็กเร่ร่อนทุกวันนี้ก็ยังสับสนคลาดเคลื่อนไม่ตรงกันอยู่ดี จนบางครั้งมีการนำเสนอข้อมูลผ่านสื่อที่ก่อให้เกิดความขัดแย้งกันบ้างก็มี ในบางครั้งเอง ก็มีการออกมา ต่อสู้กันในเรื่องข้อตัวเลขและข้อมูลเกี่ยวกับเด็กเร่ร่อน ที่ต่างฝ่ายต่างก็เจตนาดีต้องการให้สังคมรับทราบข้อมูลที่ถูกต้องและชัดเจนที่สุด ซึ่ง เมื่อมีการนำเสนอข้อมูลที่ต่างกันออกมา แน่นอนที่สุด ต้องมีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีข้อมูลที่ไม่ตรงกับความเป็นจริง หรือไม่ก็ ไม่มีของใครเป็นข้อมูลที่นำเสนอข้อเท็จจริงเลย สิ่งที่น่าจะทำมากที่สุดน่าจะเป็นการประสานงานในเชิงข้อมูลที่เป็นจริง แลกเปลี่ยนกันแบบไม่ต้องหมกเม็ด ไม่ต้องกลัวว่าใครจะได้หน้า หรือได้ผลงานไปทำ เพราะ หากผลออกมาดีและสามารถแก้ไขปัญหาเด็กเร่ร่อนได้บ้าง ก็เท่ากับว่า ผลที่ได้คุ้มค่ามากเลยทีเดียว

                ถึงยุคนี้การเล่นเกมจับผิดกันและกันน่าจะหมดไปได้แล้ว และมุ่งหน้าร่วมไม้ร่วมมือกันทำงานเพื่อแก้ไข หรือลดความรุนแรงของปัญหาลง อย่างน้อยก็เพื่อเพิ่ม กำลังสำคัญของชาติในการพัฒนาเพื่อนำไปสู่ความร่มเย็นอย่างยั่งยืนในกลุ่มคน ประชาชนทุกหมู่เหล่าทุกชนชั้น เพราะเด็กเร่ร่อนเองก็มีสิทธิ์และศักดิ์ศรีในความเป็นมนุษย์เท่าเทียมกันกับเด็กที่มีครอบครัวเช่นกัน
หมายเลขบันทึก: 33917เขียนเมื่อ 13 มิถุนายน 2006 11:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 มิถุนายน 2012 20:35 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท