การตัดสินใจเลือกเทคโนโลยีกับการเผยแพร่ข้อมูล .. มองจากข้อคิดเห็นของคุณ วิชิต ชาวะหา


จากบันทึก "มองงาน Open Mind Open Blog 5 มิ.ย.49 กับความรู้ที่ถูกบล็อกเอาไว้ "
http://gotoknow.org/blog/bonlight/33434

ที่คุณวิชิตฝากข้อคิดเห็นไว้ว่า...
ใจเย็นครับท่าน ว่าที่มหาบัณฑิต
พอสรุปได้ ตามนี้ครับ
ตลอดการ อบรมฯ ความรู้ที่ท่านถามถึงไม่ได้หายไปไหน ดอกหรอกครับท่าน ได้ถูก Capture ไว้ในดิจิตอลเรียบ ร้อยแล้วแต่กระบวนการด้าน Production ท่านคิดว่าง่ายหรือไม่ ผนวกกับอีกอย่างภาระกิจประจำและพิเศษต่างๆ ก็รุมคนทำงานจนหายใจหายคอไม่ทัน คงจะรีบสรุปไปหน่อยกระมังท่าน


ในยุคที่ข้อมูลสารสนเทศหลากหลาย ที่ผ่านตัวเราในแต่ละวัน แต่ละคนจึงต้องการรับรู้ข้อมูลที่มาทันกับเวลา เพราะหากเวลาล่วงเลยไป ก็จะมีข้อมูลใหม่ ความรับผิดชอบใหม่ๆ ผ่านเข้ามา

จากข้อคิดที่คุณวิชิตทิ้งไว้ กับการมีโอกาสได้สัมผัสกับเทคโนโลยีต่างๆ ที่ศูนย์พัฒนาทรัพยากรการศึกษา มมส. ได้ผลิตออกมา

ยิ่งรู้มาก มีโอกาสใช้เทคโนโลยีหลากหลาย ย่อมจะมีมาตรฐานในการนำเสนอข้อมูลที่ดีที่สุด สมบูรณ์ที่สุด

ซึ่งย่อมต้องใช้เวลาในการจัดทำอยู่ พอสมควร

นายบอนประทับใจกับ VOD ที่ปรากฏใน MSU Cyber class  ในช่วงที่ชาว ส.ม.1 มมส. เรียน Course work ในเทอมแรก ....

หากจำไม่ผิด ก็คงจะเป็นคุณวิชิตท่านนี้กระมัง ที่กรุณาเป็นวิทยากรไปแนะนำเรื่อง Cyber Class ให้นิสิตใหม่ฟังกัน

(เวลาผ่านไป ใครเลยจะนึกว่า คนที่ฟังบรรยายในวันนั้น จะมาเขียนบล็อกฝากรอยจารึกย้อนหลังเข้าให้)

ในการเรียนแต่ละวิชา มีการบันทึกเป็นวิดีโอเอาไว้ เอากล้องวิดีโอไปตั้งตรงกลางห้อง แล้วก็ถ่ายไปตลอด อาจารย์ก็บอกว่า หากฟังบรรยายไม่ทัน เรามี VOD ให้นิสิตกลับไปเปิดทบทวนได้ตลอดเวลา

ใกล้จะสอบ  VOD ยังไม่เสร็จ นิสิต ส.ม.1 หลายคน หวาดหวั่น เพราะไม่รู้จะเอาอะไรไปสอบ อาจารย์ท่านหนึ่งแจ้งว่า สามารถเปิดทบทวนบทเรียนได้ในแบบ ออนไลน์ และมี CD-ROM ไว้ด้วย

หลายคนจึงตั้งความหวังไว้ที่ CD-ROM เพราะช่วงเวลานั้น หลายคนไม่ค่อยได้ใช้ internet เลย

ใกล้จะสอบเข้ามาทุกขณะ Cyberclass มีข้อมูลรายวิชาต่างๆ แต่โห.. เปิดดู VOD ไม่ได้ ใช้ไม่เป็น

มีเพื่อนคนหนึ่ง สละเวลาไปตามไฟล์ข้อมูล เอามา write CD แจกจ่ายเพื่อนๆ  ในตอนนั้น ได้มาแค่วิชาแรก

เหลืออีก 2 วิชา กว่า 60 ชั่วโมง นายบอนจึงหาเวลาว่าง มาให้นักวิชาการคอมพิวเตอร์save file แล้ว write ลง CD ให้ ได้ CD มาถึง 12 แผ่น

เอามานั่งเปิดดู เยี่ยมจริงๆ ชัดทั้งภาพและเสียง เลย write ให้เพื่อนไป และเอาไป copy ลงในคอมพิวเตอร์ของเพื่อนๆ   เมื่อแต่ละคนมีไฟล์วิดีโอแล้ว ก็อุ่นใจ

พอวันสอบ ถามแต่ละคน โอ๊ย ไม่ได้เปิดดูกันเลย ไม่มีเวลา เปิดฟังอยู่แป๊บนึง ก็ติดธุระ ไม่ได้ฟังต่ออีกเลย

ทีม CARD เสียเวลาทำตั้งนาน สรุปแล้ว นิสิต ส.ม.1 มมส ดูกันไม่กี่คน แถมยังดูกันแค่คนละนิดละหน่อย

นายบอนเองก็ไม่ค่อยจะได้ดูเหมือนกัน ไม่รู้จะหาเวลาดูตอนไหน

สำหรับนิสิตภาคพิเศษ ดูเหมือนจะเข้าไม่ถึงทรัพยากรการศึกษาที่ทาง CARD ผลิตขึ้นมาอย่างยากลำบาก แต่ถ้าเป็นนิสิตภาคปกติ ย่อมจะมีโอกาสใช้ทรัพยากรเหล่านี้ได้อย่างเต็มที่


* * หากสามารถจัดทำสารสนเทศ ได้ทันตามความต้องการ ผู้ใช้ย่อมจะมีโอกาสใช้ประโยชน์ได้คุ้มค่า

ฝากรอยจารึกย้อนหลังให้คุณวิชิตแล้ว ก็มาถึงข้อคิดเห็นของคุณวิชิตข้างต้น

สำหรับการบันทึกข้อมูลในการพบปะกับท่าน อ.Beeman นั้น หากทางคุณวิชิตจัดทำ VOD ออกมา ย่อมจะเป็นประโยชน์อย่างมาก หากทำได้ทันเวลา คือหลังจากกิจกรรมนั้นผ่านไปในเวลาไม่นานนัก

หากนานเกินไป ย่อมจะมีงานที่จะต้องรับผิดชอบชิ้นใหม่ผ่านเข้ามา คุณวิชิตย่อมต้องเลือกทำชิ้นงานที่มีความสำคัญมากกว่า

แต่กิจกรรมเล็กๆ Open mind Open blog ถ้านำเสนอข้อมูลออกมาได้ ยิ่งเป็นประโยชน์

สิ่งที่ต้องการรับรู้คือ ข้อมูลที่ได้ในวันนั้น

ได้รู้ดีกว่า ไม่รู้เลย

หากนายบอนจะต้องนำข้อมูลในวันที่ 5 มิ.ย. มานำเสนอ  คงจะทำแบบง่ายๆ ให้เสร็จในวันนั้นเลย

1. เอา MP3Player ที่อัดเสียงได้ มาบันทึกเสียงซะเลย
2. แล้วถ่ายรูปไว้ด้วย
3. พอเสร็จกิจกรรมตอนเที่ยง จัดการ save เป็นไฟล์  mp3
4. เอา mp3player ไปเสียบช่อง USB  ส่งไฟล์ (FTP) สู่ internet เ
5. เขียนบันทึกแจ้งในเวบ เชิญท่านติดตามฟังการบรรยายจากกิจกรรมวันที่ 5 มิ.ย. โดยคลิกดาวน์โหลดไฟล์mp3 ไปฟังได้ตอนนี้เลย
6. กดบันทึกใน gotoknow
7. เรียบร้อยครับ ไปทานข้าวให้สบายใจ  บ่ายโมงของวันนั้น ก็ไปทำอย่างอื่นต่อไป....

ไม่มีงานค้าง
แม้จะไม่สมบูรณ์แบบอย่างที่คุณวิชิตตั้งใจจะทำ แต่วิธีการแบบง่ายๆ สบายๆ คงจะทำให้ผู้ที่สนใจ ติดตามฟังเนื้อหาในเวลานั้นได้ หลังจากกิจกรรมนั่นเสร็จสิ้นลงไปภายในเวลาไม่กี่นาที !!!!

หมายเลขบันทึก: 33873เขียนเมื่อ 13 มิถุนายน 2006 11:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:08 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท