3C-PDSA and Core Value


เรื่องที่น่าสนใจ

                  3C - PDSA and CoreValue                               

         ผมเข้าใจว่าที่มาของ 3C-PDSA น่าจะล้อมาจาก TQA ซึ่งจะมีกระบวนการพัฒนาคุณภาพ แบ่งเป็น 3 ส่วนคือ INPUT , PROCESS , RESULT (OUTCOME)    

APPROACH

 INPUT        Context = บริบท คือ ตัวตน, รู้เขารู้เรา (รู้ว่าเราคือใครทำหน้าที่อะไร) ,ทรัพยากร,   ข้อจำกัด (สภาพแวดล้อมของการทำงาน) , เป้าหมาย , ความท้าทายของเราคืออะไร            แต่ถ้าเป็นเรื่องของกิจกรรมพัฒนาคุณภาพ บริบทก็คือ ปัญหา ,ความเสี่ยง , สิ่งที่เป็นประเด็นนำมาซึ่งกิจกรรมพัฒนาคุณภาพนั้น ๆ              

                  Core Value and Concept = แนวคิดในการทำงาน ของระดับต่าง ๆ เช่นระดับโรงพยาบาล ก็ควรกำหนดค่านิยมซึ่งเปรียบเสมือนเป็น DNA ของคนในองค์กรนั้น ๆ ในระดับของทีมต่าง ๆ ก็ต้องมีค่านิยมหรือหลักในการบริหารงานเช่นกัน  ซึ่งจะเป็นตัวบ่งบอกคุณภาพของการบริหาร,      ถ้าเป็นเรื่องของกิจกรรมพัฒนาคุณภาพหมายถึงกิจกรรมนั้น ๆ มีหลักแนวคิดหรือหลักการทำงานนั้น ๆ อย่างไร ซึ่งคงจะมี 3-5 ตัว   ค่านิยมก็คือหลักการบริหารจัดการซึ่งมี 17 ข้อ (จะลงรายละเอียดต่อไป)              

                         Criteria = เกณฑ์มาตรฐานต่าง ๆ ถ้าเป็นระดับโรงพยาบาล คงหมายถึง เกณฑ์มาตรฐาน HA ,เกณฑ์มาตรฐาน HPH หรือเกณฑ์มาตรฐานใหม่ TQA เป็นต้น    แต่ถ้าระดับเรื่องกิจกรรมคุณภาพเกือบทุกกิจกรรมต้องมีความเกี่ยวข้องกับมาตรฐานไม่มากก็น้อยทุกกิจกรรม เช่น การจะทำ CPG ,CQI, WP อย่างน้อยก็คงต้องใช้  Evidence Base ,Text , Journal หรือ Reference ต่าง ๆ เป็นมาตรฐานประกอบ และก็มีกิจกรรมอีกหลายเรื่องที่ต้องใช้เกณฑ์มาตรฐานระดับทีมคล่อมสายงาน เช่น บางเรื่องต้องใช้ มาตรฐาน IC , มาตรฐาน RM , มาตรฐาน ENV ( เช่นบ่อบำบัด การเก็บแยกขยะ เกณฑ์วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม ) และหลายเรื่องที่ต้องใช้มาตรฐานวิชาชีพเฉพาะ เช่น แพทย์ ,พยาบาล ,เทคนิคการแพทย์ ,เภสัชกร , โภชนากร , แม้แต่ช่างก็ยังมีเกณฑ์มาตรฐาน เป็นต้น  

PROCESS      Approach = การวางแผนงาน, การวางระบบงาน ก็คือ Plan                 

                          Deploy = การนำสู่การปฏิบัติ ก็คือ Implement หรือ Do 

                          Learning = มีตัวชี้วัด, ศึกษา และหาทางปรับปรุง ก็คือ Check และAct

                         Integration = การสอดคล้องกับทิศทาง ปัญหา กลยุทธ์ขององค์กร (Vertical Alignment)          การเสริม หรือเชื่อมโยงระบบต่าง ๆ (Horizontal Alignment)

RESULT        Key Indicator = ตัวชี้วัดหลักของหน่วยงาน , ตัวชี้วัดสอดคล้องกับงาน หรือ สอดคล้องกับ   กลยุทธ์ขององค์กร                  

                        Level = ระดับของผลลัพธ์ที่ทำได้เมื่อเทียบกับเป้าหมาย                    

                        Trend = แนวโน้มที่ดีขึ้น ต้องใช้ตัวเลข 3 จุดติดต่อกัน    

                        Comparison = การเปรียบเทียบกับคู่แข่ง หน่วยงาน โรงพยาบาล ที่ใกล้เคียงกัน

                   เพราะฉะนั้นเรื่อง 3C-PDSA ก็น่าจะเป็นกระบวนการพัฒนาคุณภาพที่บ่งบอก INPUT และ PROCESS ในการบริหารจัดการกับปัญหาใด ๆ อย่างเป็นระบบโดยสุดท้ายต้องมีผลลัพธ์เกิดขึ้นที่เป็นกระบวนการสุดท้าย     ผู้ปฏิบัติสามารถนำไปใช้ได้อย่างเป็นรูปธรรม เพราะแนวคิดเหล่านี้เป็นพื้นฐานสำหรับการพัฒนาองค์กรและหน่วยงานซึ่งจะต้องกำกับอยู่ในใจและสอดแทรกอยู่ในทุกเรื่อง ทุกที่ ทุกเวลา ทุกคนโดยจะใช้หลักการ 3C–PDSA ในการกำกับการทำกิจกรรมทุก ๆ กิจกรรมเพราะฉะนั้นคงต้องทำความเข้าใจกันหน่อยกับเรื่อง  3C–PDSA และโดยเฉพาะ Core Value (ค่านิยมหลัก)

                     เริ่มด้วยเรื่อง Core Value ก่อนก็แล้วกัน ตามที่ พรพ. กำหนดเป็นแนวทางไว้มีทั้งหมด 5 หมวด รวม 17 ตัว โรงพยาบาลที่จะเป็นเลิศได้ต้องสามารถใช้ Core Value ทั้ง 17 ตัวกำกับในการทำงาน ทำกิจกรรมต่าง ๆ โดยระดับโรงพยาบาลอาจจะกำหนดหรือไม่กำหนดก็ได้ว่าโรงพยาบาลจะเลือกเอา Core Value ตัวไหนมาเป็น Core Value ระดับโรงพยาบาล ถ้ากำหนดก็คงหมายความว่าองค์กรต้องการให้บุคคลากรมีหลักการทำงานหรือค่านิยมไปในทิศทางไหน เหมือนเป็น DNA ของคนในองค์กรนั้นๆ  แต่ในระดับหน่วยงานควรทราบและต้องรู้จักเลือกใช้ทั้ง 17 ตัวนั่นแหละ และเข้าใจว่าแต่ละตัวหมายความว่าอะไร และในกิจกรรม / เรื่องที่ตนกำลังทำอยู่ได้ใช้ Core Value ตัวไหนมากำกับจะเริ่มจากการนำ Core Value นำมาใช้ตั้งแต่เริ่มทำเลยก็ได้ หรือทำกิจกรรมไปก่อน (แก้ไขปัญหาต่าง ๆ ตามบริบท) แล้วให้หัดมาดู ลองคิดดู และรู้ว่าจะเชื่อมโยงกับCore Value ตัวไหนได้อย่างไร                                               

                                     หมวดที่ 1    ทิศทางนำจะเกี่ยวข้องโดยตรงกับการกำกับการทำงานของทีมนำ (ผู้นำระดับหน่วยงานก็อาจนำไปใช้ได้เหมือนกัน) มี 3 ตัว 

1.1     Visionary Leadership  ผู้นำที่มองไกล มองภาพใหญ่ คิดในเชิงกลยุทธ์ นำเสนอความท้าทาย            จูงใจให้คนเก่งมารวมตัวกัน               

1.2   System Perspective  ใช้มุมมองเชิงระบบ มองภาพรวมครบถ้วนทุกองค์ประกอบ มองอย่าง             เชื่อมโยง พิจารณาความเป็นเหตุเป็นผล

1.3     Agility  ระบบปรับตัวไว มีความยืดหยุ่น ตอบสนองผู้ป่วยและผู้รับบริการอย่างรวดเร็ว               

             ถึงตรงนี้ผมมองถึงทีมฟุตบอลอังกฤษ 3 ทีมยักษ์ใหญ่ คือ ทีมแรกคือทีม เชลซี แชมป์พรีเมียร์ลีกอังกฤษ ที่มี นายโฮเซ่ มูลินโย่ เป็นผู้จัดการทีม ที่มีความเก่งกาจมาก มีกุลยุทธ์เด็ด ๆ มีการวางแผนการเล่นที่ดี   มีการเลือกซื้อตัวนักเตะที่ดีมาร่วมทีม   จนทำให้ทีมคว้าแชมป์พรีเมียร์ลีกอังกฤษ 2 สมัยติดต่อกัน (Visionary Leadership)  , ทีมที่ 2 คือทีมอาร์เซลนอลที่กำลังลุ้นแชมป์ ยูฟ้าแชมป์เปี้ยนลีกอยู่ (คืนนี้คงทราบผล) โดยมีนาย อาเซน เวนเกอร์ เป็นผู้จัดการทีมที่ทำทีมอาร์เซลนอลประสบความสำเร็จมาแล้วหลายถ้วยด้วยกันโดยเทคนิกการทำทีมแบบเป็นระบบ (ไม่ขึ้นกับตัวนักเตะ) ไม่ว่านักเตะจะเป็นใครก็ตาม พอย้ายมาอยู่ทีมอาร์เซลนอล ก็จะเล่นบอลแบบเป็นระบบอย่างนี้มาตลอด (มีการทดแทนสลับเปลี่ยนตำแหน่งกันบ้างแต่ก็ยังคงการเล่นแบบเป็นระบบมาโดยตลอด) (System Perspective) ซึ่งทำให้อาร์เซลนอลเป็นทีมที่เล่นบอลที่สวยงามที่สุดและก็ประสบความสำเร็จมากที่สุดทีมนึง      ส่วนทีมสุดท้ายเป็นทีมขวัญใจผมคือทีม ลิเวอร์พูล ที่มีนาย ตาโปน ราฟาเอล เบนิเตซ เป็นผู้จัดการทีมที่มีความยืดหยุ่นปรับตัวนักแตะให้เข้ากับเกมส์ได้ดีทุกรูปแบบไม่ว่าคู่ต่อสู้มาไม้ไหน ราฟา ฯ ก็จะปรับแผนการเล่นและตัวนักเตะได้เหมาะสมตลอดเวลา บ่อยครั้งที่พลิกสถานการณ์จากเป็นรองมาชนะได้ ยกตัวอย่างเกมส์สัปดาห์ที่แล้วจากที่เป็นรองทีมเวสแฮม ยูไนเต็ดมากมาย แต่สามารถทำให้ทีมพลิกกลับมาชนะและได้แชมป์ถ้วยใบใหญ่ (FA Club) ได้ในที่สุดนับว่าเป็นทีมที่น่าจับตามองอีกทีมในสุดยอดทีมแห่งเกาะอังกฤษ  (Agility)......................                   

                                               หมวดที่ 2  ผู้รับผล มี 3 ตัว คือ           

2.1 Focus on Health  ใส่ใจสุขภาวะ มุ่งเน้นที่สุขภาพมากกว่าตัวโรค  จะเน้นเรื่องการส่งเสริมสุขภาพร่วมกับการดูแลสุขภาพ (HPH) , การดูแลโรคแบบองค์รวม ,การดูแลแบบต่อเนื่อง ตัวอย่างกิจกรรมที่พบเห็นบ่อย ๆ เช่น การวางแผนจำหน่ายที่มีการต่อเนื่อง , Disease Management , กิจกรรมเชิงรุกต่าง ๆ ในชุมชนที่เน้นทั้งกลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยง             

2.2 Patient & Customer Focus  มุ่งเน้นผู้ป่วยและลูกค้า  ตอบสนองความจำเป็น ความต้องการ               ความคาดหวังของผู้ป่วยและผู้รับบริการ Core Value ตัวนี้คงพบเห็นได้เกือบทุกกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการดูแลรักษา การให้บริการแก่ผู้ป่วย แต่คงต้องมี Core Value ตัวอื่นร่วมด้วยเสมอ มักไม่มาโดด ๆ ยกตัวอย่างเช่น กิจกรรม CQI ลดระยะเวลา/ขั้นตอนการรดตรวจที่ OPD ก็น่าจะมี Core Value เรื่อง Patient Focus , Management by Fact , อาจมี Team Work หรือ Innovation ร่วมด้วย

2.3 Community & Social Responsibility  รับผิดชอบต่อชุมชนและสังคม จะเน้นผลลัพธ์ต่อชุมชนและสังคมที่ดี ปลอดภัย ยกตัวอย่างเช่น รพ.มีปัญหาเรื่องบ่อบำบัดที่ยังมีค่าน้ำเสียที่ปล่อยสู่ชุมชนยังไม่ได้ตามค่ามาตรฐานก็ต้องหาโอกาสพัฒนาระบบบำบัดน้ำเสีย , การกำจัดขยะ(โดยเฉพาะขยะติดเชื้อ) , หน่วยงาน ER เวชกรรมสังคม ประสานงานกับตำรวจในการรณรงค์ในชุมชนเรื่องการสวมหมวกกันน๊อค , หน่วยงานโภชนากรทำกิจกรรมอาหารปลอดภัย ไร้สารพิษโดยร่วมกับเกษตรกรในชุมชนรอบโรงพยาบาลเพื่อรณรงค์ไม่ให้เกษตรกรใช้สารพิษ/ยาฆ่าแมลง ฯลฯ 

                             หมวดที่ 3. คนทำงาน (มี 4 ตัว)

 3.1 Valuing Staff  เจ้าหน้าที่ทุกคนมีคุณค่า เช่น งานอาชีวอนามัย รณรงค์ให้จนท.ทุกคนมีการป้องกันอุบัติเหตุจากการทำงาน , โครงการรณรงค์ลดการสูบบุหรี่ในจนท.  , มีการส่งเสริมให้จนท.ออกกำลังกายโดยสร้างลานกีฬา Fitness Center , การจัดกีฬาสี , Songkhla Karaoke Singing contest , ระบบพิจารณาค่าตอบแทนที่เป็นธรรมแก่ จนท. เป็นต้น

3.2 Teamwork  พากันทำงานเป็นทีม  Core Value ตัวนี้ก็เป็นยอดฮิตอีกตัว เพราะตอนนี้จะทำกิจกรรมอะไรก็ตามมักต้องอาศัยความร่วมมือกันระหว่างสหสาขาวิชาชีพ โดยเฉพาะทีมนำทางคลินิก (PCT)               

  3.3 Individual Commitment สมาชิกทีมมุ่งมั่น  แต่ละคนยึดถือเป้าหมายและความสำเร็จขององค์กรเป็นหลักในการทำงาน อาจมองดูเป็นนามธรรมไปบ้างแต่ก็มีหลาย กิจกรรมที่พอจะเชื่อมโยงได้ เช่น การร่วมทีมต่าง ๆ ในการทำกิจกรรมที่ต้องอาศัยความมุ่งมั่นของสมาชิกทั้งทีม เช่น การทำกิจกรรมของทีม Disease Management เรื่อง DM , ทีมใกล้บ้านใกล้ใจห่างไกลโรคเรื้อรัง , โครงการสานสายใยรักสู่เด็กด้อยโอกาส  เหล่านี้ล้วนต้องอาศัยความมุ่งมั่นชองสมาชิกในทีมเป็นอย่างมาก

3.4 Professional Responsibility  ความรับผิดชอบของวิชาชีพ  ผู้ประกอบวิชาชีพตัดสินใจบนพื้นฐานของจริยธรรมและมาตรฐานวิชาชีพ เช่น การกำหนด WP เรื่องการผูกยึดผู้ป่วย , WP เรื่องการดูแลผู้ป่วยสิ้นหวัง , การกำหนด WP WI หรือ CPG หลาย ๆ เรื่องควรต้องใช้ Core Value ตัวนี้ร่วมด้วยถึงจะทำให้ผลลัพธ์ที่ได้ดีต่อผู้ป่วยตามจริยธรรมและมาตรฐานวิชาชีพ                                                  หมวดที่ 4. การพัฒนา ( Improvement ) มี 5 ตัว

4.1 Creative and Innovation หมายถึงมีแนวคิดที่สร้างสรรค์หรือเป็นนวัตกรรม ตรงนี้คงเข้าใจกันดีอยู่แล้วเรื่อง นวัตกรรม ทั้งที่เป็นสิ่งประดิษฐ์และเป็นแนวคิดใหม่ ๆ ที่นำมาใช้โดยอาจมีเอกสารอ้างอิง (Evidence Base) หรือคิดขึ้นเองตามบริบทและทดลองใช้โดยที่ไม่ควรเกิดผลเสียต่อผู้ป่วย ยกตัวอย่างเช่น หอผู้ป่วยเด็ก 1 คิดนวัตกรรมผ่าคาดหน้าท้องเด็กหลังผ่าตัด Colostomy, หอผู้ป่วยอายุรกรรมหญิง 1 มีนวัตกรรมนาฬิกาเตือนการบริหารยา , PCT Ortho มีนวัตกรรมในการใช้ Photo Conference ระหว่าง แพทย์และพยาบาล ฯลฯ

 4.2 Management by Fact  การนำข้อมูลจริงมาตัดสิน ข้อนี้เป็น Core Value ที่ Popular มากที่สุดเพราะเหมือนเป็นการนำบริบทของเรื่องที่จะทำนำ มาเป็นตัวนำ ( มาจากเรื่องจริง หรือปัญหาที่แท้จริง ตัวชี้วัดที่ผลลัพธ์ไม่ดีจริง อุบัติการณ์ที่เกิดขึ้นจริง )  ทำให้เกิดการพัฒนาในรูปแบบต่าง ๆ ตามมา เช่น CPG, CQI ,Care Map , Peer Review เป็นต้น

4.3 Continuous Process Improvement การพัฒนาอย่างต่อเนื่อง  จะใช้ในเรื่องที่ต้องมีการหมุนวงล้อ PDCA อย่างต่อเนื่อง ไม่ใช่ทำได้ดีแล้วหยุด เช่น รพ.มีเข็มมุ่งเรื่องความพึงพอใจของลูกค้า หน่วยงานผู้ป่วยนอกทำ CQI เรื่องเพิ่มความพึงพอใจของผู้รับบริการ โดยเป็นการพัฒนาวางล้อครั้งที่ 4-5 แล้วและทุกครั้งความพึงพอใจก็เพิ่มขึ้น แต่ก็ต้องการความเป็นเลิศจึงมุ่งเน้นการพัฒนาเรื่องเพิ่มความพึงพอใจอย่างต่อเนื่อง , คณะกรรมการ RM มีแนวคิดในเรื่องการตระหนักในการรายงานอุบัติการณ์ของทุกหน่วยงานเพื่อเป็นวัฒนธรรมจึงมีทั้งการจัดให้มีการประกวดหน่วยงานที่มีการรายงานได้มากและถูกต้องที่สุด และพัฒนาระบบต่าง ๆ เพื่อเอื้อ และเพิ่มความตระหนักและประสิทธิภาพในการรายงานอย่างต่อเนื่อง จนเกิดเป็นวัฒนธรรมองค์กร ฯลฯ

4.4 Focus on Result  การมุ่งเน้นผลลัพธ์ เป็นการเน้นเป้าเหมายของการดำเนินงานและการพัฒนาผลลัพธ์ให้ดีขึ้นอีก มองให้ดีเหมือนเป็นการต่อวงล้อวงต่อไปหลังจากเกิดการบวนการพัฒนาไปได้ดีระดับหนึ่งแล้ว (เอาผลลัพธ์เป็นตัวตั้ง)

4.5 Evidence Base approach การตัดสินบนพื้นฐานข้อมูลวิชาการหรือหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ เรื่องนี้ก็เป็น Core Value ที่ใช้มาก เช่น คณะกรรมการ IC จะ Implement เรื่องต่าง ๆ เช่นหลักการ SP  UP  การใช้น้ำยา ต่าง ๆ ต้องใช้ Evidence Base มาช่วยด้วย , PCT ต่าง ๆ เวลาจะทำ Guide Line , CQI , Tracer ล้วนต้องใช้ Evidence Base มาร่วมเป็นข้อมูลในการพัฒนาคุณภาพเสมอ          ฉะนั้น 4.1 ,4.2 ,4.3 และ 4.4  จะจำให้ง่ายเป็นเรื่องเป็นราว ก็คือ เราคิดจะสร้างนวัตกรรมสักเรื่อง , โดยนำข้อมูลที่เกิดจริงมาเป็นตั้ง , แล้วหมุนวงล้อ , จากนั้นก็หยุดดูผลลัพธ์แล้วพัฒนาต่อไปโดยเน้นผลลัพธ์ที่ดีขึ้น , โดยอาศัยข้อมูลหลักฐานวิชาการเป็นตัวช่วย 

                                       หมวดที่ 5  พาเรียนรู้

5.1 Individual and Organization Learning ( เรียนรู้เพื่อปรับตนเอง)  คงเข้าใจกันดีในเรื่อง LO และ KM มีหลายเรื่องที่เราทำกันโดยใช้ Core Value ตัวนี้ เช่น โครงการพัฒนา Discharge Planning ร่วมกับ หาดใหญ่ , มอ. หรือ เรื่อง DM , HIV , ระบบยา , Pain Management ที่เรามีกลุ่มที่สนใจเรื่องเดียวกันเหล่านี้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน ผ่านทางการประชุมก็ดีหรือทาง Web board KM ของเราก็ได้

5.2 Empowerment (เพิ่มพลังชนทุกหมู่) ก็คงเข้าใจกันแล้วเหมือนกันกับคำนี้ อาจเป็นการ Empowerment ผู้ปฏิบัติงาน , ผู้ป่วยหรือผู้รับบริการและญาติ หรือประชาชนในชุมชน (ของหน่วยงานเวชกรรมสังคม) เป็นต้น                       

หมายเหตุ  Core Value ที่ใช้บ่อยในกิจกรรมพัฒนาคุณภาพได้แก่ Patient Focus , Management by Fact , Team Work , Focus on Result , Evidence Base Approach

                  Core Value ที่เกี่ยวข้องกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ (HPH) มักเป็น Focus on Health , Patient Focus , Community & Social Responsibility และ Empowerment                  

                    ลองซ้อมไปเรื่อย ๆ ว่ากิจกรรมนึง ๆ เราใช้ Core Value ตัวไหนบ้าง ซ้อมไปเรื่อย ๆ จะคิดเร็วขึ้นง่ายขึ้น และจำได้เองโดยไม่ต้องท่อง                                                                                                                                   

                                             เฉลิมพงษ์ สุคนธผล    

 

คำสำคัญ (Tags): #dr.#chalermpong#sukontapol
หมายเลขบันทึก: 33842เขียนเมื่อ 13 มิถุนายน 2006 01:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 02:00 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

อาจารย์คะ น่าจะใสรูปคนเขียน หล่อๆ ด้วนะคะ

3C ก็คือ context / corevalue&concept แล้วก็ criteria

ขอบคุณอาจารย์ที่ช่วยกันเผยแพร่ความเข้าใจค่ะ

เติมเรื่อง criteria ( เกณฑ์มาตรฐาน) แล้วนะครับคุณ PAULA

กะลังจะสอนน้องพยาบาลเรื่อง 3C-PDSA อยู่พอดีค่ะ  เข้าทางเลยแม้ว่าจะลึกเลยไป TQA ก็เลือกเอาที่พอเข้าใจได้ง่ายๆ คราวหน้าสอนอีกนะค๊ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท