คอมพิวเตอร์กับอนาคต


คอมพิวเตอร์กับอนาคต
คอมพิวเตอร์กับอนาคต  สมมติว่าคนในห้องทำจนชำนาญ สามารถ "ตอบคำถาม" ได้รวดเร็ว เมื่อเทียบกับคนที่รู้ภาษาจีนที่ให้ทำอย่างเดียวกัน ก็นับว่าเร็วเท่ากัน สมมติเราให้คนที่รู้ภาษาจีนคนหนึ่งมาสังเกตพฤติกรรมของคนในห้องจากข้างนอกห้อง ก็จะตัดสินว่าคนที่อยู่ในห้องรู้ภาษาจีน ทั้งๆที่คนในห้องอาจจะไม่รู้เสียอีกว่าลวดลายที่ตนเห็นนั้นคือตัวอักษรจีน สิ่งที่คนในห้องทำก็คือ "ตอบคำถาม" ด้วยวิธีจัดการกับลวดลายที่มีแต่รูปแบบ ปราศจากความหมาย คอมพิวเตอร์ที่ผ่าน Turing test ก็ทำแบบเดียวกัน ถ้าเราถือว่าคนในห้องไม่เข้าใจความหมายของอักขระที่เห็น คอมพิวเตอร์ก็ไม่เข้าใจสัญลักษณ์ต่างๆ ที่ถูกป้อนเข้าไปเช่นกัน แต่สามารถจัดการกับสัญลักษณ์ต่างๆ โดยทำตามโปรแกรม
ประเด็นของ Searle ก็คือ เราสามารถสร้างโปรแกรมเพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานแทนมนุษย์ จนมีพฤติกรรมไม่ต่างจากมนุษย์ กระนั้นก็ดี ตราบใดที่คอมพิวเตอร์ไม่สามารถเข้าใจสัญลักษณ์ ก็ไม่อาจถือได้ว่ามีปัญญาอย่างที่มนุษย์มี และเราไม่อาจกล่าวได้ว่า สักวันหนึ่งจะทำให้คอมพิวเตอร์เกิดความเข้าใจได้ ทั้งนี้เพราะคอมพิวเตอร์ถูกออกแบบมาให้จัดการกับสัญลักษณ์โดยทำตามกฎที่กำหนดให้ แต่เมื่อมนุษย์เข้าใจความหมายของสัญลักษณ์ ความเข้าใจนี้มีมากกว่าการนำสัญลักษณ์มาเชื่อมโยงกันตามกฎ
อีกประการหนึ่ง ประเด็นของ Searle ไม่ได้อยู่ที่ว่า เหตุที่คอมพิวเตอร์ไม่สามารถคิดได้เป็นเพราะต้องอาศัยการป้อนโปรแกรมโดยมนุษย์ ความจริงแล้วไม่สำคัญว่าความสามารถของคอมพิวเตอร์เกิดจากอะไร ประเด็นอยู่ที่ว่าสิ่งที่คอมพิวเตอร์สามารถทำได้นั้น เรียกได้หรือไม่ว่าเป็นการใช้ปัญญา กล่าวคือสมมติว่าวันหนึ่งเราค้นพบว่า สติปัญญาของเราเป็นผลมาจากการป้อนโปรแกรมของเทพเจ้าหรือมนุษย์ต่างดาว เราก็ยังคงเชื่อต่อไปว่ามนุษย์มีปัญญา เราจะแค่เปลี่ยนความคิดเกี่ยวกับว่าปัญญาของเราเกิดจากอะไร ดังนั้นถ้าเป็นไปได้ว่ามนุษย์สามารถโปรแกรมให้คอมพิวเตอร์เข้าใจความหมายได้ Searle ก็จะยอมรับว่าคอมพิวเตอร์สามารถมีปัญญาได้ แต่ Searle เชื่อว่า ลักษณะของฮาร์ดแวร์และซอฟท์แวร์กำหนดให้คอมพิวเตอร์ทำได้แค่นำสัญลักษณ์มาเท่านั้น
การโต้เถียงในเรื่องนี้ยังไม่มีข้อยุติ จุดประสงค์ของบทเรียนนี้จำกัดอยู่แค่ให้เข้าใจว่า นักวิทยาศาสตร์ต้องการให้คอมพิวเตอร์ในอนาคตเป็นอย่างไร และมีเหตุผลที่จะเชื่อหรือไม่ว่าจุดประสงค์นี้สามารถบรรลุได้ ข้อคิดที่จะทิ้งไว้ให้ไปคิดกันเองก็คือ การเข้าใจความหมายของสัญลักษณ์คืออะไร แน่นอนที่มนุษย์เราเข้าใจความหมายของภาษาก็เพราะเรารู้ว่าสัญลักษณ์นั้นแทนอะไร ถ้าเป็นเช่นนี้ ผู้ที่เชื่อ AI ก็จะบอกว่า เราสามารถติดตั้งกล้องวีดีโอให้คอมพิวเตอร์ รวมทั้งอุปกรณ์รับเสียง กลิ่น รส และสัมผัส จากนั้นก็เขียนโปรแกรมให้คอมพิวเตอร์เชื่อมโยงสัญลักษณ์ต่างๆ กับภาพ เสียง กลิ่น ฯลฯ กระนั้นก็ดี ตามทรรศนะของ Searle การทำเช่นนี้มิได้เปลี่ยนวิธีการทำงานพื้นฐานของคอมพิวเตอร์ ตราบใดที่สิ่งที่คอมพิวเตอร์ทำคือการจัดการกับสัญลักษณ์ตามกฎ เราก็ยังพูดไม่ได้ว่ามันเข้าใจความหมาย ในที่สุดแล้วประเด็นอยู่ที่ว่า การเข้าใจความหมายคืออะไร ถ้าเป็นกระบวนการในสมองที่ต่างจากการจัดการกับสัญลักษณ์ คอมพิวเตอร์ก็ไม่อาจเข้าใจความหมายของสัญลักษณ์ได้ แต่ถ้าการเข้าใจความหมายของภาษาไม่มีอะไรมากไปกว่าความสามารถในการใช้สัญลักษณ์ คอมพิวเตอร์ที่ผ่าน Turing test ก็มีปัญญาเทียม
คำสำคัญ (Tags): #คนรักคอม
หมายเลขบันทึก: 33782เขียนเมื่อ 12 มิถุนายน 2006 13:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:08 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท