สื่ออารมณ์ด้วยคำอุทาน


สื่ออารมณ์ด้วยคำอุทาน


คำอุทาน เป็นคำที่ผู้พูดเปล่งออกมาเพื่อแสดงอารมณ์ ๆ ได้แก่ ตกใจ ดีใจ เสียใจ ประหลาดใจ แต่ไม่มีความหมายเหมือนคำอื่น เช่น

เฮ้อ ! กลุ้มใจจริง ยังดูหนังสือไม่จบเลย พรุ่งนี้ก็จะสอบแล้ว

โอ้โฮ ! วันนี้เธอแต่งตัวสวยจริง ๆ

แหม ! ขอฉันลอกการบ้านหน่อยไม่ได้หรือ

คำอุทาน แบ่งออกเป็น ๒ ชนิด ดังนี้

๑.คำอุทานบอกอาการ เป็นคำอุทานเพื่อบอกความรู้สึกหรืออารมณ์ของผู้พูด เช่น

อารมณ์ตกใจ- คุณพระช่วย วุ้ย ว้าย ต๊ายตาย

ประหลาดใจ - อ๊ะ ฮ้า เอ๊ะ ว้าว

เจ็บปวด - โอ๊ย โอย

สงสาร - อนิจจา พุทโธ่ พุทธังเอ๋ย

หลังคำอุทานบอกอาการจะใช้เครื่องหมายอัศเจรีย์ !กำกับ

๒. อุทานเสริมบท เป็นคำอุทานที่ใช้เสริมบทเป็นคำสร้อย เพื่อให้ความสมบูรณ์ และเป็นถ้อยคำที่ช่วยให้ไพเราะสละสลวย มีลักษณะ ดังนี้

-เสริมบทที่เป็นคำสร้อยในคำประพันธ์ประเภทโคลงและร่าย

เสียงลือเสียงเล่าอ้าง อันใด พี่เอย

เสียงย่อมยอยศใคร ทั่วหล้า

สองเขือพี่หลับใหลลืมตื่น ฤๅพี่

สองพี่คิดเองอ้า อย่าได้ถามเผือ

(ลิลิตพระลอ)

จนจันทรลับเลื่อน เคลื่อนเข้าตติยยาม เจ้าจอมสยามไสยาสน์ เหนือบรมอาสน์ก่องแก้ว คล้ายคล้ายสิบทุ่มแคล้ว ท่านเคลิ้มหลับฝัน ใฝ่นา

(ลิลิตตะเลงพ่าย)

-เสริมบทที่เป็นคำแทรก คำอุทานจะแทรกระหว่างคำหรือข้อความ หรือประกอบท้ายคำ คำอุทานเสริมบทชนิดนี้จะใช้ในคำประพันธ์ ได้แก่ นุ ชิ สิ นิ เช่น สนุกนิเราสิ้นเศร้า เวียนมาสิก็เวียนไป อีกชนิดหนึ่งใช้แระกอบท้ายคำเพื่อให้ข้อความสละสลวย

แมวเอ๋ยแมวเหมียว

อะไรเอ่ย สี่เท้าเดินมาหลังคามุงกระเบื้อง

- เสริมบทเพื่อเลียนเสียงคำเดิม จะเสริมข้างหน้าหรือข้างหลังก็ได้ คำอุทานประเภทนี้อาจเรียกว่าคำซ้อนเพื่อเสียงก็ได้ เช่น

เธอกินข้าวกินปลาแล้วหรือยัง

หนังสือหนังหาอะไรฉันไม่เห็น

เขาได้ดิบได้ดีแล้วก็ลืมตัว

ทดสอบความรู้ความเข้าใจ

๑. ข้อใดต่อไปนี้ไม่มีคำอุทาน

ก. นางพระยาทรงพระกันแสงไห้พิไรร่ำ จึงตรัสว่ากรรมเอ๋ยกรรม กรรมของมัทรี

ข. พราหมณ์ขู่ข่มเข่นเขี้ยวคำรามตีต้อนให้ด่วนเดิน ตามป่ารกระหกระเหินหอบหิวแล้วไห้โหย มีแต่เสียงเธอโอดโอยสะอื้นร้องรำพันสั่งทุกเส้นหญ้า

ค. เธอยกพระเศียรพระมัทรีขึ้นใส่ตัก วักเอาวารีมาโสรจสรงลงที่พระอุระพระมัทรี หวังว่าจะให้ชุ่มชื่นฟื้นสมปฤดีแห่งนางพระยามัทรีเจ้านั้นแล

ง. เออ ก็เมื่อเช้าเจ้าจะเข้าป่าน่าสงสาร ปานประหนึ่งว่าจะไปมิได้ทำร้องไห้ฝากลูกมิรู้แล้ว

เฉลย คำตอบที่ถูกคือ ข้อ ข โอดโอยไม่ใช่คำอุทานแต่เป็นการใช้คำเลียนเสียงธรรมชาติ (สัทพจน์)

คำอุทาน ข้อ ก คือ เอ๋ย ข้อ ค นั้นแล ข้อ ง เออ

๒. ต่อไปนี้ข้อใดใช้คำอุทานไม่เหมาะสม

ก. อ้าว ! รถไฟแล่นออกไปเสียแล้ว

ข. อุ๊ย ! ปลากินเบ็ดแล้ว

ค. ว้า ! เธอไม่น่าสอบตกเลยนะจ๊ะ

ง. ว้าย ! รถชนกัน

เฉลย คำตอบที่ถูกคือ ข้อ ค บริบทแสดงความสงสารเห็นใจ ควรใช้คำอุทานว่า โถ ! หรือ โธ่ !

หมายเลขบันทึก: 337766เขียนเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2010 16:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 ตุลาคม 2013 10:09 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (14)

ว้าวๆๆ..ดีใจจริง..ที่ช่วยทบทวนความจำ..ขอบคุณนะคะ..

  • มีประโยชน์ดีค่ะ
  • ขอบคุณมากนะคะ

สวัสดีค่ะ  P  คุณ นงนาท สนธิสุวรรณ
    ในเวลาที่กำลังเหนื่อยล้า  ก็ได้รับกำลังใจทุกครั้งไป  ขอบคุณค่ะ

สวัสดีค่ะ  P  คุณมนัสนันท์

   ในช่วงนี้นักเรียนกำลังเตรียมตัวสอบอย่างขะมักเขม้น  บันทึกที่เขียนจึงมีเนื้อหาเข้มกว่าปกติ  หลังการสอบจะเขียนเรื่องที่ผ่อนคลายลง  คิดว่าคงได้มีโอกาสต้อนรับในโอกาสต่อไปนะคะ

อ่าน ๆ มึนๆ หลับหน้าคอม ครับ

สวัสดีครับ

ที่ทำงานผม ส่วนใหญ่ได้ยินการเปล่งตามอารมณ์ คือ ปวดหัว

ไม่รู้ ทำไม ปวดหัวกันทุกวันเลย

โดยมากได้ยินผู้หญิงพูดมากกว่าผู้ชาย ครับ

อาจารย์นำไปออกสอบหรือเปล่าครับ อยากทำข้อสอบแนวนี้จังเลย

  สวัสดีค่ะ  P  ผศ. เพชรากร หาญพานิชย์

   ไม่ใช่แต่ที่ ม. ขอนแก่นหรอกค่ะ  ที่โรงเรียนของครูแป๊วก็ปวดหัวกันทั้งโรงเรียนเหมือนกันเวลางานยุ่ง ๆ 

อยากได้ข้อมูลเยอะกว่านี้

ทำให้เหมาะสมหน่อย

ทำอะไรก็ไม่รู้ลายตาไปหมด

....................................................................................................................................................................จบ

ขอโทษด้วยค่ะ ที่พิมอย่งนี้

สวัสดีค่ะ...

   สีสันและลวดลายที่ใช้นั้นเป็นความชอบส่วนตัวของผู้เขียนซึ่งอาจไม่ถูกใจผู้อ่านทุกคน  คงจะเหมือนกับนักเรียนหลายคนที่ชอบใช้ปากกาเน้นข้อความเพื่อให้จดจำได้ง่าย

  วัตถุประสงค์ของบล็อกนี้เพียงเพื่อทบทวนเนื้อหาก่อนสอบให้กับนักเรียน  หากต้องการเนื้อหาที่ละเอียดกว่านี้คงต้องขอให้ค้นคว้าจากหนังสือซึ่งก็มีอยู่มากมาย...นะคะ

 

ไม่มีคำอุทานเสียใจ  กับ  โกรธแบบมากๆเลยละค่ะ  เอามาให้ดูหน่อยซิค่ะพี่่ๆ

ช่วยการบ้านได้เยอะเลยครับ

ก็พอเข้าใจบ้างแล้ว

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท