Best Practice ของการทำ SAR ปีการศึกษา 2548 ระดับหน่วยงานย่อย: ภาควิชาจุลชีววิทยาและปรสิตวิทยา


         ในวันนี้ (7 มิ.ย.49) ผมได้มีโอกาสเป็นผู้ประเมินภาควิชาจุลชีววิทยาและปรสิตวิทยา โดยมีท่านประธานเป็น ผศ.ดร.สุภาณี เส็งศรี และมี ดร.กรองกาญจน์ ชูทิพย์ และผม อาจารย์เอกรินทร์ ชุลีกร เป็นกรรมการ ซึ่งวิชาจุลชีววิทยาและปรสิตวิทยานี้เป็นหน่วยงานย่อยหน่วยงานแรก ภายในคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ ที่ได้เริ่มประเมินโดยใช้เกณฑ์ใหม่เอี่ยมอ่องของสมศ. (ที่อิงเกณฑ์มาตรฐาน สมศ.-อิงพัฒนาการ-อิงประสิทธิผลตามแผน ตามคะแนน 3-1-1) ซึ่งภาควิชาอื่นๆจะประเมินตามมาทีหลัง
        
วันแรกที่ได้รับ SAR อ่านแล้วรู้สึกทึ่งมาก เพราะมีการเขียนที่ดีมาก การบรรยายมีความเป็นระเบียบ และการนำเสนอหลักฐาน เป็น step-step ที่แสดงถึงการมี logical thinking  ไม่โดดไปโดดมา และรายงานข้อมูลที่เป็นสาระสำคัญครบถ้วน + TOWS analysis ที่จะทำให้ผู้ประเมินสามารถ discuss ประเด็นนั้นได้อย่างมีข้อมูลครบถ้วน แถมยังจัดทำรายงานได้ดีตั้งแต่คำนำจนถึง list รายการเอกสารอ้างอิง เรียกได้ว่าดีตั้งแต่หน้าแรกยันหน้าสุดท้าย ที่แสดงถึงความตั้งใจในการทำอย่างมาก
        
การประเมินวันนั้น เริ่มตั้งแต่ 8.30 แล้วไปเสร็จเอา 20.00 แต่บุคลากรก็ยังอยู่รอฟังผลจนหยดสุดท้าย งานนี้จบลงด้วยดี ทุกคนมีความแช่มชื่น บรรยากาศในห้องสดใส ถึงแม้ข้างนอกจะมืดแล้วก็ตาม ชวนให้นึกถึง slide ที่ผมเคยบรรยายให้กับนิสิตป.โท สาขาประกันฯ ที่บอกว่าบรรยากาศสุดท้ายของการประเมิน ถ้าทำให้ออกมาแล้วเป็นเหมือนภาพหยาดน้ำบนใบไม้ได้ แทนที่จะเป็นภาพใบไม้ที่แห้งกรอบ ถือว่าประสบความสำเร็จ  วันนั้น การประเมินภาควิชาจุลชีววิทยาและปรสิตวิทยาจึงจบลงด้วยดี ทุกคนมีกำลังที่ไปพัฒนาภาคในจุดที่ตนเองมีความสนใจต่อไป
        
ในฐานะที่ภาควิชาจุลชีววิทยาและปรสิตวิทยา เป็นหน่วยงานแรก ที่กล้าหาญทำการประเมินโดยใช้เกณฑ์ใหม่ของสมศ. รอบ 2 และจัดทำรายงานการประเมินตนเองได้เป็นอย่างดี จึงขอยกให้ภาควิชาจุลชีววิทยาและปรสิตวิทยาเป็น Best Practice ของการทำ SAR/CAR ในระดับหน่วยงานย่อย ภายในคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ รายละเอียดของ SAR/CAR ติดต่อได้ที่คุณวิระดา ประเสริฐ (กระแต) ภาควิชาจุลชีววิทยาและปรสิตวิทยา 055-261-000ต่อ 4668 นะครับ  งานนี้ได้รับการอำนวยความสะดวกจาก ดร.สมชาย แสงอาจเดช หัวหน้าภาควิชาจุลชีววิทยาและปรสิตวิทยา และรับผิดชอบงานประกันคุณภาพการศึกษาของภาควิชาครับ

คำสำคัญ (Tags): #เกณฑ์สมศ.รอบ2
หมายเลขบันทึก: 33768เขียนเมื่อ 12 มิถุนายน 2006 11:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 01:16 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ขอบพระคุณท่านอาจารย์เอกรินทร์ที่นำ Best Practice มาเล่าให้พวกเราได้ฟังและนำไปปรับใช้กันนะคะ 

ขอบคุณทุกท่านที่เกี่ยวข้องเลยครับ ทั้งผู้ประเมิน ผู้รับการประเมิน ผู้สนใจเข้าร่วม และขอขอบคุณอาจารย์เอกรินทร์เป็นพิเศษครับที่นำมาเล่าสู่กันฟัง ถ้ามีโอกาสที่จะได้พบกันเร็ว ๆ นี้รบกวนอาจารย์ช่วยนำ SAR/CAR ที่ว่านี้มาให้ผมได้ชื่นชมด้วยคนจะขอบคุณมากเลยครับ

จะติดตามอ่านไปเรื่อยๆนะคะ วันหลังเอาแบบสนุกขำๆมาเล่าก็ดีนะ

ดร.สมชาย แสงอำนาจเดช

ขอบคุณอาจารย์เอกรินทร์ ผศ.ดร.สุภาณี (ประธาน) และดร.กรองกาญจน์ มากที่กรุณามาช่วยประเมินให้ภาควิชาในวันนั้น    และขอบคุณมากสำหรับคำชมเชยซึ่งมันเป็นยาหอมชูกำลังใจที่ดี (เราควรให้กันบ่อยๆ โลกจะสดใส แน่นอน) ซึ่งผมอยากมอบคำชมเชยนี้ให้กับอาจารย์และเจ้าหน้าที่ทุกคนที่กรุณาสละเวลาให้กับการรับการประเมินนี้

แต่ผู้ที่น่าจะต้องได้รับมากสุดคือวิระดา เจ้าหน้าที่กำลังสำคัญของภาควิชา เนื่องจากครั้งนี้เป็นเกณฑ์ใหม่ซึ่งปรับลงเอยใช้จริงเมือ 30 พฤษภาคม นี้เอง หลายอย่างจึงต้องดำเนินการใหม่ เรามีเวลาน้อย เนื่องจากกำหนดวันและเชิญกรรมการเรียบร้อย เราไม่ได้ท้อหรือคิดจะเลื่อน แต่เราต้องเร่งและทำให้มากขึ้น วันสุดท้ายของการเตรียมข้อมูล ผมแทบจะไม่อยากทำต่ออีก ก็มีเพียงวิระดา เท่านั้นที่แก้ไขงานพิมพ์และพิมพ์ฉบับส่งออกมาได้ (2 ทุ่ม!) อย่างนี้ควรยกนิ้วให้ The Best Person of the Department 2549.

จะว่ากันจริงๆ งานนี้เหนื่อยเหมือนกัน แต่คิดว่าคุ้มนะเวลาที่ใช้ไป เนื่องจากว่า มันท้าทาย เราว่า ใช้เกณฑ์เดียวกัน เราอยู่ตรงไหนของสเกลไม้บรรทัดนี้ เราอยู่ที่ค่าเฉลี่ยของกลุ่ม ท้ายแถว หรือ หัวแถว เดชะบุญ เราคาบเส้น กรรมการบอก รับรองให้ได้ แต่มีเงื่อนไข ปีหน้ามาประลองใหม่นะ 

ซึ่งแน่นอน เราก็สามารถกลับไปดูข้อด้อย แล้วกลับมาคิดว่าจะทำให้ผลประเมินดีขึ้นต้องทำอย่างไร ถ้าทำได้ก็แน่นอนว่า ภาคเรามีพัฒนาการขึ้น และถ้า สมศ. ปรับเกณฑ์ให้ยากขึ้นอีก เราก็จะพยายามขึ้นอีก ทำอย่างนี้ ปีแล้วปีเล่า ไม่นานภาควิชา ยกระดับสู่สากลแน่นอน

จริงๆต้องการจะกล่าวขอบคุณสั้นๆ ฉะไหนพูดพล่ามไปไกล ดังนั้นขอจบแค่นี้ก่อน สวัสดีครับ

สมชาย

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท