สี่แยกอินโดจีน


วิสัยทัศน์ “พิษณุโลก : เมืองบริการสี่แยกอินโดจีน” “Phitsanulok : Indochina’s Service city”

         สืบเนื่องจาก บันทึกที่แล้ว

สี่แยกอินโดจีน

จังหวัดพิษณุโลก

วิสัยทัศน์  “พิษณุโลก : เมืองบริการสี่แยกอินโดจีน”

                 “Phitsanulok : Indochina’s Service city”

ยุทธศาสตร์

         “พัฒนาเพื่อเป็นบริการที่หลากหลาย (Service city) และมีความปลอดภัย (Safety city)”

ประเด็นสำคัญ

         1. ที่ตั้งเหมาะสมเป็นศูนย์กลางการคมนาคมของภาคเหนือตอนล่าง มีโครงสร้างเชื่อมโยงกับทุกภูมิภาคของประเทศ “อินโดจีน”

         2. มีศักยภาพด้านทรัพยากรการท่องเที่ยวที่หลากหลาย ทั้งแหล่งท่องเที่ยวที่เป็นธรรมชาติ ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม

         3. มีสถานประกอบธุรกิจขนาดใหญ่ ทั้งค้าส่งค้าปลีกที่ทันสมัยครบวงจร

         4. มีสถาบันการศึกษาในระดับอุดมศึกษาหลายแห่งเพื่อรองรับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

         5. เป็นที่ตั้งของส่วนราชการระดับสูงเขตภาค

         6. เป็นที่ตั้งของสถาบันฝีมือแรงงานภาคเหนือตอนล่าง

         7. มีระบบชลประทานเพื่อการเกษตรที่สมบูรณ์ของภาคเหนือ

         8. มีแหล่งวิชาการด้านการเกษตรที่เอื้อต่อการเกษตรกรรม

         9. เป็นศูนย์กลางสินค้าการเกษตร พืชผัก ผลไม้

         10. มีศาสนสถานและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่รวมจิตใจของประชาชนชาวพิษณุโลก คือ พระพุทธชินราช และสมเด็จพระนเรศวรมหาราช

         11. เป็นศูนย์กลางความมั่นคงของประเทศ ในเชิงยุทธศาสตร์การปกครองและการทหาร

         12. คณะรัฐมนตรีมีมติให้เป็นพื้นที่พัฒนา “สี่แยกอินโดจีน”

         13. มีข้อตกลงการประชุมระดับรัฐมนตรี 6 ประเทศ ลุ่มน้ำโขงเห็นชอบให้มีการพัฒนาพื้นที่แนวเศรษฐกิจเชื่อมโยงตะวันออก-ตะวันตก (East-west Economic Corridor)

         14. รัฐบาลมีนโยบายการส่งเสริมการขายสินค้าระบบ Account trade

         15. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติกำหนดให้จังหวัดพิษณุโลกเป็นศูนย์กลางการขนส่งและเป็นฐานการผลิตทางการเกษตรและอุตสาหกรรมแปรรูปครบวงจร

กลุ่มจังหวัด

         : พิษณุโลก เพชรบูรณ์ สุโขทัย ตาก อุตรดิถต์

วิสัยทัศน์  “พิษณุโลก : เมืองบริการสี่แยกอินโดจีน”

                 “Phitsanulok : Indochina’s Service city”

ยุทธศาสตร์

         “พัฒนาเพื่อเป็นบริการที่หลากหลาย (Service city) และมีความปลอดภัย (Safety city)”

ประเด็นสำคัญ

         1. ที่ตั้งของกลุ่มจังหวัดเป็นศูนย์กลางโครงสร้างการคมนาคมขนส่ง ที่เชื่อมโยงภูมิภาคและประเทศเพื่อนบ้าน

         2. มีพื้นที่ราบลุ่ม กว้างใหญ่เหมาะแก่การเกษตร

         3. มีความโดดเด่นในแหล่งท่องเที่ยวที่เป็นธรรมชาติ ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และเป็นที่ตั้งมรดกโลก

         4. มีสถาบันการศึกษาที่มีขีดความสามารถในการผลิตและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่มีความพร้อม

         5. มีพื้นที่ที่มีความเหมาะสมเพื่อพัฒนาเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน

         6. มติ ครม.2540 ให้พัฒนาจังหวัดในกลุ่มเป็นพื้นที่พัฒนา “สี่แยกอินโดจีน” รวมถึงกรอบข้อตกลงความร่วมมือการพัฒนาอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่าง (GMS-Greater Mekong Subregion) และการพัฒนาเส้นทางเศรษฐกิจเชื่อมโยง ตะวันออก-ตะวันตก (East-West Economic Corridor)

         7. เป็นศูนย์กลางการคมนาคมของอนุภาคลุ่มแม่น้ำโขง สามารถขยายฐานการผลิตด้านเกษตร การส่งออก และการส่งเสริมด้านการท่องเที่ยวกับประเทศเพื่อนบ้าน

         8. มีโอกาสเชื่อมโยงภาคการผลิตอุตสาหกรรมกับกลุ่มจังหวัดใกล้เคียง (นิคมอุตสาหกรรมพิจิตร)

         วิบูลย์ วัฒนาธร

.

หมายเลขบันทึก: 33750เขียนเมื่อ 12 มิถุนายน 2006 10:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 เมษายน 2012 13:46 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
วิเชษฐ์ ธรรมรุ่งพิทักษ์

พิษณุโลก ณ วันนี้มีความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจมาก และในอนาคตอันใกล้พิษณุโลกจะเป็นจังหวัดที่มั่งคั่งที่สุด ของภาคเหนือ รองจากจังหวัดเชียงใหม่ หรืออาจมากกว่า เนื่องจากโครงการพัฒนา "สี่แยกอินโดจีน" 

ศูนย์ประชุมนานาชาติ 

สวนสัตว์ 

ห้างเซ็นทรัล 

ฯลฯ.

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท