เนื่องด้วยหลักสูตรบริหารจัดการชุมชน


แนวทางที่ผมเสนอให้ใช้หลักสูตรการบริหารจัดการชุมชนกับแกนนำ8คนคือเสนอในเชิงหลักวิชาที่เป็นภาพรวม

แบบบันทึกความรู้ตามวิถีคนคอนของอาจารย์จำนงและทีมกศน.ถือเป็นเครื่องมือเดียวกับตารางอิสรภาพคือเป็นเครื่องมือเพื่อไปสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้ แบบบันทึกของอาจารย์ตั้งเป้าหมายเชิงปฏิบัติ เป้าหมายใหญ่ของเราคือเศรษฐกิจพอเพียงและวิสัยทัศน์เมืองนคร อาจารย์ใช้แบบบันทึกแตกเป็นเป้าหมายย่อยเรื่องการ ออม การลดรายจ่าย การเพิ่มรายได้ซึ่งเป็นเป้าหมายทางเศรษฐกิจ และยังมีเป้าหมายทางสังคมวัฒนธรรม  สิ่งแวดล้อม และสุขภาพอีกด้วย จากเป้าหมายย่อยที่ตั้งไว้ก็บันทึกการปฏิบัติว่าทำอย่างไรซึ่งเป็นกระบวนการเรียนรู้ของตนเองและแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันในกลุ่มย่อย รวมทั้งผู้เกี่ยวข้องเพื่อฝึกฝนให้เป็นบุคคลเรียนรู้
จึงเป็นเครื่องมือในการพัฒนาตนเองที่เป็นประโยชน์มากครับ

ผมเห็นว่าแบบบันทึกของอาจารย์ใช้ฐานการจัดการความรู้ ที่เน้นความคิดเชิงบวก อาศัยจินตนาการและเป้าหมายเป็นแนวทาง แต่แบบสำรวจข้อมูลรับจ่ายครัวเรือนและกระบวนการจัดทำแผนชีวิตชุมชนใช้ฐานงานวิจัยซึ่งยุ่งยากกว่าและอาจติดกับของปัญหาหรือเรื่องนอกตัวมากไป ไม่เจาะเข้าหาตัวเอง

สำหรับแนวทางที่ผมเสนอให้ใช้หลักสูตรการบริหารจัดการชุมชนกับแกนนำ8คนคือเสนอในเชิงหลักวิชาที่เป็นภาพรวม ซึ่งแบบบันทึกของอาจารย์และทีมกศน. ถือเป็นวิชาหนึ่งที่นำมาใช้ได้เป็นอย่างดี         เช่นเดียวกับตารางอิสรภาพ รวมทั้งบันทึกครัวเรือนเพื่อทำแผนชีวิตชุมชนและอื่นๆ

ถ้าคุณอำนวยตำบลรวมทีมกันทั้งกศน. พช. เกษตร สธ. ธกส. ฯลฯก็เปรียบเสมือนทีมครูโดยที่คุณกิจ8คนก็เป็นนักเรียน ภาพในฝันคือ     ทีมครูต้องมาดูหลักสูตรการพัฒนานักเรียนร่วมกันซึ่งหลักสูตรที่ผมเสนอคือ หลักสูตรบริหารจัดการชุมชน มันจะสอดคล้องกับแนวทางการจัดทำมาตรฐานงานชุมชนของพช.ที่เราเคยประชุมร่วมกันด้วย    ทีมครูต้องมาร่วมกันคิดค้นพัฒนาหลักสูตรว่าจะมีวิชาอะไรบ้าง        เอาแนวทางของโรงเรียนเกษตรกร ปุ๋ยอินทรีย์ ฯลฯ มาเชื่อมโยงกัน  ทั้งงบประมาณ เนื้อหาที่หนุนเสริมกัน และกระบวนการที่เน้นการเรียนรู้เชิงปฏิบัติเพื่อบรรลุเป้าหมาย(KM)เป็นแนวทางเดียวกัน เราก็จะทำงานอย่างมีพลัง บรรลุเป้าหมายได้ง่ายขึ้น เป็นการชนะร่วมกันของทุกหน่วยงานและชุมชนก็ชนะด้วย แต่ถ้าเรายังต่างคนต่างทำด้วยกระบวนการที่เป็นMK เราก็จะต่างคนต่างสำเร็จกิจกรรม แต่ไม่บรรลุเป้าหมาย ชุมชนก็ถูกกระทำ หมุนติ้วไปตามแรงกระทำของแต่ละหน่วยงานที่ใส่กิจกรรมเข้าไป เมืองไทยก็ไม่มีทางแข็งแรง และไม่สามารถสร้างสังคมฐานความรู้ขึ้นมาได้ งานนี้จึงต้องอาศัยความร่วมมือ และความอดทนอย่างยิ่งยวด ซึ่งผมเห็นว่า
เครื่องมือKMและเนื้อหาในการเรียนรู้นั้นพวกเรามีเป็นต้นทุนกันค่อนข้างมากแล้ว ขาดแต่การประสานทำงานกันเป็นทีมด้วยความอดทน และทำอย่างเป็นระบบต่อเนื่องเท่านั้นครับ

คำสำคัญ (Tags): #แก้จนเมืองนคร
หมายเลขบันทึก: 33746เขียนเมื่อ 12 มิถุนายน 2006 09:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:08 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เรียน อ.ภีม ภคเมธาวี

ผมรู้สึกว่าอาจารย์อธิบายได้ชัดมาก ผมต่อความคิดอาจารย์ได้แล้วครับ ไม่เฉพาะแต่ 8 คน ที่เป็นแกนนำของหมู่บ้านนะครับอาจารย์ ครัวเรือนอื่นที่สนใจที่จะพัฒนาตนเองอย่างจริงจัง  อาจารย์ใช้คำว่าตารางอิสรภาพสำหรับคุณกิจเพื่อทำงานไปสู่เป้าหมายของครัวเรือนตนเองให้ได้ เราก็ยินดีให้ใช้เครื่องมือนี้เช่นกันนะครับ คงต้องให้ทีมคุณอำนวยตำบลแต่ละทีมดูผู้เรียน(คุณกิจ)ของตนเป็นรายๆไปครับ ว่าถ้าแจกเครื่องมือนี้ให้ไปแล้วจะเวิร์คหรือไม่ คุณอำนวยตำบลต้องวิเคราะห์ความเป็นไปได้ และส่งเสริมการใช้เครืองมือนี้อย่างต่อเนื่อง

ขอบคุณอาจารย์อีกครั้งหนึ่งครับ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท