จาก “รักจัง” สู่เกลียดจัง : สู่การเมืองเรื่องอัตลักษณ์ “ชาวเขา” บนแผ่นฟิลม์


อัตลักษณ์และวัฒนธรรม เป็นสิ่งที่เคลื่อนไหว(dynamic) เพื่อรับใช้ปากท้องความอยู่รอด ดังนั้น มันจึงดัดแปลง แทรกซึม หดหาย รื้อถอนทำลาย ตีความใหม่ได้เสมอ ถ้ามีใครบางกลุ่ม มองเห็นต่างออกไป โดยเฉพาะยิ่งเป็นคนต่างถิ่นต่างวัฒนธรรมด้วยแล้ว ถ้าเขาทำไปด้วยความไม่รู้ไม่เจตนา ไม่ควรไปถือสา ให้อภัยกันได้ แลกเปลี่ยนเรียนรู้กันได้
[ก่อนอื่นต้องขอโทษผู้อ่านด้วย เนื่องเพราะมีปัญหาทางเทคนิค ไม่สามารถใช้เว้นวรรคในบล็อคได้ จึงต้องใช้จุดไข่ปลา(............)แทนเว้นวรรคครับ]......................................................................................................... ..................ขณะที่ผมกำลังพิมพ์บันทึกอยู่นี้ รายการทีวีตลาดสดสนามเป้า ก็กำลังนำเสนอคณะโปงลางสะออนในชุด “ชนเผ่า” ไปช่วยชาวอาข่าขายของอยู่ที่สวนลุมไนท์บาซาร์ บรรยากาศสนุกสนานทั้งนักแสดง และชาวอาข่าที่เข้าร่วม ............................................................................................................ ..................ย้อนกลับไปบ่ายนี้ นักวิชาการในอำเภอปางมะผ้าคนหนึ่ง ก็ได้โทรมาด้วยอยากให้ผมมองต่างมุมในฐานะนักวิชาการอิสระด้านสังคมศาสตร์ ว่าคิดอย่างไรในกรณีที่หนังเรื่อง“รักจัง” เคยมาถ่ายทำเรื่องนี้ แล้วถ่ายทอดภาพของชาวเขาเผ่ามูเซอดำออกมาอย่างขัดกับ “ความเป็นจริง” เช่น การใช้เครื่องแต่งกาย เป็นต้น ............................................................................................................ ..................ผมต้องออกตัวก่อนว่ายังไม่ได้ดูหนังเรื่องนี้ เพราะปกติก็ไม่ได้ดูหนังอะไรมากมาย นอกจากอาศัยดูจากทีวี ก็นับว่าเพียงพอแล้ว อย่างไรก็ตาม ผมก็พอจะนึกภาพออกที่มีชาวเขาจำนวนหนึ่ง โดยเฉพาะกลุ่มชาวเขาในสายเอ็นจีโอ หรือในกลุ่มปัญญาชน รวมถึงนักพัฒนาชาวเขา นักต่อสู้เรื่องสิทธิชาวเขา ที่ออกมาเคลื่อนไหวให้ทางทีมงานสร้างภาพยนตร์ออกมาขอโทษ หรือรับผิดชอบต่อ “ความผิดพลาด” ดังกล่าว ........................................................................................................................................................................................................................ ..................เรื่องนี้ไม่แปลกครับ เพราะเท่าที่ผมจำได้ ก็เคยมีละคร “แก้วกลางดง” โดนข้อกล่าวหานี้เหมือนกัน ส่วนจะจัดการอย่างไรกันนั้น ผมไม่ทราบ ............................................................................................................ ..................ส่วนตัวผม เห็นว่าทั้งสองฝ่าย ไม่ว่าทางผู้ออกมาเคลื่อนไหวก็ดี และผู้สร้างภาพยนตร์ก็ดี ล้วนทำสงครามบนฐานความคิดที่มองอัตลักษณ์ (identity) หรือความมีตัวตนทางทางวัฒนธรรมอย่างหยุดนิ่ง (static) ............................................................................................................ ..................กล่าวคือ มองว่า “ความเป็นชาวมูเซอ” ก็ดี “ความเป็นชาวอาข่า” ก็ดี เป็นอะไรแข็งๆที่เป็นรูปธรรมจับต้องได้ มองเห็นได้สักก้อนหนึ่ง เช่น อยู่ในรูปภาษา เครื่องแต่งกาย อุปกรณ์ในการทำมาหาเลี้ยงชีพ ระบบเครือญาติ พิธีกรรม เป็นต้น ............................................................................................................ ..................หากมีใครสักคน นิยาม หรือดัดแปลงต่างไปจากนี้ ก็ถือว่าไม่ถูกต้อง และต้องมาเอาเรื่องเอาราวกัน ทางสังคมวิทยาเรียกว่าแนวคิดแบบสารัตถะนิยม(essentialism) คือเชื่อว่าวัฒนธรรมก็ดี อัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ก็ดีล้วนมีความเป็นแก่นสาร มีรากเหง้า อันนี้เป็นวิธีคิดที่คนทั่วไปมองวัฒนธรรมชาวเขานะครับ ............................................................................................................ ..................อย่างไรก็ตาม คำถามของผมก็คือ ก็ยังมีชาวเขาอีกจำนวนมาก ซึ่งเป็นชาวเขากลุ่มใหญ่ของประเทศด้วยซ้ำ ที่ไม่เห็นอนาทรร้อนใจอะไรกับการตีความหรือการดัดแปลงอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์เหล่านี้ ............................................................................................................ ..................นักวิชาการ หรือเอ็นจีโอหลายคนอาจแย้งว่า เป็นเพราะชาวเขาเหล่านั้นไม่รู้ตัว ถูกครอบงำ หรือถูกล้างสมองไปให้ลืมกำพืดรากเหง้าตัวเองไปแล้ว แต่ผมมองต่างไปนะครับ ............................................................................................................ ..................ผมคิดว่า การที่ชาวเขากลุ่มใหญ่ของประเทศ หรือแม้กระทั่งชาวมูเซอดำในพื้นที่ที่กองถ่ายมาถ่ายทำอยู่นั้น ไม่ลุกขึ้นมาโต้แย้งอะไร เพราะพวกเขาเหล่านั้นมีความเข้าใจเรื่องอัตลักษณ์และวัฒนธรรมที่วางอยู่บนพื้นฐานความเป็นจริงมากกว่าชนชั้นกลางทั่วไป มากกว่านักอนุรักษ์ฟื้นฟูวัฒนธรรม หรือมากกว่าชาวเขาที่เป็นนักเคลื่อนไหวที่ปัจจุบันมีวิธีคิดแบบชนชั้นกลางไปแล้ว ............................................................................................................ ..................นั่นคือ พวกเขามองว่า อัตลักษณ์และวัฒนธรรม เป็นสิ่งที่เคลื่อนไหว(dynamic) เพื่อรับใช้ปากท้องความอยู่รอด ดังนั้น มันจึงดัดแปลง แทรกซึม หดหาย รื้อถอนทำลาย ตีความใหม่ได้เสมอ ถ้ามีใครบางกลุ่ม มองเห็นต่างออกไป โดยเฉพาะยิ่งเป็นคนต่างถิ่นต่างวัฒนธรรมด้วยแล้ว ถ้าเขาทำไปด้วยความไม่รู้ไม่เจตนา ไม่ควรไปถือสา ให้อภัยกันได้ แลกเปลี่ยนเรียนรู้กันได้ ............................................................................................................ ..................ครั้งหนึ่งผมออกทำวิจัยภาคสนามในหมู่บ้านลีซอแห่งหนึ่งในแม่ฮ่องสอน ผมก็ถามว่ารู้สึกอย่างไร เวลามีคนไทยต่างบ้านมาเที่ยวแล้วอาจจะทำอะไรผิดธรรมเนียมไปบ้าง เขาก็ตอบว่า ก็ขึ้นอยู่กับความร้ายแรง อย่างชู้สาว หรือเมาแล้วทะเลาะวิวาทวุ่นวายนี่ก็ต้องคุยกัน จะชำระสะสางอะไรก็ว่ากันไปอาจจะด้วยกฎจารีตหรือกฎหมายบ้านเมืองก็มาต่อรองกันอีกที แต่มิใช่ดุด่าหรือทำร้าย แต่ถ้าผิดทั่วไป เช่น นั่งผิดที่ผิดทาง หรือเป็นผู้หญิงแต่เข้าไปในบริเวณศักดิ์สิทธิ์ที่ห้ามผู้หญิงเข้า อันนี้ทั่วไปก็จะเห็นว่าเค้าไม่เจตนา แต่เป็นเพราะเขาไม่รู้ ต้องบอกให้เขารู้ ต้องให้อภัย ไม่ว่ากัน ............................................................................................................ ..................การที่นักพัฒนาชาวเขาก็ดี เอ็นจีโอก็ดีออกมาเคลื่อนไหวเพื่อปกป้องภาพลักษณ์ของ “ชาวเขา” ก็น่าจะเป็นเจตนารมณ์ที่ดีนะครับ แต่หากผู้สร้างภาพยนตร์ ดารา นักร้อง ออกมาแถลงว่าไม่ได้เจตนาจะลบหลู่ดูหมิ่นใครจริง ผมว่าก็น่าจะเปิดช่องแห่งการให้อภัยเพื่อนำไปสู่การสร้างบันไดการเรียนรู้ร่วมกันฉันท์มิตรสหายระหว่าง “ชาวเขา” กับ “ชาวเรา” ด้วย ............................................................................................................ ..................ข้างฝ่ายผู้ออกมามาเคลื่อนไหว แทนที่จะมุ่งติเตียนและชี้นำฝ่ายตรงข้าม ตนเองก็อาจจะถอดความไม่พอใจของตัวเองวางลงก่อน แล้วเอาสติเข้ามากำกับเพื่อศึกษาและทำความเข้าใจว่า มันมีเงื่อนไขปัจจัยอะไร ที่ทำให้ฝ่ายผู้ผลิตรายการภาพยนตร์แสดงมุมมองออกมาอย่างนั้น ตัวเราเองมีส่วนเกี่ยวข้องด้วยหรือไม่ อย่างไร หากแต่มองให้เห็นทะลุว่า เราเองก็เป็นส่วนหนึ่งของปัญหานั้นด้วยไม่มากก็น้อย ............................................................................................................ ..................ข้างผู้ผลิตสื่อ ก็น่าจะทำเช่นเดียวกันกับฝ่ายผู้ออกมาเคลื่อนไหวคัดค้าน การปฏิเสธหรือขอขมา หรือโต้แย้งอย่างไรคงไม่เพียงพอ หากไม่แก้ที่ต้นเหตุคือ ความคิดเห็นที่ผิด และต้องใช้วิธีการมองแบบเชื่อมโยงตัวเรา-ตัวเขา ทั้งในระดับจุลภาคและมหภาคอย่างมีบริบททางสังคมวัฒนธรรมการเมืองมากำกับ ดังนั้น หากทางผู้สร้างภาพยนตร์จะยกระดับกรณีพิพาทนี้ขึ้นมาเป็นการศึกษาเรียนรู้ จะถอดเป็นบทเรียน หรือกระบวนการศึกษาประสบการณ์อย่างไรก็ว่ากันไป ใช้กรณีพิพาทนี้ให้เป็นประโยชน์แก่สังคม กุศลกรรมน่าจะมากกว่าผลผลิตทางโลกย์จากหนังที่สร้างหลายเท่านัก ............................................................................................................ ..................สรุปง่ายๆ ก็คือ ผมเห็นว่าต่างฝ่ายควรถอยกันคนละก้าว แล้วหันมาตั้งหลัก ดึงสติของตนกลับคืนมา โดยมิเพียงศึกษามุมมองของอีกฝ่ายให้มากขึ้น หากแต่ต้องรู้เท่าทันอารมณ์ของตน และศึกษามุมมองของตัวเองให้มากขึ้นอีกด้วย โดยเชื่อมโยงกับบริบททางสังคมวัฒนธรรมการเมืองที่อยู่เบื้องหลังมุมมองเหล่านี้ และโดยเชื่อมโยงให้เห็นว่าทั้งเขาและเราล้วนสัมพันธ์พึ่งพิงกัน เมื่อเราเห็นว่าเขาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตของเรา ไม่ได้แยกขาดจากกัน และทุกคนล้วนเติบโตมาจากความผิดพลาด อภัยธรรมก็น่าจะบังเกิด เมื่อมีเมตตาก็น่าจะละลายความก้าวร้าว จากนั้นปัญญาก็น่าจะไหลลื่น ............................................................................................................ ..................การแบ่งว่าใครถูก ใครผิด อัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์แบบใดถูก แบบผิด แบบไหนของแท้ แบบไหนของเทียม (ซึ่งแท้จริง ไม่เคยมี วัฒนธรรมที่เป็น “ของแท้” หากแต่ล้วนเป็นสิ่งประกอบสร้างทางสังคมที่ปรับเปลี่ยนมาตลอดทุกพื้นที่และทุกยุคสมัย) การแบ่งว่าอะไรเป็นวัฒนธรรม “ของจริง” มิเพียงเป็นการกักขังวัฒนธรรมมิให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ซึ่งท้ายสุดวัฒนธรรมนั้นๆก็จะไปไม่รอดเพราะไม่สามารถยืดหยุ่นปรับตัวต่อพลวัตของบริบททางสังคมโลก หนำซ้ำ ยังก่อให้เกิดการเผชิญหน้าระหว่างผู้ที่ยึดติดหรือมีอัตตาในอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมแบบใดแบบหนึ่ง ซึ่งเป็นกำแพงที่มองไม่เห็นอันมีขนาดมหึมาที่ขวางกั้นการเรียนรู้ของมนุษยชาติ ............................................................................................................ ..................ฉะนี้แล้วสันติภาพแห่งการเรียนรู้อย่างสุนทรีย์และอ่อนโยนจะเกิดขึ้นได้อย่างไร?
คำสำคัญ (Tags): #วิจัยชาวเขา
หมายเลขบันทึก: 33737เขียนเมื่อ 12 มิถุนายน 2006 02:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 พฤษภาคม 2012 21:52 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)

      อย่างที่นักวิจัยฯ ท่านนี้ได้กล่าวมาข้างต้นแล้ว ข้าพเจ้าเห็นด้วยเป็นอย่างมาก ควรจะถอยกันคนละก้าว  เพื่อทำความเข้าใจซึ่งกันและกัน อย่างผู้สร้างหนังอาจจะไม่ได้มีเจตนาไปจะดูหมิ่น ที่ทำไปอาจเพราะไม่รู้  หรือไม่มีเข้าใจในอัตลักษณ์วันฒนธรรมชาวเขาที่แท้จิงก้อได้ ว่าอันไหนควรอันไหนไม่ควร

      ส่วนผู้ที่ออกมาต่อต้านก้อควรที่จะลดทิฐิลงบ้าง หันมาใช้สติ หาถึงสาเหตุว่าทำไม? และมาทำความเข้าใจซึ่งกันและกัน ให้อภัยซึ่งกันและกัน อันไหนที่เค้าไม่รู้เราอาจจะต้องมีการเตือน  การบอกเพื่อทำความเข้าใจให้ผู้ที่ไม่รู้ทราบกันไป ไม่ใช่ตั้งแง่จะแข็งใส่กันแบบนี้

      หันหน้าเข้าหากัน หาต้นเหตุแห่งปัญหาร่วมกัน ทำความเข้าใจซึ่งกันและกัน แล้วช่วยกันแก้ปัญหาดีกว่านะ

ทิฐิ ถ้าแปลอีกอย่างก็คือ อคติ (bias) ซึ่งผมคิดว่าปุถุชนทั่วไป รวมทั้งตัวผมย่อมมีอยู่ในเรื่องต่างๆมากบ้างน้อยบ้าง

อคติที่น่ากลัวมากของนักวิชาการก็คือ การยึดติดอยู่กับความรู้ที่ตนเองเรียนมา คิดว่าตัวเองเป็นผู้เชี่ยวชาญ ถูกยกยอปอปั้นให้เป็นท่านนั่นเป็นท่านนี่ อันนี้แก้ยากมาก เพราะมันห่อหุ้มโดยอัตตาอย่างหนา ต้องอาศัยปัจจัยหลายอย่างมาลอกละลายออก

ตัวผมเองก็ยังมีอคติอยู่มากมาย อย่างน้อยก็มีความดื้อแพ่งต่ออะไรมิอะไรหลายเรื่อง ยังไงก็ช่วยกันติติงด้วยนะครับ

 

 

 

 

รู้แต่ว่า คุณลอกตำรามาเขียน

 ในความเป็นจริง คุณ ก็ไม่ได้เป็นอย่างที่วิเคราะห์

แล้วจะใช้ หลักการวิเคราะห์เพื่อไร  ถ้าไม่ได้รู้สึกหรือว่าปฎิบัติแบบนั้น

ขอบคุณสำหรับข้อคิดเห็นล่าสุดของผู้ไม่ประสงค์จะออกนามนะครับ.............. อย่างไรก็ตาม ผมต้องขอชี้แจงในที่นี้ไว้ก่อนว่าผมเขียนจากประสบการณ์และมุมมองของผมเอง ไม่ได้ลอกตำราที่ไหนมาเลย ถ้าทางผู้ที่ให้ความเห็นล่าสุดจะกรุณา โปรดระบุให้ชัดด้วยนะครับว่าผมลอกตำราเล่มไหน หน้าไหนมาเขียน ผู้อื่นที่เข้ามาอ่านบล็อกจะได้มีความเข้าใจที่ถูกต้อง ดีไหมครับ........... และถ้าสมมติว่าผมลอกตำรามา ก็ไม่ใช่เรื่องเสียหายอะไร ถ้าการลอกเขามานั้นมันจะเป็นประโยชน์กับผู้อ่าน จริงไหมครับ........... อีกประการหนึ่ง ที่คุณอ้างว่าในความเป็นจริง ผมไม่ได้เป็นอย่างที่วิเคราะห์ อันนี้ต้องถามก่อนว่าคุณจะแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเนื้อหา หรือจะโจมตี ดิสเครดิตตัวบุคคลกันแน่ ผมว่าคุณต้องแยกให้ออกนะครับ ถ้าจะดิสเครดิตกัน ทำไมไม่ระบุชื่อกันมาตรงๆล่ะครับ ไยต้องหลบๆซ่อนๆ หรือคุณมีวัตถุประสงค์อะไรกันแน่ ผมอยากเห็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่แสดงความจริงใจกันมากกว่านี้ สร้างสรรค์กันมากกว่านี้ รวมถึงไม่อยากเห็นข้อความเช่นนี้ใบล็อคของคนอื่นนะครับ................... หากคุณใจเย็นลงและพบว่าคุณอาจจะใช้อารมณ์มากกว่า "ข้อมูล" ในการเสนอความเห็นมาเช่นนี้ ผมอยากให้คุณระมัดระวังในการเสนอความเห็นสักนิดด้วยนะครับ จะขอบคุณมาก................. ยังไงก็ขอบคุณนะครับที่แวะเข้ามา
รู้แต่ว่า ไปถ่ายทำในหมู่บ้าน ลาหู่ (มูเซอ->เขาไม่ชอบให้เรียก) แต่ นำเสนออัตลัษณ์ชาติพันธุ์อาข่า มันคืออะไร ยิ่งไปกว่านั้น ชุดที่ พระเอก สวมใส่ คือชุดสำหรับ สตรีชาวอาข่า แล้วจะว่าอย่างไร ????
ขอบคุณมากครับคุณ Cat ผมมีอยู่สามประเด็นจะแลกเปลี่ยนเพิ่มเติมนะครับ 1. ต้องยอมรับก่อนว่า ตัวผมเป็น Outsider ยังไง๊ ยังไง ก็ทำได้แค่แปลหรือตีความหมายจากมุมมองของชาวบ้านออกมา จะให้ดีที่สุด ก็คือ ชาวบ้านชาวเขา ต้องเป็นฝ่ายมาสะท้อนปัญหาหรือบอกเล่ากันให้เราเรียนรู้ อันนี้ ต้องช่วยกันเปิดพื้นที่ให้คนชายขอบเหล่านี้ครับ ............................................................... 2. การเปิดพื้นที่ให้ชาวเขา ออกมาพูดความเห็น นักพัฒนาต้องใจกว้างด้วย เพราะความเห็นของชาวเขาไม่เหมือนกันเลยนะครับ แม้จะเป็นกลุ่มชาติพันธุ์เดียวกัน อย่างลาหู่นี่ บางคนก็พอใจกับคำว่ามูเซอ บางคนก็ไม่ติดใจหากจะมีคนภายนอกมาใส่ชุดสลับเพศ เจ้าตัวเขากลับมองดูอย่างตลกสนุกสนาน คือเขามองว่า อัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ เป็นสิ่งที่ "เล่น"กับมันได้เสมอ จะไปทึกทักว่าเขาถูกครอบงำก็ไม่ได้ ก็ต้องฟังเหตุผลเขา บางทีผมก็เลยย้อนกลับมาถามตัวเอง ในฐานะชนชั้นกลางผู้คุ้นชินกับการจัดจำแนกสิ่งต่างๆออกเป็นส่วนๆว่า เอ นี่เรา กำลังกักขังอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ อัตลักษณ์ทางเพศของคนอื่นอยู่หรือเปล่า ............................................................................................ 3. เวลาเกิดความขัดแย้งกันทางความคิดเรื่องอัตลักษณ์ต่างๆ คำถามที่ถูกมองข้ามคือ มันมีเงื่อนไขหรือบริบทอะไรที่ทำให้เกิดความขัดแย้งกัน และจริงๆแล้ว ใครเป็น agency ของความขัดแย้งนี้ ทั่วไปจะเห็นว่า มีการโทษกันว่าใครถูก ใครผิด ไม่ได้ยกระดับไปสู่การวิเคราะห์เชิงนามธรรมหรืออุดมการณ์ที่ซ่อนอยู่ ก็เลยไม่หลุดจากการมองปัญหาในเชิงปัจเจก ท้ายสุดก็ปัจเจกก็จะเผชิญหน้ากัน และนำไปสู่ความเกลียดชังแทนที่จะร่วมกันเรียนรู้........................................................................................... ส่วนตัวผมคิดว่า ระบบทุนนิยมเป็นเงื่อนไขสำคัญที่ทำให้ผู้สร้างหนัง อาจจะ (จงใจ) หรือไม่ ไม่รู้ ที่จะใช้เครื่องแต่งกายหรือการล้อเลียนชาวเขาดังกล่าว เพราะมันตรงใจ "ตลาด" ผมคิดในมุมกลับว่า ถ้าชาวเขามาทำหนังเกี่ยวกับคนไทย ภายใต้วิธีคิดแบบทุนนิยม พวกเขาก็จะเอาคนไทย อัตลักษณ์ "ความเป็นไทย" ไปยำเหมือนกัน................................................................. ไม่รู้ว่าได้ตอบคำถามหรือเปล่านะครับ แต่ความคิดเห็นของคุณเป็นการบ้านทำให้ผมได้คิดวิเคราะห์ต่อ ขอบคุณมากครับ
ความจริงก็คือ ฝ่าย Production ไม่ได้มีความรู้ที่ถ่องแท้ในรายละเอียดต่าง ๆ ของ ความเป็นกลุ่มชาติพันธุ์และยิ่งคณะบุคคลที่ทำงานในแผนก Production & Creation ก็ไม่ได้มีความรู้เช่นเดียวกัน (หรืออาจมีแต่มี "ต่ำ" มากเกินไป-> อันนี้ก็มีปัญหา............................................. ต่อมา บางสังคม เราก็มองในฐานะ Outsider ที่คิดว่า น่าจะเป็น หรือควรจะเป็น และไม่น่าจะเป็น อะไรก็แล้วแต่ เรากลับลืมความนึกคิดที่ถือว่าเป็นนามธรรมที่จับต้องไม่ได้ นั้น ก็ย่อมมีส่วนที่ ค่อนข้าง sensitive ในด้านอารมณ์และความต้องการ ซึ่งบางที่คนเราก็ยังอยากต้องการ เก็บกด และ ปกปิด ไว้............................................... โดยเนื้อแท้ ไม่ว่าจะเห็นว่า ชาวลาหู่ อาจจะไม่ได้มีกระแสต่อต้านใด ๆ ในการที่ ผู้ผลิตหนัง นำเอาอัตลักษณ์อื่นมาแสดงในพื้นที่ซึ่งประกอบไปด้วยอัตลักษณ์ของตน (Identity sphere) ก็คงจะมีส่วนหนึ่งมองเห็นเป็นเรื่องไม่เหมาะสม ใช่ไหม.............................................. ส่วนเรื่องการแต่งกาย แน่นอน ย่อมมีคนมองว่า น่ารักสวยงาม แต่ ลึก ๆ เล่าเป็นเช่นใด กลับมาลองคิดว่า ถ้า ผู้ชายไทย หันมานุ่งผ้าซิ่น ก็ดู น่ารักดี ใช่หรือไม่ แต่ ลึก ๆ ก็คงจะ มองว่า อะไรกัน .................................................. ไม้ได้ว่า เราจะไปกักขังอัตลักษณ์อะไรของใคร เพราะดังที่เจ้าของบทความกล่าวไว้แล้วว่า "อัตลักษณ์ไม่ได้แน่นอนตายตัว แต่หากเลื่อนไหลและถูดดัดแปลง สร้างใหม่ ลบทิ้ง ให้เข้ากับบริบทต่าง ๆ อยู่เสมอ" ........................................................... เราไม่ได้กักขังหรอกครับ แต่เพราะมองในแง่ของความรู้จริงและความรู้จอมปลอม ดังที่อาจจะเคยได้ยินมาว่า อะไรบางอย่างกลายเป็น "วัฒนธรรมดัดจริต" ................................................ อีกนิดหนึ่ง วัฒนธรรมเองก็ไม่ใช่ว่าจะสถิตย์ คงอยู่เป็นรูปแบบตายตัว ไม่เปลี่ยนแปลงเช่นกัน เพียงแต่ว่าอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงที่"สามารถรับได้" หรือ "ไม่สามารถรับได้"

เพิ่งเข้ามาอ่านบทความและการพูดคุยอย่างต่อเนื่องของ"ยอดดอย"-cat-???-น่าสนใจดีนะ

ท้าวความสักหน่อย-ถ้าจำช่วงที่รายการช่อง5หลังข่าวขนผู้กำกับ นักแสดงเด่นๆมาแถลงข่าว ขอโทษขอโพยพี่น้องชาวเขา และดอดไปสัมภาษณ์ดร.เสรี วงศ์ฯ เธอก็ให้ความเห็นเพิ่มเติมว่า ไม่น่ามีปัญหาอะไรเพราะชุดแต่งกายก็ไม่ได้ระบุว่าชาวเขาเผ่าไหน(ทั้งคนถาม-คนตอบช่างคิดได้ ไม่ชัดไม่ผิด)

นู่ฟิล์มสุดหล่อโปรยยิ้มขอโทษถ้าหนังอาจทำให้เข้าใจผิด หนังไม่มีเจตนาเช่นนั้น ก่อนจบรายการหนุ่มน้อยทิ้งทวนชวนคนดูไปชมหนังเรื่องนี้ (เอ๊ะหรือนู๋คิด ดี...!!!ประท้วงกันหนักๆ เข้าไว้ไม่ต้องเสียเงินโปรโมท เดี๋ยวแฟนๆที่เห็นใจฟิล์มก็แห่แหนกันเข้าโรง)จะได้เห็นถึงความน่ารักของชาวเขา(เอ้าทำเป็นเล่นไป-เมื่อกี้ผู้ชมทางบ้านก็เห็นแล้วใช่มั้ยสองสาวชาวดอยพูดก็ม่ายชัก....ร้องเพลงก็ม่ายชัก น่ารักดีออกตัวเอง)

นอกจากน่ารักแล้ว หนังเรื่องนี้ยังแฝงสาระเกี่ยวกับชาวเขาผู้รักษาป่าไว้อีกนะยะ(บรรดานักพัฒนา นักวิชาการและฝ่ายแค้นน่าจะหอมแก้มและบรรจงกราบงามๆที่ตักผู้สร้างสักครั้ง) เพราะเขาได้พยายาม(ย้ำนะฮะ-พยายาม)ชี้ถึงภูมิปัญญาท้องถิ่นในการจัดการป่า(อีตาผู้กำกับต้องอ่านบทความวิชาการประเภท"วาทกง วาทรรม" -counter discourse ชาวเขาทำลายป่า-เป็นแน่เลย)แกเล่าอย่างภูมิใจว่าแกไปถามชาวเขาก่อนว่ามีพิธีอะไรที่เกี่ยวข้องกับป่า จากนั้นก็นำมาดัดแปลงอีกนิดหน่อย(ฉากสุดงามเลยขอบอก)

 โอเค...มั้ย หนังเรื่องนี้ไม่ใช่เล่นๆ นะ อุตส่าห์นำเสนอภาพลักษณ์ชาวเขา(แบบเหมารวม)ให้ดูน่ารักน่าเอ็นดู (ต่อไปอีกนานเท่านาน-ตามที่คุณยอดดอยใช้ว่า กักขังอัตลักษณ์) เป็นสังคมดั้งเดิมที่อุดมด้วยภูมิปัญญา(แนบชิดธรรมชาติ)ผ่านสายตาของพระเอกสุดหล่อผู้หลงทาง/สูญเสียความทรงจำจากเมืองใหญ่ (คล้ายๆ นักวิจัยชาวเขา...จังเยย) กระทั่งมาหลงใหลในความงามพิสุทธ์ ความขี้เล่นสนุกสนานซุกซนของสาวๆ ชาวเขา และยังเข้าถึงภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีคุณค่ายิ่งต่อชีวิต...โอ

 แต่เอ๊ะ---คุณยอดดอย/คุณCat/คุณ???ไหนๆ เราก็ได้คุยกันมาบ้าง พวกเราน่าจะหาเวลาไปดูหนังเรื่องนี้ด้วยกันสักครั้งดีไหม 

 

 

 

 

ขอบคุณมากครับคุณปลายฟ้าที่ชี้ช่องให้เห็นความหลากหลายของเนื้อหาที่อยู่ในหนัง ผมเองยังไม่ได้ดูเลยครับ รอยืมแผ่นวีซีดีจากชาวบ้าน ตอนนี้ชาวบ้านชาวเขาดูหนังมากกว่าผมแล้ว โดยเฉพาะเด็กวัยรุ่นลีซอ ลาหู่ ไทใหญ่ ถามชื่อดาราคนไหนรู้ไปหมด................................................. ถึงไม่ได้ดูหนัง ตอนนี้ก็ได้แต่นั่งทางในดูไปก่อน อาศัยคนอื่นเขาเล่าให้ฟัง เงินในกระเป๋าก็มีน้อย น้ำลายไหลย้อยสุดๆแล้วค่อยไปดู ผมก็เห็นด้วยกับพี่ปลายฟ้านะครับว่า เนื้อหาในหนังมันมีความซับซ้อน ซ่อนวาทกรรมไว้หลายชั้นหลายชิ้น ที่เป็นไปได้ว่า มีทั้งเสริมและขัดแย้งกันอยู่ในที ไม่ได้เอาวาทกรรมมาโม่เป็นเนื้อเดียวกัน แต่น่าจะนำมาใส่รวมกันออกมาเหมือนแกงหม้อมากกว่า ส่วนรสชาติจะออกมาถูกปากใครนั้น แน่นอนว่าเขาคงต้องปรุงให้ถูกใจคนมีเงินซื้อนะครับ......................................................... หากมองตามที่พี่ปลายฟ้าว่า เนื่องจากในเนื้อหา มันมีวาทกรรมซ่อนอยู่หลายเรื่อง ดังนั้น การจะฟันธงลงไปว่าหนังเรื่องนี้มันดี มันห่วย มันแย่ มันเยี่ยม อย่างไร แบบชีวิตนี้มีคำตอบเดียวนั้น เห็นจะยากครับ ......................................................แต่ก็บอกตามตรง ผมเองไม่ได้ชื่นชอบอะไรหรอกครับที่เห็นดาราออกมาทำตลก สร้างจุดขายให้ตัวเองด้วยการพูดภาษาไทยไม่ชัด ก็เคยนึกรำคาญหูอยู่ แต่มานึกดูก็เห็นใจเขาที่อาจจะทำไปด้วยความไม่เข้าใจ หรือติดอยู่ในวัตถุนิยม หรืออะไรก็แล้วแต่ แต่อย่างน้อย การที่ใครสักคน ต้องมาดัดเสียง เกร็งหลอดลมให้พูดไม่ชัด (ทั้งที่จริงๆแล้วเป็นคนพูดชัด) นั้น มันก็ไม่ง่ายนะครับ นี่ ทุกข์นะครับ ไม่เชื่อ ลองทำเป็นพูดไม่ชัด สักหกชั่วโมงดู มีผลต่อสุขภาพคนทำด้วยนะครับ เป็นกรรมเวรของนักแสดงเหมือนกัน ......................................................... หนังเรื่องนี้ดูได้หลายมุมนะครับ เหมือนกับหนังที่พาดพิงอิงอัตลักษณ์ชาวเขาอีกหลายชุด ตั้งแต่โรแมนติกคอเมอดี ไปถึงอีโรติคและฮาร์ดคอร์ หนังแนวกลุ่มชาติพันธุ์ที่สร้างสื่อและเสพโดย Outsider เหล่านี้กำลังผลิดอกออกช่อชูสไสว ตอนนี้ โกอินเตอร์ไปแล้ว อย่างน้อยก็ถึงพี่น้องลาว พม่า กัมพูชาของเรา อยากให้มีเวทีอย่างนี้ คุยกันเยอะๆครับ (แบบสมานฉันท์นะครับ คุยกันแล้วผิดหัวผิดใจกันอันนี้อาตมาขอบาย)...................................................................... ผมเห็นด้วยอย่างยิ่งที่พี่ปลายฟ้าเสนอให้เราไปดูหนังด้วยกันนะครับ แต่ที่แม่ฮ่องสอนนี่ไม่มีโรงหนังสักโรง ดูทีวีก็คงพอไหว แต่ถ้าจะให้ดี ผมอยากให้ลองเอาหนังเรื่องนี้ไปดูร่วมกับชาวบ้านด้วย แล้วเราลองนำมาแลกเปลี่ยนกันดีไหม?......................................................... ว่าแต่ ใครพอจะมีหนังแผ่นเรื่องนี้ ให้ผมขอยืมดูได้บ้างครับ?

แฮ่ ๆ นึกว่าจะไม่ ฮิต และ ฮอท

 อยากดูหนังเหมือนกัน ก็คงเหมือนเรื่องที่ คุณเทพ โพธิ์งาม เป็น ผู้กำกับ คราวก่อน (เรื่องไรจำไม่ได้ แต่มีตัวละคอนเป็น ชาวกะเหรี่ยง

 ก็ ดูแล้ว ตลก ดี คงสะใจ กะความต้องการสนองตอบความสนุกของผู้กำกับและผู้ที่รอคอยดู ความด้อยปัญญา ของชนเผ่า เพราะหลายคนออกมาจากโรงหนังแล้ว พูดเสียงดังว่า "ทำไมถึงได้โง่อย่างนี้" ซึ่งเป็นตอนที่ตัวละคอนที่เป็นนักแสดงตลก ถูกคุณอาภาพร นครสวรรค์ เอา เท้าเหยียบหน้า ตอนปีนต้นไม้ และตอนอื่น ๆ อีกเยอะ ทั้งปล้นทั้งที่ปล้น โรงพยาบาล หรือแม้แต่ "ขี้-ออก-แล้"

 ผมก็อยากดู หนังที่ "ฟิล์ม" แสดงเหมือนกัน แต่ไม่อยากเสียเงินไปดูในโรงหนัง รอดู หนัง ก๊อป ดีกว่า ถูกและ อินเทรนด์ ดี

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท