ชุดการเรียนการสอน วิชาวิทยาศาสตร์


ชุดการเรียนการสอน วิชาวิทยาศาสตร์

คู่มือนักเรียน 

ชุดการเรียนการสอน  ชุดที่  1 

สาระการเรียนรู้พื้นฐาน  ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม   

กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  3

เรื่อง  ระบบนิเวศ

 

 

 

 

ว่าที่  ร.ท.วราวุธ    คำพระรัตนตรัย 

ตำแหน่ง  ครู  วิทยฐานะ  ครูชำนาญการ 

 

โรงเรียนศรีบัวบานวิทยาคม  อำเภอเมือง  จังหวัดนครพนม 

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครพนม เขต 1

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน  

กระทรวงศึกษาธิการ 

 

 

              ชุดการเรียนการสอน  ชุดที่  1  เรื่อง ระบบนิเวศ  ได้จัดทำขึ้นเพื่อพัฒนาการเรียน         การสอน  กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์  ประกอบแผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2 - 5            เรื่อง ระบบนิเวศ  และสำหรับซ่อมเสริมนักเรียนที่ไม่ผ่านจุดประสงค์การเรียนรู้เรื่อง              ระบบนิเวศ 

ชุดการเรียนการสอนเล่มนี้  ได้จัดทำขึ้นเพื่อสะดวกต่อการนำไปใช้สำหรับการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักเรียน  และเพื่อเป็นแนวทางสำหรับครูที่จะนำชุดการเรียนการสอนไปใช้          ให้เป็นประโยชน์ต่อการเรียนการสอน  เพื่อให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

            หวังเป็นอย่างยิ่งว่าเอกสารเล่มนี้  จะอำนวยความสะดวกแก่ครูผู้สอนในกลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์  และนักเรียนอย่างแท้จริง

 

 

                                                                                          ว่าที่ ร.ท.วราวุธ     คำพระรัตนตรัย  

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

เรื่อง                                                                                                                                                       หน้า 

 

คู่มือนักเรียน  ..........................................................................................................    ก

บัตรเนื้อหา เรื่อง ระบบนิเวศ    ...............................................................................    1

บัตรกิจกรรม  กิจกรรมที่ 1.1 สำรวจสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น    ................................    4

แบบบันทึกกิจกรรมที่ 1.1  สำรวจสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น  ......................................    7

แบบเฉลยบัตรกิจกรรมที่ 1.1  สำรวจสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น    ................................   9

บัตรกิจกรรม  กิจกรรมที่ 1.2 สำรวจอาหารสัตว์    ..................................................    11

แบบบันทึกกิจกรรมที่ 1.2  สำรวจอาหารสัตว์  ........................................................   12

แบบเฉลยบัตรกิจกรรมที่ 1.2  สำรวจอาหารสัตว์    …………..................................   13

แบบทดสอบ ชุดการเรียนการสอน ชุดที่  1  เรื่อง  ระบบนิเวศ    .............................   14

เฉลยแบบทดสอบ ชุดการเรียนการสอน ชุดที่  1  เรื่อง  ระบบนิเวศ    .....................   17

             บรรณานุกรม    ..........................................................................................................  18

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

คู่มือนักเรียน 

ชุดการเรียนการสอน ชุดที่  1  เรื่อง  ระบบนิเวศ

 

 

ข้อเสนอแนะสำหรับนักเรียน

  1. บทเรียนนี้ใช้เวลา  240  นาที
  2. นักเรียนรับเอกสารจากครู  4  ฉบับดังนี้

2.1        คู่มือนักเรียน

2.2        บัตรกิจกรรม

2.3        แบบทดสอบเรื่อง  ระบบนิเวศ

2.4        แบบบันทึกผลงาน

  1. จุดมุ่งหมายของบทเรียน  เมื่อนักเรียนเรียนจบบทเรียนนี้แล้วจะสามารถ

3.1        สำรวจและอธิบายองค์ประกอบทางชีวภาพและองค์ประกอบทางกายภาพของระบบนิเวศในท้องถิ่น

3.2        อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบต่าง ๆ ภายในระบบนิเวศ

  1. กิจกรรมที่นักเรียนต้องปฏิบัติ

4.1        ก่อนเรียนบทเรียนนักเรียนต้องศึกษาคู่มือนักเรียนบัตรกิจกรรม

อย่างละเอียดให้เข้าใจอย่างชัดเจน

4.2        นักเรียนต้องทำกิจกรรมการเรียนการสอนตามลำดับดังนี้

4.2.1  ทำกิจกรรมแบ่งกลุ่ม

4.2.2  ทำการสังเกต  สืบค้นข้อมูล

4.2.3  อภิปรายและสรุปผลการทดลอง

4.2.4  บันทึกผลการสังเกต

4.2.5  ส่งตัวแทนกลุ่มนำเสนอผลงานที่สังเกตได้

  1. การประเมินผลหลังเรียน  นักเรียนทำกิจกรรมสังเกตและสรุปผลได้

ครบตามที่กำหนดโดยครูผู้สอนจะประเมินผลจากพฤติกรรมการสังเกต  การอภิปราย  การตอบคำถาม  การให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม   การทำแบบทดสอบ

 

 

บัตรเนื้อหา   

เรื่อง  ระบบนิเวศ 

 

ระบบนิเวศ (Ecosystem)

 

ระบบนิเวศ หมายถึง ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิต ในแหล่ง ที่อยู่อาศัย ณ ที่ใดที่หนึ่ง ความสัมพันธ์ มี 2 ลักษณะ คือ ความสัมพันธ์ระหว่าง สิ่งมีชีวิตกับสิ่งไม่มีชีวิต และระหว่าง สิ่งมีชีวิต กับสิ่งมีชีวิตด้วยกันเอง โดยมีการถ่ายทอดพลังงาน และสารอาหารในบริเวณนั้นๆ               สู่สิ่งแวดล้อม 

ระบบนิเวศแบ่งออกเป็น 2 ประเภท

1. ระบบนิเวศบนบก (Terrestial Ecosystems)
2. ระบบนิเวศในน้ำ (Aquatic Ecosystems)
 

ภาพ  ระบบนิเวศต่าง ๆ 

ทุ่งหญ้า

ชุมชน

ลำธาร

 

ต้นไม้ใหญ่

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

              ระบบนิเวศ  รอบตัวเราอาจมีได้ทั้งระบบนิเวศเล็ก ๆ  จนถึงระบบนิเวศขนาดใหญ่  เช่น  ระบบนิเวศป่าไม้  ระบบนิเวศป่าชายเลน  ระบบนิเวศแม่น้ำ  เป็นต้น  ระบบนิเวศมากมายนี้มีสิ่งมีชีวิตและสภาพแวดล้อมที่แตกต่างหลาย  เมื่อพิจารณาโดยรวมแล้วนักเรียนคงจะเห็นว่าสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิตทั้งหลาย

ในโลกมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน  จึงอาจกล่าวได้ว่า โลกทั้งโลกเป็นระบบนิเวศหนึ่งด้วย

 

องค์ประกอบในระบบนิเวศ

องค์ประกอบในระบบนิเวศ ประกอบด้วย 2 ส่วน

 

 

1. องค์ประกอบที่ไม่มีชีวิต (Abiotic Component)
               -  องค์ประกอบทางชีวภาพ  เช่น  อนินทรียสาร  ได้แก่  ไนโตรเจน คาร์บอนไดออกไซด์  ออกซิเจน  น้ำ  และคาร์บอน  อินทรียสาร  ได้แก่ คาร์โบไฮเดรต  โปรตีน  ไขมัน ฯลฯ
               - องค์ประกอบทางกายภาพ  ได้แก่ อุณหภูมิ แสง ความเป็นกรด เป็นด่าง

ความเค็มและความชื้น

 

 

2. ส่วนประกอบที่มีชีวิต (Biotic Component) ได้แก่
               - ผู้ผลิต (Producer)
               - ผู้บริโภค  (Consumer)
               - ผู้ย่อยสลาย (Decompser)

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

    ผู้ผลิต (Producer) คือ

พืชสีเขียว

               สิ่งมีชีวิต ที่สามารถนำพลังงานจากแสงอาทิตย์ มาสังเคราะห์อาหารขึ้นได้เอง ด้วย    แร่ธาตุและสสาร ที่มีอยู่ตามธรรมชาติ ได้แก่ พืชสีเขียว แพลงค์ตอนพืช และแบคทีเรีย            บางชนิด

 

 

 

ผู้บริโภค (Consumer) คือ

      สิ่งมีชีวิตที่กินสิ่งมีชีวิตอื่นๆเป็นอาหาร แบ่งได้เป็น

               - สิ่งมีชีวิตที่กินพืชเป็นอาหาร (Herbivore) เช่น วัว ควาย กระต่าย และปลาที่กินพืชเล็กๆ ฯลฯ

               - สิ่งมีชีวิตที่กินสัตว์อื่นเป็นอาหาร (Carnivore) เช่น       

วัว 

เสือ  สุนัข กบ สุนัขจิ้งจอก ฯลฯ

 

               - สิ่งมีชีวิตที่กินทั้งพืช และสัตว์ (Omnivore) ซึ่งเป็นลำดับ การกินสูงสุด เช่น มนุษย์

 

 

ผู้ย่อยสลาย (Decomposer) คือ

    เป็นพวกที่ผลิตอาหารเองไม่ได้ ต้องอาศัยซากของ สิ่งมีชีวิต อื่นเป็นอาหาร                         โดยการ ย่อยสลาย ซากสิ่งมีชีวิต ให้เป็นสารอินทรีย์ได้

 

 

 

 

 

 

 

บัตรกิจกรรม  

เรื่อง  ระบบนิเวศ   กิจกรรมที่  1.1  สำรวจสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น

 

 

กิจกรรมที่  1.1

 

      สำรวจสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น

 

       ให้แต่ละกลุ่มเลือกพื้นที่ที่สนใจจะศึกษา  ซึ่งอาจเป็นบนบกหรือแหล่งน้ำ  เมื่อเลือกบริเวณที่จะสำรวจได้แล้ว  กำหนดขอบเขตของบริเวณที่จะสำรวจประมาณ  10m 10m  และเริ่มสำรวจดังนี้

 

       1.  สังเกตและบันทึกสภาพแวดล้อมทั่วไปของบริเวณที่สำรวจ  ตลอดจนลักษณะทั่วไปอื่น ๆ ของพื้นที่  เช่น  ต้นไม้  อาคาร  สิ่งปลูกสร้าง  ร่มเงา  สีและกลิ่นของน้ำหรือดิน  ลักษณะเนื้อดิน  ฝุ่นละออง  ควัน  กลิ่น  และเสียง  เป็นต้น

 

       2.  ศึกษาองค์ประกอบที่ไม่มีชีวิตในบริเวณที่สำรวจ  ดังนี้

               2.1  แสงสว่าง 

                     -  แหล่งน้ำ วัดระยะทางที่แสงส่องผ่าน้ำ  โดยใช้เซคิดิสก์ 

                     -  พื้นที่บนบก  วัดความหนาแน่นของเรือนยอดของต้นไม้ในบริเวณนั้น  โดยใช้เดนซิโอมิเตอร์  ซึ่งจะช่วยให้เปรียบเทียบได้ว่า  แต่ละบริเวณมีพื้นที่ที่แสงส่องถึงพื้นดินมากน้อยต่างกันเพียงใด

   เดี๋ยวเราไปดูภาพตัวอย่างของเซคิดิสก์และเดนซิโอมิเตอร์ในหน้าถัดไปกันดีกว่า

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

เซคิดิสก์ใช้วัดระยะทางที่แสงส่องผ่านน้ำ 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

เดนซิโอมิเตอร์  ใช้วัดความหนาแน่น 

ของเรือนยอดของต้นไม้ 

 

 

 

2.2  อุณหภูมิ 

                                       -  แหล่งน้ำ  วัดอุณหภูมิที่ผิวน้ำ  โดยหย่อนเทอร์มอมิเตอร์ลงในน้ำลึกประมาณ  5  cm  บันทึกอุณหภูมิที่อ่านได้

                                       -  พื้นที่บนบก  วัดอุณหภูมิที่ผิวดิน  โดยเสียบเทอร์มอมิเตอร์ลงไปในดินลึกประมาณ  5  cm  บันทึกอุณหภูมิที่อ่านได้

                        2.3  ความเป็นกรด – เบส (pH) 

                                       -  แหล่งน้ำ  วัด  pH  ของน้ำที่ผิวน้ำโดยใช้แท่งแก้วจุ่มลงในตัวอย่างน้ำที่เก็บจากบริเวณผิวน้ำ  นำมาแตะลงบนกระดาษยูนิเวอร์ซัลอนิดิเคเตอร์  เทียบสีกับสีมาตรฐาน บันทึกค่า pH ที่อ่านได้

                                       -  พื้นที่บนบก  วัด pH ของดิน  โดยนำดินจากระดับผิวดินประมาณ  50  g  ใส่ลงในภาชนะ  เติมน้ำกลั่น  50 cm3   ใช้แท่งแก้วคนให้เข้ากัน  ตั้งทิ้งไว้สักครู่  จากนั้นใช้แท่งแก้วจุ่มส่วนที่เป็นของเหลวมาแตะลงบนกระดาษยูนิเวอร์ซัลอินดิเคเตอร์  เทียบสีกับสีมาตรฐานแล้วบันทึกค่า pH ที่อ่านได้

       3.  ศึกษาองค์ประกอบที่มีชีวิตในบริเวณที่สำรวจ  ดังนี้

                        3.1  บันทึกข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตที่พบ  โดยระบุชื่อ  ลักษณะ  จำนวน และแหล่งที่พบ

                        3.2  สังเกตพฤติกรรมของสิ่งมีชีวิต  เช่น  การกินอาหาร 

การอยู่ร่วมกัน

         4.  ศึกษาว่าชุมชนในท้องถิ่นใช้ประโยชน์จากพื้นที่ที่สำรวจอย่างไร  รวมทั้งผลที่เกิดขึ้นจากการใช้ประโยชน์นั้น

         5.  วิเคราะห์  สรุปผล  และนำเสนอผลการสำรวจสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น

 

 

 

 

 

 

 

 

แบบบันทึกกิจกรรมที่  1.1  สำรวจสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น

บันทึกครั้งที่ ...........                                                                                                     บัตรงานที่ ......... 

วันที่ ............ เดือน ...................................... พ.ศ.. ........................ กลุ่มที่ .........

 

จุดประสงค์   สังเกตและบันทึกผล  สภาพทั่วไป  และองค์ประกอบที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต                   ในบริเวณที่ศึกษา

 

 

ตารางบันทึกผลการสำรวจองค์ประกอบที่ไม่มีชีวิตและมีชีวิตในระบบนิเวศบนบก 

 

 

องค์ประกอบที่ไม่มีชีวิต 

องค์ประกอบที่มีชีวิต 

อุณหภูมิที่ 

ผิวดิน  (oC)

ความเป็น 

กรด-เบส(pH)

ของดิน

สิ่งมีชีวิตที่พบ 

ลักษณะสำคัญ 

จำนวน 

แหล่งที่พบ 

พฤติกรรมที่สังเกต/การกินอาหาร

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ตารางบันทึกผลการสำรวจองค์ประกอบที่ไม่มีชีวิตและมีชีวิตในระบบนิเวศแหล่งน้ำ 

 

 

องค์ประกอบที่ไม่มีชีวิต 

องค์ประกอบที่มีชีวิต 

อุณหภูมิที่ 

ผิวดิน  (oC)

ความเป็น 

กรด-เบส(pH)

ของดิน

สิ่งมีชีวิตที่พบ 

ลักษณะสำคัญ 

จำนวน 

แหล่งที่พบ 

พฤติกรรมที่สังเกต/การกินอาหาร

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

อยากรู้แนวคำตอบจัง

พร้อมแล้วเปิดหน้าถัดไปเลย

 

 

 

 

 

 

 

 

แบบเฉลยบัตรกิจกรรมที่  1.1  สำรวจสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น

เรื่อง  ระบบนิเวศ 

 

 

 

แนวคำตอบ

 

ตารางบันทึกผลการสำรวจองค์ประกอบที่ไม่มีชีวิตและมีชีวิตในระบบนิเวศบนบก 

 

 

องค์ประกอบที่ไม่มีชีวิต 

องค์ประกอบที่มีชีวิต 

อุณหภูมิที่ 

ผิวดิน  (oC)

ความเป็น 

กรด-เบส(pH)

ของดิน

สิ่งมีชีวิตที่พบ 

ลักษณะสำคัญ 

จำนวน 

แหล่งที่พบ 

พฤติกรรมที่สังเกต/การกินอาหาร

31

7.0

ต้นหูกวาง

ไม้ยืนต้น สูงประมาณ 20  เมตร ใบขนาดใหญ่ รูปไข่ ดอกขนาดเล็กสีขาว

1 ต้น

พบบริเวณที่สำรวจ

-------

 

 

 

 

หญ้า

ใบเรียวแคบ ยาวประมาณ 10 ขึ้นอยู่ห่าง ๆ กัน

เล็ก

น้อย

พบทั่วไปในบริเวณที่สำรวจ

-------

 

 

 

 

 

 

ต้นทาน

ตะวัน

สูงประมาณ 2 เมตร ขอบใบหยัก มีดอกสีเหลืองขนาดใหญ่

20 ต้น

ขึ้นอยู่เป็นแนวยาวบริเวณสำรวจ

หันเข้าหาดวงอาทิตย์บริเวณดอกมักมีแมลงมาเกาะ

 

 

 

 

 

 

 

 

แนวคำตอบ

 

ตารางบันทึกผลการสำรวจองค์ประกอบที่ไม่มีชีวิตและมีชีวิตในระบบนิเวศแหล่งน้ำ 

 

 

องค์ประกอบที่ไม่มีชีวิต 

องค์ประกอบที่มีชีวิต 

ความลึกในการส่องผ่านของแสง(เมตร) 

อุณหภูมิที่ 

ผิวดิน  (oC)

ความเป็น 

กรด-เบส(pH)

ของดิน

สิ่งมีชีวิตที่พบ 

ลักษณะสำคัญ 

จำนวน 

แหล่งที่พบ 

0.5

29

7.0

จอก

ลำต้นสั้น ใบเดี่ยวเป็นรูปพัด มีขนปกคลุ่มทั่วไป

ปานกลาง

พบทั่วไปบนผิวน้ำ

0.5

29

7.0

แหน

ใบกลมสีเขียว มีรากเป็นเส้นเล็ก ๆ หลายเส้น ขนาดของรากสั้น หยั่งไม่ถึงดิน

มาก

พบทั่วไปบนผิวน้ำ

 

 

 

ปลาเข็ม

ลำตัวยาวประมาณ 5 เซนติเมตร ปากเล็ก

5 ตัว

พบบริเวณน้ำ

 

 

 

หอยขม

เป็นหอยฝาเดียว บิดเป็นเกลียว เปลือกหนา สีเขียว

4 ตัว

ว่ายอยู่ขอบตลิ่ง

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

บัตรกิจกรรม 

เรื่อง  ระบบนิเวศ  กิจกรรมที่  1.2  สำรวจอาหารสัตว์

 

 

กิจกรรมที่  1.2

     คำสั่ง  ให้นักเรียนสำรวจอาหารสัตว์

  1. วิเคราะห์ว่าสัตว์ชนิดต่าง ๆ กินอะไรเป็นอาหาร  โดยใช้ข้อมูล   จากการสำรวจในบัตรกิจกรรม  ชุดที่  1  ตอนที่  1  และจากความรู้เดิมที่ได้ศึกษา  พร้อมทั้งจำแนกว่าอาหารของสัตว์แต่ละชนิดมาจากพืชหรือสัตว์  แล้วบันทึกข้อมูล
  2. จัดกลุ่มสัตว์ตามชนิดของอาหารที่กิน
  3. สรุปและนำเสนอข้อมูล

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

แบบบันทึกกิจกรรมที่  1.2  สำรวจอาหารสัตว์

บันทึกครั้งที่ ...........                                                                                                     บัตรงานที่ ......... 

วันที่ ............ เดือน ...................................... พ.ศ.. ........................ กลุ่มที่ .........

 

จุดประสงค์         ระบุแหล่งที่มาของอาหารสัตว์ได้ว่ามาจากพืชหรือสัตว์  และจำแนกกลุ่ม               ของผู้บริโภคโดยใช้ที่มาของอาหารที่กินเป็นเกณฑ์

คำสั่ง  ให้นักเรียนสำรวจอาหารสัตว์แล้วบันทึกผลลงในตาราง

 

ชื่อสัตว์ 

อาหาร 

ที่มาของอาหารสัตว์ 

พืช 

สัตว์ 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

คำสำคัญ (Tags): #ระบบนิเวศ
หมายเลขบันทึก: 335704เขียนเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2010 21:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 03:04 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท