เนื้อหาสำหรับเขียนงานลงวารสาร SSPN (ตอนที่ 4)


ผมคิดว่า ถ้าค่า sigma p เปลี่ยนแปลงได้มากในช่วงเวลาสั้นๆ คงไม่สามารถนำมาใช้เป็นตัวชี้วัดเพื่อประเมิน soil productivity ของพื้นที่ในระยะยาวได้ เช่น 10 หรือ 15 ปี เป็นต้น นอกจากนี้ ธาตุอาหารพืชในดินต่างๆ ก็มักจะเปลี่ยนแปลงอย่างเสมอในระหว่างรอบการเพาะปลูก

ผมกำลังมองดูว่า ผมจะอธิบายอะไรได้บ้าง จากข้อมูลการเปลี่ยนแปลง charge characteristics ของ surface soils (ลึก 0-5 ซม จากผิวดิน) หลังจากการถางเผาไร่ข้าวโพด  และความแตกต่างของ charge characteristics ในการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทต่างๆ

  • ผมทราบว่า โดยทั่วไปแล้ว charge characteristics และ mineralogical properties จะไม่เปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัดในช่วงระยะเวลาสั้นๆ เช่น ระหว่างรอบของการเพาะปลูก หรือ ช่วงเวลา 1-2 ปี 
  • ผลการศึกษาจากนักวิจัยหลายท่าน พบว่า charge characteristics (PZSE และ sigma p) แปรผันตามประเภทของการใช้ที่ดิน โดยเฉพาะการใช้ที่ดินที่มีพืชพรรณไม้ปกคลุมอย่างถาวร จะพบว่า PZSE มีค่าระดับต่ำ ขณะที่ sigma p มีค่าสูง  ในกรณีที่เปรียบเทียบกับ พื้นที่ที่ไม่มีพรรณไม้ปกคลุม หรือพื้นที่เปิดโล่ง

อย่างไรก็ตามค่า PZSE  ค่อนข้างจะผันแปรในระดับที่ต่ำกว่า ค่า sigma p ตามการใช้ประโยชน์ที่ดินแต่ละประเภท

ผลการศึกษาการเปลี่ยนแปลง charge characteristics ภายใต้การเตรียมพื้นที่ด้วยการถางและเผาแปลง พบว่า ค่า PZSE ไม่เปลี่ยนแปลงอย่างเด่นชัด  ในขณะที่ค่า sigma p นั้นเปลี่ยนแปลงค่อนข้างชัดเจน โดยมีแนวโน้มว่ามีค่า สูง ขึ้น หลังจากที่เผาแปลงแล้ว

  • ผมพบว่าค่า sigma p มีความสัมพันธ์กับ exchangeable bases (K, Mg, และ Ca) ในระดับสูง    เนื่องจากค่า sigma p ระดับสูง แสดงให้ทราบว่าว่า อนุภาคของดินนั้น มีพื้นผิวที่จะให้ธาตุอาหารพืชต่างๆ ถูกดูดซับได้มากขึ้น ส่งผลให้เป็นประโยชน์ต่อการเจริญเติบโตของพืชนั่นเอง

ผมคิดว่า ถ้าค่า sigma p เปลี่ยนแปลงได้มากในช่วงเวลาสั้นๆ คงไม่สามารถนำมาใช้เป็นตัวชี้วัดเพื่อประเมิน soil productivity  ของพื้นที่ในระยะยาวได้ เช่น 10 หรือ 15 ปี เป็นต้น  นอกจากนี้ ธาตุอาหารพืชในดินต่างๆ ก็มักจะเปลี่ยนแปลงอย่างเสมอในระหว่างรอบการเพาะปลูก   สำหรับค่า PZSE จะมีโอกาศผันแปรได้ต่ำกว่า ค่า sigma p ในช่วงระยะเวลาสั้นๆ แต่ผมว่าการศึกษานี้คงต้องดำเนินต่อไปเพื่อยืนยันผลอีกครั้ง เนื่องจากการวิเคราะห์แลป เพื่อหาค่า PZSE ค่อนข้างที่ต้องใช้ความระมัดระวังอย่างสูง ไม่เช่นนั้นจะเกิด human error เสมอครับ 

หมายเลขบันทึก: 33563เขียนเมื่อ 10 มิถุนายน 2006 15:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:07 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • พอดีพื้นที่ศึกษาของผมมีความลาดชันประมาณ 10-25%  ผมคิดว่าต่อไปผมควรจะต้องศึกษาเรื่องการสูญเสียดินและธาตุอาหารในดิน จาก soil erosion และ จาก surface runoff   โดยเฉพาะบางแปลงที่ทำไร่ข้าวโพด หรือปลูกพืชที่มีอัตราเรือนยอดปกคลุมดินต่ำ
  • อ่านในเอกสารวิชาการหลายเล่มมักจะกล่าวว่า erosion เป็นปัจจัยจำกัดตัวหนึ่งที่ส่งผลถึง soil productivity   ถ้าผมสามารถเก็บข้อมูลได้เพียงพอ ก็น่าจะลองศึกษาสมการ การสูญเสียดินสากลดูครับ (revised universal soil loss equation; RUSLE2)

http://fargo.nserl.purdue.edu/rusle2_dataweb/RUSLE2_Index.htm

 

สวัสดีครับคุณจรัณธร ขออภัยครับที่ไม่ได้เข้ามาแสดงความคิดเห็นนานเลยครับ พอดีอยู่ในช่วงของการเปลี่ยนแปลงชีวิตให้เข้าที่เข้าทางครับ ตอนนี้มาอยู่ที่ม.อุบลฯครับ ได้รับทุนการศึกษาจากทาง สคส. ให้มาศึกษาต่อครับ หลังสำเร็จการศึกษาแล้ว ก็ยังไม่รู้ว่าโชคชะตาฟ้าลิขิตจะให้ไปอยู่ที่ไหนเลยครับ เพราะตอนนี้ผมก็ได้ลาออกจากมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์แล้วครับ อย่างไรถ้าคุณจรัณธรผ่านมาแถวอุบลฯ บอกได้เลยนะครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท