เทคนิคการใช้น้ำยาอย่างคุ้มค่า


วันนี้ผู้เขียนมาอยู่เวร (เป็นประจำทุกวันเสาร์) มีเรื่องอยากที่จะเขียนเล่าถึงเทคนิคการใช้น้ำยาในการตรวจวิเคราะห์อย่างคุ้มค่า ของคุณนุชรัตน์ ซึ่งผู้เขียนตั้งใจที่จะเขียนหลายครั้ง วันนี้ฤกษ์งามยามดี เลยได้มีเวลานำมาเขียนเก็บไว้ในบันทึก

แรกเริ่มเดิมทีเทคนิคที่ใช้นี้มีที่มาจากการสั่งซื้อน้ำยาตรวจแอมโมเนีย ซึ่งมีราคาแพงมาก แล้วการส่งตรวจก็มาทีละราย นาน  ๆจะมาสักกะที แล้วน้ำยาที่ซื้อก็มีอายุการเก็บหลังจากละลายแค่ 1 เดือน แล้วขวดหนึ่งก็มีหลาย ML. (จำไม่ได้ว่าเท่าไร เพราะเลิกใช้ไปแล้ว) แล้วถ้าละลายแล้วนำมา Freeze แล้ว Thraw บ่อย  ๆจะทำให้น้ำยาเสื่อมเร็ว เพราะมันก็อายุสั้นอยู่แล้ว ดังนั้นคุณนุชรัตน์จึงนำมาแบ่งใส่ vial ประมาณ 1 - 1.5 ml. แล้วนำไป Freeze เมื่อมีการทดสอบมาก็นำvial มาละลาย แล้วทำการวิเคราะห์ได้เลย

 Reag2 ภาพที่ 1 ขวดน้ำยาขนาดต่าง มีความจุได้20 ml.

Reag3  ภาพที่ 2 แบ่งน้ำยาเป็น vial เล็ก ๆ ความจุประมาณ 1 - 1.5 ml. นำมา Thraw และวางลงบนปากขวดน้ำยา จากภาพที่ 1

Reag4 ภาพที่ 3 นำลงใส่ช่องใส่ขวดน้ำยาของเครื่องตรวจวิเคราะห์อัตโนมัติ

Reag1ภาพที่ 4 เครื่องวิเคราะห์อัตโนมัติ Hitachi 717 ทำการตรวจวิเคราะห์พร้อมการทดสอบอื่น ๆ ได้เลย

แม้การซื้อน้ำยาสำหรับการทดสอบแอมโมเนียจะยกเลิกไปแล้วก็ตาม แต่เทคนิคนี้กลับได้นำมาใช้ได้เรื่อย ๆ อย่างเช่นการทดสอบ Beta 2 Microglobulin เมื่อวันพฤหัสที่ผ่านมา เนื่องจากน้ำยาที่สั่งไว้มาไม่ทัน น้ำยาที่เหลือก็มีปริมาณน้อย จึงนำเทคนิคของพี่นุช มาใช้ เพื่อใช้น้ำยาอย่างคุ้มค่าให้เหลือน้อยที่สุด (เพราะโดยปรกติการทดสอบหนึ่ง ๆ ใช้น้ำยาปริมาณไม่เกิน 350 uL เอง  รวมทั้งสัปดาห์ก่อนก็มีการนำมาใช้กับการตรวจ 5-NT ด้วยโดยคุณพิพัฒน์ชัย

หมายเลขบันทึก: 33544เขียนเมื่อ 10 มิถุนายน 2006 13:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:25 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท