คิดนอกกรอบ : ปรับกลยุทธ์ประชาสัมพันธ์ของ gotoknow มาใช้กับ MSU-KM


รูปแบบและวิธีการของที่หนึ่ง สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับอีกที่หนึ่งได้ แต่ต้องประยุกต์ให้เหมาะกับลักษณะเฉพาะของอีกแห่งด้วย

หากจะปรับวิธีการประชาสัมพันธ์ให้มีสมาชิกใหม่เข้าร่วมของ gotoknow มาประยุกต์ใช้กับ MSU-KM  เพื่อให้เกิดคนเขียนบล็อก มมส. กลุ่มใหม่ขึ้นมา

และถ้าเป็นกลุ่มคนเขียนบล็อกในกลุ่มเดิม คงไม่เกิดอะไรใหม่ๆขึ้นมา

นายบอนได้มีโอกาแลกเปลี่ยนกับพี่คนหนึ่งที่ติดตามอ่าน gotoknow มาตลอด พี่เค้าได้ให้มุมมองในแบบคิดนอกกรอบมาว่า “ควรที่จะชวน นิสิต มมส. มาเขียนบล็อกให้มากขึ้น เพราะกลุ่มนี้ จะเป็นกลุ่มที่มีศักยภาพ และเขียนได้บ่อยๆ มีสีสันมากกว่า คนเขียนบล็อก มมส. ที่มีอยู่ในปัจจุบัน”

“กลยุทธที่ควรจะนำมาใช้ ประยุกต์จาก gotoknow คือ ต้องประกาศเชิญชวนผ่านทางเวบไซต์ อาจจะในลักษณะ workshop เพื่อการเรียนรู้ด้วยตัวเอง ซึ่งที่ผ่านมา คนเขียนบล็อก มมส. ยังไม่ได้มองและทำในจุดนี้มากนัก เพราะมัวแต่เน้นกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ คือในหน่วยงานต่างๆ ไม่ได้สนใจกลุ่มนิสิต มมส.”

“อาจจะจัดกิจกรรม ประกาศประกวดเขียนบล็อก ในรูปแบบและช่วงเวลาตัดสินที่เหมาะสม เมื่อ มมส. มี ดร.อรรณพ ก็ประสานความร่วมมือจากท่าน ท่านอยู่คณะวิทยาศาสตร์ ซึ่งในเดือน ส.ค. จะกิจกรรมสัปดาห์วิทยาศาสตร์ ก็วางแผยจัดกิจกรรมและประกาศผลการตัดสินใจช่วงสัปดาห์วิทยาศาสตร์ซะเลย”

“รูปแบบ การประกวด โดยให้มาสมัครเป็นสมาชิกบล็อก ให้เกิดการศึกษาค้นคว้า เรียนรู้ด้วยตัวเอง ใครจะมีศักยภาพในการใช้บล็อกให้เกิดประโยชน์สูงที่สุด ซึ่งข้อมูลต่างๆสามารถค้นหาจากบันทึกต่างๆใน gotoknow ได้ตลอดเวลา แล้วคอยติดตามดูว่า ใครสามารถสร้างชุมชน, สามารถเขียนบล็อกให้เป็นที่รู้จักของคนในชุมชน เขียนบล็อกได้น่าสนใจ สามารถหาเพื่อนได้  สามารถเข้าร่วมชุมชนอื่นๆได้ สามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้ได้จริงๆ และการสนใจเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมของ คนเขียนบล็อก มมส. เช่น งานจิบกาแฟต่างๆ  ใครจะสามารถสร้างมิตรภาพกับคนเขียนบล็อก มมส. และเขียนบล็อกได้อย่างสม่ำเสมอ ต่อเนื่องกว่ากัน”

“เด็ก มมส.รุ่นใหม่ในปัจจุบัน มีทั้งเวลา มีความกระตือรือร้นและศักยภาพในการเรียนรู้สูง ซึ่งจากตรงนี้ เราจะได้คนเขียนบล็อกที่จะมาเติมเต็มข้อมูลเพิ่มขึ้น ได้มุมมองใหม่ๆ ได้มองเห็นความคิดสร้างสรรค์ใหม่ๆ มีโอกาสได้พบเพชรในตมที่จะเจิดจรัส และอาจจะเป็นผู้ที่มีส่วนในการขับเคลื่อน MSU-KM ได้มากขึ้น”

“ในส่วนของคนเขียนบล็อก มมส. ชุดเดิม จะได้มีส่วนร่วมในการเขียนข้อคิดเห็น ได้มุมมองใหม่ๆ นิสิต มมส. จะเป็นผู้ที่เติมเต็มความกระตือรือร้น เติมพลังในส่วนนี้ให้ จนได้แรงบันดาลใจในการเขียนบันทึกเพิ่มขึ้น แต่ข้อเสียก็มีเช่นกัน  อาจจะทำให้คนเขียนบล็อก มมส. ที่ไม่ค่อยมีเวลา หายไปเลย “

ต้องยอมรับว่า พี่เค้ามีมุมมองที่แตกต่างออกไป  อันนี้ เฉพาะมุมมองของพี่เค้าคนเดียวนะครับ หากมีคนเขียนบล็อกหน้าใหม่ๆ เป็นกลุ่มนิสิต มมส. ที่มีคุณสมบัติอย่างที่พี่เค้าได้วิเคราะห์ไว้ คงจะเกิดอะไรใหม่ๆกับกลุ่มคนเขียนบล็อกอีกมากมายเลยทีเดียว

Add comment June 8th, 2006

บอกให้รู้ รู้ให้ร่วม ร่วมให้บอก เทคนิคการสร้างคนเขียนบล็อก มมส. หน้าใหม่ๆ

เมื่อ คนเขียนบล็อก มมส.ในเวลานี้ ที่หลายคนมองว่า มีน้อย และยังเป็นเรื่องใหม่สำหรับ มมส. ต่างจาก UKM อื่นๆ ที่รู้จักเรื่องนี้มาก่อน

แล้วที่ มมส.จะเพิ่มจำนวนคนเขียนบล็อกได้ไหม.. ได้ครับ เหมือน UKM อื่นๆ

มีอีกหนึ่งมุมมอง คือ บอก-รู้-ร่วม –บอก-รู้-ร่วม

จะไปตรงกับหลักการของใคร ไม่ทราบ แต่ การ บอก –รู้-ร่วม – บอก วนเป็นวงจรไปเรื่อยๆ ก็เป็นอีกแนวทางที่ทำให้คนเขียนบล็อกหน้าใหม่ๆเข้ามาร่วมมีบล็อกมากขึ้น และคนเขียนบล็อกที่มีอยู่เดิม  จะได้พัฒนาตนเองไปด้วย

1. เริ่มต้น บอก   นั่นคือ คนเขียนบล็อกขาประจำ เช่น ดร.อรรณพ คุณวิชิต และ ฯลฯ ต้องหาช่องทางแนะนำให้ชาว มมส. รู้จัก บล็อกมากขึ้น

ช่องทางแนะนำ ตั้งแต่การจัดกิจกรรมแนะนำ นับตั้งแต่งานจิบกาแฟ จนถึงงานอย่างเป็นทางการ , หรือ การแนะนำผ่าน website อีเมล์ กระดานข่าว การบอก คือ บอกให้รู้ถึงประโยชน์ ตั้งแต่ได้ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ได้เพื่อน ฯลฯ ซึ่งการบอกข้อมูลถึงประโยชน์ต่างๆ ก็เรียบเรียงจากความรู้ของแต่ละคน และจากบันทึกใน gotoknow

2. เมื่อเขารู้ ก็ให้เขาเข้ามาร่วม เชิญชวนเข้าชุมชน ให้เขียนบล็อก หรือคอยแสดงข้อคิดเห็น จนกระทั่งเป็น blogger คนใหม่ของ มมส.

3. เมื่อเขาเข้าร่วม พวกเราก็ต้องร่วมกับเขา ไม่ควรให้เขาปรบมือข้างเดียว  ถ้ามือใหม่ เขียนบล็อก ก็ควรจะช่วยตอบข้อคิดเห็น อย่าทำตัวเฉยชา ไม่แยแส หรือ เมินเฉย  เพราะแต่ละคนก็คาดหวังว่า เมื่อเขียนบันทึกแล้ว จะได้รับข้อคิดเห็น เพื่อเป็นกำลังใจในการเขียนบ้าง

ถ้าไม่ร่วมกับเขา มือใหม่ก็จะไม่เขียนบล็อก ไม่ติดตามต่อไป หรือย้ายไปเขียนบล็อกที่อื่น ที่มีคนอ่าน คนเขียนตอบมากกว่า อาทิ bloggang, blog-sanook, exteen.com ฯลฯ

4. เมื่อมือใหม่เข้าร่วม เห็นคุณค่า เห็นประโยชน์ และติดใจ  เขาก็จะไปบอกให้คนอื่นให้รู้ แล้วเข้ามาร่วมกับเขาต่อไป

หรือพวกเราก็คอยบอกให้เขาไปบอกให้คนอื่นรับรู้ต่อไป โดยให้ใช้เทคนิค บอก-รู้-ร่วม-บอก-รู้-ร่วม อย่างที่พวกเขาได้สัมผัสมาแล้ว ให้พวกเขานำไปใช้ต่อไป

ให้เป็นวงจร และขยายตัวต่อไปโดยอัตโนมัต

มองปัจจุบัน ณ เวลานี้ ชาว MSU-KM สามารถทำได้ครบวงจรง่ายๆนี้หรือไม่ ?
จะมีคนเขียนบล็อกเพิ่มขึ้นจากเดิมอีกแค่ไหน???


หมายเลขบันทึก: 33538เขียนเมื่อ 10 มิถุนายน 2006 12:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 18:22 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ดีมากเพื่อน หากมีเวลา ขับเคลื่อนต่อไปนะ ดีมาก...เราสบายดี

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท