เรียนฟรี 15 ปี


โครงการสนับสนุนการจัดการศึกษาโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย 15 ปี อย่างมีคุณภาพ

แนวทางและเป้าหมายการดำเนินงาน

รัฐบาลให้ความสำคัญในการจัดการศึกษาที่มุ่งเน้นการสร้างโอกาสทางการศึกษาให้กับทุกคนอย่างเท่าเทียมและทั่วถึง โดยได้จัดสรรงบประมาณจำนวน 19,296.10 ล้านบาท เป็นค่าใช้จ่าย สำหรับการจัดการศึกษา เพื่อให้ทุกคนมีโอกาสได้รับการศึกษาฟรี 15 ปีอย่างแท้จริงตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายตั้งแต่ระดับอนุบาล 1 ถึงระดับมัธยมศึกษาตอนปลายครอบคลุม 5 รายการ ได้แก่ ค่าเล่าเรียน ค่าหนังสือเรียน ค่าเครื่องแบบนักเรียน อุปกรณ์ เพื่อชดเชยรายการต่าง ๆ ที่โรงเรียนเก็บจากผู้ปกครอง และอุปกรณ์การเรียนฟรีให้ทันปีการศึกษา 2552 และสนับสนุนค่าใช้จ่ายการเรียน และกิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียน

ผลการดำเนินงาน

education

รัฐบาลได้มีการจัดสรรงบประมาณไปแล้วจำนวน 18,575.47 ล้านบาท หรือร้อยละ 77 ให้กับสถาบันศึกษาในทุกสังกัด เพื่อจ่ายเงินสดให้ผู้ปกครองไปดำเนินการในการจัดซื้อเครื่องแบบนักเรียนและอุปกรณ์การเรียนให้นักเรียนเสร็จเรียบร้อยแล้ว และในส่วนของหนังสือตำราเรียน ทางโรงเรียนได้มีการดำเนินการจัดซื้อและส่งมอบให้กับนักเรียนทุกคนแล้ว สำหรับค่าใช้จ่ายของกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนในปีการศึกษา 2552 นั้น ทางโรงเรียนกำลังอยู่ระหว่างการดำเนินการ
โครงการสนับสนุนการจัดการศึกษาโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย 15 ปี อย่างมีคุณภาพ

ทำให้นักเรียนได้รับประโยชน์จากการดำเนินการนโยบายเรียนฟรี 15 ปี จำนวน 12,363,084 คน และยังเป็นการช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายของผู้ปกครอง นอกจากนี้ ยังมีผู้ปกครองของนักเรียนบางส่วนสมัครใจที่จะสละสิทธิ์เงินค่าเครื่องแบบนักเรียน อุปกรณ์การเรียนเพื่อให้กระทรวงศึกษาธิการนำเงินส่วนนี้ไปดำเนินการพัฒนาโรงเรียนที่ด้อยโอกาสในถิ่นทุรกันดารจำนวน 577 โรง วงเงิน 40 ล้านบาท ซึ่งการสละสิทธิ์การรับเงินดังกล่าวของผู้ปกครองนำเรียนนั้น สะท้อนถึงความเอื้ออาทร และการแบ่งปันระหว่างคนในสังคมไทย แล้วยังเป็นการปลูกฝังจิตสำนึกการเกื้อกูลซึ่งกันและกันให้กับเด็กนักเรียนในระยะยาวด้วย

รายละเอียดเพิ่มเติมโครงการเรียนฟรี 15 ปี

แผนภาพอธิบายผลการดำเนินงานโครงการเรียนฟรี 15 ปี

เพื่อตอบสนองต่อนโยบายการลดภาระค่าครองชีพของประชาชน  และสอดคล้องต่อบทบัญญัติมาตรา 49 ที่กล่าวถึงสิทธิพื้นฐานของบุคคลในรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 เรื่องให้บุคคลมีการศึกษาอย่างเท่าเทียมไม่น้อยกว่า 12 ปี โดยรัฐจะเป็นผู้รับผิดชอบโดยไม่เก็บค่าใช่จ่ายนั้น และคณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติวงเงิน 19,000 ล้านบาทเพื่อขยายเวลาการเรียนฟรีจากเดิม 12 ปี เป็น 15 ปี ทั้งการศึกษาในระบบและนอกระบบ ตั้งแต่ระดับอนุบาลถึงมัธยมศึกษาตอนปลาย/อาชีวะศึกษา พร้อมออกค่าใช้จ่ายช่วยเหลือผู้ปกครองอีก 5 รายการดังนี้

1. ค่าเล่าเรียน (เป็นรายหัว/ เฉลี่ยตามระดับการศึกษา)
2. ตำรา/ หนังสือ 8 กลุ่มการเรียนรู้ (โรงเรียนเป็นผู้จัดซื้อ)
3. อุปกรณ์การเรียน
4. ชุดนักเรียน 2 ชุดต่อคนต่อปี (หากมีพร้อมแล้วสามารถนำไปซื้อเข็มขัด ถุงเท้าฯ ตามจำนวนเงินที่กำหนดได้ โดยนำใบเสร็จมาเบิกเงินได้ภายหลัง)
5. กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

ทั้งนี้หากสถาบันการศึกษา  หรือผู้ปกครองที่มีความพร้อมสามารถสละสิทธิ์การใช้เงินอุดหนุนได้ โดยรัฐจะแจกจ่ายเงินอุดหนุนดังกล่าวให้ผู้ที่มีความจำเป็นต่อไป
หลังจากที่กระทรวงศึกษาธิการได้รับเงินอนุมัติ 19,000 ล้านบาท ได้แบ่งจ่ายในส่วนตำราเรียน 6,000 ล้านบาท อุปกรณ์การเรียน 2,000 ล้านบาท เครื่องแบบนักเรียน 2 ชุดต่อปี 4,500 ล้านบาท และค่ากิจกรรมพิเศษ 4,000 ล้านบาท ส่วนที่เหลือใช้ในส่วนของการศึกษาภาคเอกชน 1,500 ล้านบาท
นอกจากนี้งบประมาณอีก 1,000 ล้านบาทจัดไว้เป็นงบประมาณสำหรับโรงเรียนที่สังกัดกระทรวงอื่นๆ เช่น โรงเรียนตำรวจชายแดน (ตชด.) โรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.)

ล่าสุดได้มีการเบิกจ่ายไปแล้วทั้งสิ้น  19,296,097,100 บาท ดังนี้

  • ค่าเล่าเรียน          2,162,971,420 บาท
  • ค่าหนังสือ           6,483,588,490 บาท
  • ค่าอุปกรณ์การเรียน     2,196,541,875 บาท
  • ค่าเครื่องแบบนักเรียน     4,863,472,135 บาท
  • ค่ากิจกรรมพัฒนาฯ      3,589,523,180 บาท

ผลของการดำเนินการทำให้นักเรียนได้รับประโยชน์จากนโยบายฯ มากถึง 12,363,084 คน โดยช่วยให้ผู้ปกครองลดค่าใช้จ่ายมากขึ้น จากการสำรวจของกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ในการใช้บริการสถานธนานุบาล 33 แห่ง ของประชาชนพบว่า มีผู้ใช้บริการเพียง 8,627 คน ลดจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้วที่มีผู้ใช้บริการถึง 210,673 คน

ด้านผลสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติพบว่าประชาชนร้อยละ 98.2 พอใจนโยบาย ร้อยละ 97.9 ต้องการให้ดำเนินโครงการนี้ต่อ ซึ่งสอดคล้องกับการสำรวจของมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ พบว่าประชาชน ร้อยละ 95.92 ต้องการให้รัฐบาลทุกชุดใช้นโยบายนี้ต่อไป

นอกจากนี้ ครม. มีมติเห็นชอบในการพัฒนาศูนย์เด็กเล็กในชุมชนประมาณ  19,000 ศูนย์มีเด็กเล็กได้รับการพัฒนาด้านสุขอนามัย และพัฒนาการเรียนรู้อย่างเหมาะสมกับพัฒนาการ ประมาณ 900,000 คน รวมทั้งมีการจัดตั้งโครงการคืนครูให้แก่นักเรียน 14,532 อัตรา 

คำสำคัญ (Tags): #การศึกษา
หมายเลขบันทึก: 334287เขียนเมื่อ 6 กุมภาพันธ์ 2010 11:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 12:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท