ทีม KM กศน.อำเภอเมืองนครศรีฯ คิดพลิกแพลงแก้จนนอกกรอบ


ประโยชน์ของการพูดคุยเสวนาอย่างไม่เป็นทางการมีประโยชน์มากกว่าที่คิดจริงๆครับ

ประโยชน์ของการพูดคุยเสวนาอย่างไม่เป็นทางการ มีประโยชน์มากกว่าที่คิดจริงๆ ครับ 

ผมสังเกตจากวันที่  8 มิ.ย.2549 วงพูดคุยเสวนานอกรอบของครูอาสาฯ 9 คน (คุณอำนวยตำบล) ผอ.กศน.(คุณอำนวยอำเภอ )และผมในฐานะหัวหน้าคณะทำงานแก้จนระดับพื้นที่ของ กศน.อำเภอเมือง และในฐานะคุณอำนวยกลาง(หมวกอีกใบ) ประเด็นพูดคุยเสวนา ก็คือการบ้านที่จะต้องทำต่อเนื่องจากการประชุมคุณอำนวยกลาง คุณอำนวยอำเภอ ร่วมกับทีมวิชาการ ที่ กศน.จังหวัด เมื่อวันที่ 7 มิ.ย.2549 เช่น จะไปทำทีมแก้จนร่วมกับคนต่างหน่วยงาน เราจะต้องเตรียมทำอะไรก่อนบ้าง การทำตารางเวลาออกไปทำเวทีชุมชน 6 ครั้งเป็นอย่างน้อย ของแต่ละหมู่บ้าน จะกำหนดกันในวันไหนดีไม่ให้ชนกัน การเตรียมตัวทำความเข้าใจกับบันทึกความรู้แก้จนตามวิถีคนคอน (สำหรับคุณกิจ) และเรื่องการรู้จักพื้นที่โดยเฉพาะรู้จักกับทีมแกนนำนำหมู่บ้านละ 8 คนให้มากขึ้น และรู้จักแผนชีวิตชุมชนพึ่งตนเอง และรู้จักกับทรัพยากรชุมชนที่จะใช้ประโยชน์ได้เต็มที่ในการจัดเวทีชุมชนแต่ละครั้ง  

ผมคิดว่าผลสรุปที่น่าสนใจมีหลายประการ คือ พวกเราชาว กศน.เมือง จะต้องคืบเข้าไปทำความรู้จักกับคุณอำนวยอำเภอและคุณอำนวยตำบลที่มาเป็นทีมร่วมกันกับหน่วยงานอื่นอย่างไม่เป็นทางการ สักครั้งหนึ่งก่อน ก่อนที่เวทีอบรม(วงเรียนรู้) แกนนำหมู่บ้านๆละ 8คน การจัดเวทีชุมชนคุณกิจที่เป็นครัวเรือนเข้าร่วมโครงการ 6 ครั้งจะเกิดขึ้น ย้ำนะครับว่าอย่างไม่เป็นทางการ เพื่อ รู้จักตัวรู้จักใจ รู้จุดเด่นจุดด้อย รู้จักงานในหน้าที่ที่แต่ละคนทำอยู่แล้ว รู้..........(หลายรู้) และที่สำคัญสร้างอุดมการณ์แก้จนอย่างบูรณาการร่วมกัน  ยกร่างตารางเวลาทำงานของแต่ละทีมร่วมกันว่า ก่อนไปทำเวทีชุมชนจะต้องพบปะพูดคุยกันก่อนวันไหน จะไปทำเวทีชุมชนวันไหน และจะพบกันเมื่อเสร็จสิ้นเวทีชุมชนแต่ละครั้งวันไหน จะถอดบทเรียนการทำเวทีประชาคมแต่ละครั้งอย่างไร ซึ่งมีความคิดว่าถอดทุกครั้งที่ทำเวที (ถอดทุกพักยก) และทุกสองครั้งของการทำเวที (รายพักสองยก) เพื่อเล่าให้เวทีเรียนรู้ระดับอำเภอทราบ และถอดทั้งหมดเมื่อครบทุกยก ( 6 ยก 6 ครั้ง) เพื่อสังเคราะห์บทเรียน จะเตรียมทำความเข้าใจกับบันทึกความรู้แก้จนตามวิถีคนคอน (ของคุณกิจ) อย่างไร การบันทึกความรู้หน้างานของคุณอำนวย โดยใช้  ICT BLOG ก่อนที่จะมีการอบรมทำได้อย่างไรบ้าง (แลกเปลี่ยนความรู้ประสบการณ์กันเอง) เหล่านี้คือประเด็นหรือหลักสูตรที่จะเรียนรู้ร่วมกัน คิดว่าสักครึ่งวันก็น่าจะพอ   แต่เนื่องจากเป็นเรื่องที่คิดเองนอกกรอบงบประมาณที่ได้รับ ก็คงจะต้องบริหารจัดการการจัดพบปะพูดคุยเสวนากันว่าจะได้ของฟรีจากใครที่ไหนได้บ้าง เช่น สถานที่พบปะพูดคุย ค่าน้ำร้อนน้ำชา ผู้รู้ที่จะมาเป็นคุณอำนวยร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เป็นต้น แต่ผมเห็นความมุ่งมั่นของเพื่อนครูอาสาฯแล้วว่าจะต้องทำ ผมเชื่อมั่นว่าพวกเราจะทำสิ่งนี้ได้  คงต้องคิดต่อว่าพบปะพูดคุยเสวนาอย่างไม่เป็นทางการจะต้องดีไซน์รูปแบบการพูดคุยเสวนาอย่างไร ผู้ร่วมวงเรียนรู้ประมาณว่า 50 คน  

ผมคิดว่าถ้าได้พบปะพูดคุยเสวนานอกแบบอย่างนี้ได้ จะเชื่อมโยงกับโครงการปกติที่คิดไว้แล้วได้มาก เช่น เชื่อมโยงกับวงเรียนรู้คุณกิจ (แกนนำหมู่บ้านละ 8 คน) ในเรื่องการสร้างความรู้จักคุ้นเคย  ทราบรายละเอียดของแผนชีวิตชุมชนพึ่งตนเอง แต่สำหรับวงเรียนรู้คุณกิจ 8 คนนี้ โครงการคิดออกแบบเอาไว้ว่าจะทำวงเรียนรู้โซนละ ร่วม 1,000 คน ผมคิดว่าคงจะเรียนรู้ร่วมกันมีประสิทธิภาพดีลำบากครับ  บทเรียนครั้งก่อนที่อบรมคนมากๆมันมีบทเรียนสอนใจอยู่แล้ว ครั้นจะแยกวงเรียนรู้เป็นรายอำเภอๆละประมาณ 200-300 คน ก็ยังดูว่าจัดการวงเรียนรู้ได้ยากอยู่ อาจจะจำเป็นต้องซอยย่อยวงเรียนรู้ให้เล็กลงอีกจะดี ....เหล่านี้คือความคิดนอกกรอบ คิดเชิงกลยุทธ์ทั้งนั้น  เสริมการจัดเวทีชุมชนคุณกิจ 6 ครั้ง ให้มีประสิทธิภาพขึ้นได้ ในแง่ที่ทีมคุณอำนวยตำบลมีแผนการไปทำเวทีที่ชัดเจน ทั้งวันเวลาก่อนไป ระหว่างไปทำ และเมื่อเสร็จการทำเวทีชุมชนแต่ละครั้ง สิ่งที่คุณอำนวยตำบลเตรียมไว้เมื่อได้คลี่ให้คุณกิจทราบก็จะได้ปรับกันให้ลงตัว ไม่ใช่ไม่เตรียมการอะไรเอาไว้เลย  เสริมวงเรียนรู้คุณเอื้ออำเภอ  และคุณเอื้อตำบล ซึ่งจะมีขึ้นระดับละ 2 ครั้ง จะได้เล่าประสบการณ์การจัดการความรู้แต่ละหมู่บ้านของตำบลที่ตนรับผิดชอบให้คุณเอื้อแต่ละระดับให้ทราบ เพื่อการเรียนรู้และหนุนเสริมซึ่งกันและกัน อีกทั้งเป็นประโยชน์ต่อการช่วยให้คุณกิจบันทึกความรู้แก้จนตามวิถีคนคอน เสริมการนิเทศติดตามผลระดับอำเภอของคุณอำนวยอำเภอ รวมทั้งเสริมกิจกรรมถอดบทเรียนของคุณอำนวยอำเภอ อำนวยตำบลและคุณกิจ เป็นประโยชน์ต่อการสรุปผลการปฏิบัติงานและรายงานผลอีกด้วย 

สิ่งที่ได้รับเกินความคาดหมายจากการพูดคุยเสวนากันอย่างไม่เป็นทางการในประเด็นต่างๆดังกล่าว คือ ในทีม KM กศน.อำเภอเมืองนครศรีฯ ต่อจากนี้ไปเมื่อมีประเด็นเรียนรู้ใด ทีมงานแต่ละคนจะผลัดเปลี่ยนกันทำหน้าที่คุณอำนวย ทำหน้าที่วิทยากรกระบวนการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ในประเด็นนั้นๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่ดีมาก (ชมทีมงานตัวเอง) ใครนั่งหัวโต๊ะก็คือคุณอำนวย ทำกระบวนการเรียนรู้ในประเด็นต่างๆออกมาให้ได้ตามที่ตั้งเป้าหมายไว้ แต่คนละเรื่องกับนั่งหัวโต๊ะเป็นคุณอำนาจ เป็นผู้บริหารนะครับ ไม่ก้าวก่ายการทำหน้าที่ในทางการบริหารซึ่งจะต้องทำตามปกติของผู้บริหารอยู่แล้ว  ถ้าผู้บริหารจะเป็นคุณอำนวยบ้าง ก็ต้องถอดหมวกและสวมหมวกให้เหมาะแก่บทบาทที่จะแสดง เป็นกิจกรรมฝึกนำกระบวนการให้กับคุณอำนวย เพราะ ผอ.กศน.อำเภอก็จะต้องไปนำกระบวนการในวงเรียนรู้ของอำเภอ จะได้ฝึกไปพร้อมๆกัน ต่อไปก็จะร่วมกันฝึกเรื่องอื่นๆอีก เช่น ฝึกทักษะการตั้งคำถามแบบหมวก 6 ใบ six thinking hats ของเอ็ดเวิร์ด เดอร์ โบโน  การคิดแบบกลยุทธ์ และทักษะอื่นๆ แล้วแต่ว่าความจำเป็นหน้างาน(แก้จนระดับปฏิบัติ) จำเป็นต้องใช้ความรู้และทักษะใด ก็หยิบยกมาพูดคุยแลกเปลี่ยนกันในทีม ต่อไปก็จะขยายการพูดคุยข้ามหน่วยงาน ทำทั้งทีมตำบลๆละ 3คน เมื่อโอกาสอำนวย 

ผมค่อนข้างจะเชื่อว่าการพลิกแพลงวิธีคิดและวิธีทำงานมีความจำเป็นมาก เพราะแก้จนไม่มีสูตรสำเร็จในการแก้ปัญหาแน่ๆ         แต่ละพื้นที่ แต่ละเวลา แต่ละสถานการณ์ มันไม่เหมือนกัน สูตรสำเร็จ  กรณีศึกษาหนึ่งใด หรือ  best practice ที่หนึ่งที่ใด ก็ไม่อาจจะใช้เป็นแบบอย่างตายตัวได้ ต้องเรียนรู้ ต้องปรับใช้ ให้เหมาะสม เรียกว่าจะสำเร็จได้ต้องมีวิธีคิดเชิงกลยุทธ์สูงมากจริงๆ การพบปะพูดคุยอย่างไม่เป็นทางการมีจุดแข็งหลายประการ ทำให้ทุกคนไม่เคร่งครัดกับธรรมเนียมราชการ กับระดับตำแหน่ง ทำให้เปิดใจให้เห็นสิ่งดีในตัวของผู้ร่วมเวทีแต่ละคน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการทำงาน ซึ่งสิ่งดีของวิธีพบปะพูดคุยแบบนอกแบราชการเหล่านี้จะเข้ามาเสริมวิธีคิดแบบราชการซึ่งมีจุดอ่อนที่เคร่งครัดจนเกินไป ไม่มีอิสระที่คิดคิดนอกกรอบได้

หมายเลขบันทึก: 33403เขียนเมื่อ 9 มิถุนายน 2006 11:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:07 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

อ.จำนง ยิ่งอ่านบล็อคของอาจารย์ยิ่งมันในอารมณ์ และเห็นภาพ อาจารย์เขียนดีขึ้นเรื่อย ๆ ทุกวันเลยนะคะ ...อีกไม่นานรางวัลต้องมาอยู่ในมืออาจารย์แน่ๆ คะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท