พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พุทธศักราช 2545 หมวดที่1-3


   มาดูภาพรวมพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542  และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พุทธศักราช2545 แล้วเจาะลงไปเฉพาะในหมวดที่ 1-3 จะพบสาระสำคัญดังนี้

   พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช2542
เป็นกฎหมายทางการศึกษาฉบับแรกที่ออกตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพ.ศ.2540  ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม2542  มี 9 หมวด  และบทเฉพาะกาล  รวม 78 มาตรา มีหมวดสำคัญได้แก่  ความมุ่งหมายและหลักการจัดการศึกษา สิทธิและหน้าที่ทางการศึกษา  ระบบการศึกษา แนวการจัดการศึกษา  การบริหารและการจัดการศึกษา มาตรฐานและการประกันคุณภาพการศึกษา ครูคณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา ทรัพยากรและการลงทุนเพื่อการศึกษา และเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ถือเป็นกฎหมายแม่บทในการปฏิรูปการศึกษาในปัจจุบัน 
        ต่อมาได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมบางส่วนให้สอดคล้องกับนโยบายปฏิรูประบบราชการของรัฐบาล    ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ  พุทธศักราช 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2)  พุทธศักราช 2545 เนื่องจากรัฐบาลมีนโยบายปฏิรูประบบราชการ โดยให้แยกภารกิจเกี่ยวกับงานด้านศิลปะและวัฒนธรรมไปจัดตั้งเป็นกระทรวงวัฒนธรรม ปรับปรุงการบริหารและการจัดการศึกษาของเขตพื้นที่การศึกษา ให้มีคณะกรรมการการอาชีวศึกษา และหลักสูตรการอาชีวศึกษาด้วย จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ขึ้น  มีมาตราที่ปรับปรุงใหม่13 มาตรา  ได้แก่  มาตรา 3, 5, 31-34, 37-40, 45, 51, และ74   สาระสำคัญของพระราชบัญญัติฉบับนี้มีการนำเสนออย่างเป็นลำดับขั้นตอน ได้แก่
หมวด1 บททั่วไปความมุ่งหมายและหลักการ
     
พระราชบัญญัติฉบับนี้มีเจตนารมณ์ที่ต้องการเน้นย้ำว่าการจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ และคุณธรรมมีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิตสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข(มาตรา 6)
. การจัดการศึกษา ให้ยึดหลักดังนี้ (มาตรา 8)
1) เป็นการศึกษาตลอดชีวิตสำหรับประชาชน
2) ให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
3) การพัฒนาสาระและกระบวนการเรียนรู้ให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง
    สำหรับเรื่องการจัดระบบโครงสร้างและกระบวนการจัดการศึกษา ให้ยึดหลักดังนี้ (มาตรา 9)
1) มีเอกภาพด้านนโยบายและมีความหลากหลายในการปฏิบัติ
2) มีการกระจายอำนาจไปสู่เขตพื้นที่การศึกษา สถานศึกษาและองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น
3) มีการกำหนดมาตรฐานการศึกษาและจัดระบบประกันคุณภาพการศึกษาทุกระดับและประเภท
4) มีหลักการส่งเสริมมาตรฐานวิชาชีพและการพัฒนาครู คณาจารย์และบุคลากร ทางการศึกษาอย่างต่อเนื่อง
5) ระดมทรัพยากรจากแหล่งต่าง ๆ มาใช้ในการจัดการศึกษา
6) การมีส่วนร่วมของบุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชนองค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่น เอกชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพสถาบันศาสนา สถานประกอบการ และสถาบันสังคมอื่น

หมวด 2สิทธิและหน้าที่ทางการศึกษา
   บุคคลมีสิทธิและโอกาสเสมอกันในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่รัฐต้องจัดให้อย่างทั่วถึง และมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย (มาตรา10)
   - บุคคล ซึ่งมีความบกพร่องทางด้านต่าง ๆหรือมีร่างกายพิการ หรือมีความต้องการเป็นพิเศษหรือผู้ด้อยโอกาสมีสิทธิและโอกาสได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นพิเศษ 
 - บิดามารดาหรือผู้ปกครองมีหน้าที่จัดให้บุตรหรือบุคคลในความดูแลได้รับการศึกษาทั้งภาคบังคับและนอกเหนือจากภาคบังคับตามความพร้อมของครอบครัว (มาตรา 11)
- บิดามารดา บุคคล ชุมชน องค์กร และสถาบันต่าง ๆทางสังคมที่สนับสนุนหรือจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานมีสิทธิได้รับสิทธิประโยชน์ตามควรแก่กรณี(มาตรา 14) คือการสนับสนุนจากรัฐให้มีความรู้ความสามารถในการอบรมเลี้ยงดูและให้การศึกษาแก่บุตรหรือผู้ซึ่งอยู่ในความดูแลรวมทั้งเงินอุดหนุนสำหรับการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานการลดหย่อนหรือยกเว้นภาษีสำหรับค่าใช้จ่ายการศึกษา
หมวด 3ระบบการศึกษา
     การจัดการศึกษามีสามรูปแบบ คือการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยสถานศึกษาจัดได้ทั้งสามรูปแบบและให้มีการเทียบโอนผลการเรียนที่ผู้เรียนสะสมไว้ระหว่างรูปแบบเดียวกันหรือต่างรูปแบบได้ไม่ว่าจะเป็นผลการเรียนจากสถานศึกษาเดียวกันหรือไม่ก็ตาม (มาตรา15)
     การศึกษาในระบบมีสองระดับ คือการศึกษาขั้นพื้นฐานซึ่งจัดไม่น้อยกว่า 12 ปี ก่อนระดับอุดมศึกษาและระดับอุดมศึกษา ซึ่งแบ่งเป็นระดับต่ำกว่าปริญญาและระดับปริญญา(มาตรา 16) ให้มีการศึกษาภาคบังคับเก้าปีนับจากอายุย่างเข้าปีที่เจ็ด จนอายุย่างเข้าปีที่สิบหกหรือเมื่อสอบได้ชั้นปีที่เก้าของการศึกษาภาคบังคับ(มาตรา 17)
      สำหรับเรื่องสถานศึกษานั้นการศึกษาปฐมวัย และการศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้จัดใน(มาตรา18)
1) สถานพัฒนาเด็กปฐมวัย
2) โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนของรัฐ เอกชนและโรงเรียนที่สังกัดสถาบันศาสนา
3) ศูนย์การเรียน ได้แก่สถานที่เรียนที่หน่วยงานจัดการศึกษานอกโรงเรียน บุคคล ครอบครัว ชุมชนองค์กรชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพสถาบันศาสนา สถานประกอบการ โรงพยาบาล สถาบันทางการแพทย์ สถานสงเคราะห์และสถาบันสังคมอื่นเป็นผู้จัด      
     การจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาให้จัดในมหาวิทยาลัย สถาบัน วิทยาลัย หรือหน่วยงานทื่เรียกชื่ออย่างอื่นทั้งนี้ให้เป็นไปตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง (มาตรา 19)
     การจัดการอาชีวศึกษา การฝึกอบรมวิชาชีพให้จัดในสถานศึกษาของรัฐ สถาน ศึกษาของเอกชน สถานประกอบการหรือโดยความร่วมมือระหว่างสถานศึกษากับสถานประกอบการ (มาตรา 20)
      

หมายเลขบันทึก: 333727เขียนเมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 2010 05:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 มิถุนายน 2020 20:57 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ผู้ร่างนโยบายเขียนไว้อย่างสวยหรู ไม่ทราบว่าทำได้หรือเปล่า
ยกตัวอย่าง  การจัดการศึกษา ให้ยึดหลักดังนี้ (มาตรา 8)
1) เป็นการศึกษาตลอดชีวิตสำหรับประชาชน

เป็นเรื่องที่ดีมาก แต่ทำได้หรือเปล่า ทำได้แค่ไหน
หรือเพียงมีตัวอย่างสาธิตให้ดูเท่านั้น สามารถกระจายไปทุกชุมชนได้เป็นรูปธรรมไหมคะ

ฯลฯ

สวัสดีค่ะอาจารย์

  • บทบาทของชุมชนและส่วนรวม..ที่มีส่วนในการจัดการศึกษา
  • สังคมในเมืองที่มีระดับการศึกษาอาจจะเข้าใจและรู้บทบาทได้ดีนะคะ
  • ส่วนที่บ้านนอก  น่าจะเป็นหน้าที่ของโรงเรียนไปให้ความรู้กับคนในชุมชนว่าเขามีบทบาทต่อการมีส่วนร่วมอย่างไรบ้าง  อันนี้น่าเป็นห่วงอยู่มากค่ะ
  • ขอขอบพระคุณค่ะ

ที่จริงการศึกษาทั้ง 3 ระบบก็กำหนดได้ครอบคลุม และยืดหยุ่น และมีหน่ายงานรับผิดชอบ ปัญหาก็อยู่ที่การปฏิบัตินั่นแหละ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท