รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 และพ.ศ.2550 ในส่วนที่เป็นแม่บทและเกี่ยวข้องกับกฏหมายการศึกษา


 เมื่อทบทวนที่มาและสาระโดยสรุปของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพ.ศ.2540 และพ.ศ.2550ในส่วนเกี่ยวที่ข้องและเป็นแม่บทของกฏหมายการศึกษาปัจจุบันก็พบสาระสำคัญดังนี้
      รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2540เป็นกฎหมายสูงสุดว่าด้วยการจัดระเบียบการปกครองประเทศไทยที่เป็นลายลักษณ์อักษร ฉบับที่ 16 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงลงพระปรมาภิไธยเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม .. 2540ปัจจุบันรัฐธรรมนูญฉบับนี้ได้สิ้นสุดลงแล้ว ด้วยการรัฐประหาร เมื่อวันที่ 19 กันยายน .. 2549 คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข                 
      รัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2540เกิดขึ้นในสมัยที่นายบรรหาร ศิลปอาชาเป็นนายกรัฐมนตรีโดยได้แต่งตั้งคณะกรรมการปฏิรูปการเมืองเข้ามาดำเนินการและได้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญขึ้นมาและมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ จำนวน 99 คน โดย 76คนเป็นตัวแทนของแต่ละจังหวัด และอีก 23คนมาจากผู้เชี่ยวชาญหรือผู้มีประสบการณ์ซึ่งถือว่าเป็นรัฐธรรมนูญที่มาจากการเลือกตั้งฉบับเดียวของประเทศไทยโดยก่อนหน้านี้ 15ฉบับมาจากคณะรัฐมนตรีที่ส่วนใหญ่มาจากการแต่งตั้งหรือโดยรัฐบาลทหาร
        เจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2540 ก็คือการปฏิรูปการเมืองโดยมีเป้าหมาย 3 ประการคือ
       1.ขยายสิทธิ เสรีภาพและการมีส่วนร่วมของประชาชนในระบบการเมือง
      2.การเพิ่มการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐโดยประชาชนเพื่อให้เกิดความสุจริตและโปร่งใส ในระบบการเมือง
      3.การทำให้ระบบการเมืองมีเสถียรภาพและประสิทธิภาพมากขึ้น
        รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2550 เป็นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับที่ 18 ซึ่งจัดร่างโดยสภาร่างรัฐธรรมนูญ(สสร.) ในระหว่าง พ.ศ. 2549-2550 ภายหลังการรัฐประหารในประเทศโดยคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข(คปค.) เมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อคณะเป็น "คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ" (คมช.)เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม ปีเดียวกันโดยร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงลงพระปรมาภิไธยเมื่อวันที่24 สิงหาคม พ.ศ. 2550พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน กรุงเทพมหานคร นายมีชัย ฤชุพันธุ์ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.)เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการประกาศในราชกิจจานุเบกษาฉบับกฤษฎีกา เล่ม 124 ตอนที่ 47 ก หน้า 1 ในวันเดียวกันนั้นและมีผลใช้บังคับเป็นกฎหมายทันที แทนที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย(ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549
          เจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550   สภาร่างรัฐธรรมนูญได้วางแนวทางการร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้โดยยึดตามแนวทางและแก้ไขจุดอ่อนของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2540 เพื่อให้ประชาชนได้รับประโยชน์จากรัฐธรรมนูญนี้ 4ประการ คือ
       1.คุ้มครอง ส่งเสริมขยายสิทธิและเสรีภาพ ของประชาชน
       2.ลดการผูกขาดอำนาจรัฐและเพิ่มอำนาจประชาชน
       3.การเมืองมีความโปร่งใสมีคุณธรรม และจริยธรรม
      4.ทำให้องค์กรตรวจสอบมีความอิสระ เข้มแข็งและทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ
       รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 แตกต่างจากฉบับ พ.ศ. 2540 อยู่หลายประการดังจะเห็นว่ามีการถอดรื้อโครงสร้าง เช่น สิทธิเสรีภาพการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน ที่มาของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสมาชิกวุฒิสภา การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ องค์กรอิสระ อำนาจตุลาการการเงินการคลังงบประมาณ ฯลฯ

รัฐธรรมนูญพ.ศ.
2540ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา
มีมาตราที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาโดยตรง2 มาตรา คือ 
     มาตรา43   บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่รัฐจะต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่ายการจัดการศึกาาอบรมของรัฐต้องคำนึงถึงการมีส่วนร่วมขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่นและเอกชนทั้งนี้ ตามที่ กฎหมายบัญญัติการจัดการศึกษาอบรมขององค์กรวิชาชีพและเอกชนภายใต้การกำกับดูแลของรัฐย่อมได้รับความคุ้มครอง ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ 
    มาตรา81   รัฐต้องจัดการศึกษาอบรมและสนับสนุนให้เอกชนจัดการศึกษาอบรมให้เกิดความรู้คู่คุณธรรมจัดให้มีกฎหมายเกี่ยวกับการศึกษาแห่งชาติ ปรับปรุงการศึกษาให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม สร้างเสริมความรู้และปลูกฝังจิตสำนึกที่ถูกต้องเกี่ยวกับการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขสนับสนุนการค้นคว้าวิจัยในศิลปวิทยาการต่าง ๆ เร่งรัดพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาประเทศ
      จะเห็นได้ว่ามีรัฐธรรมนูญฉบับนี้ฉบับเดียวที่ระบุให้มีกฏหมายเกี่ยวกับการศึกษาแห่งชาติ(มาตรา81) ซึ่งมีผลทำให้เกิด พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และกฏหมายการศึกษาอื่นอีกหลายฉบับซึ่งถือเป็นประวัติศาสตร์ของการปฏิรูปการศึกษาครั้งสำคัญของเมืองไทยยุคหนึ่ง
       รัฐธรรมนูญพ.ศ.2550 ก็มีสาระที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา ระบุเอาไว้ส่วนที่ 8สิทธิและเสรีภาพในการศึกษา มี 2 มาตรา คือ
       มาตรา 49บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่รัฐจะต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย ผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพหรือผู้อยู่ในสภาวะยากลำบากต้องได้รับการสนับสนุนจากรัฐเพื่อให้ได้รับการศึกษาโดยทัดเทียมกับบุคคลอื่นการจัดการศึกษาอบรมขององค์กรวิชาชีพหรือเอกชนการศึกษาทางเลือกของประชาชน การเรียนรู้ด้วยตนเองและการเรียนรู้ตลอดชีวิตย่อมได้รับการคุ้มครองและส่งเสริมที่เหมาะสมจากรัฐ
      มาตรา50บุคคลย่อมมีเสรีภาพในทางวิชาการ การศึกษาอบรม การเรียนการสอน การวิจัยและการเผยแพร่งานวิจัยตามหลักวิชาการย่อมได้รับการคุ้มครอง ทั้งนี้เท่าที่ไม่ขัดต่อหน้าที่ของพลเมืองหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
     
นอกจากนี้ยังมีสาระที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาแทรกอยู่ในส่วนต่างๆอีกหลายส่วน

หมายเลขบันทึก: 333626เขียนเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2010 20:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 มิถุนายน 2020 20:42 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

สวัสดีค่ะ

  • มาเรียนรู้เกี่ยวกับกฏหมายการศึกษาค่ะ
  • ขอขอบพระคุณค่ะ

ขอบคุณที่เห็นประโยชน์ครับ และอยากให้ศึกษากฏหมายในรายละเอียดทั้งฉบับไปด้วยกัน แล้วมีข้อเสนอแนะแลกเปลี่ยนกันก็จะดีครับ เพราะผมมองคนเดียวอาจไม่ลึกซึ้งและถูกต้องพอ

ครับ สิ่งที่ไม่ทราบมาก่อนก็ได้รู้มากขึ้น ขอบคุณครับที่อนุเคราะห์สิ่งดีๆ ที่ครูอย่างเราๆ ควรทราบไว้

ดิฉันขออนุญาต นำไปอ้างอิงงานวิจัยได้ไหมค่ะ

ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ

กำลังอยากรู้เรื่องรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวกับการศึกษาอยู่พอดี ขอบคุณมากเลยครับ จะติดตามบล็อกไปเรื่อยๆนะครับ

รัฐธรรมนูญควรจะมีความโปร่งใสและแสดงตัวตนให้มากกว่านี้ ไม่ควรให้อำนาจกลับปนะชาชนจนมากเกินไปจนทำเกิดเหตุการณ์ต่างๆ สิทธิและเสรีภาพนั้นดีต่อประชาชน ลดการแบ่งแย่งกัน ควรมีระบบการต่อแถวหรือระเบียบมากกว่านี้

ขอบคุณที่ให้แสดงความคิดเห็นและนำความรู้มาให้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท