ปัญหาการว่างงานในจังหวัดสงขลา (3)


สภาพปัญหา       

  ประสิทธิภาพการผลิตต่ำ (Low Productivity)     ทฤษฎีทั่วๆไปทางเศรษฐศาสตร์จุลภาคมักนำไปสู่ข้อสรุปที่ว่า แรงงานจะได้รับค่าตอบแทนเท่ากับมูลค่าของผลผลิตหน่วยเพิ่มของตน ในตลาดแรงงานที่ทำหน้าที่ดีและมีการแข่งขัน มูลค่าของผลผลิตหน่วยเพิ่มวัดจาก จำนวนของรายรับที่เพิ่มขึ้นของหน่วยผลิตที่ได้จากการจ้างงานแรงงานเพิ่มขึ้นหนึ่งคน ซึ่งก็คือมูลค่าที่แรงงานหน่วยเพิ่มก่อให้เกิดกับรายรับของหน่วยผลิต โดยให้ปัจจัยการผลิตอื่นๆคงที่ แนวความคิดนี้อาจแสดงได้เป็น

(1)                                                                         VMPi  =  MPi  ´  MR

โดย VMPi  =  มูลค่าของผลผลิตหน่วยเพิ่มของแรงงานคนที่ i      

         MPi  =  ผลผลิตส่วนเพิ่มที่ผลิตขึ้นโดยแรงงานคนที่ i (ผลผลิตหน่วยเพิ่ม)

และ  MR  =  รายรับหน่วยเพิ่มที่มีที่มาจากหน่วยหนึ่งของผลผลิตที่เพิ่มขึ้น     ถ้าแรงงานคนที่ i ทำให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นห้าหน่วย และผลผลิตแต่ละหน่วยขายที่ราคา 2 บาท VMPi  จะเท่ากับ 10 บาท หน่วยผลิตจะขาดทุนถ้าจ่ายให้แรงงานมากกว่า VMP เนื่องจากต้นทุนของการจ้างแรงงานสูงกว่ารายรับที่ได้ แต่หน่วยผลิตจะเต็มใจจ้างแรงงานเพิ่ม ตราบเท่าที่มูลค่าของผลผลิตหน่วยเพิ่มสูงกว่าค่าจ้าง ความสัมพันธ์ทางทฤษฎีแบบนี้เอง เป็นประเด็นที่เชื่อมโยงการมีประสิทธิภาพการผลิตต่ำ กับ การมีรายได้ต่ำ และความยากจน 

    ประสิทธิภาพที่ยอมรับโดยตรง (Productivity Directly Recognized) นายจ้างหรือหัวหน้าภายในหน่วยธุรกิจ จะยอมรับและให้รางวัลกับการปรับปรุงในประสิทธิภาพ ในกรณีนี้ ประสิทธิภาพที่ดีขึ้นจะส่งผลให้ได้รับผลตอบแทนสูงขึ้น โดยไม่มีการเปลี่ยนงานหรือประเภทของงาน กรณีนี้มักใช้ในกรณีที่ค่าตอบแทนเป็นคอมมิชชั่น หรือบนพื้นฐานของชิ้นงาน 

    ประสิทธิภาพที่เอื้ออำนวยให้เปลี่ยนประเภทของงาน (Productivity Facilitates Job-Category Change) แรงงานภายในกลุ่มหนึ่งๆมีความชำนาญและค่าจ้างคล้ายคลึงกัน ถ้าความชำนาญหรือประสิทธิภาพของบุคคลหนึ่งสูงขึ้น เขาจะย้ายไปสู่กลุ่มของงานอื่น เช่น จากพนักงานพิมพ์ดีดเป็นเลขานุการ ค่าจ้างในกลุ่มงานใหม่จะสูงกว่าค่าจ้างที่เคยได้รับก่อนหน้านี้ แสดงถึงประสิทธิภาพที่สูงขึ้น

     ประสิทธิภาพยกระดับการเป็นที่ต้องการ (Productivity Improves Place in Queue) ประสิทธิภาพที่ปรับปรุงดีขึ้น ไม่เพียงแต่มีผลต่อกลุ่มของงานและค่าจ้างของบุคคลเท่านั้น ยังทำให้เป็นที่ต้องการมากขึ้น โดยมักจะได้รับการจ้างงานก่อนคนอื่น และถ้ามีการเลิกจ้างก็จะถูกเลิกจ้างหลังคนอื่น 

คำสำคัญ (Tags): #ปัญหาแรงงาน
หมายเลขบันทึก: 33341เขียนเมื่อ 8 มิถุนายน 2006 14:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:06 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท