“รักจัง” กับอคติทางชาติพันธุ์


พอที กับการเหยียดหยาม เอาเปรียบเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน พอทีกับสื่อที่น่าขบขันไร้สาระ พอทีกับวิธีคิดของคนสร้างหนังที่มีหัวใจอันเต็มเปี่ยมไปด้วย “อคติ”

         

       ภาพของ ผู้แสดงหนังเรื่อง รักจัง ที่ได้ชมผ่านตัวอย่างก่อนฉายจากสื่อต่างๆ ไม่แปลกใจว่าภาพยนตร์แนวนี้ ขายง่ายและติดตลาดคนไทยได้เป็นอย่างดี เรื่องที่อดสูที่เห็นกันมานานกับหนังไทย ก็คือวิธีคิดของผู้มีส่วนร่วมในการสร้างหนังเรื่องนี้ขึ้นมา อคติในใจของคนสร้างหนังที่สะท้อนให้เห็นการมองมนุษย์บนพื้นฐานของความไม่เท่าเทียม กับ กลุ่มชาติพันธุ์หนึ่ง (an ethnic group)           ภาพขบขัน ภาพตลกที่โง่เขลาเบาปัญญา ล้วนแล้วแต่เป็นภาพของชาวเขา(ไม่ใช่ชาวเรา) ที่สกปรก เคี้ยวหมากฟันดำ  เป็นภาพที่เห็นได้ในหนังเรื่องนี้            บน ภูชี้ฟ้าเชียงราย พวกเราไปนั่งพูดคุยแลกเปลี่ยน กับคน-ชาติพันธุ์     คุณอาทู่ หนุ่มใหญ่ชาวอาข่า(ไกรสิทธิ์ สิทธิโชดก) น้องอายิ  หนุ่มอาข่า แห่งมูลนิธิกระจกเงา น้องสุรสิทธิ์  หนุ่มปกากะเญอจากดอยอินนนท์ รู้สึกไม่ค่อยดีกับเรื่องราวของหนังเรื่องนี้ ไม่ค่อยสบายใจกับภาพของ ชาวเขา ที่ติดอยู่ในมโนสำนึก มายาคติของคนกรุงบางกลุ่มที่มองพวกเขา ถูกเบียดและขับให้เป็นชายขอบ (marginalization) อยู่ตลอดเวลา <p style="text-justify: inter-cluster; margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">          มีคำถามมากมายที่ถามสังคม เพื่อที่จะเรียกร้องจุดยืนบนสังคมอย่างเท่าเทียม ซึ่งเวลาผ่านไปพื้นที่ทางสังคมของพวกเขากลับถูกลดทอนลงเรื่อยๆ การนำเสนอภาพสู่ภายนอกกลับไม่ได้นำสิ่งดีๆ ภูมิปัญญาที่มีคุณค่าของพวกเขาออกมาให้สังคมได้เรียนรู้และได้รู้จัก   พอที กับการเหยียดหยาม เอาเปรียบเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน พอทีกับสื่อที่น่าขบขันไร้สาระ  พอทีกับวิธีคิดของคนสร้างหนังที่มีหัวใจอันเต็มเปี่ยมไปด้วย อคติ  </p><p style="text-justify: inter-cluster; margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">          ถ้าฝรั่งนำคนไทยเราไปทำหนัง แล้วให้บทบาทที่มองแล้วน่าขบขัน น่าสมเพส เราจะรู้สึกอย่างไร?</p><p style="text-justify: inter-cluster; margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">          อนิจจา รักจัง หนัง ไม่น่ารัก</p><p style="text-justify: inter-cluster; margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal"></p><p style="text-justify: inter-cluster; margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">ภาพจาก        www.thaicinemix.com</p>

หมายเลขบันทึก: 33264เขียนเมื่อ 7 มิถุนายน 2006 18:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:25 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

ผมเห็นด้วยอย่างยิ่งครับ คนทำงานบ้านเราไม่ว่าทำหนังหรือทำโฆษณาได้ทำงานที่ "cheap" (แปลว่าไร้ซึ่งศักดิ์ศรีแต่ทำเพื่อการขายอย่างเดียว) ที่เอา "discrimination" มาเล่นเป็นเรื่องตลกมานานแล้ว ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของคนต่างจังหวัด ต่างเผ่าพันธุ์ ต่างประเทศบางประเทศ ต่าง... ฯลฯ หรือคนเตี้ย คนดำ คนอ้วน คนจมูกแบน คนปากใหญ่ ฯลฯ

ไม่เข้าใจว่าทำไมเรื่องราวประเภทนี้ถึงยังได้ทำออกมาขายกันไม่หยุดหย่อน คราวก่อนก็เรื่องอะไรสองเรื่องที่ประเทศลาวไม่ยอม ก่อนหน้านี้ก็เรื่องที่ประเทศกัมพูชาไม่ยอมเหมือนกัน

แต่ไม่เป็นไรครับ คนไทยในหนังตลกฝรั่งก็ไม่ได้แพ้กัน ถ้าพูดถึงว่าไป Bangkok มากก็เป็นอันรู้กันว่าไปทำไม ถ้าใครไปทำอะไรที่ Thailand ก็ได้หัวเราะครืนกันอีกเหมือนกัน

ต้องเรียกว่ากรรมตามทัน ไม่ต้องไปดูที่ต่างประเทศ หาดูได้ใน UBC ในช่องที่ไม่ได้แปลเป็นภาษาไทย (เพราะ UBC ไม่ยอมแปล) ครับ

  • เห็นด้วยกับ ดร ธวัชชัยครับ
  • เราจะทำอย่างไรไม่ให้มีการดูถูกทางเชื้อชาติของชนกลุ่มน้อยในสังคมของเราละครับ

เห็นด้วยกับ อาจารย์ ดร.ธวัชชัย ครับ - - - ขายก็ขายได้ แต่เอาเรื่องราวๆดีๆแง่มุมที่น่ารักมาให้สังคมได้เรียนร้ ซึ่งผมเองก็เชื่อว่าแง่มุมบวกเหล่านี้ ก็น่าจะขายได้ไม่แพ้กันครับ

จะทำอย่างไร ไม่ให้มีการดูถูกทางเชื้อชาติของชนกลุ่มน้อยในสังคม ? คำถามอาจารย์ขจิต

เป็นคำถามที่ตอบยากจังครับ เพราะมันขึ้นอยู่กับมโนสำนึกของผู้สร้างสรรค์งาน

ตอนนี้ทางเครือข่ายที่เกี่ยวข้องต่างก็ร่วมกันเรียกร้องและต่อสู้อยู่ครับ คุณ ออต

ขอบคุณครับสำหรับความเห็นทุกท่านครับ

<b>เห็นด้วยอย่างยิ่งค่ะ หนังลักษณะแบบนี้ไม่เคยสนับสนุนและไม่เคยดูเลย </b>

เรื่องนี้มีประเด็นที่ต้องคุยยาว ใครสนใจติดตาม ลองเข้าไปเยี่ยมwww.gotoknow.org/blog/culturalgarden นะครับ ผมเพิ่งพิมพ์บทความเรื่อง จาก"รักจัง"สู่ "เกลียดจัง" สู่การเมืองเรื่องอัตลักษณ์ชาวเขาบนแผ่นฟิล์ม อยากให้ลองไปแลกเปลี่ยนมุมมองกันครับ
มาเพื่อ share ค่ะ เราว่าอย่าไปมองวัฒนธรรมแบบหยุดนิ่งตายตัวเลยค่ะ คือ แบบว่าไปดูหนังเรื่องนี้มาแล้วและก็วิเคราะห์กับเพื่อนแล้วไม่มีตรงจุดไหนนะ ที่เขาเหยียด หรือ ยกเป็นประเด็นดูถูกเหยียดหยาม ในหนังนางเอกของเรื่องถูกเจ้าหน้าไทยบังคับให้ร้องเพลงชาติ และท่อง ก-ฮ เพื่อพิสูจน์ความเป็นชาติไทย ซึ่งเรามองว่า นี้คือการพิสูจน์ความเป็นชาติกันแค่นี้หรือ กับการพูดไม่ชัด ไม่มีเชื้อชาติไทยแท้ เพราะนางเอกก็ลูกครึ่ง (ซึ่งที่ผ่านมาตำรวจหรือทหารมักใช้วิธินี้กับชาวบ้านตาดำๆ ที่ต้องเดินทางจากบ้านเข้าเมือง)เราว่ามองให้หลุดพ้นความเป็นชาติ และวัฒนธรรมที่ตรึง หรือหยุดนิ่งอยู่กับที่ได้ไหมค่ะ เพราะต้องเข้าใจว่าวัฒนธรรมหรือวิธีชีวิตของแต่ละคน ชุมชนหรือสังคมล้วนเลื่อนไหลไปตามกระแส ซึ่งขึ้นอยู่กับว่า เราจะระมัดระวังไม่ตกเป็นเหยื่อของกระแสได้อย่างไร ชาวเขา(ไม่ใช่ชาวเรา) ผู้เขียนก้แบ่งแยกตัวเองเหมือนกันนะ

คุณ beyond frontiers

ผมใช้คำเปรียบเทียบเพื่อเขียนบันทึกให้เห็น เป็นศัพท์เปรียบเทียบครับ ...ผมเองก็ได้แต่ดู "หนังตัวอย่าง" แต่หนังตัวอย่างก็สื่อเหลือเกินว่า เอาอะไรมาเป็นจุดขาย มันค่อนข้างอ่อนไหวมากเลยครับ สำหรับประเด็นแบบนี้ ส่วน

คุณยอดดอยวิเคราะห์ที่ผมตามไปอ่านก็มีส่วนถูกครับ  แต่ยังไงก็ตามว่า เรามองเป็นกลางนะครับ ...ถ้าสำหรับผม ผมรู้สึกเจ็บปวดอยู่ดีครับ แต่ผมเองก็ไม่ได้Bias มากไป หนังแบบนี้หากสร้างได้ดี มีแง่มุมงามๆ น่ารักชวนมอง ก็น่าดู และน่าสรรเสริญ ครับ

ขอมองเพิ่ม.../// การมองวัฒนธรรมแบบนี้ไม่ใช่หยุดนิ่ง ตายตัวนะคะ อาจคนละประเด็นกับคุณ beyomd frontiers มันอาจจะคนละเรื่องนะคะ(ต้องดูที่เนื้อหา)/// วัฒนธรรมมันเป็นพลวัตรอยู่แล้วละคะ แต่พลวัตรที่ไม่มีการเหยียดหยาม bias โดยคนอื่น หากเป็นไปตามวิถีวัฒนธรรม...แบบนี้เราถือว่าเป็นปกติ...ยอมรับได้///แต่ครั้งนี้ยอมรับไม่ได้ค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท