การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่อง “แนวทางการแก้ปัญหาภัยพิบัติ”


การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่อง แนวทางการแก้ปัญหาภัยพิบัติ

 

                    คณะผู้เชี่ยวชาญกรมส่งเสริมการเกษตร พร้อมด้วย

คุณธงอาจ จันทร์แดง จากกองแผนงาน ได้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่อง

แนวทางการแก้ปัญหาภัยภิบัติ เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2549  ณ ห้องประชุม

คณะทำงานอธิบดี

                    เริ่มต้นด้วยคุณธงอาจ จันทร์แดง ได้เล่าให้คณะผู้เชี่ยวชาญ

ฟังถึงขั้นตอนการดำเนินงานให้ความช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบภัยพิบัติ

โดยแยกเป็นภัยปกติและภัยเร่งด่วน โดยยกตัวอย่างว่าภัยปกติคือภัยที่เกิด

จากภัยธรรมชาติ ฝนแล้ง น้ำท่วม ซึ่งปกติจะเกิดเป็นประจำทุกปีอยู่แล้ว

ส่วนภัยเร่งด่วนที่เห็นเด่นชัดกรณีดินถล่มที่ 7 จังหวัดภาคเหนือเร็ว ๆ นี้

มีขั้นตอนการดำเนินการที่แตกต่างกัน

                    สำหรับภัยปกติ  มี 5 ขั้นตอนหลักคือ   1.สำรวจความ

เสียหายรายบุคคล 2. ปิดประกาศรายชื่อผู้ประสบภัยที่หมู่บ้านเป็นเวลา

ไม่น้อยกว่า 3 วัน  3. ที่ประชุม ก.ช.ภ.อ. พิจารณาภายในวงเงิน 5 แสนบาท

4. ผู้ว่าราชการจังหวัดพิจารณาอนุมัติภายในวงเงิน 50 ล้านบาท

5. กรมส่งเสริมการเกษตรตรวจสอบข้อมูล  6. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

ขออนุมัติงบกลาง

                    ภัยเร่งด่วน  มี 5 ขั้นตอน1. ประมาณการเสียหายเบื้องต้น

2.สำนักงานเกษตรอำเภอรวบรวมข้อมูล  3. สำนักงานเกษตรจังหวัด

ตรวจสอบข้อมูลส่งกรมฯ  4. กรมส่งเสริมการเกษตรประมาณการวงเงินส่ง

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์  5. ครม.อนุมัติกรอบวงเงิน                  

                      การช่วยเหลือทั้ง 2 กรณีจ่ายเกษตรกรเป็นเงินสด

                    คณะผู้เชี่ยวชาญได้อภิปรายแนวทางการช่วยเหลือและ

มีความเห็นร่วมกันหลายประเด็น คือ  1. ควรมีข้อมูลการประสบภัยของเกษตรกรเป็นรายบุคคลและตรวจสอบได้

                    2. ควรกำหนดเกณฑ์การประเมินความเสียหายที่ชัดเจนและ

เป็นรูปธรรม

                    3. ควรกำหนดขั้นตอนปฏิบัติของเกษตรกรเมื่อประสบภัย

ธรรมชาติ จนได้รับความช่วยเหลือ

                    4. ควรมีคำแนะนำทางวิชาการด้านการฟื้นฟูพืชหลังการ

ประสบภัยและข้อมูลการเตือนภัยก่อนจะเกิดภัย

                    5. ควรปรับเปลี่ยนระบบการจ่ายเงินสดเข้าบัญชีของ

เกษตรกร ที่ธกส.ให้แก่เกษตรกรโดยตรง กรณีที่ได้รับเงินช่วยเหลือ เพื่อลด

ภาระงานนักวิชาการส่งเสริมการเกษตร

                    6. ควรมีการเชื่อมประสานข้อมูลกับกรมบรรเทาสาธารณภัย

ในการประกาศเขตประสบภัย เพื่อมิให้เกิดข้อขัดแย้ง

                    7. ควรกำหนดจำนวนพื้นที่พืชเสียหายสูงสุดที่จะได้รับความ

ช่วยเหลือ

                    8. ควรถอดองค์ความรู้ (best practice) กรณีเกษตรกร

จังหวัดอุตรดิตถ์ที่ทำระบบการปลูกพืชแบบขั้นบันได ทำให้ไม่มีความเสียหาย

และกรณีอำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม ที่เตรียมการป้องกันจนไม่เกิด

ความเสียหาย เพื่อเป็นกรณีตัวอย่างสำหรับพื้นที่อื่น ๆ และประชาสัมพันธ์

ต่อไป

                    อนึ่งคณะผู้เชี่ยวชาญ จะได้นำข้อเสนอแนะเหล่านี้เสนอ

กรมส่งเสริมการเกษตรต่อไป
หมายเลขบันทึก: 33222เขียนเมื่อ 7 มิถุนายน 2006 15:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มิถุนายน 2012 21:16 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท