รวมพลังประชาคมขจัดภัยบุหรี่


เห็นความร่วมมือในเครือข่ายหลายภาคส่วนที่เข้มแข็ง ทั้งวิชาชีพด้านสุขภาพ โรงเรียน สถานประกอบการ และ NGO โดยเฉพาะวิชาชีพด้านสุขภาพแกนนำหลากหลายมาจากทั้งแพทย์ พยาบาล เภสัชกร เทคนิคการแพทย์ กายภาพบำบัด ฯลฯ ซึ่งเป็นพลังขับเคลื่อนที่สำคัญระดับประเทศ
5-6 มิย.49  เข้าร่วมประชุมวิชาการบุหรี่กับสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 5หัวข้อ "รวมพลังประชาคมขจัดภัยบุหรี่" ที่มิราเคิล แกรนด์ กทม.จากผลการรณรงค์ควบคุมการบริโภคยาสูบในประเทศไทย 10-20 ปีที่ผ่านมาพบว่า พฤติกรรมการสูบบุหรี่ของประชากรในกลุ่มอายุ 15 ปีขึ้นไปลดลงเป็นลำดับจากร้อยละ 30.46 ในปี2534 เหลือร้อยละ 19.47 ในปี2547  ประเทศไทยมีการควบคุมการบริโภคยาสูบดีที่สุดประเทศหนึ่งซึ่งได้รับการยอมรับในระดับโลก ปัจจุบันเรามีกฎหมายในการควบคุมยาสูบ 2 ฉบับ คือพ.ร.บ. ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ2535 และพ.ร.บ.คุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ พศ.2535 ซึ่งที่ผ่านมาพบว่ากระทรวงสาธารณสุขต้องเสียค่ารักษาพยาบาล 3 โรคหลักที่เกิดจากการสูบบุหรี่ คือถุงลมปอดโป่งพอง มะเร็งปอด และโรคหัวใจขาดเลือดถึงปีละ 46,000 ล้านบาท และมีผู้เสียชีวิตจากโรคที่เกิดจากการสูลบุหรี่ถึงปีละ 52,000 คน

วันแรก   มีพิธีเปิดพร้อมมอบโล่ห์และรางวัลโรงพยาบาลปลอดบุหรี่จำนวน 20 แห่งจากทั่วประเทศ

ช่วงเช้าเป็น นานาทรรศนะต่อขบวนการควบคุมการบริโภคยาสูบไทยปัจจุบันและอนาคต  จากมุมมองของสื่อสารมวลชน นักการเมืองและแพทย์  ผู้ร่วมอภิปราย 2 ท่านคือ ดร.สมเกียรติ อ่อนวิมลและศ.พญ.ชนิกา ตู้จินดา จากนั้นมีบรรยายเรื่องควันบุหรี่มือสองกับผลกระทบต่อสุขภาพ โดย ศ.นพ.เฮดเลย์ จากมหาวิทยาลัยฮ่องกง

ช่วงบ่าย อภิปรายเรื่อง  ควันบุหรี่มือสองกับการห้ามสูบบุหรี่ในที่สาธารณะ หลังจากนั้นแบ่งกลุ่มย่อย 5กลุ่ม ดิฉันเข้าห้องที่4  การให้บริการเลิกบุหรี่ภาครัฐ และภาคเอกชน โดยนำอภิปรายวิชาการ 3 เรื่อง คือ

            *สถานการณ์ให้บริการเลิกบุหรี่ในประเทศไทย(ภก.คทา บัณฑิตานุกูล)

           ** บริการคลินิกอดบุหรี่ในโรงพยาบาล(คุณปราณี  ภาณุภาส)

       ***บทบาทโรงเรียนในการส่งเสริมให้เลิกบุหรี่(อ.วราภรณ์ หงษ์ดิลกกุล)

****Quitline ทางเลือกหนึ่งในการช่วยให้เลิกบุหรี่(ผศ.กรองจิต วาทีสาธกกิจ)

ประเด็นในการระดมสมอง(ห้องที่4)

                -แนวทางการพัฒนารูปแบบการเชื่อมโยงของภาคีต่างๆ              

                -กลยุทธการเข้ามามีส่วนร่วมในการส่งเสริมให้เกิดการเลิกบุหรี่

                -ตัวช่วยที่ง่ายต่อการเข้าถึง

AARหลังเข้าร่วมประชุมในวันแรก

สิ่งที่คาดหวัง       หวังว่าจะได้เรียนรู้ วิธีการ ลด ละ เลิกบุหรี่ ใหม่ๆในหลากหลายรูปแบบที่จะเป็นประโยชน์ต่อบำราศฯ

สิ่งที่ได้  1.เห็นความร่วมมือในเครือข่ายหลายภาคส่วนที่เข้มแข็ง ทั้งวิชาชีพด้านสุขภาพ โรงเรียน สถานประกอบการ และ NGO โดยเฉพาะวิชาชีพด้านสุขภาพแกนนำหลากหลายมาจากทั้งแพทย์ พยาบาล เภสัชกร เทคนิคการแพทย์ กายภาพบำบัด ฯลฯ ซึ่งเป็นพลังขับเคลื่อนที่สำคัญระดับประเทศ                2. ได้รับทราบข้อมูลวิชาการใหม่ๆ และเรียนรู้แนวทางให้ความช่วยเหลือผู้ที่ติดบุหรี่

ทำไมจึงมีความแตกต่าง

                เนื่องจากครั้งนี้บำราศฯมีดิฉันไปร่วมประชุมเพียงคนเดียว (ไม่มีค่าลงทะเบียน/ไม่จำกัดโควต้า)ทั้งที่มีผู้ที่เกี่ยวข้องเรื่องนี้หลายส่วน เช่น  PCT อายุรกรรม,  OPD, งานสุขศึกษา, งานยาเสพติด งานส่งเสริมสุขภาพ และนักจิตวิทยา ซึ่งถ้าผู้ที่เกี่ยวข้องดังกล่าวได้เข้าร่วมประชุมในครั้งนี้ด้วยตนเองก็อาจจะได้แนวคิด หรือไม่ก็แรงบันดาลใจไปพัฒนาต่อยอดที่บำราศฯอย่างมีทิศทางที่ชัดเจนยิ่งขึ้น

 ได้เรียนรู้อะไรเพื่อพรุ่งนี้จะทำให้ดีขึ้น             

   1.ความเข้มข้นของสารพิษหลายชนิดจากควันบุหรี่มือสองมีโทษร้ายแรงกว่าการได้รับควันจากการสูบโดยตรง เป็นประเด็นที่ต้องร่วมกันรณรงค์ในบำราศฯและเชื่อมโยงกับเครือข่ายระดับประเทศต่อไป               

2.ความสำคัญของระบบคัดกรองจากประวัติการสูบบุหรี่ซึ่งควรบันทึกลงในแฟ้มเวชระเบียนของผู้รับบริการทุกคน เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการสืบค้นและเฝ้าระวังรวมถึงให้คำแนะนำเข้าสู่ระบบการเยียวยารักษาโรคที่เกี่ยวเนื่องกับบุหรี่ (ซึ่งร.พส่วนใหญ่ทั่วประเทศได้ดำเนินการแล้ว)               

3.แนวทางการประเมินระดับการการติดบุหรี่เบื้องต้น 6 ข้อ ซึ่งบุคลากรที่เกี่ยวข้องน่าจะคัดกรองเพื่อส่งต่อได้               

4.มีตัวช่วยที่เข้าถึงได้ง่ายสำหรับผู้ที่อยากเลิกบุหรี่ คือ Quitline 1600 และรายชื่อ/เบอร์โทรเภสัชกรอาสาในเขตจังหวัดนนทบุรีและทั่วประเทศ

หมายเลขบันทึก: 33191เขียนเมื่อ 7 มิถุนายน 2006 12:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 พฤษภาคม 2012 15:52 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
สนใจสาระเรื่องบุหรี่ดูข้อมูลจากภาคีเครือข่าย: มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ได้ที่ http://www.thaihealth.or.th/news.php?id=643
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท