ออมสินสนองรัฐ เท 5 หมื่นล. ให้กู้ คลายทุกข์คนจน


ออมสินให้กู้...คลายทุกข์คนจน
ออมสินพร้อมควักเงิน 5 หมื่นล้านบาท ออกมาช่วยบรรเทาทุกข์ประชาชนยุคข้าวของแพง ระบุแบงก์รัฐรายใดต้องการเงินก็พร้อมนำไปพักไว้ แต่ต้องสูงกว่าต้นทุน 0.51.0% แต่ต้องฝากไว้ไม่เกิน 78 เดือนเท่านั้น แหล่งข่าวจากธนาคารออมสิน เปิดเผยว่า ธนาคารเห็นด้วยกับแนวทางของรัฐบาลที่ต้องการลดภาระค่าใช้จ่ายให้กับประชาชนในช่วงดอกเบี้ยขึ้น น้ำมันแพง ข้าวของขึ้นราคา โดยในส่วนของธนาคารเองนั้น   จะไม่ขึ้นดอกเบี้ยในช่วงนี้ และจะพยายามผ่อนปรนเงื่อนไขการให้กู้สำหรับโครงการธนาคารประชาชนและสินเชื่อที่อยู่อาศัยมากขึ้น   นอกจากนี้ ธนาคารพร้อมที่จะแบ่งปันสภาพคล่องทางการเงินที่ยังเหลืออยู่ประมาณ  1.2 แสนล้านบาท ออกไปฝากหรือให้กู้กับธนาคารเฉพาะกิจของรัฐ เพื่อช่วยกันปล่อยกู้ให้กับประชาชนในอัตราดอกเบี้ยต่ำกว่าปกติ 1% วงเงินที่พร้อมสนับสนุนจะตกประมาณ 5 หมื่นล้านบาท เพราะถ้ามากกว่านี้จะกระเทือนต่อ  แผนธุรกิจของธนาคาร   ทั้งนี้ มีเงื่อนไขว่าเงินที่จะนำไปฝากกับธนาคารเฉพาะกิจของรัฐที่ยังขาดสภาพคล่องนั้น จะต้องมีอายุการให้กู้หรือรับฝากไม่เกิน 78 เดือน เพราะถ้าเกินกว่านั้นจะเป็นปัญหาในการบริหารเงิน และอัตรา   ที่จะนำไปฝากนั้นควรอย่างยิ่งที่จะต้องมีอัตราที่สูงกว่าต้นทุนประมาณ 0.51.0% การคิดต้นทุนเงินฝากระดับนี้      คงไม่เป็นภาระกับสถาบันการเงินที่จะรับเงินไปบริหาร นางอรอนงค์ มณีกาญจน์ ที่ปรึกษาด้านการพัฒนาระบบการเงินการคลัง กรมบัญชีกลาง กล่าวว่า ขณะนี้ยังไม่ได้ข้อสรุปการโยกเงินฝากของกองทุนต่าง ๆ ไปไว้ที่ ธ.ก.ส. และ ธอส. ตามมาตรการรัฐบาลที่ต้องบรรเทาความเดือดร้อนของผู้มีรายได้น้อยที่ได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันและดอกเบี้ยสูง ค่าครองชีพและต้นทุนพุ่ง โดยระยะเวลาของโปรแกรมนี้จะตกประมาณ 78 เดือน   ส่วนแนวทางการไปโยกเงินจากกองทุนประกันสังคมคงไม่สามารถทำได้ เพราะมีผู้ที่เกี่ยวข้องหลายส่วน รัฐบาลไม่ได้เป็นเจ้าของ  เงินฝากของกองทุนเงินกู้ยืม               เพื่อการศึกษา (กยศ.) จึงเหมาะสมมากที่สุดแต่ก็ติดปัญหาทาง กยศ. ต้องใช้ดอกผลจากเงินฝากเป็นค่าใช้จ่าย    การบริหารสำนักงาน ไม่สามารถโยกมาฝากยาวใน ธ.ก.ส. ได้ ซึ่งทาง ธ.ก.ส. ต้องการเงินฝากออมทรัพย์ยาว         7 เดือน เท่ากับอายุของมาตรการที่จะดำเนินการ นายวราเทพ รัตนากร รักษาการรมช.คลัง กล่าวว่าจะเสนอแผนกระตุ้นเศรษฐกิจเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรีนัดพิเศษวันที่ 2 มิ.ย. โดยเน้นช่วยเหลือกลุ่มเกษตรกรข้าราชการ และประชาชนผู้มีรายได้น้อย ผ่านธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) และธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ในรูปแบบสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ โดยโยกเงินฝากของกองทุนเงินหมุนเวียนนอกงบประมาณมาไว้ธนาคารรัฐทั้ง 2 แห่งแทน  โดยหาก เม็ดเงินฝากที่โยกมามีไม่เพียงพอ ซึ่งปัจจุบันกองทุนทั้ง 94 แห่งมีเงินฝากอยู่ประมาณ 1.5 แสนล้านบาท รัฐบาล    ก็จะพิจารณาใช้เงินงบประมาณเข้าไปสนับสนุนเอง   โดยการโยกเงินกองทุนทำได้แต่เงินฝากออมทรัพย์เท่านั้น เพื่อไม่ให้กองทุนเสียประโยชน์จากดอกเบี้ยที่เดิม และหากรวมกันแล้วไม่ถึง 34 หมื่นล้านบาท ไม่มีประโยชน์   ที่จะโยกเพราะจำนวนเงินน้อยกว่าที่ ธ.ก.ส. ใช้ดำเนินการ ณ สิ้นเดือนเมษายน 2549 กองทุนทั้งหมดมีเงินฝาก ทุกประเภทร่วมกัน 67 หมื่นล้านบาทเท่านั้น   นางอรอนงค์ กล่าวว่าตามแผนคลังโยกเงินจากกองทุนให้ ธ.ก.ส. เพื่อไปปล่อยกู้ให้กับเกษตรกรในอัตราดอกเบี้ยลดลง 1% จากอัตราดอกเบี้ยปกติที่ประมาณ 7.5% ซึ่งทาง ธ.ก.ส. เสนอแนวทางการลดอัตราดอกเบี้ยมา 2 วิธี คือ แนวทางแรกให้รัฐหาเงินฝากให้หากไม่ได้ แนวทางที่สองรัฐบาลก็ต้องชดเชยจากอัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารลดให้เกษตรกร   สำหรับการโยกเงินฝากของกองทุนไปไว้ที่ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) จะทำหลังจากทำให้ ธ.ก.ส. เสร็จแล้ว ซึ่งหากการโยกเงินให้ ธ.ก.ส. ไม่สำเร็จก็จะทำให้การโยกเงินไปให้ ธอส. มีปัญหาตามมา ส่วนแนวทางการไปโยกเงินจากกองทุนประกันสังคมไม่สามารถทำได้ เพราะมีผู้ที่เกี่ยวข้องหลายส่วน ไม่ได้รัฐบาลเป็นเจ้าของเหมือนกับกองทุนทั่วไป ในส่วนเงินฝากของกองทุนเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) ซึ่ง  มีมากที่สุด แต่ก็ติดปัญหาทาง กยศ. ต้องใช้ดอกผลจากเงินฝากเป็นค่าใช้การบริหารสำนักงาน ไม่สามารถโยกมาฝากยาวใน ธ.ก.ส. ได้ ซึ่งทาง ธ.ก.ส. ต้องการเงินฝากออมทรัพย์ยาว 7 เดือน เท่ากับอายุของมาตรการที่จะดำเนินการ นายอำพน กิตติอำพน เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยว่า นายกรัฐมนตรีได้สั่งการให้เพิ่มข้อมูลหลายอย่าง ซึ่งวันนี้ยังไม่มีข้อสรุปชัดเจน ส่วนใหญ่เป็นมาตรการทางการเงิน และได้สั่งให้กระทรวงการคลังไปศึกษาดูว่า ขณะนี้ ธ.ก.ส. ที่ปล่อยสินเชื่อให้กับเกษตรกร ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ที่ปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัย และธนาคารออมสิน ที่ปล่อยสินเชื่อให้ลูกค้ารายย่อย ซึ่งบางธนาคารมีเงินเหลือ บางธนาคารอาจขาดสภาพคล่อง ก็ต้องมาหารือกันว่าจะมีการโอนเงินไปในส่วนที่ขาดเพื่อทำให้ต้นทุนของธนาคารต่ำลง ซึ่งปกติธนาคารก็มีการดำเนินการอยู่แล้ว  "ในส่วนของการดูเงินของกองทุนต่าง ๆ ซึ่งต้องดูอัตราดอกเบี้ยในระยะยาว     ว่าสามารถพึ่งตลาดตราสารได้ไหม   เนื่องจากหลายกองทุนที่มีเงินในกองทุนกว่าแสนล้านบาท ซึ่งขณะนี้กลับไม่มีกลไกในการรองรับ   รัฐบาลและกระทรวงการคลังลองเข้าไปดูว่าจะสามารถอำนวยความสะดวกให้ได้หรือไม่ เวลาฝากเงินระยะยาว ดอกเบี้ย จะสามารถให้อัตราดอกเบี้ยที่ต่ำ ซึ่งปลัดกระทรวงการคลังจะต้องไปศึกษา   ในรายละเอียด" นายอำพนกล่าว โพสต์ทูเดย์ 4 มิ.ย. 49
คำสำคัญ (Tags): #ออมสินให้กู้
หมายเลขบันทึก: 33141เขียนเมื่อ 7 มิถุนายน 2006 08:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 เมษายน 2012 11:04 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท