เมื่อ “มนุษย์หินฟริ้นสโตน” ลุกขึ้นตั้งคำถามกับ "ญาณวิทยา"


เราเรียนรู้ประสบการณ์รวมถึงความผิดพลาดในการแสวงหาองค์ความรู้ในอดีต เพื่อ “ต่อยอด”องค์ความรู้นั้น ไม่ใช่หรือ ? ... "ญาณวิทยา" มีข้อจำกัดเรื่องเวลาด้วยหรือไม่ ?

เมื่อวานนี้ขณะร่วมประชุมถ่ายทอดองค์ความรู้ในการวางแผนการดำเนินกิจกรรมให้องค์กรเอกชนหนึ่ง ..มีบางความรู้สึกเกิดขัดแย้งขึ้นในใจ.. แต่ยังไม่ได้มีเวลาคิดต่อ พอเมื่อกลับถึงบ้านมีเวลาย่อยความรู้สึกนั้น จึงเป็นที่มาของคำถามบางอย่างในใจ ?

เราเรียนรู้ประสบการณ์รวมถึงความผิดพลาดในการแสวงหาองค์ความรู้ในอดีต เพื่อ ต่อยอดองค์ความรู้นั้น ไม่ใช่หรือ ? 
วิธีการแสวงหาองค์ความรู้หนึ่งในอดีต อาจดีที่สุดสำหรับเวลานั้นๆ แล้ว แต่การมีจุดเริ่มต้นของวันนั้น แม้จะมีความผิดพลาดมากมาย แต่ก็ทำให้มีก้าวต่อมาขององค์ความรู้ใหม่ๆ ถึงทุกวันนี้ ไม่ใช่หรือ ?

ฉันนึกย้อนไปถึงโครงการช่วยเหลือคนไทยไร้สัญชาติกลุ่มหนึ่ง ในภาคอีสาน ที่เราเรียกกันง่ายๆ ว่าโครงการหมันขาว ที่มีปัญหาติดค้างกว่า ๑๐ ปี นับแต่วันที่มีมติคณะรัฐมนตรีให้แปลงสัญชาติไทยให้ชาวบ้านหลายร้อยคน
เมื่อทราบปัญหา เราก็เริ่มต้นควานหาต้นตอของปัญหา ร่วมกันวางแผนแก้ปัญหาเปลาะที่ ๑ คือให้พวกเขาได้รับเอกสารพิสูจน์ตนของพวกเขา ที่ถูกเก็บไว้ที่ส่วนราชการมานับ ๑๐ ปี ให้ชาวบ้านถือไว้กับตัวในเบื้องต้น เพื่อไม่ต้องถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนพื้นฐาน โดยวิธีการให้บรรลุเป้าหมายนี้ เราได้จัดประชุมส่วนราชการที่เกี่ยวข้องทั้งหมดทั้งส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค ข้ามกรมข้ามกระทรวง รวมทั้งฝ่ายนโยบาย ฝ่ายการเมือง ส่งผลให้มีคำสั่งแก้ไขปัญหาให้ชาวบ้านจากส่วนกลาง ที่ตัดทอนขั้นตอนราชการไปมากมาย ทำให้ปัญหาเปลาะที่ ๑ แก้ไขไปได้หลังจากการจัดประชุมใหญ่ ๒ ครั้ง ใช้เวลาเพียงไม่ถึง ๔ เดือน

แม้ครั้งนั้นจะยังไม่ถึงที่สุดที่ให้ชาวบ้านได้รับการแปลงสัญชาติไทยตามนโยบายได้ แต่สำหรับข้อจำกัดของคนทำงาน เวลา ความรู้ รวมถึงการเมืองที่ไม่อาจควบคุมได้ ก็ทำให้เราทำสำเร็จเพียงเปลาะที่ ๑ ในเวลานั้น ก่อนทีมงานจะแยกย้ายกันไปมีชีวิตแง่มุมอื่นของแต่ละคน...

ฉันคิดถึง "มนุษย์หินฟริ้นสโตน" ขี้นมา เพราะอย่างน้อยฉันก็อดชื่นชมกับพวกเขาไม่ได้ว่า ถ้าพวกเขาไม่คว้าไม้กระบองขึ้นมาเป็นอาวุธ ณ วันนี้ เราก็คงไม่มีปืน ระเบิด หรืออาวุธร้ายแรงที่ไว้เข่นฆ่ากันอย่างเช่นยุคสมัยนี้ ...
ฉันคงไม่คิดโทษว่า ทำไมตอนนั้นฟริ้นสโตนไม่รู้จักใช้ปืน  หรือมัวแต่โทษตัวเองว่าทำไมฉันจึงไม่สอนให้ฟริ้นสโตนใช้ปืน ทำไมปล่อยให้ใช้ไม้กระบองอยู่ได้ สู้ใครก็ไม่ได้ แก้ปัญหาไม่สำเร็จ ...
อย่างน้อย ฉันคงคิดขอบคุณฟริ้นสโตนที่เริ่มต้นคิดคว้าไม้กระบองขึ้นมา เพื่อให้คนรุ่นต่อๆ มาได้ต่อยอดองค์ความรู้ในการใช้อาวุธโลหะ และพัฒนาเรื่อยมาจนถึงทุกวันนี้ ...

ถ้าเป็นคนยุคไอทีมองย้อนกลับไปหัวเราะฟริ้นสโตน คงยังไม่น่าน้อยใจเท่าคนยุคเดียวกันที่เรียนรู้การใช้กระบองด้วยกัน มาต่อว่ากันเอง

พูดอย่างนี้ไม่ใช่จะไม่ยอมรับความผิดพลาดในอดีต แต่แค่มีคำถามว่า ญาณวิทยา มีข้อจำกัดเรื่องเวลาด้วยหรือไม่ ?

คำสำคัญ (Tags): #ความรู้
หมายเลขบันทึก: 33052เขียนเมื่อ 3 มิถุนายน 2006 12:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 พฤษภาคม 2012 20:19 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ญานวิทยามีข้อจำกัดในหลายมิติ ทั้งเวลา สถานที่ สถานะ และรูปแบบ

อย่างเช่น ความรู้ในหิมะของคนในเขตร้อน กับคนในเขตหนาวไม่อาจลึกซึ้งเท่ากัน เพราะมีข้อจำกัดเรื่องพื้นที่ ฝ่ายหนึ่งไม่อาจมีประสบการณ์ตรง แต่อีกฝ่ายมีประสบการณ์ตรงได้

ข้อจำกัดเรื่องเวลาในเรื่องการจัดการปัญหาความไร้รัฐของบุคคล ก็มีข้อจำกัดเชิงเวลาอยู่มาก อาทิ สูติบัตร ซึ่งเกิดในราว พ.ศ.๒๔๙๙ ดังนั้น การที่อำเภอเรียกร้องให้คนเกิดก่อน พ.ศ.๒๔๙๙ มีสูติบัตร ก็คงตลกดี

ญานวิทยามีข้อจำกัดในหลายมิติ ทั้งเวลา สถานที่ สถานะ และรูปแบบ

อย่างเช่น ความรู้ในหิมะของคนในเขตร้อน กับคนในเขตหนาวไม่อาจลึกซึ้งเท่ากัน เพราะมีข้อจำกัดเรื่องพื้นที่ ฝ่ายหนึ่งไม่อาจมีประสบการณ์ตรง แต่อีกฝ่ายมีประสบการณ์ตรงได้

ข้อจำกัดเรื่องเวลาในเรื่องการจัดการปัญหาความไร้รัฐของบุคคล ก็มีข้อจำกัดเชิงเวลาอยู่มาก อาทิ สูติบัตร ซึ่งเกิดในราว พ.ศ.๒๔๙๙ ดังนั้น การที่อำเภอเรียกร้องให้คนเกิดก่อน พ.ศ.๒๔๙๙ มีสูติบัตร ก็คงตลกดี

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท