ปฏิรูปการเรียนรู้ของหมอกิจกรรมสู่การรักษาสุขภาวะของคนไทย


นักศึกษาวิชาชีพที่เกี่ยวข้องทางการแพทย์ เช่น กิจกรรมบำบัด กายภาพบำบัด ที่กำลังศึกษาในเมืองไทยช่วงสองปีแรกนั้นเรียนหนักมากจนเกินไป

ผมได้มีโอกาสเข้าฟัง กลวิธีการปรับปรุงหลักสูตรระดับปริญญาตรีของโรงเรียนกิจกรรมบำบัด University of South Australia” จึงได้กลับมานั่งคิดทบทวนกับการเขียนหลักสูตรกิจกรรมบำบัดของมหาวิทยาลัยมหิดล ที่ตนเองต้องกลับไปใช้ทุนรัฐบาล ก็พบว่านักศึกษาวิชาชีพที่เกี่ยวข้องทางการแพทย์ เช่น กิจกรรมบำบัด กายภาพบำบัด ที่กำลังศึกษาในเมืองไทยช่วงสองปีแรกนั้น เรียนหนักมากจนเกินไป ไม่ว่าจะเป็นเนื้อหาวิทยาศาสตร์เบื้องต้นและวิชาแพทย์หลักๆ เพื่อนำมาใช้ในการพัฒนาเหตุผลทางคลินิกในสองปีหลัง ขณะที่นักศึกษาที่ออสเตรเลียเริ่มเรียนวิชาแพทย์และวิชาพื้นฐานทางกิจกรรมบำบัดตั้งแต่ปีแรกเลย เป็นการเรียนแบบผสมผสานระหว่างการเรียนรู้แบบป้อนเนื้อหาหลัก (Criteria-context learning) และแบบคิดแก้ไขปัญหา (Problem based learning) ในการเรียนดังกล่าว อาจารย์จะเป็นผู้ส่งเสริมบรรยากาศของการเรียนรู้ (learning fascilitator) โดยเน้นสอบถามปัญหาของผู้เรียนมากกว่าทำให้ผู้เรียนต้องคอยจดเนื้อหาบรรยายเป็นเวลานาน โดยไม่ได้มีโอกาสทบทวนปัญหาต่างๆในขณะที่เรียนเลย การเรียนในรูปแบบนี้มีข้อเสียหลายประการ คือ ผู้เรียนไม่สามารถพัฒนาศักยภาพของตนเองได้เต็มที่และไม่เข้าใจการนำหลักการความรู้มาใช้ในการฝึกงานทางคลินิกในหลายๆสถานการณ์

การเรียนวิชาชีพทางการแพทย์ทุกสาขานั้น ควรเน้นพัฒนาแรงจูงใจในวิชาชีพของตนเอง (Professional motivation) และเพิ่มความคิดเชิงทักษะทางคลินิก (Clinical reasoning skills) ตั้งแต่เริ่มเข้าเรียนในปีแรก  อีกประเด็นหนึ่งที่ผมได้รับจากการเข้าฟังบรรยายนี้ คือ การฝึกทักษะการสังเกต (Observation skills) ทั้งขั้นเบื้องต้นและขั้นสูง ตลอดการเรียนในหลายๆวิชาและหลายๆสถานการณ์

ยกตัวอย่างเช่น การให้โอกาสนักศึกษาปีหนึ่งเข้าสังเกตการรักษาผู้ป่วยที่มีอาการไม่ซับซ้อน ในระยะแรกรับของนักศึกษารุ่นพี่ การสังเกตในขั้นนี้อยู่ในข้อจำกัดของการหาข้อมูลว่า ผู้ป่วยท่านนี้มีความบกพร่องในการทำกิจกรรมการดำรงชีวิต (Human Occupation) ต่างจากผู้มีสุขภาพดีอย่างไร และให้ตอบคำถามภายในใจของตนเองว่า ถ้าตนเองได้ทำการรักษาผู้ป่วยรายนี้ จะมีข้อเหมือนหรือแตกต่างจากนักศึกษารุ่นพี่ท่านนี้หรือไม่อย่างไร

การเรียนรู้แบบนี้ถือว่าเป็นการขัดเกลาจิตวิทยาและหล่อหลอมบุคลิกภาพของผู้เรียน กล่าวคือ นักศึกษาจะเข้าใจความเป็นตัวตนและรู้จักพัฒนาเชาวน์อารมณ์ (Emotional Quotient) ทำให้นักศึกษาคาดการณ์ถึงอนาคตของตนเองว่าจะต้องจบการศึกษาออกมารักษาผู้ป่วยที่ชีวิตที่ซับซ้อน มิใช่ว่ารักษาแค่โรคภัยไข้เจ็บ หากแต่ต้องรักษากิจกรรมการดำเนินชีวิตของผู้ป่วยไม่ให้เป็นภาระแก่ผู้อื่น และอยู่ร่วมกับผู้อื่นภายในสังคมได้อย่างมีความสุข

นักศึกษาควรจะต้องพัฒนาทักษะการควบคุมอารมณ์ของตนเองต่อการแก้ไขปัญหาชีวิตอันซับซ้อน โดยเริ่มจากการสังเกตกิจกรรมการดำเนินชีวิตของตนเองว่ามีสุขภาวะที่ดีหรือยัง เมื่อนักศึกษามีสุขภาวะที่ดีก็ควรรู้จักกลวิธีของการประคับประคองคุณภาพชีวิตของการมีสุขภาวะที่ดีนั้น ต่อจากนั้นก็ถึงเวลาของการเริ่มสังเกตกิจกรรมการดำเนินชีวิตของคนใกล้ชิดหรือบุคคลอันเป็นที่รัก และพิจารณาความรู้ที่เหมาะสมทั้งทางวิชาชีพทางการแพทย์และกิจกรรมบำบัด มาประยุกต์ใช้กับบุคคลดังกล่าว พยายามสังเกตและบันทึกข้อมูลอย่างเป็นระบบไม่ว่าจะเป็นประสบการเรียนรู้ที่ผิดพลาดหรือถูกต้องตามหลักวิชาการก็ตาม

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 33045เขียนเมื่อ 3 มิถุนายน 2006 11:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 เมษายน 2012 10:22 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
  • ข้อมูลน่าสนใจมากครับผม
  • กำลังทำปริญญาเอกทางด้าน Project-based learning อยู่ครับ

อ่านแล้วได้คิดเยอะเลยครับพี่ป๊อบ  และขอแชร์ความคิดเห็นด้วยครับ...

หลักสูตรปรับปรุงใหม่ ของ กิจกรรมบำบัด มช. เราได้มีคอร์สการสังเกตทางคลินิกครับ  โดยให้นักศึกษาปีสองได้เข้าร่วมสังเกตการทางคลินิกในฝ่ายต่าง ๆ (เริ่มใช้กับนักศึกษาใหม่รหัส 49) 

 และขอสนับสนุนเกี่ยวกับเรื่องการเรียนหนักมากสำหรับนักศึกษาวิทย์สุขภาพของไทย  (ถ้าไม่หนักเดี๋ยวดูไม่เข้มข้นตามสไตล์ไทยครับ :)  และเราก็ได้แก้ปัญหาโดยตัดตัวเรียนเกี่ยวกับวิชาพื้นฐานลงไปเยอะมาก  และเพิ่มเติมวิชาทางเกี่ยวข้องทางศาสตร์เราเข้าไปให้มากขึ้น 

 คิดว่าน่าจะสอดคล้องและร่วมต่อยอดกับประเด็นที่พี่ป๊อบได้เขียนไว้น่ะครับ 

 

สุภัทร

OT เชียงใหม่

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท