นักวิจัยแนวจัดการความรู้


นักวิจัยต้องทำหน้าที่มากกว่าการสังเกตปรากฏการณ์

การสัมมนาของเครือข่ายออมทรัพย์ชุมชนที่ลำปางใช้ห้องประชุมของเทศบาลนครลำปางในช่วงวันหยุดเสาร์-อาทิตย์โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย ห้องประชุมมีขนาดพอดีกับผู้เข้าร่วมประมาณ120คน ตัวแทนอปท.ที่เข้าร่วมพูดตรงกันว่า อปท.มีหน้าที่โดยความรับผิดชอบในการพัฒนาชุมชน    แต่ไม่รู้ว่าองค์กรออมทรัพย์ชุมชนกำลังทำอะไร ต้องเข้าไปบอกให้เขารู้ อย่าเป็นกบในกะลา พอจัดแยกกลุ่มย่อยสรุปบทเรียนการทำงานในส่วนของกรรมการเครือข่ายและหน่วยสนับสนุนทำให้เกิดความเข้าใจกันมากขึ้นคือ เครือข่ายล้วนเป็นอาสาสมัครชาวบ้านที่เสียสละ โครงสร้างและระบบจัดการของเครือข่ายและกลุ่มยังไม่เข้มแข็ง ยังขาดความเชื่อมั่นในทิศทางการดำเนินงาน การจะทำงานเชิงรุกเป็นเรื่องค่อนข้างลำบากมาก จึงต้องยื่นมือเข้าหากัน โดยหน่วยสนับสนุนต้องยื่นมือเข้ามามากหน่อย ทั้งหน่วยสนับสนุนภาครัฐและสภาองค์กรชุมชน การประชุมได้ข้อสรุปร่วมกันที่ดี ถือเป็นการสรุปบทเรียนที่ต่อไปต้องใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้เพื่อให้เป้าหมายที่ตั้งไว้บรรลุผล
ผมตั้งข้อสังเกตุการจัดการสัมมนาของทีมวิจัยว่า นักวิจัยต้องทำหน้าที่มากกว่าการสังเกตปรากฏการณ์ ควรเตรียมกระบวนการให้มากกว่านี้ซึ่งแน่นอนว่านักวิจัยหลักยังมีประสบการณ์ไม่มากนัก ดังนั้นจึงต้องเข้าไปหาประสบการณ์จากแหล่งเรียนรู้ในBlogและที่อื่น ๆ มิฉะนั้นก็จะช่วยเหลือเครือข่ายได้ไม่มากนัก เป็นเพียงงานวิจัยเกาะติดเครือข่ายเท่านั้น
อ.อ้อมและอ.พิมพ์เห็นด้วย โดยมีแผนจะตามติดเครือข่ายและเพิ่มประสบการณ์จากแหล่งเรียนรู้  อื่น ๆเพื่อทำหน้าที่คุณวิจัยแนวจัดการความรู้ต่อไป

หมายเลขบันทึก: 3300เขียนเมื่อ 31 สิงหาคม 2005 17:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 13:57 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท