คุยกับผู้ประสานงาน สสส. (การเขียนถอดบทเรียน)


สิ่งที่สำคัญของการเขียน คือ เขียนเพื่อก่อประโยชน์กับสังคมและส่วนรวม

        วันนี้ได้รับคำชวนเชิญจาก คุณแน็ท (สสส.) ว่าอยากให้ สคส. เข้าไปพูดคุยกับเหล่าผู้ประสานงานของ สสส. ในเรื่อง "การเขียนผลงานวิชาการ"  ว่าทำอย่างไร       ตอนแรกนั่งนึกอยู่ตั้งนานว่าบันทึกหรือบทความที่คน สคส. เขียนมันเรียกว่าเป็น "วิชาการ" ไหมน๊า?    เพราะไม่แน่ใจว่านิยามของงานเขียนวิชาการหมายถึงอะไร   ก็เลยถามกับกลุ่มผู้ประสานงาน สสส. ที่มา    จับจุดประสงค์สำคัญได้ว่าทางผู้บริหาร สสส. อยากจะให้บุคลากรได้พัฒนาทักษะการเขียน การถอดบทเรียนและการวิเคราะห์สังเคราะห์งาน     จึงริเริ่มโครงการนี้ขึ้นมาเป็นปีแรกให้เขียนคนละ 1 ชิ้น (ใครเขียนดีมีรางวัลให้ด้วยนะเนี้ยะ !) 

        ความจริง อ้อ ไม่ใช่คนที่เขียนเก่งหรอกนะคะ    ก็ยังงงเล็กๆ ว่าทำไมเจ้าหน้าที่ สสส. จึงเลือกเราไปพูดให้ฟัง    สงสัยเพราะความคุ้นเคยกัน และเป็นผู้ประสานงานเหมือนกันจึงน่าจะคุยกันได้เข้าอ๊กเข้าใจ     ก็เลยเอาตัวอย่างการเขียนของผู้ประสานงาน สคส.  ไปให้ดูตัวอย่างหลายๆ แบบ  เช่น บทเขียนเรื่อง "ความภาคภูมิใจ" 2 เดือน,  บันทึก Blog, จดหมายข่าว และรายงานประจำปี (มีทั้งของ พี่อ้อม (อุรพิณ), พี่ธวัช, พี่หญิง  และ อ้อ)     ซึ่งล้วนแล้วแต่มีสไตล์สำนวนการเขียนที่แตกต่างกัน  แต่ถ้ามองดูจุดร่วมที่เหมือนกันของ สคส. ก็พอจับหลักในการเขียนได้ว่าให้เริ่มจาก "ความภาคภูมิใจ หรือความสำเร็จ"      หรือจะให้หลัก AAR (After Action Review) ในการเขียนก็ได้ (ง่ายดีค่ะ)  คือ มีเป้าหมายอะไรบ้าง?,     สิ่งที่บรรลุตาม/เกินเป้าหมาย คืออะไรบ้าง เพราะอะไร?,     สิ่งที่บรรลุต่ำกว่าเป้าหมายมีอะไรบ้าง เพราะอะไร?     และสุดท้าย จากสิ่งที่ได้จะกลับไปทำหรือพัฒนาอะไรต่อ?    และอาจจะมีประเด็นอื่นๆ ต่อก็ได้นะคะ

        อย่างไรก็ตาม อ้อ คิดว่าสิ่งที่สำคัญสำหรับการเขียนต่างๆ คงจะเป็นการได้เริ่มลงมือหัดเขียนจริง ไม่ว่าในครั้งแรกๆ มันอาจจะยังไม่ดี ไม่ถูกใจเท่าไหร่ (ไม่รู้ใครตัดสิน)  แต่ก็ฝึกต่อไปเถอะค่ะ   หมั่นอ่านของคนอื่นบ่อยๆ ก็ดี จะได้เอามาปรับปรุง  เขียนด้วยความจริงใจและไม่อคติ  และที่น่าจะสำคัญมากๆ คือ เขียนเพื่อก่อประโยชน์กับสังคมและส่วนรวม  (อันนี้ไม่รู้ตรงกับทฤษฎีการเขียนบ้างหรือเปล่านะ?)

       สุดท้ายข้อเสนอที่เราแลกเปลี่ยนกันก่อนที่จะเลยเถิดไปคุยเรื่องอื่นๆ เพื่อสานสัมพันธภาพและความบันเทิงต่อไป ก็คือ ผู้ประสานงาน สสส. ทุกคน น่าจะลองไปเริ่มเขียน  แล้วเอามาแลกเปลี่ยนกันอ่านและคุยกันเองก็น่าจะดี   แล้วค่อยๆ ปรับพัฒนากันไป   โดยอาจจะเริ่มเขียนถอดบทเรียนจากเรื่อง "ความภาคภูมิใจ"  เรื่องใดเรื่องหนึ่งสั้นๆ หรือแบบอื่นๆ  (พร้อมหาวันเวลามารวมกลุ่มกันเพื่อผลักกันอ่านและซักถาม)   คาดว่าพอถึงวันที่ทุกคนต้องส่งผลงานที่เขียน เป้าหมายในการพัฒนาทักษะการเขียนถอดบทเรียน วิเคราะห์ สังเคราะห์ น่าจะบรรลุนะคะ   หรืออาจจะได้ของแถมการพัฒนากระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้งาน คร่อมสายงาน หรืออื่นๆ ของ สสส. ไปด้วยค่ะ

 

                                                                                    อ้อ_ สคส.

                                                                                    2 มิ.ย. 2549

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 32969เขียนเมื่อ 2 มิถุนายน 2006 17:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 พฤษภาคม 2012 07:57 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
  • นั่นสิครับ
  • ควรจะเขียนยังไง
  • มีตัวอย่างให้ดู (Download) ไหมครับ
  • http://gotoknow.org/arrive-alive
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท