ภาษาแม่..นั้นสำคัญไฉน


 

 

 

"บุคคลรวมกันเป็นชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิม

ย่อมมีสิทธิ์อนุรักษ์หรือฟื้นฟูจารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น

ศิลปะหรือวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่นและของชาติ..."

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐

 

 

สืบเนื่องจากบันทึก

(๑) มหัศจรรย์ ๙ ชนเผ่าในหนึ่งโรงเรียน

(๒) รู้จักไหมคะ"อาคื่อ-อาหนะ-เกว่อ-ชุ้ย"

 ที่ได้นำเสนอและบอกเรื่องราวของความมหัศจรรย์ของหลากวิถีชีวิต หลากเผ่าพันธุ์ในสถานศึกษา   ซึ่งในความหลากหลายนี้มีส่วนเป็นอุปสรรคปัจจัยหนึ่งของการจัดการเรียนการสอนภาษาไทย  ซึ่งเป็น "ภาษาประจำชาติ"  

ในความหมายนี้แสดงว่าเด็กๆในสถานศึกษาที่มาจากต่างเผ่าพันธุ์ต่างมีภาษาแม่เป็นของตนเอง  หรือเรียก ภาษาท้องถิ่น ที่ใช้ในชีวิตประจำวัน ใช้ที่บ้าน ในครอบครัว  ในชุมชน และเมื่อมาอยู่ในโรงเรียนต้องได้เรียนรู้ภาษาไทย   ดังนั้นภาษาไทยจึงเป็นภาษาที่สองสำหรับพวกเขา    เป็นความแปลกใหม่   เป็นความไม่คุ้นเคย  ด้วยเหตุนี้จึงส่งผลให้เกิดปัญหาในการสื่อสาร และ การเรียนการสอนอย่างแน่นอน 

โดยหลักการของชีวิตผู้คนในแต่ละชาติ   รวมทั้งประเทศไทยด้วย ประชาชนในชาติจะต้องรู้หนังสือภาษาไทย  ซึ่งเป็นภาษาประจำชาติ  แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าเด็กๆหลากเผ่าพันธุ์กลุ่มนี้จะต้องเรียนภาษาไทยทันทีเมื่อเข้าสู่โรงเรียน   หรือเมื่อเริ่มเรียน   มีงานวิจัยจำนวนมากที่ชี้ให้เห็นว่า ..เด็กจะมีทักษะการอ่านที่ดี ถ้าใช้ภาษาแม่..

ผู้เขียนก็ยังพบงานวิจัยอีกหลายชิ้นที่ชี้ให้เห้นว่า การเรียนรู้วิชาอื่นๆ เช่น คณิตศาสตร์วิทยาศาสตร์   จะได้ผลถ้าเรียนด้วยภาษาแม่..  นั่นก็หมายถึงว่า  หลักสูตรสำหรับเด็กระดับก่อนวัยเรียนหรืออนุบาล และระดับประถมศึกษา ควรจะใช้ "ภาษาแม่"เป็นสื่อเมื่อเด็กเริ่มเรียน        แล้วจึงค่อยๆเปลี่ยนเป็นการใช้ภาษาไทยเป็นสื่อ หลังจากที่ได้มีการเรียนการสอนภาษาไทย 

วิธีการเช่นนี้ ดีอย่างไร

  • ช่วยให้เด็กได้เรียนรู้ทั้งสองภาษา 
  • สร้างความเข้มแข็งทั้งสองภาษา

 

ดังนั้นการเรียนแบบ "สองภาษา" (Bilingual Education)

 จึงเป็นการพัฒนาผู้เรียนตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพโดยแท้

นั่นคือ ภาษาแม่(Mother  tongue) และภาษาไทย (Thai Language)

 

ฟังพูดอ่านเขียนภาษาแม่(Mother  tongue)

ฟังพูดอ่านเขียนภาษาไทย(Mother  tongue)

เริ่มจากการ "ฟัง" - "พูด"  ก่อน 

 

 

การนำภาษาแม่เป็นสื่อในการเรียนการสอน ดีแบบนี้..

  • ผลการเรียนของเด็กจะดีขึ้น  ถ้าเริ่มเรียนด้วยการใช้ ภาษาแม่(Mother  tongue)
  • เด็กที่เริ่มเรียนด้วยภาษาแม่จะไม่มีความเครียดและจะไม่หนีโรงเรียนกลางคัน
  • สร้างความรัก หวงแหน เห็นคุณค่าในชาติพันธุ์ของตนเอง
  • ส่งเสริมวัฒนธรรม ภูมิปัญญาของกลุ่มชาติพันธุ์
  • ช่วยอนุรักษ์และฟื้นฟูภาษาท้องถิ่น
  • สร้างความเข้มแข็งให้ "ครอบครัว" ฐานหลักฐานแรกที่เป็นความเข้มแข็งของชาติ  พ่อแม่สามารถเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ของลูกได้เป็นอย่างดี  เพราะเป็นเรื่องราวของวิถีชีวิต  เป็นรากเหง้า ของวัฒนธรรมของกลุ่มชน  ที่พวกเขาต่างรู้เป็นอย่างดี
  • ที่สำคัญ..เด็กจะรักภาษาไทย รักที่จะเรียนรู้ภาษาไทย ภาษาชาติ

ภาษาแม่(Mother  tongue)

จึงมีความสำคัญด้วยเหตุนี้

 

..ขอบคุณภาพจากPP.ของคณะวิจัยจากม.มหิดล..

 

หมายเลขบันทึก: 329469เขียนเมื่อ 20 มกราคม 2010 13:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:16 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (16)

ขอบคุณบันทึกดีๆและมาให้กำลังใจเจ้าของบันทึก ขอให้พี่อ้วน(พี่สาวที่แสนดี) หายจากอาการไข้เร็วๆมีสุภาพดีขึ้นเรื่อยๆนะครับ

ขอบคุณสำหรับทุกสิ่งที่ผ่านมาครับ จากใจน้องชายคนนี้ครับ

หวัดดีเจ้าพี่อ้วน

ช่วงนี้รู้สึกหมู่เฮาวนเวียนกันแถวๆ คนบนดอยอะเจ้า...555

นำภาพจากพิพิธภัณฑ์ชาวเขามาฝากพี่อ้วนเจ้า...

 

สวัสดีค่ะ พี่อ้วน

เห็นบันทึกพี่อ้วนแล้วโดดใจมากเลยค่ะ ตอนนี้น้องธอมส์ 1 ขวบ กับ 3 เดือน แล้วค่ะ แต่หนูยังไม่ได้สอนน้องธอมส์จริงๆ จังๆ เรื่องภาษาไทยเลยค่ะ สงสารลูก อยากให้เป็นไปเองโดยธรรมชาติของเด็ก ไม่อยากเร่งรัด หรือยัดเยียดเยอะไปนะค่ะ .... แต่หนูอาจคิดผิดก็ได้ค่ะ เพราะอีกมุมหนึ่งก็คิดว่า เด็กๆ ฝึกง่ายให้เริ่มแต่วัยเยาว์  น่าสารน้องธอมส์ที่เค้าต้องเรียนทั้ง 3 ภาษาที่นี่ แต่ดูเหมือนตอนนี้เค้าจะ ลอกเลียนคำบางคำ จากปะป๊า จากหนูได้บ้างแล้วค่ะ 

คิดึถึง G2K คิดถึงพี่อ้วนนะค่ะ แต่โอกาสนั่งหน้าคอมน้อยลงด้วยภาระกิจ น้องธอมส์ ,ต้องเตรียมตัวฝึกงาน บวกกับการเตรียมตัวสอบค่ะ  วันนี้น้องธอมส์หลับกลางวัน หนูเลยได้ล็อกอินเต็มๆ อิอิ ดีใจค่ะ

รักษาสุขภาพนะค่ะพี่อ้วน

สวัสดีครับ

ผมได้ข่าวว่าโรงเรียนต่างๆ เริ่มนำภาษาท้องถิ่นมาใช้ในการเรียนการสอนเมื่อไม่นานมานี้ครับ ผมเห็นด้วยอย่างยิ่งเลยครับ เพราะแถวบ้านผมที่เมืองเลยเด็กทุกวันนี้โดนภาษากลางกลืนไปค่อนข้างเยอะ พูดถิ่นไม่ได้ พูดกลางไม่ชัด เกิดเป็นภาษาลูกผสม คือ สำเนียงเป็นภาษากลาง แต่คำศัพท์กลับเป็นภาษาท้องถิ่น (ภาษาไทกะเลอ)

ผมคิดว่าควรส่งเสริมการพูดภาษาถิ่น ให้เป็นค่านิยมที่ดีสำหรับเรื่องนี้ครับ

ยิ๋นดีจั๊ดนักเจ้า

สำหรับน้ำใจที่จะไปช่วยเหลือ

จะลองไปปรึกษา ผอ.ดูว่าสนใจจะเอาเด็กจาก รร.พี่เหมียวไปแสดงไหม

ขอบคุณล่วงหน้าเจ้า

ขอบพระคุณป้าใหญ่มากค่ะที่กรุณามาเป็นแขกท่านแรกของบ้านภาษาไทยค่ะ

สบายดีนะคะ

ขอบคุณสำหรับกำลังใจค่ะน้องฟูอ๊าด..

ตอนนี้เริ่มดีขึ้นค่ะ แต่ยังไอโขลกๆอยู่ คงเรื้อรังด้วยอากาศที่กลับมาเย็นลงอีก สามสี่วันมานี้

พี่อ้วนยินดีค่ะ พร้อมเป็นเพื่อนในการพัฒนาภาษาไทย ภาษาชาติ 

บันทึกเรื่องราวเหล่านี้ น้องฟูอ๊าดก็มีส่วนทำให้พี่อ้วนอยากเขียนค่ะ

ไม่ว่าภาษาใดที่เป็นภาษาแม่  ล้วนทำให้เราลูกหลานมีความภาคภูมิใจในชาติกำเนิด

และโดยเฉพาะอย่างยิ่งเราในฐานะ "ครู"  ของสังคม

หากได้ทำหน้าที่สืบสาน และร่วมเป็นหนึ่งของการอนุรักษ์ ก็ยิ่งบังเกิดสุขค่ะ

ขอบคุณอีกครั้งหนึ่งค่ะ

น้องอิงเจ้า..

แม่นแล้วเจ้า  ช่วงนี้บ้านเฮาหนาวแสนหนาว  เย็นยะเยือก

บรรยากาศแบบนี้  ต้องบนดอยเต้าอั้น..สุดยอด

แล้วปี้อ้วนจะแวะไปแอ่วหาน้องสาวคนงามนะเจ้า..

บ่ดีลืมฮักษาสุขภาพตวยเน่อเจ้า..

สวัสดีค่ะท่านศน. อ้วน..ติดตามอ่านสาระดีๆเห็นด้วยค่ะที่ต้องให้เค้าเก่งภาษาแม่เพื่อให้เกิดทักษะอื่นๆที่จะตามมาค่ะ..ขอบคุณค่ะ

สวัสดีค่ะน้องหนุ่ย..

ดีใจมากค่ะ ที่เห็นน้องหนุ่ยแวะเข้ามาทักทายพี่อ้วน

อ่านจดหมายน้อยอย่างละเอียดเชียวค่ะ

จึงทำให้ทราบเหตุผลของน้องหนุ่ยที่ห่างหายไป 

ให้กำลังใจนะคะ ในการสอบและดูแลน้องธอมส์

สำหรับเรื่องการสอนภาษาสำหรับน้องธอมส์ พี่อ้วนว่าให้เป็นไปตามธรรมชาติจะดีที่สุด

โดยมีคุณแม่และคุณพ่อเป็นคุณครูสอนภาษา(ภาษาแม่)ให้ก่อน

เน้นให้เขาฟังก่อน   และค่อยๆฝึกพูด   ใช้ภาษาง่ายๆในชีวิตประจำวันที่เขาคุ้นหู

วัยอนุบาล หรือก่อนวัยเรียนเป็นวัยที่เริ่มเรียนรู้ภาษาได้ดีที่สุด

เมื่อย่างสู่ระดับประถม เขาก็จะได้เปรียบในเรื่องภาษา

น้องหนุ่ยเริ่มได้ค่ะ  ค่อยๆเป็น ค่อยๆไป

เมื่อโตขึ้น...เด็กที่ได้เปรียบคือเด็กที่มีคำออมไว้ในคลังสมองมาก แสดงว่าต้นทุนในการเรียนรู้ของเขาก็จะมากตามไปด้วย

เป็นกำลังใจสำหรับคุณแม่คนน่ารักด้วยค่ะ..

คิดถึงๆๆ..

รักษาสุขภาพเช่นกันค่ะ

สวัสดีค่ะพี่อ้วน

แวะมาเยี่ยมในบ้านพี่อ้วนค่ะ

คิดถึงพี่อ้วนเสมอเลยนะเจ้า (อิอิ)

เห็นด้วยอย่างยิ่งกับการเรียนโดยใช้ภาษาแม่ค่ะ

เพราะจะทำให้เด็กๆฟัง พูด อ่านและเขียนได้ทั้งสองภาษาอย่างคล่องแคล่ว

และเป็นการรักษาภาษาของท้องถิ่นด้วยค่ะ

^_^

สวัสดีคะ ศน.อ้วน

เพิ่งได้อ่าน บ้านภาษาไทย- ภาษาแม่ วันนี้คะสนใจมากคะ ไม่ได้เป็นสมาชิกนะคะ ขอรายงานตัวนิดหนึ่งคะ เป็นครูสอนเด็กที่ใช้ภาษาไทยเป็นภาษาที่สอง(ลูกครึ่ง)เรียนอาทิตย์ละ๒ชั่่วโมง เมื่องานวันเด็ก ให้เด็กอ่านกลอนภาษาไทย ท่านฑูตชมว่าเด็กพูดไทยเก่งและชัด เราเป็นครูประจำชั้นก็ต้องปลื้มใช่ไหมคะ วันนี้ยังไม่มีอะไรถามคะ แต่ขอฝากที่อยู่โรงเรียนไว้สำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่สนใจให้ลูกเรียนภาษาไทยคะ:

โรงเรียนรักเมืองไทย เบอร์ลิน Rag Muangthai-Schule-Berlin

(Deutsch Praxis)Oranienstr.54

10969 Berlin

ขอบคุณมากคะ

มาเยี่ยมปี้สาว

หายเหนื่อยหรือยังเจ้า

มีโอกาสอยากชวนมากินพิซซ่าจัง

ครูพี่อ้วนจ๋า กึดเติงหาเป่อเล๋อเป่อเต๋อเจ้า

ภาษาแม่ ของแต่ละพื้นที่ย่อมควรคู่แก่การอนุรักษ์ ค่ะ

ชื่นชมครูปี้เจ้า เป็นกำลังใจ รักษาสุขภาพโตยเจ้า หื้อปี้สุขีทุกวี่วัน ฝันดีค่ะ ;)

สวัสดีค่ะพี่อ้วน

 

หนูอยากรู้มากกว่านี้

 

ได้ไหมค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท