บ้านน้ำทรัพย์


บ้านน้ำทรัพย์ เป็นแหล่งเรียนรู้ที่อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

           

เป็นบันทึกแรกของครูเหงี่ยม  จะได้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้การทำงานของ คน กศน.แก่งกระจาน เรื่องของบ้านน้ำทรัพย์  ที่น่าสนใจค่ะ

 

 

 

คำสำคัญ (Tags): #กศน.แก่งกระจาน
หมายเลขบันทึก: 329303เขียนเมื่อ 19 มกราคม 2010 21:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:16 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (19)

สวัสดีค่ะครูเหงี่ยม

เขียนเล่าเรื่องการจัดการความรู้ของบ้านน้ำทรัพย์ จะเป็นประโยชน์มากค่ะ

 

สวัสดีค่ะ ยินดีต้อนรับบล๊อกเกอร์คนใหม่ค่ะ

ยินดีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ค่ะ

บ้านน้ำทรัพย์ หมู่ 9 ตำบแก่งกระจาน อำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี เป็นหมู่บ้านต้นแบบการดำเนินชีวิตตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มีนายชูชาติ วรรณขำเป้นผู้ใหญ่บ้าน และผลงานที่มาทำให้หมู่บ้านได้รับรางวัลมากมาย

วันนี้อยากเล่าเรื่อง บ้านโป่งลึกและบ้านบางกลอย ตำบลห้วยแม่เรียง อำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี ครูเหงี่ยมมีโอกาสขึ้นไปทำงานมีความสุขมาก ที่นั่นธรรมชาติสวยงาม มองไปทางไหนดูสวยงามไปหมด อากาศดี ตอนกลางลมแรงมาก ผู้คนที่นั่นก็น่ารัก ซึ่งเป็นชนเผ่ากะหร่าง ส่วนใหญ่ฟังภาษาไทยได้ วิถีชีวิตที่นั่นจะพึ่งพาธรรมชาติ มีแม่นำเพชรบุรีขั้นระหว่างหมู่บ้านโป่งลึกและบ้านบางกลอย ครูเหงี่ยมมีภาพอยากอวดแต่ยังใส่ไม่เป็น (ใครทำได้ช่วยแนะนำหน่อม ขอบคุณมาก)

น่ายินดีมากค่ะ

ที่มีผู้นำดี ชุมชนร่วมมือ

 

การถอดบทเรียนหมู่บ้านน้ำทรัพย์

ในตอนเช้าวันหนึ่งที่ท้องฟ้าสดใส เสียงนกร้องตอนเช้าอย่างไพเราะ ผู้เขียนพร้อมด้วยผอ.วรวิทย์ กิตติคุณศิริ ผู้อำนวยการ กศน.จังหวัดเพชรบุรี ผอ.สุนันทา การะเวก ผู้อำนวยการ กศน.อำเภอแก่งกระจานและดร.ปาน กิมปี ศึกษานิเทศก์เชี่ยวชาญและคณะครูกศน.อำเภอแก่งกระจานได้เดินทางไปที่ หมู่บ้านน้ำทรัพย์ซึ่งเป็นหมู่บ้านที่ก่อตั้งมามากกว่า 40 ปีอยู่ในอำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี คำว่า”น้ำทรัพย์”นั้นเป็นคำที่เพี้ยนมาจากคำว่า “น้ำซับ” ซึ่งหมายถึงน้ำที่ซึมออกมากจากพื้นดิน จากข้อมูลทั่วไปของสภาพหมู่บ้านพบว่า หมู่บ้านน้ำทรัพย์ ตั้งอยู่ในระดับความสูงตั้งแต่ 100-352 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ในอดีตกลุ่มคนที่เข้ามาอยู่ที่หมู่บ้านน้ำทรัพย์กลุ่มแรกคือ กลุ่มของนายพรานที่มาบ้านซ่อง ตำบลวังจันทร์ จังหวัดเพชรบุรี ซึ่งได้แก่นายเกตุ นายทับ โล๊ะหนองลิ้น นายเสงี่ยม พุ่มไสว นายวอน นายริด ต่อมาได้อพยพออกมาจากจุดเดิม ขึ้นมาอยู่บริเวณขอบอ่าง เนื่องจากมีการสร้างอ่างเก็บน้ำแก่งกระจาน ในอดีตผู้คนในหมู่บ้านเดินทางโดยทางเรือ

ในอดีตหมู่บ้านน้ำทรัพย์เป็นหมู่บ้านเดียวกับหมู่บ้านลำตะเคียน ต่อมาได้แยกออกมาตั้งเป็นหมู่บ้านใหม่เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม

พ.ศ. 2530 โดยมีผู้ใหญ่คนแรกคือผู้ใหญ่ชื้น วรรณขำ ปัจจุบันมีผู้ใหญ่ชูชาติ วรรณขำซึ่งเป็นลูกชายของผู้ใหญ่ชื้น วรรณขำ เป็นผู้ให

ญ่บ้านตั้งแต่ปี 2540 หมู่บ้านน้ำทรัพย์มีโรงเรียนระดับประถมศึกษา 1 แห่ง แต่ไม่มีวัด ชาวบ้านจะไปทำบุญและรักษาศีลกันที่วัดลำตะเคียนและวัดแม่คะเมย

เมื่อไปถึงหมู่บ้านน้ำทรัพย์ตอนสายๆอากาศสดชื่นมาก มีลมพัดมาอ่อนๆ สิ่งที่ตื่นตาตื่นใจแก่ผู้พบเห็นสิ่งแรกคือ ม้าลูกผสมร่างกายสมบูรณ์อยู่ในคอกกับครูฝึกสอนขี่ม้า นอกจากนี้ยังมีชาวบ้านที่ใบหน้ายิ้มแย้มรอคอยต้อนรับพวกเราอยู่ กลุ่มของครูกศน.แก่งกระจานที่เดินทางไปล่วงหน้าได้อยู่ที่ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงอำเภอแก่งกระจานแล้ว

ผู้เขียนได้เปิดประเด็นเรื่องการถอดบทเรียน ท่านผอ.รวิทย์ กิตติคุณศิริ ผู้อำนวยการ กศน.จังหวัดเพชรบุรี ได้กล่าวชี้แจงวัตถุประสงค์ของการมาถอดบทเรียนครั้งนี้โดยมีครูเสงี่ยม สัมพันธารักษ์และครูเกล้ากนก ฉ่ำมะนาเป็นวิทยากรกระบวนการ(Facilitator) ผู้เขียนให้ครูที่เป็นคุณลิขิต(Note taker) ช่วยจดประเด็นให้ได้รายละเอียดดังนี้

นายวรวิทย์ กิตติคุณศิริ ผู้อำนวยการสำนักงาน กศน.จังหวัดเพชรบุรี: กล่าวถึงกิจกรรมต่อเนื่องเมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2553 บ้านน้ำทรัพย์ย้อนอดีตว่าชุมชนบ้านน้ำทรัพย์มีความเป็นมาอย่างไร จนปัจจุบันที่ประสบความสำเร็จ คือ

1.ชุมชนได้ศึกษาเรียนรู้

2.แลกเปลี่ยนประสบการณ์สิ่งที่ได้ทำไปแล้วไปบอกต่อ ๆ กัน ได้ฝึกการถ่ายทอดว่าที่มาที่ไปเป็นอย่างไร จนได้รับการยอมรับ

3.เป็นประโยชน์ในเชิงพัฒนาประเทศด้วย การถอดบทเรียนเป็นตำรา 1 เรื่องในการพัฒนาประเทศสามารถทำเป็นเอกสารที่เป็นระบบได้สิ่งเหล่านี้ไปใช้ประโยชน์ เห็นการเติมโตของชุมชนเป็นจุดที่จำทำต่อในการพัฒนาให้เกิดความก้าวหน้า การถอดบทเรียน ทุกคนได้รูปแบบว่าการที่เราจะจัดการศึกษากับชุมชน โดยเฉพาะผู้อำนวยการ และครู กศน.

การดำเนินการทำต่อเนื่องในวันที่ 5 สิงหาคม 2553

1.รู้จักชุมชนมากขึ้น

2.ชุมชนมีของดี เช่นมีแพทย์แผนไทย, หมดนวด, ช่างไม้ ฯลฯ

คุณยายมะลิ เปี่ยมทอง:ในสมัยก่อนยังไม่เจริญเดินทางมาทางรถยนต์ ถิ่นดั้งเดิมอยู่ที่บ้านซ่อง

ลุงใบ โล๊ะหนองลิ้น:เข้ามาอยู่ที่นี้โดยการจับเป็นพื้นราบในอ่าง เดินทางมาทางเขาเจ้า มาจับจองพื้นที่ในสมัยพ่อ เดิมพื้นที่เป็นป่าสัมปทาน (เมื่อ 47 ปี) ชุดนี้มาพร้อมกับการสร้างเขื่อน พ.ศ. 2505 ยุคแรกย้ายบ้านเรือนประมาณ 4 – 5 ครั้ง มีบ้านอยู่ 4 หลังคาเรือน

ชุดที่2 มาทำถ่าน มาเผาถ่าน สมัยก่อนปลูกถั่วลิสงเพราะเป็นที่ราบ มีตาน้ำออกมาตลอดบริเวณกระชังปลา ต่อมาได้ปลูกข้าวโพด ฝ้าย ต่อมาเริ่มจับปลาเมื่อประมาณ 20 กว่าปี เพราะน้ำจะนิ่งตลอดในปี พ.ศ. 2522 น้ำจะแห้ง ก่อนปี 16 เดินทางทางเรือ และมีรถเมล์อยู่ 1 คัน เป็นรถของนายช่างประสาท

-การขายของนำใส่เรือไปขาย จะมีละหุ่ง ฝ้ายไปขาย เรือที่ใช้เป็นเรือที่ต่อขึ้นเอง เรือมาดและเรือขุดต้องซื้อมา

-การต่อเรือส่วนมากทำกันเอง

-การเจ็บป่วย ต้องไปทางเรือ ใช้วิธีการรักษาทางแผนโบราณ ยาที่มีอยู่ประจำบ้าย ยาทัมใจ ยาหัวสิงห์ ถ้าเกิดกระดูกหักต้องมีหมอกระดูกที่วัดเขื่อนเพชร

-ไฟฟ้าเข้ามาปี พ.ศ. 2532

-ถนน รพช. ปี พ.ศ, 2517

-มีรถยนต์ในปี พ.ศ. 2515 – 2516

-มีโรงเรียน ปี พ.ศ. 2521 ซึ่งค่ายฝึกการรบพิเศษกระจานเข้าฝึกได้เห็นระยะทางห่างไกล ท่านพันตรีฉลอง ได้แบบสร้างอาคารจากการโดดร่มค่ายฝึกรบพิเศษ

-พลเอกอาทิตย์ กำลังเอก มาทำพิธีเปิดโรงเรียนในปี พ.ศ. 2522

-เปิดสอนในปี พ.ศ. 2522 (โรงเรียนบ้านน้ำทรัพย์) ครูใหญ่คนแรกชื่อครูล้วน แจ้งจัด

-นักเรียนรุ่นแรก ลำบากมาก ทางถนนลูกรัง นักเรียนมาทางเรือ มาสาย

-ในปี 2530 เข้าไปประสานเรื่องไฟฟ้า ปี 2532 ได้ใช้ไฟฟ้าและได้ถนนลูกรัง 2 เส้น

-สมัยก่อนมีวัดอยู่ 5 แห่ง

1.โบสถ์ทางน้ำ

2.เขาเขียว

3.ชายท่า

4.ทางเข้าด้านบน

5.ที่ป่าชุมชน

หลวงพ่อมาจากวัดกรุ ได้ช่วยเหลือการศึกษาเน้นเรื่องการช่วยเหลือชาวบ้าน ปัจจุบันไม่มีวัดแต่ไปทำบุญที่วัดลำตะเคียน ในช่วงนี้ได้ดำเนินการสร้างวัดอรุณอยู่

จุดเปลี่ยนเมื่อมีไฟฟ้าเข้ามาในหมู่บ้าน

- เริ่มขยายพื้นที่ในเชิงปริมาณ ทำการเกษตรมากขึ้นจากการปลูกข้าวโพด 20 กระสอบ เพิ่มเป็น 50 กระสอบ เพิ่มมากขึ้น ในปี พ.ศ. 2535 เริ่มปลูกเต็มพื้นที่

-เป็นหนี้สินเรื่องค่ายา ค่าสินเชื่อ โดยการนำยามาใช้ก่อน ได้ผลผลิตมากแต่ก็ไม่คุ้มค่ากัน มีบางคนที่ไม่ใช้ยาก็มีเงินเหลือ

-ขาดการทำบัญชี

วิธีการทำให้เหลือไม่ขาดทุน

-ทำด้วยกำลังตนเอง เหลือให้คนอื่นยืมบ้างบางครั้งก็ไม่ได้คืน ปลูกทั้งไม้ดอก ไม้แดก ปลูกมะนาว ช่วงแรกปลูกมะม่วง ทำทุกอย่างที่มี ต่อมาก็ปลูกยางพารา 50 ไร่

-ในหมู่บ้านน้ำทรัพย์มีไม้มหาพรหมมากที่สุด หนาแน่นที่สุด เป็นไม่มงคล ปลูกเป็นไม้ประดับ ประโยชน์ใช้ทำไม้คาน

ผู้ใหญ่ชูชาติ วรรณขำ:ได้เห็นจุดเปลี่ยน วิกฤติเสียหายนำสิ่งที่เกิดขึ้นมาคิดวางแผนในการเข้ามารับตำแหน่งใหม่ ๆ

1.การออม แหล่งเงินทุน จนปัจจุบันเป็นสหกรณ์ที่จดทะเบียนเมื่อปี พ.ศ. 2547

2.ยาเสพติด มองเรื่องการพัฒนาคนโดยการถามชาวบ้านว่าจะแก้อย่างไร โดยการเปิดอกคุยกัน ได้มีการตั้งกฎระเบียบของหมู่บ้าน มีการประชาคม ในปี พ.ศ. 2541 ได้เป็นหมู่บ้านเฉลิมพระเกียรติ มีกระบวนการสร้างจิตสำนึก ติดธงทุกครัวเรือนหลังจากการทำกิจกรรม (คำว่า หมู่บ้านเฉลิมพระเกียรติปลอดยาเสพติด) หมายความว่าไม่มียาเสพติดใช่ไหม ตอบ มี ถ้ารู้ว่าคนในหมู่บ้านเสพยาก็จะหาวิธีการแก้ไข ผู้ใหญ่มีการตรวจตราตลอดเวลา (ตาสับปะรด) และให้ความสำคัญในเรื่องปลอดยาเสพติอย่างต่อเนื่อง เมื่อปี พ.ศ. 2541 พาชาวบ้านไปอบรมสาอาสมัครราษฎรพิทักษ์ป่า

3.มีอาชีพเสริมของศูนย์ศิลปะอาชีพ (โครงการปลูกหม่อนเลี้ยงใหม่อันเนื่องมาพระราชดำริของบ้านน้ำทรัพย์) ในปี พ.ศ. 2544 ได้เข้าเฝ้าสมเด็จพระบรมราชินีนาถ ณ เขาเต่า เป็นหมู่บ้าเดียวในการถวายพระพร การดูแลรักษาป่า ไม่มีไฟไหม้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2541 เป็นต้นมา

4.เศรษฐกิจพอเพียง มีการทำตั้งแต่การทำบัญชีครัวเรือน ใครทำบัญชีครบ 100 % มีรางวัลให้และสามารถเก็บหลักฐาน

ดร.ปาน กิมปี:ตั้งคำถามกับผู้ใหญ่ว่าให้ กศน.ทำอะไรต่อ (การทำบัญชีครัวเรือน) แนวการวิเคราะห์รายรับ – รายจ่าย ด้านไหนควรตัดเมื่อมีเงินเหลือทำอะไรต่อผู้ใหญ่ชูชาติ วรรณขำ บอกชาวบ้านว่า ถ้าเปลี่ยนชีวิตให้เปลี่ยนแปลงตัวเองก่อน

-ถ้าใครทำบัญชีครอบครัวจะลดดอกเบี้ยเงินกู้ให้ มีการตรวจเครดิต ตรวจคุณภาพการเงิน โดยนำบัญชีครอบเรือน โดยให้ปัจจัยการผลิต เช่น การเลี้ยงหมู ซื้อหมูให้และซื้ออาหารให้

-การเป็นหนี้เกิดจากการใช้เงินผิดวัตถุประสงค์ คือเป็นประโยชน์ของตนเอง และของสหกรณ์ด้วย

-ถ้าใครคิดนอกกรอบก็จะได้เพิ่มแต่ต้องผ่านคณะกรรมการเห็นชอบ

-โครงการปลูกหม่อนเลี้ยงหยุดเนื่องจากไม่มีน้ำ

ดร.ปาน กิมปี:ถามถึงฐานการเรียนรู้ 9 ฐาน มีความเป็นมาอย่างไร

ผู้ใหญ่ชูชาติ วรรณขำ:เป็นฐานเรียนรู้ที่ทำเป็นกิจวัตรประจำวัน คุยกับคนที่ทำจริง ๆ หันมาดูที่ต้นทุน ผลผลิต กำไรอยู่ที่ตัว

การแก้ปัญหายาเสพติด ผู้ใหญ่ชูชาติ วรรณขำ ไม่ได้ทำคนเดียวแก้โดยการเฝ้าระวัง ถ้ากลัวจะไม่ทำ ทำก็จะไม่กลัว โดยชาวบ้านมีส่วนร่วม ผู้ใหญ่ชูชาติ วรรณขำ ดำเนินการเอง หรือจะให้ตำรวจดำเนินการ (ให้ลูกบ้านเลือก) ใช้วิธีภายในก่อน ถ้าตำรวจเข้าผู้ใหญ่ชูชาติ วรรณขำ จะพาไปเอง

นายวรวิทย์ กิตติคุณศิริ :

1.คนภายนอกมีส่วนเสริมอย่างไร เริ่มจากการมีวินัยของตนเอง เลือกโครงการ ส่วนราชการจะมรเรื่องด่วนเด่นมา เช่น กศน. มีการติดตามอย่างต่อเนื่อง ประสบความสำเร็จ เรื่องเงื่อนไข เรื่อง ต้องมี ของแจกมาที่หลังพร้อมเงินมาที่หลังใช้โครงการเป็นตัวตั้งไม่ใช่เงินเป็นตัวตั้ง เงินมาที่หลัง

-หน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่ เข้ามาเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงก็สามารถมาตามได้ที่บ้านน้ำทรัพย์ จึงเป็นที่เดียวเข้ามาทำได้

-เป็นการสร้างจิตสำนึก สร้างค่านิยมไปด้วย และเอาใจมาก่อน

ดร.ปาน กิมปี :ได้ให้ผู้ใหญ่ชูชาติ วรรณขำ สะท้อนถึงเรื่องต่าง ๆ ว่ากำไรอยู่ที่ตัวว่าทำแล้ว

ยิ่งฟังผู้ใหญ่ชูชาติ วรรณขำ พูด ซาบซึ่งว่า แก่งกระจาน สิ่งสำคัญ เกียรติยศ คนรากหญ้า อยากจะเขียนหนังสือว่า “ยอดคนรากหญ้าเมืองเพชร” ชื่นชมผู้ใหญ่ชูชาติ วรรณขำ เป็นอย่างมาก ฐานเรียนรู้ที่คน กศน.ทำไม่ใช่ตั้งฐานแล้วอยู่กับที่

-บัญชีครัวเรือน ในสำนักงานมีการทำบัญชีครัวเรียนไหม ถ้าเราดูละคร แล้วก็ย้อนหลับมาดูตัวเอง

คำถามจากการวงเสวนา

ผู้ใหญ่ชูชาติ วรรณขำ จะมองหมู่บ้านน้ำทรัพย์ในมุมไหน พัฒนาการของหมู่บ้าน

-การพัฒนาไปข้างหน้าไม่อยู่ในความคิดอย่างไร สูงสุดก็การเป็นกำนัน ต้องการแยกตำบลออกมาเป็นอีกส่วนหนึ่ง การผลักดันแยกตำบลไม่เกิด ต้องยก อบต. เป็นเทศบาล จุดมุ่งหมาย ช่วยเหลือชาวบ้าน แก้ปัญหาของชาวบ้านน้ำทรัพย์ คือวางทิศทางของหมู่บ้านอยากให้ชาวบ้านมีที่ที่อยู่ตลอดไป และเรื่องแหล่งน้ำ มีที่อยู่โดยไม่ขาย มีที่โดยไม่ต้องเสียพื้นที่ไปและได้พื้นที่สีเขียว

ผอ.ขวัญใจ :ถามว่าผู้ใหญ่ชูชาติ วรรณขำ เคยท้อแท้ไหม เคยท้อแท้เรื่องยาเสพติด บางสิ่งบางอย่างมีเสียงสะท้อนออกมา เรื่องมุ่งหมายถึงชีวิต ที่รับรองว่าข้อมูลไม่รั่ว แต่รั่ว ป่าไม้ ผู้มีอิทธิพล

ผู้ใหญ่ชูชาติ วรรณขำ:

ปี พ.ศ. 2548 มีตำรวจ สมยศ ฉิมมาลี แจ้งข่าวว่าจะมีคนมาทำร้าย เรียกไปคุยโดยการเปิดใจ

ปี พ.ศ. 2549 – 2551 โดยร้องเรียนเรื่องเอกสารสิทธิ์ที่ดิน ที่อยู่ในเขตป่าสงวน โดยจับคุม

ท้อแท้ทำอย่างไร ไม่รายงานเป็นลายลักษณ์อักษร มีกำลังใจจากชาวบ้าน ไม่รายงานและชาวบ้านให้กำลังใจ

ลุงบุญส่ง ให้กำลังใจ ผู้ใหญ่ชูชาติ วรรณขำ ทำเพื่อชาวบ้านไม่ทำเพื่อส่วนตัว

- อยู่ไปเถอะ

นายวรวิทย์ กิตติคุณศิริ :ได้มอง คิดบวก ชีวิตบวก ถ้าเจอปัญหาเราต้องคิดเชิงบวก คนเราถ้าคิดอะไร บางคนเคยบวชมาก่อน เป็นผู้นำ ตัวกระตุ้นอะไรที่ทำให้เกิดทำอย่างนี้

ผู้ใหญ่ชูชาติ วรรณขำ :

1.เห็นความลำบาก อยากแก้ไข และตัดคำว่าต้องทำได้และมีความตั้งใจสูงอยู่แบบพร้อมหน้าพร้อมตา ได้ประสานงาน ช่วยพ่อตลอด มีความจริงจัง จริงใจ ถ้าเป็นแล้วไม่ทำ ก็ไม่ต้องเป็น ถ้าเป็นแล้วต้องทำ เป็นเพื่อบรรลุสิ่งที่ตั้งไว้ สิ่งที่ทำให้ประธานความสำเร็จ คือชาวบ้าน เพราะทำคนเดียวไม่ได้ โดยการเลือกหรือกำหนด

2.พระบารมีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและพรบรมราชินีนาถ มีชาวบ้านช่วยกันทำและได้เข้าเฝ้าในหลวง และพระราชินีนาถ

-หมู่บ้านเฉลิมพระเกียรติ

-หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง

ทำความดีต่อในหลวง ก็เท่าที่เขาทำอยู่

ผู้ใหญ่ชูชาติ วรรณขำ:

1.หลักการ วิชาการ

2.งบประมาณ

-มีต้นแบบ เช่นการทำบัญชีครัวเรือน เป็นสุดยอดของต้นแบบ

-แรงสนับสนุนเชิงนโยบาย สนับจากเบื้องบน ตัวกำหนดในการออกนโยบายของคนอยู่ในป่ามีทั้งงบประมาณลงมา

ผอ.สุนันทา การะเวก :

เราต้องมีข้อมูลชัดเจนของงาน ก็จะประสบความสำเร็จ ซึ่งเป็นต้นแบบ กศน. ร่วมกันในเรื่องการจัดกระบวนการเรียนรู้ ทำอย่างไร ถ้าจะมีข้อมูลหลากหลาย งบประมาณ ส่วนหนึ่งช่วยเข้ามาส่งเสริม เช่น บัญชีการทำงานของครู กศน. เป็นลักษณะแบบนี้ก็จะดี เราพยายามที่จะเก็บเกี่ยวความรู้ต่าง ๆ เหล่านี้

ภูมิปัญญา (บ้านน้ำทรัพย์)

ชื่อ นายชอบ นามสกุล สังข์ทอง

วัน เดือน ปี เกิด 2 มีนาคม พ.ศ.2510 ปัจจุบันอายุ 43 ปี

สถานภาพ สมรส อาชีพ เกษตรกรรม (ทำไร่มะนาว) ปศุสัตว์(เลี้ยงแพะ)

จำนวนสมาชิกในครอบครัว 4 คน

ที่อยู่ บ้านเลขที่ 186 หมู่ 9 ตำบล แก่งกระจาน อำเภอ แก่งกระจาน จังหวัด เพชรบุรี

เบอร์โทรศัพท์ที่สามารถติดต่อได้ 089 – 2272435

ความรู้ความสามารถด้าน เกษตรกรรม (หมอดิน)

สิ่งที่ประสบความสำเร็จ เป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้ในศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงอำเภอ

แก่งกระจาน(บ้านน้ำทรัพย์)

วิธีการถ่ายทอดความรู้สู่บุคคลอื่น พูดคุยถ่ายทอดความรู้แก่เพื่อนบ้าน เป็นวิทยากรให้ความรู้แก่ผู้ที่มาเยี่ยมเยียนศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงอำเภอแก่งกระจาน(บ้านน้ำทรัพย์)

ต้องขออภัยด้วยนะคะ ข้อความบางส่วนผิดพลาด กำลังแก้ไขอยู่นะคะ

สวัสดีค่ะครูหนูเคยไปสัมผัสวิถีชีวิตของคนบ้านน้ำทรัพย์มาแล้วค่ะเป็นหมู่บ้านที่ดีมากค่ะชาวบ้านก็เป็นกันเองดีค่ะ ยังมีศูนย์เรียนรู้ของหมู่บ้านด้วยค่ะ ดีมากเลย ได้มีการสอนทำผลิตภัณฑ์ของใช้ในชีวิตประจำวัน อย่างเช่น น้ำยาล้างจาน สบู่เหลว น้ำหอม และอีกมากมาย และยังมีน้ำสมุนไพร ขนมไทย มีการทำชาใบหม่อนด้วย ปลาส้ม งานฝีมือและอีกหลายอย่างค่ะ (บรรยายไม่หมดเยอะจริงๆ ของเค้าดีจริงๆค่ะ หนูเคยซื้อมาใช้ที่กทม. ด้วยค่ะ)

วันนี้ (19 ส.ค.53) มีวางศิลาฤกษ์ สร้างวัด อนุโมทนาบุญกับชาวบ้านนำทรัพย์ ขอบคุรน้องหนูจากกรุงเทพนะค่ะไม่ทราบเราเคยกันไหม๊จ๊ะ

สวัสดีค่ะครูหนูเคยเห็นครูที่ศูนย์เรียนรู้แล้วค่ะ แต่หนูไม่ได้เข้าไปทักครูค่ะ ขอโทษด้วยนะค่ะ พอดีไปเที่ยวที่บ้านน้ำทรัพย์มาค่ะ

ครั้งที่ 9 แล้วค่ะไปพักที่ใกล้กับศูนย์เรียนรู้มาค่ะ บ้านน้องชายผู้ใหญ่บ้านค่ะ หนูดีใจกับพี่ ชูชาติ วรรณขำ ผู้ใหญ่บ้านน้ำทรัพย์ที่ได้รับรางวัลแหนบทองด้วยค่ะ เมื่อวันที่ 10 ส.ค. ที่ผ่านมาค่ะ ถ้ามีโอกาสเจอครูหนูจะเข้าไปทักทายนะค่ะ หนูชอบบรรยากาศที่บ้านน้ำทรัพย์มากค่ะสวยงามมากแล้วค่อยเจอกันใหม่นะค่ะ ..... สวัสดีค่ะ

สวัสดีครับครู ขอแก้ไขช่วงการพัฒนาไปข้างหน้า-เป็นเทศบาล

ขอบคุณ ครับ ผม

ผู้ใหญ่ ครูเหงี่ยม ขอข้อมูลภูมิปัญญาหน่อยซิ

อยากได้ภาพถ่ายของแต่ละท่านพร้อมภาพผลงาน

เพื่อนำมารวบรวมและประชาสัมพันธ์และเพยแพร่

ครู เหงี่ยม (ครู กศน.)เมื่อเข้าไปทำงานในชุมชน บ้านน้ำทรัพย์ หมู่ 9 ต.แก่งกระจาน อ.แก่งกระจาน จ.เพชรบุรี

1.การศึกษาข้อมูล

รู้เขา รู้เรา รู้พื้นที่ การเข้าไปในชุมชนไม่ใช่เรื่องยาก แต่การเดินทางเพื่อเข้าไปทำงาน

ร่วมกับชุมชน เพื่อให้เกิดประโยชน์กับชุมชน นี่ซิอยากกว่า การศึกษาข้อมูลชุมชน อย่างมีระบบระเบียบ จะทำให้เราสามารถ เข้าใจชุมชนได้มากขึ้น ในช่วงเวลาอันสั้น ๆ ก่อนเข้าไปทำงานในชุมชนสิ่งต้องรู้ต้องทราบ ได้แก่ข้อมูลชุมชน

- ข้อมูลทางกายภาพ สภาพทั่วไป สถานที่ตั้ง อาณาเขต ช่วยให้เราเห็นความสัมพันธ์ต่าง ๆ ในชุมชน

- ข้อมูลประชากร จำนวน จำนวน ครัวเรือน อาชีพหลัก อาชีพรอง และอื่น ๆ

- สถานภาพของคนในชุมชน ผู้นำ ผู้นำกลุ่ม ผู้นำทางธรรมชาติ ความเป็นเครือญาติ การแบ่งกลุ่มในมิติต่าง ๆ รวมถึงการศึกษาความคิดความเชื่อ ประวัติศาสตร์ความเป็นมา และความสามารถในการดำรงชีวิตหรือภูมิปัญญาของชุมชน

- การประกอบกิจกรรมของหมู่บ้าน กิจกรรมทั้งภายในชุมชนและภายนอกชุมชน ที่เกิดขึ้นสม่ำเสมอ สมาชิกในชุมชนเข้าใจ และเป็นประโยชน์ต่อชุมชน เกิดขึ้นเมื่อไร เช่น การประกอบอาชีพ การประกอบพิธีต่าง ๆ การรวมกลุ่มของคนในชุมชน เพื่อแจ้งข้อมูลข่าวสาร การจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ตลอดการแก้ปัญหาต่าง ๆ ของชุมชน หรือ การศึกษาปฏิทินของชุมชน

- ความภาคภูมิใจของบ้านอดีตจนถึงปัจจุบัน เช่น รางวัลหมู่บ้าน อพป. ดีเด่น หมู่บ้านเฉลิมพระเกียรติปลอดยาเสพติด หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง

อีกสิ่งหนึ่งที่จะขาดไม่ได้คือ มุมมองที่เห็นความเปลี่ยนแปลงของชุมชน ระหว่างอดีตกับปัจจุบัน เวลาผ่านไปย่อมทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงไปตามเหตุ-ปัจจัย โดยเฉพาะเมื่อมีนโยบายการพัฒนา หมู่บ้าน ชุมชน หรือสังคมโดยรวมเข้ามา การรากเหง้า ที่พูดครอบคลุมความคิดความเชื่อ ประวัติศาสตร์ความเป็นมา และความสามารถในการดำรงชีวิตหรือภูมิปัญญา ที่แปลว่าความรู้ที่มาจากผืนดิน การศึกษาชุมชน โดยเฉพาะในเรื่องการจัดการทรัพยากร จำเป็นจะต้องมองให้เห็นว่าคน ธรรมชาติ นักพัฒนาและนักกิจกรรมต้องตระหนักรู้ในสิ่งเหล่านี้

2.การเข้าสู่ชุมชน

มนุษย์สัมพันธ์ สัมพันธ์ภาพ อัธยาศัย บุคลิกภาพ การวางตัว จะอะไรก็แล้วแต่ การก้าวเข้าสู่ชุมชน ซึ่งเป็นกิจกรรมหรือเป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับบุคคลทั้งสิ้น ซึ่งจะมีหลายกลุ่ม หลายประเภท หลายวัย หลากหลายประสบการณ์ ซึ่งแต่ละกลุ่มที่แตกต่างกันนั้น ยังต้องแตกต่างกันไปตามท้องที่หรือต่างช่วงเวลาด้วย วิธีการสร้างสัมพันธภาพและลักษณะการเกิดสัมพันธภาพมีความหลากหลาย ซึ่งรูปแบบทิศทางการพิจารณาที่จะเลือกใช้ด้วยวิธีการที่เหมาะสม จะต่างกันไปตามประสบการณ์และความชำนาญของแต่ละคน ถ้าสัมพันธภาพระหว่างผู้ปฏิบัติในชุมชนและผู้ผู้คนในชุมชนเป็นไปด้วยดีก็จะส่งผลต่อความสำเร็จและประสิทธิภาพของการทำงานด้วย

การแนะนำตนเองว่าเป็นใคร ตนเองนั้นจะมาทำอะไรในหมู่บ้าน การเข้าไปเกี่ยวข้องสร้างความคุ้นเคยให้เกิดขึ้น การแสดงออกด้วยการยิ้ม ความเป็นพวกเดียวกัน เราเองไม่ได้เหนือไปกว่าเขาในความเป็นมนุษย์ การให้เกียรติ การที่เราอยากให้เกิดสิ่งใดเราต้องให้สิ่งนั้นเขาก่อน ทั้งที่บางอย่างอาจไม่ตอบสนองโดยทันที เช่น การยิ้มให้ อาจจะยังไม่ได้รับการยิ้มตอบในทัน บางคนอาจจะยิ้มจนกว่าเขาจะรู้ว่าเราเป็นใคร แต่สำหรับคนในชุมชนหรือคนชนบทส่วนใหญ่แล้วความเป็นมิตรจะมีมาก เนื่องจากวิถีชีวิตอยู่กัน แบบเรียบง่าย การอยู่กันแบบเครือญาติ มองโลกในแง่บวก ความมีน้ำใจ เอื้ออาทร ต่อบุคคลอื่นเสมอ

“เข้า ออก ต้องบอกประตู” ก้าวแรกของการเข้าสู่ชุมชน

1. พบผู้นำ แนะนำตนเองว่าเป็นใคร อยู่ที่ไหนทำงานอะไร ที่มาประสงค์อะไร เพื่อต้องการให้ข้อมูลเบื้องแก่เขา ขณะเดียวกันเราต้องสังเกตความเปลี่ยนด้วย รับ ไม่รับ ( ขอแลกเปลี่ยน :ก่อนพบผู้ต้องหาข้อมูลเบื้อง เช่น ประวัติ ผลงาน บุคลิกภาพ อุปนิสัย สิ่งแวดล้อมของผู้นำ แนวคิด วิธีการทำงาน ฯลฯ ถ้ามีผู้พาไปแนะนำก็จะดีมาก)

2. ผู้นำ เปิดใจการสร้างความเป็นมิตรหรือความสัมพันธ์เชิงบวกกับบุคคลอื่นโดยการเริ่มต้นทักทาย การสนับสนุนและช่วยเหลือ การรักษาและพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล รวมทั้งการให้เกียรติบุคคลอื่น โดยทั่วไปบุคคลที่มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีมักจะมีคนอยากเข้ามาหา มาพูดคุยปรึกษาหารือด้วย และที่สำคัญจะได้รับความช่วยเหลือ ความร่วมมือในการทำงาน รวมทั้งการได้รับข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ จากบุคคลรอบข้างด้วยเช่นกัน

3. พบกลุ่มใหญ่ ในวันประชุม ประชุมหมู่บ้าน หรือมีกิจกรรมอื่นๆ เพื่อได้รับทราบข้อมูลข่าวสารของชุมชน ความเคลื่อนไหวต่าง ๆ ของชุมชน ตลอด จนปัญหาต่าง

3.ร่วมเรียน

ความเป็นหมู่พวก หรือความเป็นพวกเดียวกัน การเข้าร่วมกิจกรรมเป็นการสร้าง ประสบการณ์ร่วมกัน และการแลกเปลี่ยน การประชุมหมู่บ้าน เป็นเวทีแลกเปลี่ยนที่ดี ผู้นำชุมชน เป็นผู้ กระตุ้น ประสาน ผู้อำนวยความสะดวก ผู้จัดเวทีพูดคุย ผู้ร่วมจัดระบบข้อมูล และเป็นผู้ร่วมวิเคราะห์ การเป็นผู้เข้าผู้เข้าร่วม ต้องเป็นผู้ฟังที่ดี ฟังอย่างตั้งใจ และร่วมแลกเปลี่ยนในเวลาที่เหมาะสม หรือเมื่อเปิดโอกาสให้แลกเปลี่ยนหรือแสดงความคิดเห็น เช่น

- การประชุม จัดทำเวทีเพื่อสำรวจ ปัญหาและความต้องการ ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน มีประเด็นใดบ้าง ที่เป็นปัญหา มีสิ่งใดที่จะช่วยแก้ปัญหา โดยเริ่มจาก ปัญหา สาเหตุหรือที่มาของปัญหา วิธีแก้ปัญหาต้องมีข้อมูลใดมาประกอบ และมีหน่วยงานหรือผู้เกี่ยวข้องใดบ้าง

- การสร้างรายได้เสริมให้กับชุมชน ชุมชนต้องรู้จักตนเอง เรามีดีอะไร อะไรบ้างที่สังคมภายในและภายนอกให้ยอม ซึ่งเป็นทุนทางสังคม ประชาชนในหมู่บ้านขยัน ประอาชีพทางการเกษตร รักและสามัคคีมีจิตสำนึกดี มีผู้รู้ภูมิปัญญา ปราชญ์ชาวบ้านหลายด้าน ความเป็นเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน หมู่บ้านอยู่ติดแม่น้ำ เขื่อนกักเก็บน้ำ (ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว) ธรรมชาติป่าเขาทิวทัศน์สวยงาม กิจกรรมเสริมรายได้ แก่ชุมชน ส่งเสริมการท่องเที่ยว การรวมกลุ่มอาชีพ การแปรอาหารจากปลา

ฉวยโอกาสในการให้ความรู้ จะด้วยวิธีการสอดแทรกหรือบูรณการขณะแลกเปลี่ยนหรือวิธีใดวิธีหนึ่งแต่ไม่ใช่การสอน สิ่งชุมชนควรเรียนรู้และสร้างปัญญา ด้วยคำถาม “ปุจฉา วิสัชนา”

สอดคล้องกับหลักพุทธศาสนาคือ “ปุจฉา วิสัชนา” ปุจฉาคือ ตั้งคำถาม ยิ่งตั้งคำถามก็จะยิ่งได้คำตอบ ยิ่งได้ความรับรู้ ส่วนวิสัชนา คือ การถกเถียง แลกเปลี่ยน ตรวจสอบ ก็จะได้โอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ได้มุมมองที่แตกต่างได้ความรู้ ความเห็นเพิ่มเติม รอบคอบขึ้น สร้างปัญญาเพิ่ม

4.สรุปกิจกรรมปีที่ผ่านมา

“เหลียวหลัง แลหน้า” การสรุปผลงานประจำปี โดยกลุ่มย่อย หรือกลุ่มผู้นำ / แกนนำ/กลุ่ม ผู้ที่ชุมชนให้ความเชื่อถือในชุมชน ครู สิ่งที่ต้องดำเนินการประกอบด้วย การเตรียมข้อมูลเพื่อตรวจสอบดูว่าเป้าหมายงาน รวบรวมผลที่เกิดขึ้นเปรียบกับเป้าหมาย รวมถึงการรวบรวมกิจกรรมเด่น หรือกิจกรรม ที่ทำแล้วประสบความสำเร็จ มีปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จ หรือกิจกรรม/โครงการใดเป็นเหตุแห่งความล้มเหลวนั้น ๆ สรุปเป็นแผนผังความคิดเพื่อนำเสนอกลุ่มใหญ่ หรืออาจจะนำเสนอโดยโปรแกรม Power Point ก็ได้ถ้าชุมชนมีความพร้อมซึ่งจะทำให้เห็นภาพของการดำเนินงานได้ดี

เช่น กิจกรรม/โครงการที่ประสบความสำเร็จ

โครงการอบรมการทำปลาส้ม ของหมู่บ้านน้ำทรัพย์ หมู่ 9 ตำบลแก่งกระจาน อำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี : หน่วยงานผู้จัด กศน. อำเภอแก่งกระจาน

 ปัจจัยสนับสนุนระดับชุมชนสู่ความสำเร็จ

- บริบทชุมชน พื้นที่ติดขอบเขื่อนแก่งกระจาน

- ประชาชนส่วนหนึ่งประกอบอาชีพประมง

- ภูมิหลังของผู้ที่อพยพ เข้ามาอยู่อาศัย อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี

จังหวัดสุพรรณบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด จังหวัดอุบลราชธานี ละอีหลายจังหวัดในภาคอีสาน

- เป็นแหล่งเรียนรู้และศึกษาดูงาน การดำเนินชีวิตตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง

 ผลแห่งความสำเร็จ

- เกิดกลุ่มอาชีพ การทำปลาส้ม

- การจัดการในรูปแบบสหกรณ์ ระดมหุ้น

- เริ่มแรก - ปัจจุบัน ( รอข้อมูลเพิ่ม เติม)

จากความสำเร็จของกิจกรรม /โครงการ การรู้จักตนเอง บริบทของตนเอง การประสานเครือข่ายสนับสนุน และการประสัมพันธ์สู่บุคคลภายนอก สิ่งที่กล่าวสืบการจากการจัดทำเวทีประชาคม การวางแผนชุมชนแบบมีส่วนร่วม

5.ร่วมทำแผนชุมชน ( ในตอนต่อไป

เมื่อปี พ.ศ. 2521 ได้มีโอกาส ไปออกค่ายอสาพัฒนาชนบท ( ออกช่วงเดือน ตุลาคม 2521 )ได้สร้างโรงเรียนบ้านน้ำทรัพย์ ลักษณะโรงเรียนเป็นรู

ปหกเลี่ยม โดยจะมีลักษณะมีโดมอยู่ข้างบน โดมนี้เป็นห้องพักครู ตอนนั้นได้ร่วมกับเพื่อนๆ ชมรมผู้บำเพ็ญประโยชน์ วิทยาลัยเทคโนโลยี่และอาชีวศึกษา วิทยาเขตเทคนิคกรุงเทพ (ในขณะนั้น) นอกจากนั้นยังได้รับความร่วมมือกับทหารที่ ค่ายฝึกการรบพิเศษ แก่งกระจาน โดยผู้กองนิกร (พี่โต) ทุนที่สร้างโรงเรียนก็ได้รับจากลูกเสือชาวบ้าน จังหวัดสมุทรปราการ โดยพี่โตเป็นผู้ติดต่อให้ ในขณะนั้น บ้านน้ำทรัพย์ เป็นแหล่งชุมชนเล็กๆ ยังไม่เติบโตเหมือนทุกวันนี้ ตอนนั้นเท่าที่ทราบ ทราบมาว่า ถ้าได้สร้างโรงเรียนเสร็จ บ้านน้ำทรัพย์ จะได้ตั้งเป็นหมู่บ้าน และเท่าที่ทราบ ผู้ที่นั่งแท่น จะได้เป็นผู้ใหญ่คือ คุณน้าวี และคุณน้าวีผู้นี้ก็เป็นกำลังสำคัญคนหนึ่งในการสร้าง โรงเรียนบ้านน้ำทรัพย์ หลังจากการสร้างโรงเรียนเสร็จ ผู้ว่าราชการจังหวัด ฯ มาเป็นผู้รับมอบ ในตอนนั้น การเดินทางเข้าโรงเรียนลำบากมาก ท่านเลยต้องเดินทางมาโดย " เฮอร์ลิคอปเตอร์ " เออ...ตอนนั้น นักศึกษาที่ไปสร้างโรงเรียน ยังได้รับ รูปปั้นปูนปาสเตอร์ สมเด็จพุฒาจารย์โต จากวัดถ้าจำไม่ผิด น่าจะเป็นวัด " ตะเคียนงาม " พอมาอ่านประวัติ ของหมู่บ้านน้ำทรัพย์ ก็ค่อนข้างจะสงสัยว่า ทำไมเพิ่งมาตั้งเป็นหมู่บ้านเมื่อ พ.ศ. 2530

เพิ่มเติมครับ ผู้ว่าราชการจังหวัดที่เป็นผูรับมอบโรงเรียน ผมจำชื่อไม่ได้ครับ จำได้แต่ฉายาว่า " ผู้ว่าจอมน้ำหมาก"

ข้อมูลจากที่นี่เลยครับ

http://bumpen-btc.pantown.com/

จากข้อมูลตอนนั้น บ้านน้ำทรัพย์ อยู่ ต.แก่งกระจาน อ.ท่ายาง จ. เพชรบุรี ครับ

การเดินทางในขณะนั้นลำบากมาก ถนนที่เข้ามายังไม่มี เป็นทางดิน ดังนั้น ถ้าฝนตก รถจะไม่สามารถเข้าได้ ขนาดรถบรรทุกของทหาร จาก ค่ายฝึกการรบพิเศษแก่งกระจานยังเข้าไม่ได้เลย ถ้าวันไหนฝนตกดังกล่าว พวกเราจึงต้องใช้ทางเรือ โดยจะไปซื้อขาวสาร อาหารสด ที่ตลาดท่ายาง มาปรุงเพื่อเลี้ยง นักศึกษาและทหารที่มาช่วยกันสร้างโรงเรียน ในขณะนั้นนำที่อยู่ในแก่ง ได้รับทราบจากชาวบ้านว่า เพิ่งขึ้นมา ท่วมไร่ข้าวโพด ดังนั้นน้ำที่ใช้ ทางทหาร จะใช้เครื่องสูบมาใส่ถัง 200 ลิตร แล้วใช้สารส้มแกว่ง ให้น้ำใสขึ้น นอกจากนี้ เรายังขอความร่วมมือไม่ให้นักศึกษาผู้หญิง ลงอาบนนำ กลางคืนในแก่งโดยเด็ดขาด เพราะเนาได้เตรียมที่อาบน้ำไว้ให้ต่างหากแล้ว สาเหตุที่ห้ามก็เพราะว่า มี่จระเข้ ซึ่งเคยมีเข้ามาอยู่ห่างจากจุดที่สร้างโรงเรียนไม่มาก เราจึงกลัวอันตรายจะเกิดขึ้น...

ข้อมูลจากที่นี่เลยครับ

http://bumpen-btc.pantown.com/ เลือก เล่าขาน ตำนานค่าย

ขอแก้ไขข้อมูลเพิ่มเติม พอดีตอนนั้น คิดอไรออกก็พิมพ์ไป ส่งไป ตอนนี้ขอรวบรวมส่งข้อมูลใหม่ อย่าเพิ่งเบื่ออ่าน คิดว่า เป็นการเล่าเรื่องให้ฟังแล้วกัน

ข้อมูลจากที่นี่เลยครับ

http://bumpen-btc.pantown.com/ เลือก เล่าขานตำนานค่าย

จากข้อมูลตอนนั้น บ้านน้ำทรัพย์ อยู่ ต.แก่งกระจาน อ.ท่ายาง จ. เพชรบุรี ครับ

เออ….พอจะจำได้แล้วผู้ว่าราชการจังหวัดตอนนั้น น่าจะชื่อ “ ฉลอง วงษ์ษา “

ท่านที่อ่านเรื่องต่างๆที่เราได้เขียนเล่านี้ อย่าเบื่อน่ะ เพราะ วิญญาณชาวค่ายฯ ได้เข้าสิงเราแล้ว และคิดถึงเมื่อ 32 ปีที่แล้ว

การเดินทางในขณะนั้นลำบากมาก ถนนที่เข้ามายังไม่มี เป็นทางดิน ดังนั้น ถ้าฝนตก รถจะไม่สามารถเข้าได้ ขนาดรถบรรทุกของทหาร จาก ค่ายฝึกการรบพิเศษแก่งกระจานยังเข้าไม่ได้เลย ถ้าวันไหนฝนตกดังกล่าว พวกเราจึงต้องใช้ทางเรือ โดยจะไปซื้อขาวสาร อาหารสด ที่ตลาดท่ายาง มาปรุงเพื่อเลี้ยง นักศึกษาและทหารที่มาช่วยกันสร้างโรงเรียน ในขณะนั้นน้ำที่อยู่ในแก่ง ได้รับทราบจากชาวบ้านว่า น้ำ เพิ่งขึ้นมา ท่วมไร่ข้าวโพด ดังนั้นน้ำที่ใช้ ทางทหาร จะใช้เครื่องสูบมาใส่ถัง 200 ลิตร แล้วใช้สารส้มแกว่ง ให้น้ำใสขึ้น นอกจากนี้ เรายังขอความร่วมมือไม่ให้นักศึกษาผู้หญิง ลงอาบน้ำ กลางคืนในแก่งโดยเด็ดขาด เพราะเราได้เตรียมที่อาบน้ำไว้ให้ต่างหากแล้ว สาเหตุที่ห้ามก็เพราะว่า มี่จระเข้ ซึ่งเคยมีเข้ามาอยู่ห่างจากจุดที่สร้างโรงเรียนไม่มาก เราจึงกลัวอันตรายจะเกิดขึ้นทางทหารใช้ถัง 200 ลิตรวางเรียงกัน แล้วใช้ไม้กระดานวางพาด ออกไปเพื่อให้ไกลฝั่ง และต่อท่อไปสูบน้ำตรงปลายกระดานเพื่อที่จะได้น้ำมาใช้ได้สะอาดกว่าน้ำที่ใกล้ฝั่ง

น้ำที่สูบ ขึ้นมาใช้ ถึงแม้จะได้ใช้สารส้มแกว่งแล้ว แต่…ก็ยังมีกลิ่นอยู่ ก็เนื่องจากน้ำเริ่มจะไม่ดีแล้ว ก็เนื่องจาก ภายใต้น้ำเป็นไร่ข้าวโพดซึ่งเริมเน่าแล้ว

อาหารที่ชาวบ้านนำเป็นสินน้ำใจที่มอบให้กับเราในฐานะที่พวกเรามาสร้างโรงเรียนให้ลูกหลานเขาก็ไม่มีอะไรมาก แต่…ก็สูงค่าด้วยน้ำใจจากชาวบ้านเหล่านั้น ก็คือ ปลาในแก่ง (ของคาว ) ข้าวโพด ( หลังอาหาร) ซึ่งมีเกือบทุกวัน นี่แหละคือ น้ำใจอันบริสุทธ์ ที่ชาวบ้านมีให้ พวกเรา

ตอนนั้น ตอนกลางคืน ใช้เครื่องปั่นไฟฟ้า ก็จากทหารค่ายฝึกการรบพิเศษแก่งกระจาน นั่นแหละ จึงมีไฟฟ้าใช้กันบ้าง และตอนกลางคืน จะมีแมงกวาง มาเล่นไฟกันจำนวนมาก ก็เป็นอาหารอันโอชะสำหรับเพื่อนเราบางคนและพี่ๆทหารจับนำมาคั่วใส่เกลือ เคี้ยวกันอย่างเอร็ดอร่อย หนอยแน่ะ มองหน้าเราส่งให้ บอกว่า “ อร่อยน่ะไม่ลองบ้างหรือ….” อ้ายเราได้แต่…ส่ายหัว

อย่างที่เคยบอกเล่าแล้ว ว่า ถ้าวันไหน ฝนตก ( เนื่องจากไปออกค่ายกันในเดือนตุลาคม ซึ่งเป็น ฤดู ฝน) รถไม่สามารถเข้าได้ ดังนั้นมีอยู่วันหนึ่ง ฝนตกรถเข้าไม่ได้จึงต้องใช้ทางเรือ ตอนนั้น เพื่อนเราเป็นฝ่ายไปซื้อของที่ตลาดท่ายาง เมื่อกลับมาถึงเพื่อนเล่าให้ฟังว่า “ เห็นไหม ตรงจุดที่เป็นเกาะ และมีกระท่อมอยู่ น่ะ ตรงที่มี ขอนไม้แห้ง ลอยอยู่ ตอนเรือเข้ามาผ่านตรงนั้น ได้เห็น ลูกจระเข้ ตัวยาวประมาณ 30 – 40 cm. นอน อ้าปาก ตากแดด อยู่บนขอนไม้อยู่ “ เราได้แต่ รับฟังเฉยๆ พอโรงเรียนสร้างเสร็จ และวันมอบโรงเรียน ก่อนที่มอบ เราได้พายเรือออกเที่ยวในแก่งกับเพื่อนๆ เนื่องจากระหว่างที่สร้างโรงเรียนไม่มีเวลาออกไปไหนเลย ทำงานสร้างโรงเรียน ทั้งวันทุกวันตลอดเวลาที่ออกค่าย ฯ พอหลังจากโรงเรียนสร้างเสร็จและได้พายเรือเที่ยวในแก่งกัน ไปถึงจุดขอนไม้ที่เพื่อนเคยเล่า เพื่อนว่า พร้อมทั้งชี้มือให้ดู “ เฮ้ย…ขอนไม้นี้ไงที่วันนั้น G U เห็น ลูกจระเข้ ขึ้นมาอ้าปากนอนผึ่งแดด “ ….. เรานี้สันหลังเย็น

วาบ ยื่นหน้าออกไปดูนอกเรื่อ มองลงไปในน้ำ เพราะน้ำค่อนข้างใส เพราะคิดว่า มีลูกก็น่าจะมีแม่ แต่ ไม่เห็นอะไรนอกจากต้นข้าวโพดที่เริ่มเน่าแล้ว เลยบอกให้เพื่อนรีบพายเข้าฝั่งปลอดภัยกว่า

พูดถึงเรื่อง จระเข้ มีอยู่วันหนึ่ง เราได้ยินพี่ ๆหหารคุยกันพอจับใจความได้ ว่า มี จระข้ ตัวยาวประมาณ เมตรครึ่ง มาว่ายอยู่ในแก่งห่างจากบริเวณที่สร้างโรงเรียนไม่มาก” พอพี่เขา หันมาเห็นเรา หน้าพี่เขาเปลี่ยน สีไปเลย บอกกับเราว่า “ น้องไม่มีอะไรหรอก…. เราบอกว่า “ เรื่อง จระเข้ ผมทราบว่ามีตั้งแต่…มาวันแรกแล้ว ครับ “

มีเรื่องเล่าว่า ขณะที่ออกค่ายฯ เส้นทางถนนที่มาโรงเรียนซึ่งเป็นดินขณะนั้น มีอยู่วันหนึ่งมีชาวบ้านถูกหมีควายตะปบเกือบตาย

พูดถึงการสร้างโรงเรียน ในขณะนั้น โครงสร้างโรงเรียนสร้างเสร็จสมบูรณ์แล้ว จะเหลืออยู่ก็ การเทพื้นอาคาร คอนกรีตเสริมไม้ไผ่ ไม่ใช่เสริมเหล็ก การเทพื้นอาคาร เราใช้ไม้ไผ่ลำเท่านิ้วชี้โดยประมาณ มาขัดกันเป็นแผงเพื่อให้ปูนต์ซีเมนต์เกาะกับแผงไม้ไผ่เพื่อความคงทนแข็งแรง แต่..เราเป็นเพียงนักศึกษาประมาณ 30 คน และพี่ๆทหารอีกไม่กี่คน ทำงานมา นานหลายวันแล้ว ร่างกายแต่ละคนก็เริ่มเหนื่อยล้า เวลาก็กะชั้นชิดเข้ามาทุกวัน คือใกล้เปิดภาคเรียนแล้ว การสร้างโรงเรียนก็ต้องให้เสร็จตามกำหนด ทาง ผู้ใหญ่วี ( พวกเราตั้งให้กันเอง) ก็เลยประกาศให้ชุมชนบ้านน้ำทรัพย์มาร่วมมือกันช่วยเทปูนต์ การเทปูนต์พื้นอาคาร ก็สำเร็จโดยรวดเร็ว โดยได้รับความร่วมมือจากชาวบ้าน ไม่ใช่แต่ การเทปูนต์เท่านั้น งานไม้อื่นๆเช่นตัวอาคาร ก็ได้รับความร่วมมือจากชาวบ้านมาร่วมทำด้วย เช่นกัน

ตอนนั้นมีอยู่วันหนึ่งมีชาวบ้านนำของมาเลี้ยงพวกเราใส่หาบมาเป็นเด็กสาวในหมู่บ้านหาบของมา ก่อนหน้านั้นฝนตก เจ้าเพื่อนเราเห็นเข้าหวังดี วิ่งเข้าไปช่วยเด็กสาวหาบ อะไรเกิดขึ้นละครับ เนื่องจาก ดินแฉะหาบก็ไม่เคยหาบ ก็พวกเราเป็นเด็กเทบ (กรุงเทพ)นี่ครับ เพื่อนเราเลย เดิน เฉไปเฉมา ดีน่ะที่ไม่ล้ม เด็กสาว เลยว่า “ พี่ค่ะหนูหาบเองสะดวกกว่ามั้ง…. เลยส่งหาบให้เด็กสาวหาบต่อ เด็กสาวหาบเดินตัวปลิวเลย ฮา …..

ขอแนะนำเว็บไซร์หมู่บ้านนะครับ

https://sites.google.com/site/bannamsub1/

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท