"มารู้จัก Worried Well กันเถอะ (#_#)" (3)


วิธีการให้ความช่วยเหลือ
-การให้การปรึกษาเพื่อช่วยให้ผู้รับบริการสามารถจัดการแก้ไขปัญหาของตนได้
-ฝึกการผ่อนคลายความเครียด(Stress reduction training) ซึ่งมีอยู่หลายวิธี ได้แก่   การอยู่ในสิ่งแวดล้อมอันสงบ การฝึกผ่อนคลายกล้ามเนื้อ ฝึกการหายใจฯลฯ
-แนะนำพบแพทย์เพื่อรับยาลดภาวะอาการต่างๆโดยทั่วไปแพทย์จะพิจารณาให้ยาลดความวิตกกังวล
                โดยทั่วไปคนที่ความวิตกกังวลนั้นมาจากการขาดความรู้ที่ถูกต้อง หรือมีการเข้าใจผิดเกี่ยวกับการรับหรือแพร่เชื้อเอชไอวี หลังการได้รับข้อมูลรวมทั้งการปรึกษาอย่างเหมาะสมความกังวลต่างๆสามารถทุเลาลงได้  มีเพียงบางส่วนในกลุ่มนี้ที่มีอาการรุนแรง(10-15% ของผู้รับบริการที่วิตกกังวลเกี่ยวกับการติดเชื้อเอดส์) ไม่สามารถหายจากความกังวลกลัว เป็นกลุ่มที่การให้การปรึกษาหรือการให้ความรู้เกี่ยวกับเอชไอวีแต่เพียงอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอที่จะช่วยเหลือแก่เขาได้จำเป็นต้องมีการส่งต่อทางจิตเวช

...จากประสบการณ์พบว่า การให้คำปรึกษาก่อนและหลังการตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวีเป็นสิ่งสำคัญมากในการค้นหาและช่วยเหลือตั้งแต่เนิ่นๆในผู้ที่มีแนวโน้มเสี่ยงจะเป็นWorries Well .. การพูดประชดประชันไม่ได้ช่วยให้ผู้ป่วยหายกลัวหรือยอมรับต่อผลตรวจที่เราต้องการให้เขาเข้าใจ...การช่วยผู้รับบริการกลุ่มนี้ต้องอาศัยความอดทน อดกลั้น และอดออม(วาจา)อย่างยิ่ง..ซึ่งมีอยู่2-3เงื่อนไขที่จะร้องขอความร่วมมือจากเขาในกรณีที่ต้องการอยากให้เราช่วยเหลือให้เขาคลายความวิตกกังวล ก็คือ
1.    การควบคุมหรือลดพฤติกรรมการไปตรวจเลือดหาการติดเชื้อเอชไอวี
2.    การลดการอ่านหรือหาข้อมูล/ภาพเกี่ยวกับผู้ป่วยโรดเอดส์
3.    การเชิญญาติหรือสมาชิกในครอบครัวอย่างน้อย1คนมาเข้าร่วมรับการปรึกษาด้วยอย่างน้อย1ครั้ง
4.    งานหรือการบ้านที่ให้ไปฝึกถ้าไม่ปฏิบัติเกินกว่า3ครั้งถือว่าที่นี่คงไม่สามารถช่วยเหลือแก่เขาได้ เขาควรไปใช้บริการที่อื่นอาจได้ประโยชน์มากกว่า
                แรกๆผู้รับบริการมักจะไม่ค่อยร่วมมือปฏิบัติตามเงื่อนไขก็ไม่ได้ต่อว่าหรือตำหนิแต่จะแนะนำสถานบริการที่จะส่งต่อให้แก่เขาภายหลังจากที่เราจะยุติการให้บริการแก่เขาซึ่งหลายคนก็กลับตัวได้และตั้งใจที่จะดูแลตนเองตั้งใจฝึกหัดตามที่ให้งานไป(เช่นการฝึกหัดBreaking Idea ,การฝึกผ่อนคลายความเครียด) และหลายคนส่งต่อไปหาจิตแพทย์แล้วแต่ก็ยังต้องการกลับมาปรึกษาต่อเกี่ยวกับปัญหาสัมพันธภาพของเขา(ไม่ได้เป็นปัญหาเอดส์อีกแล้ว)  การเชิญญาติหรือครอบครัวมาร่วมปรึกษาด้วยเป็นอีกวิธีการหนึ่งที่ทำให้ผู้รับบริการได้มีผู้ช่วยหรือคู่คิดในการแก้ไขปัญหา(ไม่ติด/พึ่งพิงแต่ผู้ให้การปรึกษา) ส่วนใหญ่ญาติมักจะเป็นคู่สมรส  การมาร่วมรับคำปรึกษาในหลายคู่ได้พบปัญหาเรื่องการสื่อสารในครอบครัวและการไม่ปรับตัวเข้าหากันที่เป็นภาวะเครียดมายาวนานก่อนหน้าที่จะเกิดปัญหากังวลว่าจะติดเอดส์นี้เสียอีก...ได้พบว่าหลายครอบครัวยังนิยมใช้การหลีกเลี่ยงที่จะเผชิญปัญหาทำให้สะสมปัญหาและความทุกข์โดยไม่รู้ตัวและไม่รู้จะแก้อย่างไร  การปรึกษาเรื่องWorries Wellในหลายกรณีจึงกลายเป็นการให้คำปรึกษาปัญหาครอบครัวไปโดยปริยาย....(++)….

 

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 32855เขียนเมื่อ 2 มิถุนายน 2006 10:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 เมษายน 2012 01:25 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท