เล่าเรื่องKMเมืองนคร(2) ตอน แบบที่ปรับเปลี่ยนได้


เป็นการเรียนรู้ที่เพลิดเพลิน(ได้ความรู้ สนุก งานสำเร็จ) ซึ่งเป็นเป้าหมายหลักของโครงการคือ การสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ตามวิสัยทัศน์เมืองนคร"เมืองแห่งการเรียนรู้" ทุกวงการล้วนเป็นเรื่องของการเรียนรู้จนกลายเป็นวัฒนธรรมของคน/ชุมชน/สังคมจังหวัดนครศรีธรรมราช

เมื่อวานมีประชุมศูนย์บริการวิชาการเกือบทั้งวันเพื่อคุยเรื่องปรับโครงสร้างและนโยบายของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ตามแนวทางActive Learning Serving Communities
จึงได้คุยสายกับผอ.วิมล วัฒนาเมื่อตอนพักเที่ยงแล้ว

เรื่องที่หารือกับท่านสืบเนื่องจากทีมประสานงานกลางของกศน.นำโดยเสธ.กั้ง(อาจารย์ชมภู ชุตินันทกุล) มาหารือแนวทางการดำเนินโครงการจัดการความรู้เมื่อวานซืน(31พ.ค.) ซึ่งได้ข้อสรุปว่าจะมีเวทีเรียนรู้ระดับจังหวัด3วงเรียนรู้คือวันที่4สำหรับคุณอำนวยอำเภอ วันที่21 คุณอำนวยกลาง วันที่30คุณเอื้อจังหวัด โดยเดือนนี้ขอเลื่อนจากวันที่4 เป็นวันที่7 บุคคลเป้าหมายคือคุณอำนวยอำเภอละ 3คนคือปลัด(แทนนายอำเภอ) พัฒนาการ และผอ.กศน.

ผอ.วิมลเห็นว่าท่านผู้ว่าได้ประชุมคุณเอื้อจังหวัดและกำชับนายอำเภอและหัวหน้าส่วนราชการจังหวัดให้เร่งรัดในการติดตามสนับสนุนการดำเนินงานโครงการนี้แล้ว ดังนั้นควรเชิญคุณอำนวยอำเภอคือผอ.กศน.อำเภอมา1คนก็พอแล้ว โดยเชิญคุณอำนวยกลางซึ่งก็คือทีมวิทยากรเสริมจาก กองกลางที่มาจากส่วนราชการหลัก (สธ. กศน. พช. เกษตร) และเครือข่ายยมนาเข้าร่วมเวทีด้วย (ก็เป็นการยุบเวทีวันที่21รวมกับวันที่4)

ผมเองโดยส่วนตัวก็คิดไว้บ้างแล้วว่า ในเวทีเรียนรู้อำเภอ-จังหวัดน่าจะมีคนเชื่อมอย่างน้อย1คน ถ้าเป็นอย่างนี้ แนวทางของเราจะเน้นจัดทีมคุณอำนวยกลางลงไปสนับสนุนการเรียนรู้ในอำเภอ แล้วใช้เวทีจังหวัดทุกวันที่ 4 เป็นเวทีสรุปผลการเรียนรู้ โดยมีคุณอำนวยอำเภอคือผอ.กศน.เป็น แกนกลางในการประสานการเรียนรู้ระหว่างกัน และเวทีคุณเอื้อจังหวัดทุกวันที่ 30 เป็นเวทีนโยบายซึ่งต้องค่อยๆปรับเป็นเวทีสร้างการเรียนรู้ให้คุณเอื้อตามโครงสร้าง(หัวหน้าส่วนจังหวัด)และพื้นที่(นายอำเภอ)เรียนรู้กันเช่นเดียวกับเวทีเรียนรู้คุณอำนวยอำเภอ นั่นหมายความว่าเปลี่ยนจากวงประชุมมอบนโยบาย/สั่งการ เป็นการนำประสบการณ์การทำงานตามบทบาทหน้าที่เพื่อบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน ซึ่งท่านผู้ว่าต้องเป็นผู้นำการเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยอาจจะมีทีมงานช่วยสนับสนุนเพื่อให้เป็นการเรียนรู้ที่เพลิดเพลิน(ได้ความรู้ สนุก งานสำเร็จ) ซึ่งเป็นเป้าหมายหลักของโครงการคือ การสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ตามวิสัยทัศน์เมืองนคร"เมืองแห่งการเรียนรู้"
ทุกวงการล้วนเป็นเรื่องของการเรียนรู้จนกลายเป็นวัฒนธรรมของคน/ชุมชน/สังคมจังหวัดนครศรีธรรมราช

โดยสรุป กระบวนการเรียนรู้ในเวทีจังหวัด2วงก็น่าจะพอเพียง โดยมีเงื่อนไขว่า วงเรียนรู้คุณอำนวยอำเภอ-จังหวัดในวันที่ 7 มิ.ย.นี้ ควรประสานให้ทีมคุณอำนวยกลางที่มีรายชื่อจากทุกหน่วยงานให้เข้าร่วมเวทีได้ครบทุกคน และคุณอำนวยอำเภอ(ผอ.กศน.อำเภอ)ในฐานะตัวแทนของอำเภอที่ต้องนำประสบการณ์การดำเนินงานตาม2ภารกิจเมื่อการประชุมคราวที่แล้วมาเล่าให้เพื่อนๆฟัง
และถ้าหากเรียนเชิญท่านผู้ว่า รวมทั้งหัวหน้าส่วนราชการหลักอื่นๆ(สธ.เกษตร พช.)เข้าร่วมได้ก็จะยอดเยี่ยมมาก ถือเป็นความสามารถในการประสานจัดการของทีมงานกลาง  ที่ต้องยกนิ้วหัวแม่มือให้

คำสำคัญ (Tags): #แก้จนเมืองนคร
หมายเลขบันทึก: 32853เขียนเมื่อ 2 มิถุนายน 2006 10:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:05 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท