รวมมิตร KM ปฏิบัติ (3)


บรรยากาศการพูดคุย ปกติจะเริ่มคลี่คลายถ้ามีผู้เริ่มเปิดใจคุย คนอาจเปิดใจได้ด้วยการพูดหัวข้อปัญหา แต่ไม่ตกหลุมความท้อแท้ โดยปลุกพาไปสู่การคิด การเล่า สิ่งที่ดีแบบสบายๆโดยอัตโนมัติ คือสิ่งที่ค้นพบในเวทีนี้

วิ่งย้อนกลับมาที่กรุงเทพมหานคร เมืองแห่งเทคโนโลยีวิชาการอันทันสมัย การเรียนรู้ตัวอย่าง การ Implement KM ในองค์กร เป็นอีกฉากหนึ่งของ รวมมิตร KM ปฏิบัติ ชุดนี้

       เป็นความกรุณาของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยที่จัดเวทีนี้  และทีมงานจาก สคส. ดร.ประพนธ์  ผาสุขยืด วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ พร้อมคุณอุรพิณ  ชูเกาะทวด ที่หอบหิ้วผู้เขียนไปเรียนรู้  KM ปฏิบัติ

การเข้าสังเกตการณ์ ...

  • การจัดอบรม  KM  บรรยาย โดย ดร.ประพนธ์  ผาสุขยืด 

  • การทำ Workshop การเล่าเรื่อง ที่เรียกว่า  Knowledge Cafe
    สาระประเด็นที่สกัดได้ จาก Knowledge Cafe เป็นข้อมูลของหน่วยงานอยู่แล้วจึงขอมอง องค์ประกอบอื่นๆ ดังนี้
    o       เป็นลักษณะการเล่าเรื่องซ้อนแบบสดๆ  2 รอบ
    o       ซ้อนรอบที่ 1 ในความเห็นผุ้เขียน ได้สิ่งที่ดีออกมา  มุมมองน่าสนใจ 
    o       ซ้อนรอบที่ 2 เริ่มเกิดภาวะเกมโซน คือ ความชัดเจนเที่ยงตรงของการสื่อสาร  ต้องเน้นเรื่องสมาธิการฟัง และศิลปะการถ่ายทอดของประธาน
    o       ทั้งนี้ขึ้นกับภูมิความรู้เดิมของผู้เล่าเรื่องซ้อน ที่ต้องเลือกเฉพาะประเด็นที่ตนเองมีประสบการณ์   ซึ่งอาจจะกลายเป็นการระดมความคิดเห็นได้เหมือนกัน

  • การ Present แผนงาน  KM  ของหน่วยงานที่จัดการอบรม เพื่อผลักดัน KM  ให้สำเร็จ
  • การทำ Workshopด้าน IT  เพื่อใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยจัดการคลังความรู้

ทำให้ได้เรียนรู้ ส่วนหนึ่งของวิธีการ Implement KM ที่ค่อนข้างหลากหลายชวนให้ประมวลความคิด...

ผู้เขียนได้แลกเปลี่ยนความรู้กับคุณอุรพิณ ในช่วงเวลานี้ด้วย


      ผู้เขียนมอง เรื่องบรรยากาศที่ทำให้คนอยากเรียนรู้...

  • บรรยากาศการพูดคุย ปกติจะเริ่มคลี่คลายถ้ามีผู้เริ่มเปิดใจคุย คนอาจเปิดใจได้ด้วยการพูดหัวข้อปัญหา แต่ไม่ตกหลุมความท้อแท้  โดยปลุกพาไปสู่การคิด การเล่า สิ่งที่ดีแบบสบายๆโดยอัตโนมัติ คือสิ่งที่ค้นพบในเวทีนี้
  • ที่เวทีวิทยุชุมชน เขามีปัญหาแต่ไม่ได้พูด จึงยากที่เปิดใจเล่าเรื่องดีๆ ผู้เขียนมองว่าแป็น Key Success Factor ตัวหนึ่ง ในกระบวนการ KM   เพราะช่วง AAR ผู้เขียนไม่ยอมให้สมาชิกพาออกนอกประเด็น เช่น การกล่าวโทษกัน  แต่เปิดโอกาสให้ไปคุยเรื่องนี้ในโอกาสอื่น  เขาฟังเข้าใจและทำ AAR  ต่อได้ ไม่ถึงกับรวนเพียงมีสีสันบ้าง   เมื่อถึงช่วงปิดงานจึงเป็นโอกาสที่ท่านประธานสหพันธ์วิทยุแห่งชาติ ได้กล่าวเปิดใจเรื่องปัญหาของกลุ่มเอง  ดูบรรยากาศโดยรวมดีมาก ผ่อนคลาย  จริงๆท่านควรทำตั้งแต่เริ่มงาน หรือก่อนหน้า ถ้าจะไม่มัวกังวลเรื่องคนมาประชุมไม่ครบ   ก็ควรหาช่องทาง ในการเปิดใจ ทลายน้ำแข็ง ก่อนเริ่ม กระบวนการ KM

       การอบรม การจัดการความรู้และการสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้”  สำหรับหัวหน้าแผนกกลุ่มผลิตไฟฟ้า มีประเด็น วัฒนธรรม KM ที่ผู้เขียนสนใจเจาะมาแลกเปลี่ยน ในฐานะที่เคยผลักดันวัฒนธรรมองค์กรจนเกิดการเปลี่ยนแปลงสัมผัสได้

       จากประสบการณ์ของผู้เขียน  การสร้างแรงกระตุ้นด้วยการตอบสนองสิ่งที่พนักงานส่วนใหญ่รู้สึก หรือต้องการ  จะทำให้พนักงานออกมามีส่วนร่วม
        การสร้างวัฒนธรรมเรียนรู้ ในองค์กรใหญ่ คงต้องค้นหา พวกเรียนรู้พันธุ์แท้ มาแพร่เชื้ออย่างมีศิลปะ  ที่สำคัญถ้าเจอทีมเสือ งานสำเร็จง่าย   คงต้องออกแบบกิจกรรมวิธีเรียนรู้ให้เหมาะกับตำแหน่งงาน  ความชอบของบุคคล  ย่อมจะเกิดวัฒนธรรมที่ดี  (เพราะองค์กรใหญ่ภาพเดิมย่อมหลากหลาย คงต้องดูวัย  สาขาอาชีพ  ความชอบ  เพื่อสร้างจุดร่วมเป็นตัวดึงดูดให้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว...)  ความต้องการขั้นต่อไปของพนักงาน คืออะไร ?  เราอาจพบในวงสนทนาสบายๆของพนักงานเอง   เช่น  การส่งเสริมนวัตกรรมใหม่ๆ   มีการให้รางวัล   การประกาศชื่อเสียง   มีการแข่งขัน  เหล่านี้เป็นตัวอย่างวิธีการสร้างแรงกระตุ้น

องค์ประกอบอื่นในการสร้างวัฒนธรรม  เท่าที่ผู้เขียนนึกออก

  • Leadership เป็นเรื่องที่ละเลยไม่ได้ โดยเฉพาะทีมแพร่เชื้อ
  • พวกสร้างวัฒนธรรมจะต้องมีสไตล์เป็นตัวของตัวเอง  ที่เรียกว่ามีจินตนาการ  เป็นที่ยอมรับของเพื่อนร่วมงาน  คุยเปิดใจได้  ทำให้คนเปิดใจคุยได้  ภาวะผู้นำอาจสังเกตที่บางคนได้รับเลือกจากพนักงาน โดยปกติผู้นำจริงจะทำให้คนในกลุ่มทำตามเขาได้แม้เรื่องเล็กน้อย  โดยที่เขาไม่มีตำแหน่งหัวโขนสวมอยู่  ถ้าคนนั้นเป็นผู้ตามที่ดีด้วย ก็จะเป็นผู้นำที่ดีนั่นเอง  คือรู้จักว่าตอนไหนควรนำ ตอนไหนควรตาม
  • Organization  การจัดองค์กรในการบริหารงาน  และลักษณะทีมงาน  ก็เป็นปัจจัยที่ต้องมอง ในการหายุทธวิธีสร้างวัฒนธรรม  การสร้างองค์กรเรียนรู้เป็นภารกิจของกฟผ. พนักงานย่อมตระหนัก
  • Facilitator ที่ดีต้องสู้ไม่ถอย  มักจำเป็นเสมอในการขับเคลื่อน....ทุกๆเรื่อง  สำหรับองค์กรใหญ่
  • ตนเองเริ่มวิธีการเรียนรู้จาก การฟังบรรยาย  การขอคำปรึกษา  การดูงาน  การลงมือปฏิบัติ แล้วนำมาทบทวนพิจารณา ว่าควรปรับปรุงสิ่งใด  สิ่งใดดีแล้ว  ทำผิดยิ่งดีสำหรับผู้เขียน จะได้มีบทเรียนสอนใจ  โดยกำหนดเป็นหัวเรื่องที่อยู่ในความสนใจของเรา  เราจะเจาะเรื่องนั้นโดยเฉพาะ  เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้อื่นด้วย   ในระดับความคิดตรงนี้ต้องอ่านภาพรวม      ตกผลึกความคิดและทบทวนอดีต  1 วัน  1 สัปดาห์  1 เดือน  1 ปี  5 ปี...  ว่าแตกต่างอย่างไร?   ว่าอะไรคือถูก คือไม่ถูก?  จะมีช่วงสับสนบ้างระหว่างความดีความไม่ดี  แต่เมื่อผ่านไปได้แล้ว เราจะเกิดความเข้าใจความจริงในเหตุและผล โยงเหตุไปหาผล โยงผลไปหาเหตุได้   เมื่อเราวาง เราจะว่าง กระจ่างใสในความนึกคิด   เพียงวางกรอบความคิดที่รองรับชั่วคราว ก็จะเกิดความนึกคิดที่เป็นความจริง คือ เราสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ให้ตัวเอง
  • การไปดูเวทีภาคประชาสังคมแลกปลี่ยนเรียนรู้ก็อาจจะเป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยให้องค์กรปิ๊งแนวทางการสร้างบรรยากาศสบายๆ

        แง่มุมที่หลากหลายของ KM ปฏิบัติ ท่านจะพบได้กับตนเอง เหมือนที่ผู้เขียนกำลังประสบอยู่ในฐานะ KM Internship

หมายเลขบันทึก: 32846เขียนเมื่อ 2 มิถุนายน 2006 09:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:05 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท