บันได 10 ขั้น สำหรับการดำเนินชีวิตอย่างมีความสุขและเจริญรุ่งเรือง


พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่าจงเป็น "ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน" Socrates พูดไว้ว่า "The unexamined life is not worth living"

บันได 10 ขั้น สำหรับการดำเนินชีวิตอย่างมีความสุขและเจริญรุ่งเรือง

1)
ต้องมี ความเชื่อและศรัทธาในศาสนาพุทธ ก่อนเป็นอันดับแรก (อันนี้สำคัญมาก) จากนั้นก็ศึกษาหนังสือเกี่ยวกับ การจัดการตน คนและงาน (ข้อนี้อาจจะข้ามไปก่อนได้ถ้าคุณเข้าใจหลัก สัปปุริสธรรม นั้นคือ รู้จักเหตุ รู้จักผล รู้จักตน รู้จักกาล รู้จักสังคม รู้จักผู้อื่นเหมือนคำพูดที่คนทั่วไปมักพูดว่า รู้เขารู้เรา รบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง”)
http://www.geocities.com/sakyaputto/subpurisatham.htm

2) พยายามปฏิบัตตามหลัก มงคล ๓๘ ทำตัวให้สมกับการเป็น บัณฑิตที่ดี กล่าวคือต้องรู้ กตัญญู (รู้คุณที่ผู้อื่นได้ทำให้แก่ตน) อัตตสุทธิ (ทำตนเองให้บริสุทธิ์) ปริสุทธิ (ช่วยบุคคลอื่นให้บริสุทธิ์) และสังคหะ (ให้ความสงเคราะห์แก่คนทั้งหลาย)
http://www.dhammathai.org/treatment/poem/poem21.php


3) เข้าใจเกี่ยวกับธรรมะเบื้องต้นเหล่านี้ เช่น สัมมาทิฏฐิ (รู้ว่ามีปัจจัย 2 อย่างคือปัจจัยภายใน โยนิโสมนสิกา และปัจจัยภายนอก กัลยาณมิตร)  อิทธิบาท 4 สังคหะวัตถู 4  ทิศ 6 ความหมายของกัลญาณมิตร นิวรณ์ 5  กิเลส ตัณหา กายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ความหมายของ จุดมุ่งหมาย ๓ ขั้นและสามด้านของชีวิต รู้ว่ามิตรแท้ มิตรเทียมเป็นอย่างไร (หาอ่านได้จากหนังสือ ธรรมนูญชีวิต)
http://www.dhammathai.org/book/dhammanoon.php


4)
ต้องเป็นอยู่อย่าง ไม่ประมาท(อันนี้สำคัญเช่นกัน) และมีความเพียรอย่างสูงเหมือนอย่าง พระมหาชนก
http://www.moe.go.th/main2/article/p-maha.htm


5) ต้องเข้าใจวิธีคิด โยนิโสมนสิการ http://mylesson.swu.ac.th/hm102/hm102_lesson8.htm


6)
พยายามรักษาศึลห้าอยู่เสมอ (เว้นฆ่าสัตว์ เว้นลักทรัพย์ เว้นประพฤติผิดในกาม เว้นพูดปด เว้นของเมา)


7)
ให้ยึดหลัก ฆารวาสธรรม 4 และ บารมี 10 เป็นหลักในการดำเนินชีวิต
http://www.larnbuddhism.com/grammathan/barame1.html



8)
ต้องเข้าใจหลักของ ไตรลักษณ์ (อนิจัง ทุกขัง อนัตตา)
http://www.school.net.th/library/create-web/10000/religion/10000-9468.html

ต้องเข้าใจวิธีคิด พยายามรักษาอยู่เสมอ (เว้นฆ่าสัตว์ เว้นลักทรัพย์ เว้นประพฤติผิดในกาม เว้นพูดปด เว้นของเมา) ให้ยึดหลัก เป็นหลักในการดำเนินชีวิต ต้องเข้าใจหลักของ อนิจัง ทุกขัง อนัตตา)


9)
ต้องเข้าใจคำว่า ญาณวิทยา เพื่อให้เข้าใจหลัก กาลามสูตร
http://www.matichon.co.th/weekly/weekly.php?srctag=0415150748&srcday=2005/07/15&search=no


http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B8%95%E0%B8%A3


10)
ขั้นสุดท้ายก็คงต้องฝึกดูจิต (ฝึกตาม links ด้านล่าง) รู้จักแยก จิตออกจากความคิดโดยใช้สติเป็นตัวกั้นตรงกลาง เช่นอาจยึดวิธีตามหลัก มหาสติปัฏฐาน 4 (ต้องนี้ทำให้รู้เรื่อง พฤติกรรมของจิต เรียกว่า จริตของคน และจะทำให้เราเ้ข้าใจว่าทำไมเราถึงคิดมาก คิดลึก คิดแล้วคิดอีก คิดวิตกกังวลและคิดฟุ้งสานอยู่ตลอดเวลาซึ่งน่าจะเป็นสาเหตุที่ทำให้คนเสียสติหรือบ้าไปเลย) หรือจะยึดหลัก "อานาปานสติ ซึ่งเป็นกรรมฐานหรือสมาธิภาวนาแบบที่พระพุทธองค์ ได้ปฏิบัติและตรัสรู้ก็ได้" (ซึ่งตรงนี้ผมคัดลอกมาจากหนังสือ คู่มืออานาปานสติ โดย พุทธทาสภิกขุ ๒๕๔๕, ISBN: 974-497-554-7)

1)
อ่านประโยชน์และหลักการของการฝึกดูจิตที่นี้ก่อนครับ (Usefulness & Reasoning)
http://www.larndham.net/cgi-bin/kratoo.pl/001773.htm

2)
เรียนรู้วิธีฝึกปฏิบัติง่ายโดยดูที่ Link ด้านล่างนี้ (the easiest approach to reach the basic principle is to look at this link). http://www.kanlayanatam.com/voice/DrV.htm

สุดท้ายจำไว้เสมอว่า ต้องศึกษาจิต รู้ทันความคิดโดยใช้สติมาเป็นตัวกั่นไม่ให้เกิดความทุกข์

Acknowledgement: ขอขอบพระคุณอย่างสูงต่อ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ที่เป็นแหล่งสร้าง สนับสนุนและส่งเสริมผมให้เดินทางมาถึงจุดนี้ได้ร่วมทั้งท่านกัลยาณมิตรทั้งหลายด้วย (โดยเฉพาะ อาจารย์ที่ภาควิชาของผม ร่วมทั้งอาจารย์จากมหาวิทยาลัยอื่นๆด้วยเช่น อาจารย์ อ อาจารย์ จ อาจารย์ ด และอาจารย์ ท) ผมจะตั้งใจสร้างบุญสร้างบารมีต่อไปครับเพื่อประโยชน์สุขต่อตนเอง ครอบครัว ชุมชน สังคม ประเทศชาติและสังคมโลก

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 32843เขียนเมื่อ 2 มิถุนายน 2006 09:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 พฤษภาคม 2012 23:10 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)
เป็นบันได 10 ขั้นที่มีประโยชน์มากครับ แถมยังเรียบเรียงและระบุแหล่งข้อมูลได้อย่างชัดเจนอีกด้วย ผมนึกว่าจะเข้ามาอ่านจบง่ายๆ ไวๆ ยอดเยี่ยมและได้ประโยชน์มากจริงๆครับ
เข้ามาอ่านแล้วไม่ผิดหวังเลยคะ ได้ประโยชน์มาก ๆ คะ

ถ้าจะให้ดีช่วยกรุณานำไปบอกต่อด้วยครับ จะเป็นการดีอย่างยิ่ง

โดยยึกหลักบารมี 10 และทำตัวเป็น กัลยาณมิตร แต่ต้องไม่ลึมที่จะใช้หลัก กาลมสูตร และรู้ตัวอย่างมีได้ผ่านกระบานการ รู้สึกว่ามันดี เมื่อเปรียบเทียบกับประสพการณ์ที่ผ่านมา แต่ให้รู้คิดโดยไม่ยึดติดนะครับ สุดท้ายก็ปลงซะเดียวนั้นเพราะรู้แจ้งแล้วว่าทุกสิ่งทุกอย่างเป็น อนิจจังไม่เที่ยงเปลี่ยนแปลงไปตามเวลาโดยให้(เข้าใจว่า ทุกสิ่งเกิดขึ้น คงอยู่ด้วยขณะ และดับไป)

 

สันตินันท์

...สภาวะทุกอย่างเสมอภาคกัน

 

การเห็นสภาวะที่หยาบหรือละเอียด ธรรมะภายใน ธรรมะภายนอก ธรรมะที่เป็นกุศล อกุศล ธรรมะที่เป็นสุข เป็นทุกข์ ก็เสมอภาคกัน คือทั้งหมดเกิดและดับ ไม่ใช่ว่าต้องทำให้ละเอียดขึ้นๆ จึงจะบรรลุธรรม บางวันมันก็หยาบ บางวันมันก็ละเอียด เพราะว่าทั้งหมดนี้ เป็นเรื่องของอนัตตา ทั้งหมดเลย สติก็เป็นอนัตตา บางวันก็หยาบ บางวันก็ละเอียด บางวันก็ไม่มีเลย เขาเกิดขึ้นมาจะเป็นยังไงก็ได้ เราเรียนไม่ใช่เพื่อว่าจะเอาดี ไม่ใช่ว่าเราอยากได้สติเยอะๆ เราไม่ได้เรียนเอาตรงนั้นหรอก แต่เราเรียนจนกระทั่งจิตมันเกิดความเข้าใจ ว่าทุกอย่างบังคับไม่ได้ สติจะเกิดหรือไม่เกิด จะหยาบหรือละเอียด เราก็เลือกไม่ได้ ไม่ได้เรียนเอาดีนะ แต่เรียนเพื่อที่จะเห็นว่า ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นมาล้วนแต่ดับไปทั้งสิ้น ธรรมะที่หยาบเกิดขึ้นแล้วก็ดับ ธรรมะที่ละเอียดเกิดแล้วก็ดับ เสมอภาคกัน เรียนเพื่อให้เข้าใจตรงนี้เอง ในที่สุดก็เข้าใจว่า ทุกสิ่งที่เกิดล้วนแต่ดับไปทั้งสิ้น พระโสดาบันรู้แค่นี้เอง 22 ต.ค. 2548

การจำสภาวะธรรมได้เป็นเหตุใกล้ให้เกิดสติ

 

สติเกิดขึ้นได้เพราะมีเหตุให้สติเกิด มันเกิดขึ้นเอง เราไปสั่งให้มันเกิดมันไม่เกิดหรอก สติมีการจำสภาวะได้ เป็นเหตุใกล้ให้เกิด เพราะเรารู้จักโกรธเป็นอย่างไร พอโกรธสติก็เกิด พอรู้จักเผลอเป็นยังไง พอเผลอสติก็เกิด พอหัดรู้กาย รู้ใจเนืองๆ สติปัญญาเริ่มแก่กล้าเพียงพอ จิตจะรวมเข้าอัปปนาสมาธิเอง พอรวมแล้วก็จะเห็นสภาวธรรมเกิดดับ 2 หรือ 3 ขณะ จะเห็นตัวสภาวะเกิดดับ ถัดจากนั้นโคตรภูญาณจะเกิดขึ้น มันจะเกิดการปล่อยวางตัวสภาวะ พอเห็นสภาวะเกิดดับ ปัญญาแก่รอบแล้ว มันวาง มันทิ้งโดยไม่ได้เจตนา ตรงนี้ไม่มีความจงใจเหลืออยู่เลยตั้งแต่จิตรวมแล้วเห็นสภาวะเกิดดับ 2 หรือ 3 ขณะนั้น จิต จะวางการรู้สภาวะแล้วทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ ตรงเนี้ยตรงที่มันปล่อยสภาวะก็ไม่ใช่ปุถุชน ตรงที่ทวนเข้าหาธาตุรู้ยังไม่เข้าถึงธรรมธาตุตัวนี้ก็ไม่ใช่พระอริยะ เพราะงั้นเป็นรอยต่อ เกิดขึ้นแว๊บเดียวทวนเข้าถึงธาตุรู้แท้ๆ ตัวรู้จะมีปัญญาสุดขีดเกิดขึ้น ธาตุรู้นี้ก็เกิดแล้วก็ดับได้อีก จะเห็นเลยว่าความเป็นราไม่มีสักนิดเดียว ถัดจากนั้นจิตจะไปเห็นนิพพาน 2 หรือ 3 ขณะแล้วแต่คน จะเห็นสภาวธรรมเกิดดับ 2 หรือ 3 ขณะจากนั้นจิตจะถอยออกมาจากอัปปนาสมาธิ พอออกมาข้างนอกมันจะทวนกระแสเข้าไปพิจาณาสิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อกี๊แล้วมันจะเข้าใจ กิเลสยังเหลือ หรือไม่เหลือสักเท่าไร รู้ พอเราปฏิบัติได้อย่างนี้ พอเราต้องการเช็คตัวเอง เราสังเกตที่ใจของเรากิเลสของเราเหลือสักเท่าไร จะไปแล้วเท่าไร หลวงปู่ดูลย์ไปเรียนกรรมฐานกับหลวงปู่มั่นเสร็จแล้วไปเดินนะ เดินมาเดือนกว่าๆ กลับมารายงาน กิเลส 4 ส่วน ผมละเด็ดขาดไปแล้ว 1 ส่วน ส่วนที่ 2 ละได้ครึ่งเดียวยังไม่สมุจเฉจ (การตัดขาด) หลวงปู่มั่นบอกไปทำต่อถูกแล้ว จากนี้ดู สัพเพ สังขารา สัพพสัญญา อนัตตา 4 พ.ค. 2548

ทางลัด

 

จิตที่พ้นความปรุงแต่ง จะรู้ธรรมชาติที่พ้นความปรุงแต่ง (นิพพาน) ทางลัดที่สุดสำหรับการปฏิบัติธรรม จึงไม่ใช่การกระทำ (ปรุงแต่ง) ใดๆ แต่เป็นการหยุดกระทำ โดยไม่กระทำ (ปรุงแต่ง) ความหยุดให้เกิดขึ้น มีเพียง การรู้อย่างเงียบสนิทจริงๆ เท่านั้น (โดยไม่มีมายาของการคิดนึกปรุงแต่ง และมายาของการหยุดคิดนึกปรุงแต่ง) ที่เป็นสิ่งสุดท้ายซึ่งผู้ปฏิบัติจะทำได้ ก่อนที่จิตเขาจะ "ก้าวกระโดด" ไปเอง หากต้องการทางลัด ก็จำเป็นต้อง รู้ และเลิกคิดเรื่อง ทาง ไปเลย 4 ธ.ค. 2544

แก่นสารของการปฏิบัติธรรม

 

การเจริญสติจริงๆ จะไปยากอะไร เพียงแต่ให้มีจิตที่รู้ตัวสบายๆ เป็นธรรมชาติธรรมดานี้เอง แล้วไปรู้อารมณ์ (ที่เป็นปรมัตถ์)ที่กำลังปรากฏ โดยไม่เผลอ ไม่เพ่ง ด้วยความเป็นกลางจริงๆ คลองแห่งความคิดจะขาดไป และจิตจะรู้ โดยปราศจากความปรุงแต่ง ไม่นานผู้ปฏิบัติก็จะสามารถเข้าในวิสังขารธรรม หรือธรรมที่พ้นความปรุงแต่งได้ จุดแรกที่พวกเราควรทำความรู้จักก็คือ จิตที่มีสติ ไม่เผลอ ไม่หลง ไม่ถูกครอบงำด้วยความปรุงแต่งมันเป็นอย่างไร เมื่อรู้ตัวเป็นแล้ว ก็รู้ปรมัตถธรรมที่กำลังปรากฏไปตามธรรมดาๆ นี่เอง เช่นรู้ลงในความไหวของกาย ด้วยจิตที่ไม่หลง ก็จะเห็นปรมัตถ์ของ "กาย" อย่างชัดเจน คลองแห่งความคิดจะขาดไป เหลือแต่รู้สักว่ารู้ รู้ตามความเป็นจริง รู้ด้วยจิตที่เป็นกลาง แล้วจะเห็นธรรมฝ่ายสังขารคือ "กาย" หากจิตมีความพร้อม ก็จะเห็นธรรมฝ่ายวิสังขาร คือฝ่ายเหนือความปรุงแต่งได้ในวับเดียว 29 พ.ค. 2544

รู้อย่างไรจึงจะบั่นทอนทุกข์ลงได้

 

"รู้ตัว" เป็น ก็คือมีจิตที่ตั้งมั่น เป็นกลาง เป็นธรรมเอก ถัดจากนั้นก็ต้องหัด "รู้" ทุกสิ่งที่กำลังปรากฏ ด้วยความ "รู้ตัว" ก็จะเห็นว่าทุกอย่างที่ถูกรู้ล้วนแต่เกิดขึ้นแล้วดับไป และถ้าเมื่อใดจิตขาดความรู้ตัว หลงเข้ายึดถือสิ่งที่ถูกรู้ ความทุกข์ก็เกิดขึ้น ถ้ารู้ โดยรู้ตัวอยู่ ก็เป็น รู้สักว่ารู้ จิตจะเป็นเพียง "ผู้สังเกตการณ์" ปรากฏการณ์ทั้งปวง โดยไม่โดดเข้าไปร่วมแสดงเอง ที่คุณสุรวัฒน์เล่าถึงการปฏิบัติว่า "ผมก็เลยต้องคอยทำตัวให้ รู้ เข้าไว้ อาบน้ำก็ฝึกรู้ ดูโทรทัศน์ก็ฝึกรู้ กินข้าวก็ฝึกรู้ ...นึกขึ้นได้ตอนไหนก็ฝึกรู้ วันๆก็ฝึกรู้ไปเรื่อยๆ" หัดต่อไปอย่างที่หัดนี่แหละครับ ยืน เดิน นั่ง นอน กิน ดื่ม ขับถ่าย ทำ พูด คิด ฯลฯ รู้อยู่ให้ตลอด ให้ต่อเนื่องไปเรื่อยๆ โดยมีผู้รู้ กับสิ่งที่ถูกรู้ ซึ่งถึงจุดนี้ จะเห็นมันแยกกันเองได้แล้วครับ ไม่ต้องไปพยายามทำอะไรเพื่อให้มันแยกกันมากกว่านี้จนผิดธรรมชาติ จะกลายเป็นปฏิบัติด้วยความจงใจและความอยากมากไปครับ 30 มิ.ย. 2543

ปัจจัยแห่งความเจริญงอกงามในธรรม

 

(1) ให้พยายามมีสติสัมปชัญญะ รู้ อยู่ในชีวิตประจำวันให้ได้ จะยืน เดิน นั่ง นอน กิน ดื่ม ทำ พูด คิด ฯลฯ ก็ให้มีสติรู้กายรู้ใจอยู่เสมอ (2) ให้ปฏิบัติธรรมไปอย่างซื่อๆ ตรงๆ อย่าเอาแต่วุ่นวายกับการคิด การหาอุบายทางลัด และนิมิตต่างๆ เพราะนั่นล้วนเป็นทางแห่งความเนิ่นช้า (3) อย่าเอาแต่รวมกลุ่มสัญจรไปตามสำนักโน้นสำนักนี้ เที่ยวสนุกกับการไปฟังธรรมที่โน้นที่นี้ ละเลยการฟังธรรมในจิตใจตนเอง (4) มีผลการปฏิบัติใดๆ เกิดขึ้นในระหว่างทาง ก็อย่าเอาแต่ไปเขียนเล่าในกระทู้ให้กิเลสกระเพื่อม จนปฏิบัติต่อไปไม่ได้อีก (5) ขอให้ตั้งใจจริงจังเพื่อเอาตัวให้รอด ลองเอาจริงสัก ปี สองปีก็ยังดี โดยยอมเสียสละเรื่องรกรุงรังในจิตใจเสียสักช่วงหนึ่ง แล้วตั้งใจปฏิบัติให้สม่ำเสมอ 9 พ.ย. 2543

http://se-ed.net/yogavacara/

สมหวัง วิทยาปัญญานนท์

เป็นข้อคิดที่ดีครับ

ผมก็ศึกษาเรื่องนี้เหมือนกัน และมี เว็บไซต์อยู่ด้วย

เป็นเว็ปพุทธวิธีบริหาร

http://www.budmgt.com

ขอบคุณมากๆเป็นประโยชน์จริงๆ

(แต่ลิงค์บ้างตัวไม่สามารถเปิดได้)

ขออนุโมทนาสาธุๆๆ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท