KM (แนวปฏิบัติ) วันละคำ : 78. ความรู้ปฏิบัติ


• ในการทำ KM คำว่า “ความรู้” หมายถึง “ความรู้ปฏิบัติ” (Actionable Knowledge)   หรือเน้นที่ “ความรู้เพื่อการเอาไปใช้งาน”    ไม่ใช่ความรู้ที่มาจากตำรา
• เราไม่ปฏิเสธความรู้ที่มาจากตำรา    และจริงๆ แล้วต้องศึกษาความรู้จากตำรา    แล้วต้องเอาความรู้เหล่านั้นไปทดลองใช้ หรือปรับใช้ ในสถานการณ์จริงของเรา
• ในการทำ KM เราเน้นความรู้ที่หาไม่ได้จากตำรา
• ความรู้ที่เราอยากเรียนลัด คือความรู้ที่เอามาจากตำรา เอามาผ่านการทดลองใช้แล้วได้ผลดี   นั่นคือความรู้เชิงทฤษฎีได้ถูกเปลี่ยนไปเป็นความรู้ปฏิบัติเรียบร้อยแล้ว    ถ้ามีความรู้แบบนี้ให้เราดูดซับ (capture) ก็ถือเป็นโชคที่ไม่ต้องเริ่มต้นแบบนับหนึ่งใหม่
• ความรู้ปฏิบัติมีอยู่ในกลุ่มคนที่ทำงานเรื่องนั้นได้ผลดี เรียกว่ามี Good Practice / Best Practice   เราสามารถไป ลปรร. กับเขาได้โดยใช้เครื่องมือ เพื่อนช่วยเพื่อน (Peer Assist)
• การเล่าเรื่อง (Storytelling) เป็นเครื่องมือช่วยกระตุ้นให้ผู้มีความรู้ปฏิบัติ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นความรู้ฝังลึก ปล่อยความรู้ออกมา
• ความรู้ปฏิบัติมีลักษณะเป็น “ความรู้บูรณาการ” (Integrated Knowledge) หรือความรู้ที่ซับซ้อน (Complex Knowledge) ถ้า “ถอด” ออกเป็นชิ้นส่วนย่อยๆ ก็จะเอาไปใช้ไม่ได้   ไม่เป็นความรู้ปฏิบัติ

วิจารณ์ พานิช
๒๙ พค. ๔๙

คำสำคัญ (Tags): #เครื่องมือ#km
หมายเลขบันทึก: 32711เขียนเมื่อ 1 มิถุนายน 2006 14:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:05 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท