มลพิษทางอากาศ


มลพิษทางอากาศ

ปัญหาที่เกิดขึ้นจากมลพิษ 

 1. มลพิษทางอากาศ[1]

 

โดยปกติอากาศบริสุทธิ์จะมีส่วนประกอบของก๊าซต่างๆ  ในชั้นบรรยากาศค่อนข้างคงที่  คือ มีก๊าชไนโตรเจน  78.09 % ออกซิเจน 0.01 % แต่เมื่อใดก็ตามที่ส่วนประกอบของอากาศเปลี่ยนแปลงไป  มีปริมาณของฝุ่นละอองก๊าช  กลิ่น  หมอกควัน  ไอ  ไอน้ำ  และกัมมันตรังสี  เช่น  คาร์บอนไดออกไซด์  ออกไซด์ของกำมะถัน  ออกไซด์ของไนโตรเจน  ไฮโดรคาร์บอน  สารปรอท  ตะกั่ว  ละอองกัมมันตภาพรังสี  เจือปนอยู่ในชั้นบรรยากาศมากเกินไปจนก่อให้เกิดผลเสียต่อความเป็นอยู่ของมนุษย์  สัตว์  พืช  ตลอดจนทรัพย์สินแล้วจะเรียกสภาพดังกล่าวนี้ว่า  “อากาศเสียหรือมลพิษทางอากาศ ”

                 

- เกิดขึ้นตามธรรมชาติ  ได้แก่  ฝุ่นละอองจากลมพายุภูเขาไฟระเบิด  แผ่นดินไหว  ไฟไหม้ป่า  ก๊าชธรรมชาติ

- เกิดจากมนุษย์ทำขึ้นเป็นแหล่งที่เกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิง  ได้แก่  ท่อไอเสียของรถยนต์  โรงงานอุตสาหกรรม  ขบวนการผลิตที่ทำให้เกิดฝุ่น  กิจกรรมด้านการเกษตร  การระเหยของก๊าชบางชนิด  ขยะมูลฝอยและของเสีย

- แหล่งทุติยภูมิ (แหล่งเชิงซ้อน)  อนุภาคซัลเฟตและไนเตรต  ฝนกรดและการแควนลอยใหม่จากสารพิษจากผิวดิน

 

                มีมวลสารในอากาศหลายชนิดที่มีผลร้ายต่อสุขภาพของมนุษย์  พืช  สัตว์  และทำลายสภาพแวดของธรรมชาติสารตัวที่มีบทบาทสำคัญจะแปลเปลี่ยนจากสถานที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่งมวลสารที่ก่อปัญหาในพื้นที่กว้างขวางได้แก่  ควันที่เกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงซึ่งมีส่วนประกอบมีพิษ  เช่น SOX  NOX CO  และสารอนุภาคแขวนลอย  เช่น ( ฝุ่นละออง)  ไฮโดรคาร์บอน (HC) ที่เกิดจากการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง  สารมีพิษจากกระบวนการเคมีต่างๆที่กฎหมายระบุไว้  อนุภาคโลหะหนักที่เกิดจากการถลุงโลหะและสารกลิ่นเหม็นที่เกี่ยวกับ การแปรรูปอาหาร

                มลสารอากาศมีอยู่ได้  2  รูปแบบคือ  ก๊าชและแอโรโซล  ในบางกรณีสารในรูปอาจเปลี่ยนเป็นแอโรโซลโดยกระบวนการเคมีและทางกายภาพ[2]

"มลพิษทางอากาศ" มลพิษทางอากาศเป็นปัญหาสำคัญปัญหาหนึ่งที่เกิดขึ้นในเขตเมือง โดยเฉพาะกรุงเทพมหานคร เนื่องจากมลพิษทางอากาศก่อให้เกิดผลกระทบด้านสุขภาพอนามัย ไม่ว่าจะเป็นด้านกลิ่น ความรำคาญ ตลอดจนผลกระทบต่อสุขภาพที่เกี่ยวกับระบบหายใจ และระบบหัวใจและปอด ดังนั้นการติดตามเฝ้าระวังปริมาณมลพิษในบรรยากาศจึงเป็นภารกิจหนึ่งที่มีความสำคัญ กรมควบคุมมลพิษเป็นหน่วยงานที่ทำการตรวจวัดคุณภาพอากาศมาอย่างต่อเนื่อง โดยทำการตรวจวัดมลพิษทางอากาศที่สำคัญ ได้แก่ ฝุ่นละอองขนาดเล็ก (ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน: PM-10) ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) สารตะกั่ว (Pb) ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ (CO) ไนโตรเจนไดออกไซด์ (NOx) และก๊าซโอโซน (O3)

สถานการณ์มลพิษทางอากาศ

 เนื่องจากมลพิษทางอากาศมีผลต่อสุขภาพของประชาชนโดยเฉพาะในเขตเมือง ในการศึกษานี้ได้ประเมินต้นทุนมลพิษทางอากาศจากต้นทุนสุขภาพของผู้ป่วยโรคระบบทางเดินหายใจในเขตเมืองทั้งหมด 21 จังหวัด โดยพิจารณาจากจังหวัดที่มีจำนวนประชากรในเขตเทศบาลเกิน 100,000 คน จำนวน 12 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพฯ เชียงใหม่ นครราชสีมา อุบลราชธานี ขอนแก่น อุดรธานี นนทบุรี สมุทรปราการ ชลบุรี นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี และสงขลา และเพิ่มเติมจังหวัดที่มีสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศของกรมควบคุมมลพิษ ซึ่งแสดงถึงการต้องเฝ้าระวังคุณภาพอากาศในบริเวณดังกล่าวจำนวน 9 จังหวัด ซึ่งได้แก่ ลำปาง นครสวรรค์ สระบุรี ปทุมธานี ระยอง นครปฐม สมุทรสาคร ราชบุรี และภูเก็ต

       การประเมินต้นทุนมลพิษทางอากาศจากค่ารักษาพยาบาลของผู้ป่วยโรคระบบทางเดินหายใจใช้ต้นทุนค่ารักษาพยาบาลของผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน กรณีผู้ป่วยนอกมีค่ารักษาพยาบาลเฉลี่ย 275 บาทต่อครั้ง (ราคาปี พ.ศ. 2547) และในกรณีของผู้ป่วยในโรคปอดอักเสบมีค่ารักษาพยาบาลเฉลี่ย 11,163 บาทต่อราย (ราคาปี พ.ศ. 2547) โรคหลอดลมอักเสบ หลอดลมพองและโรคหืดมีค่ารักษาพยาบาลเฉลี่ย 7,204 บาทต่อราย (ราคาปี พ.ศ. 2547) โรคระบบหายใจส่วนบนติดเชื้อเฉียบพลัน และโรคอื่นๆ ของระบบหายใจส่วนบนมีค่ารักษาพยาบาลเฉลี่ย 14,277 บาทต่อราย (ราคาปี พ.ศ. 2547) โรคเรื้อรังของระบบหายใจส่วนล่างมีค่ารักษาพยาบาลเฉลี่ย 15,272 บาทต่อราย (ราคาปี พ.ศ. 2547) โรคหืด โรคหืดชนิดเฉียบพลัน และโรคอื่นๆ ของระบบหายใจ มีค่ารักษาพยาบาลเฉลี่ย 5,317 บาทต่อราย (ราคาปี พ.ศ. 2547) จากการคำนวณ พบว่า มูลค่าความเสียหายด้านสุขภาพจากมลพิษทางอากาศเฉลี่ยเท่ากับ 5,866 ล้านบาทต่อปี

 

ข้อมูลจำนวนผู้ป่วยโรคระบบทางเดินหายใจมีการเก็บรวบรวมโดยกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งเป็นข้อมูลรายปี รายจังหวัด อย่างไรก็ตาม ไม่มีการระบุถึงสาเหตุของการเกิดโรคที่แท้จริง ดังนั้น ควรศึกษาถึงสาเหตุของการเกิดโรคระบบทางเดินหายใจว่ามาจากสาเหตุใด เพื่อให้การคำนวณมูลค่าความเสียหายด้านสุขภาพที่เกิดจากมลพิษอากาศมีความถูกต้องมากขึ้น.

     ผลจากการตรวจวัดคุณภาพอากาศในช่วงเกือบ 20 ปีที่ผ่านมา พบว่า คุณภาพทางอากาศในประเทศไทยมีคุณภาพดีขึ้น โดยพิจารณาได้จากค่าสูงสุดของความเข้มข้นของสารมลพิษส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ยกเว้นฝุ่นขนาดเล็ก และก๊าซโอโซน ทั้งนี้การที่คุณภาพอากาศของประเทศไทยมีคุณภาพดีขึ้น มีสาเหตุมาจากการลดลงของปริมาณการใช้เชื้อเพลิงในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจ และอีกส่วนหนึ่งมาจากมาตรการของรัฐที่มีส่วนทำให้มลพิษทางอากาศลดลง (ธนาคารโลก 2002) ซึ่งได้แก่  ฝุ่นละอองขนาดเล็ก และก๊าซโอโซน ยังเป็นสารมลพิษที่เป็นปัญหา ซึ่งถึงแม้จะมีแนวโน้มลดลงเช่นกันแต่มลพิษทั้ง 2 ตัวก็ยังสูงเกินมาตรฐาน ทั้งนี้อาจเป็นเพราะฝุ่นละอองมีแหล่งกำเนิดหลากหลาย ทำให้การออกมาตรการเพื่อลดฝุ่นละอองทำได้ยาก โดยแหล่งกำเนิดฝุ่นละอองที่สำคัญได้แก่ ยานพาหนะ ฝุ่นละอองแขวนลอยคงค้างในถนน ฝุ่นจากการก่อสร้าง และอุตสาหกรรม สำหรับในพื้นที่ชนบท แหล่งกำเนิดฝุ่นละอองที่สำคัญ คือ การเผาไหม้ในภาคเกษตร ขณะที่ก๊าซโอโซน เป็นสารมลพิษทุติยภูมิที่เกิดจากปฏิกิริยาระหว่างสารประกอบอินทรีย์ระเหยง่าย (Volatile organic compound: VOC) และออกไซด์ของไนโตรเจน โดยมีความร้อนและแสงอาทิตย์เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา ทำให้ก๊าซโอโซนมีปริมาณสูงสุดในช่วงเที่ยงและบ่าย และถูกกระแสลมพัดพาไปสะสมในบริเวณต่างๆ ซึ่งจะเห็นได้ว่ามีปัจจัยหลายปัจจัยที่ยากต่อการควบคุมการเกิดของก๊าซโอโซน ทำให้มาตรการต่างๆ ยังไม่สามารถลดปริมาณก๊าซโอโซนลงให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานได้มลพิษทางอากาศมีแหล่งกำเนิดมลพิษและผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยและสิ่งแวดล้อมแตกต่างและรุนแรงต่างกันไป ทั้งนี้

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

  1. สำนักเทคโนโลยีน้ำและสิ่งแวดล้อมโรงงาน  กรมโรงงานอุตสาหกรรม
  2. กรมควบคุมมลพิษ
  3. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
  4. กระทรวงอุตสาหกรรม

 

การป้องกันและแก้ไขภาวะมลพิษทางอากาศ 

   1. ลดสารภาวะมลพิษทางอากาศจากแหล่งกำเนิด โดยการเปลี่ยนแปลงคุณภาพเชื้อเพลิง ใช้เครื่องยนต์ที่มีมลพิษน้อย ปรับปรุงกระบวนการผลิต และลดมลพิษจากยานพาหนะ
   2. เข้มงวดกับมาตรการลดผลกระทบด้านภาวะมลพิษทางอากาศจากภาคอุตสาหกรรม โดยตรวจสอบการปล่อยมลสารต่างๆ จากภาคอุตสาหกรรมให้อยู่ในระดับมาตรฐาน และให้มีการติดตั้งอุปกรณ์ตรวจจับภาวะมลพิษทางอากาศจากโรงงาน
   3. สนับสนุนการใช้เทคโนโลยีการเกษตร โดยนำวัสดุเหลือใช้จากภาคเกษตรมาใช้เป็นพลังงานเพื่อลดการเผาวัสดุเหลือใช้จากการเกษตรในที่โล่ง
  4. ปรับปรุงระบบการกำจัดขยะมูลฝอยชุมชนให้มีการบริหารจัดการแบบครบวงจร ถูกหลักวิชาการ เพื่อลดการเผาขยะในที่โล่ง
 5. ป้องกันการเกิดไฟป่า ตรวจติดตามปฏิบัติการดับไฟป่า และฟื้นฟูสภาพหลังเกิดไฟป่า
 6. ส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียนที่มาจากธรรมชาติ เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ เพื่อลด ภาวะมลพิษทางอากาศจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงประเภทถ่านหิน
  7. ลดการใช้อุปกรณ์เครื่องใช้ที่มีสารประกอบของสารที่ทำให้เกิดภาวะเรือนกระจก เช่น สารคลอโรฟลูออโรคาร์บอน (CFC ) เป็นต้น
  8. สนับสนุนให้มีการใช้ระบบการขนส่งที่มีมลพิษน้อย และส่งเสริมการใช้ระบบขนส่งมวลชน
  9. รณรงค์และประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนเข้าใจอันตรายที่เกิดจากภาวะมลพิษทางอากาศ และมีส่วนรวมในการป้องกันแก้ไขมิให้เกิดภาวะมลพิษทางอากาศ
 10. ปรับปรุงกฎหมาย เพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติตามและการใช้บังคับกฎหมายด้านการจัดการภาวะมลพิษทางอากาศ[3]

 

ข้อเสนอแนะ 

1. ควรจะให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดังกล่าวมาดูแลสภาพแวดล้อมที่เกิดขึ้นเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาที่จะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสิ่งมีชีวิตได้และที่สำคัญประชาชนทุกคนต้องร่วมกันรักษาสิ่งแวดล้อมให้ดำรงอยู่ได้อย่าง

2. ควรจัดให้มีการรณรงค์เรื่องสิ่งแวดล้อมและผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากการทำลายสิ่งแวดล้อมที่จะเกิดขึ้นทั้งในเวลาปัจจุบันและอนาคตด้วย

3. ควรจัดให้มีกิจกรรมประกอบการเรียนการสอนเพื่อสร้างจิตสำนึกให้กับเยาวชนตั้งแต่เยาว์วัย

 

 

 

 


[3] http://www.thaigoodview.com/library/sema/sukhothai/sureeporn_j/toxic/sec01p05.html

 

 

 

 

 

 


 

[2] ศิริกัลยา  สุวจิตตานนท์ และคณะ . “มลภาวะอากาศ”, (กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์,2549),หน้า 5- 6.


[1] http://www.aqnis.pcd.go.th/basic/pollution_basic.htm

 

หมายเลขบันทึก: 326966เขียนเมื่อ 11 มกราคม 2010 20:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 21:10 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท