"ความเข้าใจ" เชื่อม “รอยร้าว...ในใจ”


รักตนเอง...รักคนอื่น...อย่ามากเกิน...อย่าน้อยเกิน...พอดี ๆ...ชีวิตจึงจะมีความสุขแท้จริง


<p>          “รอยร้าว…ในใจ” เกิดจากอะไร? ความไม่เข้าใจ ความยึดมั่นถือมั่น การยึดติด ความทะนงตน ถือดีอวดดี ความคาดหวังจะต้องอย่างนั้นอย่างนี้ อีกทั้งการติดต่อสื่อสารที่สวนทางกันล้วนแล้วแต่มีส่วนให้เกิดรอยร้าว ประเด็นหลัก คือ เกิดจากความแตกต่างระหว่างบุคคล การรับรู้ของแต่ละคนที่แตกต่างกันออกไป</p>

          รอยร้าวมีโอกาสจะขยายเป็นวงกว้างขึ้นเรื่อย ๆ ตามอายุความ ตามกาลเวลา ปัจจัยเสริมกระตุ้น หากเพียงแต่เราได้มองตนและบุคคลอื่นด้วยอารมณ์ที่นิ่งสงบ ด้วยความเข้าใจ ด้วยการให้อภัย ด้วยการให้โอกาสทั้งตนและบุคคลที่เรารัก พบว่า รอยร้าว...ในใจ  นั้นก็จะค่อย ๆ หายไป แต่สิ่งที่กลับคืนมา คือ ความเข้าใจที่เพิ่มมากยิ่งขึ้น

          อัตมโนทัศน์ (Self-concept) มีส่วนสำคัญในการเชื่อม “รอยร้าว…ในใจ” อัตมโนทัศน์เป็นโครงสร้างของตัวตนที่เกิดจากความเชื่อ ความรู้สึก การรับรู้ การตีความที่บุคคลมีต่อตนเอง ต่อรูปร่างลักษณะ ความสามารถและคุณค่าของตนเอง อัตมโนทัศน์เป็นตัวกำหนดพฤติกรรม พบว่า บุคคลจะแสดงพฤติกรรมต่าง ๆ ออกมาตามการรับรู้ที่มีต่อตนเอง ถ้ามีอัตมโนทัศน์ทางบวก (Positive self-concept) ก็จะมีพฤติกรรมที่แสดงความมั่นใจ มีความรู้สึกที่เห็นคุณค่าของตน สามารถปรับตัวได้ดีเผชิญกับความเครียดและความกดดันได้ดี มีคุณลักษณะที่พร้อมจะอำนวยประโยชน์ให้กับสังคม เป็นผู้ที่มีความสุขและความสำเร็จในชีวิต เหล่านี้ล้วนแล้วแต่ส่งผลต่อการเชื่อม “รอยร้าว…ในใจ” เมื่อเราเกิดความรู้สึกดี ๆ กับตนเองมองตนเองในทางที่ดี ย่อมที่จะเข้าใจและมองบุคคลอื่นในทางบวกด้วยเช่นกัน  หากบุคคลมีอัตมโนทัศน์ในทางบวกแล้วพบว่ารอยร้าว…ในใจ ย่อมไม่เกิดอย่างแน่นอน

          อัตมโนทัศน์ในทางลบ (Negative self-concept) มีส่วนให้เกิด “รอยร้าว…ในใจ”  การรู้สึกด้อย ไม่มีคุณค่า ขาดความเชื่อมั่น ไร้ความสามารถ ไม่สามารถแก้ไขปัญหาของตนได้ ไม่ใช่บุคคลที่มีสติปัญญาต่ำ แต่มักจะประเมินตนเองต่ำกว่าความเป็นจริง จึงมักจะประสบความล้มเหลวในการดำเนินชีวิต ส่งผลไปกระตุ้นรอยร้าวให้เพิ่มมากขึ้นเป็นเงาตามตัว

          เมื่อตนได้หันมองตนตามที่ตนรับรู้ (Precieve Self) ในลักษณะที่ไม่บิดเบือนจากความเป็นจริงที่เป็นอยู่ จึงพบตนในความเป็นจริง (Real Self) ที่สามารถรับรู้ชีวิตและความนึกคิดต่าง ๆ ในความเป็นจริงของตน โดยการสังเกตและการประเมินตนด้วยความเที่ยงธรรม ไม่เข้าข้างตนเอง พบว่า ปัญหาที่ทำให้เกิดรอยร้าวที่แท้จริงคืออะไร? ทำอย่างไรจึงสามารถติดกาวเชื่อม “รอยร้าว…ในใจ” นั้นได้  เมื่อตนรู้ตนตามความเป็นจริงแล้วตนย่อมที่จะเข้าใจถึงความรู้สึกของบุคคลอื่นที่มีต่อตนด้วยเช่นกัน ดังนั้น ตนตามอุดมคติ (Ideal Self) ที่ตนปรารถนาคาดหวังยากให้เป็นไปย่อมอยู่ไม่ไกลความเป็นจริง พลังแห่งความเข้าใจกันและกันสามารถเชื่อม “รอยร้าว…ในใจ” ได้เป็นอย่างดี เพราะสังคมในทุกวันนี้ต่างต้องการ “ความเข้าใจ” ที่มีต่อกัน หากสิ่งนี้ได้บังเกิดขึ้นแล้วความรู้สึกดี ๆ ความห่วงใย ความเอื้ออาทรที่เคยมีให้แก่กันก็จะกลับมาเหนียวแน่นเหมือนดังเดิม
<p>          “รักตนเอง...รักคนอื่น...อย่ามากเกิน...อย่าน้อยเกิน...พอดี ๆ...ชีวิตจึงจะมีความสุขแท้จริง”</p>

หมายเลขบันทึก: 32683เขียนเมื่อ 1 มิถุนายน 2006 21:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:24 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
  • ดีจังเลยครับ มีภาษาอังกฤษด้วย
  • อยู่ขอนแก่นกับคุณชายขอบตัวเป็นๆ

ฝากความระลึกถึงด้วยค่ะ...

กลับมาแล้วววว หลังจากที่ห่างหายไม่ได้เข้ามาซะนานคะ  คิดถึงอาจารย์และบทความดี ๆ เสมอคะ

 

คิดถึง...น้องนิว คนสวย เสมอเช่นกันจ๊ะ
หายเหนื่อย หายเครียดกับการเรียนแล้วเหรอจ๊ะ
ทีนี่ก็จะรออ่านบทความของน้องนิวนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท