การประชุม QA KM และ กพร.


การประกันคุณภาพการศึกษารอบถัดไป เน้นที่การนำผลประเมินไปพัฒนา โดยใช้ KM Blog และ วิจัยสถาบัน เป็นเครื่องมือ

   ตั้งแต่มีการปฏิรูปการศึกษา ทุกคนในวงการศึกษาต่างจับตามองการเคลื่อนไหวในวงการกันชนิดที่เรียกว่า "ติดขอบสนาม" เลยทีเดียว สมศ. ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐแต่มีการบริหารแบบอิสระมีหน้าที่ตรวจติดตามและประเมินคุณภาพการศึกษาของสถาบันการศึกษาทั่วประเทศ ก็ได้ตรวจประเมินฯ ทั่วทั้งประเทศรอบแรกแล้วเสร็จแล้ว และขณะนี้กำลังอยู่ในระหว่างการประมวลผล

    ในขณะเดียวกันสถาบันการศึกษาต่างๆ ที่รับการประเมินรอบแรกไปแล้วก็ต้องนำผลการประเมินมาปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพการศึกษาของตน เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อม หน่วยประกันคุณภาพ มหาวิทยาลัยนเรศวร นำโดย ผศ.ดร.วิบูลย์  วัฒนาธร รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและประกันคุณภาพ จึงได้จัดประชุมเพอเตรียมความพร้อมเมื่อวันศุกร์ที่ 28 ส.ค.ที่ผ่านมา สาระสำคัญมีดังต่อไปนี้
๑.     สมศ.จะมาตรวจประเมินคุณภาพมหาวิทยาลัย รอบ ๒ ประมาณเดือนสิงหาคม ๒๕๕๑ ซึ่งจะใช้ข้อมูลของปีการศึกษา ๒๕๔๘ ๒๕๕๐ ดังนั้น คณะฯ ต้องเตรียมข้อมูลตั้งแต่ มิ.ย. ๔๘ พ.ค. ๕๑ (ยังไม่มีเกณ์ใหม่ ทราบแต่เพียงว่าเกณฑ์ปรับใหม่เน้นที่การนำผลการประเมินไปพัฒนา(R&D) และการจัดการองค์ความรู้(KM) แต่ยังไม่มีเกณฑ์มาให้ เนื่องจากอยู่ในระหว่างการรวบรวมข้อมูลของสมศ. เพื่อทำค่ากลาง) รายละเอียดดังเอกสารหมายเลข ๑ และ ๗
๒.   มหาวิทยาลัยสนับสนุนการจัดตั้งชุมชนแนวปฏิบัติ (KM) และการวิจัยสถาบัน ให้คณะฯ ส่งเสริมให้บุคลากรทำความเข้าใจเรื่องการวิจัยสถาบัน KM และ blog เนื่องจากเป็นเครื่องมือสำคัญในการนำผลประเมินตนเองไปพัฒนาในภาคปฏิบัติ และเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อสร้างองค์ความรู้ในงานที่ตนรับผิดชอบ ซึ่งเป็นฐานที่สำคัญในการบรรลุเป้าหมายของมหาวิทยาลัยในการเป็นมหาวิทยาลัยแห่งการวิจัย รายละเอียดดังเอกสารหมายเลข ๒-๔
๓.    ชี้แจงกรอบการประเมินของกพร. (เอกสารหมายเลข ๕-๖) แต่ยังไม่ได้ระบุวันเวลาประเมิน มี ๔ เรื่อง ที่ กพร.จะให้ทำคำรับรอง ไล่จากล่างขึ้นบนเนื่องจากประสิทธิผลจะดีหรือไม่จะเริ่มจากมิติที่ ๔(ผศ.ดร.วิบูลย์ ท่านว่าไว้)
๑)  มิติที่ เป็นมิติทางด้านพัฒนาองค์กร ตัวบ่งชี้ที่จะมาบอกว่า มีการพัฒนาองค์กรดี ได้แก่
KM (มีแผนเกี่ยวกับเรื่องการบริหารจัดการความรู้ในหน่วยงาน)
-  ระดับคุณภาพการจัดการสารสนเทศของส่วนราชการ (ฐานข้อมูล)
-  ระดับความสำเร็จของการพัฒนาระบบฐานข้อมูลที่เน้นหนักไปทางด้านนักศึกษา อาจารย์ และหลักสูตร
๒)  มิติที่ ๓ เป็นมิติทางด้านเกี่ยวกับประสิทธิภาพ
-  ร้อยละของงบประมาณที่สามารถจะประหยัดได้
-  ระดับความสำเร็จของร้อยละเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักในการลดเวลาหรือลดขั้นตอนในการให้บริการ
๓)  มิติที่ เป็นเรื่องเกี่ยวกับคุณภาพ
-  ความพึงพอใจของผู้รับบริการ (มหาวิทยาลัยจะจ้างหน่วยงานภายนอกมาประเมิน)
-  ความสำเร็จในการดำเนินการป้องกันเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามทุจริตและประพฤติมิชอบ
๔)  มิติที่ ๑ เกี่ยวกับประสิทธิผล  (น้ำหนัก ๖๕% )
                    -  ระดับความสำเร็จของกระทรวง ตอนนี้เราอยู่ในกระทรวงศึกษาธิการ ถ้ากระทรวงศึกษา Performance ดี หมายถึงว่าเราช่วยได้ดีด้วย คะแนนตรงนี้ดีด้วย สกอ.ก็เหมือนกัน สกอ.ต้องไปทำคำรับรองมีหลายรายการอย่างนี้เหมือนกัน ถ้าพวกเรา Performance ดี สกอ.ก็จะพลอยมี Performance ดี แล้วเราก็จะได้รับอานิสงส์จะได้ 15%
                     - 
ต้องทำ Vision, Mission และเป้าประสงค์ และเกณฑ์ของคณะฯ ให้ชัด
-  ร้อยละความสำเร็จตามเป้าหมายผลผลิต ต้องไปดูที่เอกสารงบประมาณรายจ่าย ตอนที่ไปขอเงินงบประมาณระบุว่า ในหมวดโน้น หมวดนี้ จะไปใช้อะไรบ้างผลเป็นตามนั้นหรือไม่        

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 3265เขียนเมื่อ 31 สิงหาคม 2005 09:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 พฤษภาคม 2012 09:20 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ป้าไผ่ครับ อยากให้ป้าไผ่ได้ส่งการพัฒนาดัชนีและเกณฑ์ของ NU Office 2 (องค์ประกอบที่ 10 ภารกิจหลักครับ)

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท