เล่าเรื่องงานส่งเสริม(ต่อ)


วิเคราะห์พื้นที่ RRA

หายไปเป็นเดือน เพิ่งจะมีโอกาสเขียนต่อ เมื่อคราวก่อนเขียนถึงเรื่อง RRA แต่ยังไม่ได้บอกว่าคืออะไร ขอย้ำอีกครั้งว่าต้องเล่าอดีตย้อนหลังกว่า 20ปีเพราะกลัวข้อมูลสูญหายและต้องการยืนยันว่านักส่งเสริมทำงานบนพื้นฐานข้อมูลที่ผ่านการวิเคราะห์อย่างมีหลักเกณฑ์มานานแล้ว

RRA ย่อมาจาก Rapid Rural Aprisal แปลว่าการวิเคราะห์ชนบทแบบเร่งด่วน ซึ่งก็คือการวิเคราะห์ชุมชนหรือวิเคราะพื้นที่แบบเร่งรัด ใช้เวลาไม่นานนัก การวิเคราะห์ดังกล่าวเป็นการวิเคราะพื้นที่ในขอบเขตที่ไม่กว้างขวางนัก เช่น โครงการชลประทานขนาดใหญ่หรือขนาดกลาง  อาจต้องใช้เวลาการวิเคราะห์หลายครั้งมากกว่าโครงการชลประทานขนาดเล็ก ที่ต้องเอาขอบเขตมาเกี่ยวข้อง เพราะยิ่งพื้นที่กว้างการเลือกตัวอย่าง(Key informant)มาให้ข้อมูลก็ควรจะกระจายตัวให้มากขึ้น 

เทคนิค RRA นี้เข้ามาสู่กรมส่งเสริมการเกษตรเมื่อปีพ.ศ.2528 ตามโครงการ Farming System Research ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น ที่รับคนของกองแผนงานและโครงการพิเศษไปอบรม1คน  แล้วกลับมารวบรวมทีมงานเกษตรชลประทานในสมัยนั้นทำการวิเคราะห์พื้นที่โครงการชลประทานที่สำคัญๆเป็นการนำร่องเพื่อวางแผนการส่งเสริมการเกษตรในเขตชลประทานดังกล่าว ได้แก่ โครงการเจ้าพระยา โครงการพิษณุโลก โครงการแม่แตง โครงการชลประทานทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  ตอนนั้นข้าพเจ้าเป็นนักวิชาการรู่นใหม่ในขณะนั้น จึงได้เข้าร่วมทีมงานด้วย ทั้งๆที่พี่หลายคนไม่สนับสนุน(กีดกันทางเพศ)แต่อาศัยลูกตื๊อและความอยากรู้อยากเห็น เข้าไปร่วมงานจนได้

วิธีการทำ RRA เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลแบบเร่งด่วน เพื่อให้ได้ข้อมูลพื้นฐานเบื้องต้นในการนำไปวางแผนการพัฒนาพื้นที่นั้นๆ  จึงไม่ได้หมายความว่าวิเคราะห์ครั้งหนึ่งแล้วจะเป็นมาตรฐานไปได้นาน ดังนั้นการทำ RRA จึงต้องทำซ้ำหลายครั้งประมาณ 2-3 ปีต่อครั้งเพราะข้อมูลด้านต่างๆมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา(ยกเว้นข้อมูลด้ายกายภาพที่อาจจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงบ่อยนัก)    ขั้นตอนวิธีการทำ RRA ประกอบด้วยการรวบรวมข้อมูลด้านต่างๆที่มีในพื้นที่มาเชื่อมโยงวิเคราะห์หาความสัมพันธ์อย่างเป็นระบบเพื่อหาแนวทางพัฒนาที่เหมาะสม

เริ่มต้นการทำงานโดยกำหนดวัตถุประสงค์ ประเด็นหลักที่ต้องการทราบข้อมูล จัดทำเครื่องมือได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบกึ่งโครงสร้าง(มีเฉพาะประเด็นหลักที่ยืดหยุ่นได้ตามสถานการณ์ในพื้นที่) ต่อจากนั้นคือการรวบรวมข้อมูล ซึ่งในครั้งต่อไปจะกล่าวถึงรายละเอียดและประเภทของข้อมูลรวมถึงวิธีการรวบรวมข้อมูล วันนี้พักก่อนแล้วพบกันใหม่ค่ะ

 

หมายเลขบันทึก: 32585เขียนเมื่อ 31 พฤษภาคม 2006 21:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 22:08 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
   ขอพระคุณมากนะครับ ทำให้ได้เรียนรู้และทบทวนอดีตตามไปด้วย  จะคอยติดตามอ่านตอนต่อไปนะครับ (ฝากคาราวะท่าน อ.บำเพ็ญด้วยนะครับ)
แวะมาให้กำลังใจ  ดีมากครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท