การจัดการความรู้ใน มอ.(5)


ส่งไม้ต่อ ท่านรองวรัญฯ หลายๆคำถามที่ผมถูกถามหนึ่งในคำถามนั้นคือ "การจัดการความรู้ยากตรงไหน" ผมขอตอบ...ยากตรงตอนเริ่มต้นครับ

             เมื่อวานนี้ 30 พ.ค.49 เป็นการประชุมคณะกรรมการพัฒนาระบบบริหารความรู้ในองค์กร ของ มอ.กรรมการชุดนี้ทำอะไร  คณะกรรมการชุดนี้จะดูแลเรื่องการบริหารจัดการความรู้ในองค์กร เรื่องการจัดการความรู้ในองค์กรและมีเรื่องที่เชื่อมต่อไปยังคณะกรรมการอื่น ๆ ในเรื่องหมวดหมู่ของข้อมูลที่จะทำให้สืบค้นได้ง่าย ประชุมกันเดือนละครั้ง ทุกสัปดาห์ที่สามของเดือน 
         เมื่อวานนี้ เป็นนัดผมจะต้องส่งไม้ให้ประธานคนใหม่ (ท่านรองฯวรัญ ตันชัยสวัสดิ์) แต่จริงๆ แล้วทั้งผมและท่านรองฯวรัญคลุกคลีงานเรื่องนี้มาด้วยกันตลอด เพียงแต่เหตุผลของการเปลี่ยนคือ  มอ.จะเปลี่ยนทีมบริหารชุดใหม่ ในวันพรุ่งนี้ 1 มิย.49 เนื่องจากชุดเก่าหมดวาระ ผมจะไปดูแลงานด้านอื่นและเป็นโอกาสที่ มอ.นำการพัฒนาบุคลากรและการจัดการความรู้มาอยู่ที่เดียวกัน โดยการดูแลของท่านรองวรัญ 
         กรรมการมากันพร้อมหน้าพร้อมตา  ผมคิดว่าเราผ่านช่วงการสื่อสารให้ประชาคมเข้าใจ ความหมาย จำลองกระบวนการ เทคนิควิธี เครื่องมือที่ใช้ในการจัดการความรู้ต่างๆ  มาแล้ว เราพูดคุยสรุปการดำเนินการตามแผน ปี 2549  อะไรทำไปแล้ว อะไรคงค้าง พูดคุยเรื่องการนำการจัดการความรู้สู่ คณะ หน่วยงาน ซึ่งเราจะมีนัดแรก ที่จะคุยกับ CKO คณะ หน่วยงานในวันที่ 9 มิย.นี้ จะเชื่อมโยงไปถึง ตัวบ่งชี้ที่ 5.2  การพัฒนาสถาบันสู่องค์การเรียนรู้ ฯ ที่ สมศ.จะมาประเมินรอบสอง ผมพร้อมทั้งคุณหมอปารมี จากภาคพยา-ธิ จะร่วมนำการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับกลุ่ม CKO ใหม่ ในประสบการณ์การเป็น "คุณเอื้อ" และเราจะพูดตกลงกันว่าเราจะเดินเรื่อง เครือข่ายการจัดการความรู้ภายในได้ยังไง
             ผมทำในฐานะส่วนกลางตามเป้าประสงค์ 6 ของมหาวิทยาลัย (นำองค์กรสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้)  มีความจริงเฉพาะ มอ.ก็คือ เรามีบุคลากรรวม 8,000 คน  ส่วนกลางทำการจัดการความรู้หลังคณะแพทยศาสตร์ มอ. เรามีการทำ QCC  CQI  หรืออื่น ๆ ที่เป็นเครื่องมือคุณภาพตลอดมา  ผู้คนของเรามักจะคุ้นชินกับเครื่องมือในการบริหารจัดการเพื่อคุณภาพงานไม่ว่าตัวไหนเข้ามา เราก็จะขานรับ นำมาใช้  เราไม่บังคับให้ทุกคณะทำการจัดการความรู้ แต่เราคาดหวังให้ทุกคณะ หน่วยงานหรือทุกยูนิต ของเราพัฒนางานให้ดียิ่ง ๆ ขึ้น   คำถามที่ผมมักจะต้องถูกตอบเสมอเมื่อมาทำงานด้านการจัดการความรู้ 

สมัยต้น ๆ เลย คือ   "KM จะเป็นแฟชั่นหรือเปล่า"  
                           "ใครเข้าใจดีที่สุดเรื่องการจัดการความรู้" 
                            "KM ที่ผมเข้าใจและทำนั้นถูกต้องหรือเปล่า" 
คำถามถัดมา         "ทำการจัดการความรู้แล้วได้อะไร"  
                           "หลังจากทำการจัดการความรู้แล้วงานดีขึ้นมั๊ย" 
             "ถ้าสามารถทำงานให้ดีขึ้นได้โดยไม่ใช่การจัดการความรู้ท่าน จะโอเค มั๊ย"
คำถามหลังสุด
       "การจัดการความรู้ยากตรงไหน" 

เป็นคำถามที่ปนๆ กัน ระหว่างหยั่งเชิง อยากรู้ ท้าทาย ผมทำหน้าที่โดยไม่ละเลยที่จะตอบคำถาม ที่เข้ามาในหลายรูปแบบที่ว่า นั้น ผมมองเห็นวิวัฒนาการของคำถาม คำถามเปลี่ยนไปเพราะกระแสการจัดการความรู้แรงขึ้น คำถามต่างๆล้วนที่ตอบยากเป็นความท้าทายที่จะต้องตอบ คณะกรรมการฯ ตกลงจะประเมินในภาพรวม สำหรับคำถาม "หลังจากการทำการจัดการความรู้ไปแล้วงานดีขึ้นมั๊ย" ส่วนคำถามหลังสุด ผมตอบได้เลย "การจัดการความรู้ยากตรงตอนเริ่มต้นครับ"

หมายเลขบันทึก: 32554เขียนเมื่อ 31 พฤษภาคม 2006 17:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:04 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ส่วนตัวแล้วเชื่อว่าหน่วยงานย่อยๆในมอ.ส่วนใหญ่มีการจัดการความรู้ (KM) กันอยู่แล้ว เพียงแต่เราอาจจะไม่รู้ว่าเรากำลังทำ

สิ่งสำคัญก็คือการแนะนำให้บุคคลากรได้จัดการความรู้อย่างมีทิศทาง ได้ใช้เครื่องมือต่างๆสำหรับการจัดการความรู้อย่างมีประสิทธิภาพ รู้บทบาทของตนเองในการขับเคลื่อน KM ขององค์กร และส่งเสริมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างหน่วยงานให้ขยายเครือข่าย เพื่อให้การขับเคลื่อน KM เป็นไปในทิศทางเดียวกัน

  • รอดูรูปอบรม KM ที่ราชภัฏและม.ทักษิณครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท