ส.ค.ส. พระราชทาน


ส.ค.ส. พระราชทาน

ส.ค.ส. พระราชทานเป็นบัตรส่งความสุข ซึ่ง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงประดิษฐ์ขึ้นด้วยพระองค์เอง เพื่อพระราชทานแก่พสกนิกรชาวไทย เนื่องในโอกาสวันขึ้นปีใหม่ เป็นประจำทุกปี (ยกเว้น พ.ศ. 2548)

ส.ค.ส. พระราชทาน ประจำปี 2553 เป็นพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในฉลองพระองค์แจ๊คเก็ตสีชมพูเข้ม ปักรูปคุณทองแดงที่ด้านซ้ายของพระอุระ ทับฉลองพระองค์ชั้นในสีขาว ประทับบนพระเก้าอี้หวาย ที่ตั้งอยู่กลางสนามหญ้าและสวนดอกไม้ทรงฉายกับคุณทองแดงและคุณทองหลาง สุนัขทรงเลี้ยงที่นั่งเฝ้าอยู่ข้างพระเก้าอี้ทั้งสองด้าน

ในวันสิ้นปี (31 ธันวาคม) ของทุกปี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระราชดำรัส พระราชทานพรปีใหม่ เนื่องในโอกาสขึ้นปีใหม่ ทางสถานีวิทยุกระจายเสียงและสถานีโทรทัศน์ทุกสถานี นอกจากนี้ ยังทรงปลีกเวลาจากพระราชกรณียกิจ มาปรุแถบโทรพิมพ์ (เทเล็กซ์) พระราชทานพรปีใหม่ แก่เจ้าหน้าที่ผู้ถวายงาน โดยทรงใช้รหัสแทนพระองค์ว่า กส. 9 เช่นเดียวกับที่ทรงใช้ติดต่อทางวิทยุสื่อสาร ทรงระบุท้ายโทรพิมพ์ว่า กส. 9 ปรุ ส.ค.ส. พระราชทาน ที่เป็นโทรพิมพ์เหล่านี้ เริ่มเผยแพร่สู่สาธารณชน เมื่อปี พ.ศ. 2530 

เมื่อเทคโนโลยีพัฒนาขึ้น จึงได้ทรงเริ่มต้นประดิษฐ์ ส.ค.ส. พระราชทาน ด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนพระองค์ เมื่อปี พ.ศ. 2531โดยทรงพิมพ์ด้วยเครื่องพิมพ์ขาวดำ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้โทรสาร (แฟกซ์) พระราชทานไปยังหน่วยงานต่าง ๆ โดยข้อความใน ส.ค.ส. พระราชทาน แต่ละปี จะประมวลขึ้นจากเหตุการณ์บ้านเมืองหนังสือพิมพ์รายวัน ได้นำลงตีพิมพ์ ในฉบับเช้าวันที่ 1 มกราคม เพื่อสะท้อนให้เห็นปัญหา และอุปสรรคต่าง ๆ ที่ประเทศไทยต้องประสบ ในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา ในปีต่อ ๆ มา เพื่อให้พสกนิกรได้ชื่นชมอย่างทั่วถึง

นับแต่ทรงใช้คอมพิวเตอร์ประดิษฐ์ ส.ค.ส. พระราชทาน ทรงเปลี่ยนแปลงคำลงท้ายของ ส.ค.ส. พระราชทาน เป็น ก.ส. 9 ปรุง เนื่องจากทรงเปลี่ยนจากการ "ปรุ" ด้วยโทรพิมพ์ เป็นการ "ปรุง" ด้วยคอมพิวเตอร์ ถัดจากนั้น จะทรงระบุวันและเวลาที่ทรงประดิษฐ์ขึ้น เป็นรูปแบบเฉพาะ ดังนี้

อนึ่ง ส.ค.ส. พระราชทานตั้งแต่ พ.ศ. 2549 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเป็นภาพสี นอกจากนี้ คำลงท้ายของ ส.ค.ส. พระราชทาน ตั้งแต่ปีดังกล่าวเป็นต้นมา จะมีข้อความ "พิมพ์ที่โรงพิมพ์สุวรรณชาด ท.พรหมบุตร, ผู้พิมพ์โฆษณา Printed at the Suvarnnachad, D.Brahmaputra, Publisher"(ใน ส.ค.ส. ปี 2549, 2551, 2552, 2553) และ "Printed at the Suvarnnachad Publishing, C.Brahmaputra, Publisher" (ใน ส.ค.ส. ปี 2550)

ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2553 สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล อาจารย์ประจำสาขาวิชาประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้เปิดกระทู้ขึ้นในเว็บบอร์ด โดยมีเนื้อหาเชิงตั้งข้อสังเกตว่า ส.ค.ส. ประจำปี พ.ศ. 2553 มิได้ใช้รูปแบบเฉพาะของการระบุวันเดือนปีและเวลา ที่ตามหลังข้อความ ก.ส. 9 ปรุง ดังที่ทรงใช้มาทุกปี ซึ่งรูปแบบที่เปลี่ยนใหม่ เริ่มจากเวลาเป็นชั่วโมง เวลาเป็นนาที แล้วจึงเป็น วัน เดือน และปี ตามลำดับ นอกจากนี้ ตัวเลขที่ประทับอยู่มุมขวาตอนล่างของพระบรมฉายาลักษณ์ที่เป็น ส.ค.ส.ในปีดังกล่าว ซึ่งเป็นเวลาฉายภาพคือ 15 นาฬิกา 25 นาทีนั้น เป็นเวลาเดียวกับที่ตามหลังข้อความ ก.ส. 9 ปรุง อันเป็นเวลาที่นำภาพมาประดิษฐ์เป็น ส.ค.ส. ซึ่งเป็นไปไม่ได้ในเชิงเหตุผล ที่เวลาทั้งสองส่วนดังกล่าว จะเป็นเวลาเดียวกันพอดี

 

๒๕๕๑

พระราชดำรัสพระราชทานแก่ประชาชนชาวไทยในโอกาสขึ้นปีใหม่ ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต ๒๕๕๑

          “ประชาชน ชาวไทยทั้งหลาย บัดนี้ ถึงวาระจะขึ้นปีใหม่ พุทธศักราช ๒๕๕๑ แล้ว ข้าพเจ้าขอส่งความปรารถนาดี มาอวยพรแก่ท่านทุกๆ คน และขอขอบใจท่านเป็นอย่างมาก ในน้ำใจไมตรีที่ทุกคน ทุกฝ่าย แสดงให้เห็น ทั้งในคราวที่เจ็บป่วย และในการจัดงานวันเกิดครบ ๘๐ ปี รวมทั้งได้แสดงความวิตกห่วงใยอย่างจริงใจในการเจ็บป่วยของพี่สาวข้าพเจ้า

          สถานการณ์ ของบ้านเมืองเราแต่ปีก่อน และต่อเนื่องมาถึงปีที่แล้วเป็นอย่างไรก็เป็นที่ทราบกันอยู่แก่ใจ แต่อย่างไรก็ตาม เราได้มีรัฐธรรมนูญ และได้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแล้ว นับว่าประเทศชาติของเราได้ผ่านหัวเลี้ยวสำคัญอีกขั้นหนึ่ง จึงเป็นหน้าที่ของเราทุกคนที่จะต้องช่วยกันประคับประคองกิจการของบ้านเมือง ให้ดำเนินไปด้วยดี ให้มีความเป็นปึกแผ่นและร่มเย็นเป็นปรกติสุข

          ทาง ที่เราจะช่วยกันได้ ก็คือการทำความคิดให้ถูกตรงและแน่วแน่ ในอันที่จะยึดถือชาติบ้านเมืองเป็นที่หมาย แต่ละคนแต่ละฝ่าย จะต้องเพลาการคิดถึงประโยชน์เฉพาะตัว พยายามโอนอ่อนผ่อนปรนเข้าหากัน ด้วยไมตรีจิตและความเมตตากรุณา อย่าก่อปัญหาและก่อเงื่อนไข อันเป็นเหตุให้เกิดความไม่สงบและความแตกแยก ผู้ใดมีภาระหน้าที่อันใด ก็เร่งกระทำให้สำเร็จลุล่วงไป ให้ทันการณ์ทันเวลา ผลงานของทุกคนทุกฝ่าย จักได้ประกอบส่งเสริมกัน ให้ประเทศชาติอันเป็นที่อยู่ที่อาศัยของเรา ดำรงมั่นคงอยู่ด้วยความผาสุกร่มเย็นตลอดไป

          ขออานุภาพแห่ง คุณพระศรีรัตนตรัย และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวไทยเคารพบูชา จงคุ้มครองรักษาให้ปราศจากทุกข์ ปราศจากภัย ให้มีความสุขสบาย สุขใจ และประสบแต่สิ่งที่พึงประสงค์ ตลอดศกหน้านี้โดยทั่วกัน”

 ส.ค.ส.พระราชทานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในปีพุทธศักราช ๒๕๕๑ นี้ เป็นพระบรมฉายาลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในฉลองพระองค์ชุดปกติขาวประทับฉายพระรูปกับคุณทองแดง สุวรรณชาดและเหลน จำนวน 4 สุนัข ซึ่งพระราชทานชื่อว่า กันนิ ราชปาลยัม จิปปิปะไร และคอมไบ ตามชื่อพันธุ์สุนัขของอินเดีย ที่ใช้เป็นแบบปั้นรูปสุนัข ซึ่งเป็นบริวารของพระตรีมูรติ คือ กันนิ เพศเมียนั่งบนพระเพลา ราชปาลยัม เพศเมียยืนด้านขวา จิปปิปะไร เพศผู้ นั่งด้านหน้าใกล้พระบาทขวา และคอมไบเพศเมีย ยืนด้านซ้าย

          ด้านล่างมีข้อความเป็นตัว หนังสือสีเหลืองว่า สวัสดีปีใหม่ ขอจงมีความสุขความเจริญ และมีตัวเลขสีแดง ๒๐๐๗ ๑๒ ๒๑ และเวลา ๑๖:๕๒

          มุมบนซ้ายมีตราสัญลักษณ์ 2 ตรา คือ ตราพระมหาพิชัยมงกุฎ และผอบทอง ใต้ลงมามีข้อความ ส.ค.ส. ๒๕๕๑

          มุม บนด้านขวามีตัวหนังสือสีเหลืองว่า Happy New Year 2008 และตราสัญลักษณ์งานเฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐

          กรอบของ ส.ค.ส.พระราชทานฉบับนี้เป็นภาพหน้าคนเล็กๆ เรียงกันด้านละ ๒ แถว รวม ๓๗๓ หน้า ทุกหน้ามีแต่รอยยิ้ม

          ใน กรอบด้านล่าง มีข้อความ ก.ส. ๙ ปรุง ๒๓ ๒๐ ๑๐ ธ.ค. ๕๐ พิมพ์ที่โรงพิมพ์สุวรรณชาด ท.พรหมบุตร ผู้พิมพ์โฆษณา Printed at the Suvarnnachad publishing, D.Bramaputra, Publisher

          ใน ระหว่างที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานพรปีใหม่ และ ส.ค.ส.พระราชทาน ปี ๒๕๕๑ แก่ปวงชนชาวไทยนั้น คุณทองแดง สุวรรณชาด ได้หมอบเฝ้าอยู่แทบพระบาทตลอดเวลา

ส.ค.ส. พระราชทาน ประจำปี 2549 เป็นพระบรมฉายาลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในฉลองพระองค์สีเขียว มีภาพปักรูปคุณทองแดงที่กระเป๋าด้านซ้าย ทรงฉายคู่กับคุณทองแดง 

 

 

 

 

ส.ค.ส. พระราชทาน ประจำปี 2550 เป็นพระบรมฉายาลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงฉายคู่กับคุณทองแดง และสุนัขทรงเลี้ยง ที่เป็นเหลนของคุณทองแดงอีก 9 สุนัข

 

ส.ค.ส. พระราชทาน ประจำปี 2552 เป็นพระบรมฉายาลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในฉลองพระองค์สากลสีน้ำตาลอ่อน ผ้าปักพระกระเป๋าสีฟ้าสดใส ฉลองพระองค์ชั้นในเป็นเชิ้ตขาว ทรงผูกเนคไทสีฟ้าอ่อน ประทับบนพระเก้าอี้ ทรงฉายกับคุณทองแดง สุวรรณชาด ที่นั่งอยู่ข้างพระเก้าอี้ และคุณนายแดง แม่ของคุณทองแดง ที่หมอบเฝ้าอยู่อีกข้างหนึ่ง

ส.ค.ส. พระราชทาน ประจำปี 2530 พระราชทานเป็นปีแรก ทรงยังใช้คำว่า กส. 9 ปรุ

 

ส.ค.ส. พระราชทาน ประจำปี 2531 ทรงสอนให้ทุกคนคิดและทำในสิ่งที่ดี เพื่อให้บังเกิดแต่สิ่งดี ๆ ในชีวิต

ส.ค.ส. พระราชทาน ประจำปี 2532 ทรงให้นิยาม 4 ประการของความสุข ว่าคือความปรารถนาดีต่อกัน ความอนุเคราะห์ ความยินดี ความสงบ

 

ส.ค.ส. พระราชทาน ประจำปี 2533 ทรงให้มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ มีสติ และปัญญา

 

ส.ค.ส. พระราชทาน ประจำปี 2534 ทรงชี้ให้คนไทยใช้ความเพียร อดทน สติ และปัญญา

 

ส.ค.ส. พระราชทาน ประจำปี 2535 ทรงให้คนไทยมุ่งทำวันนี้ให้ดีที่สุด

 

 

ส.ค.ส. พระราชทาน ประจำปี 2536 ทรงเน้นเรื่องการมองปัญหาให้ชัดเจนและตรงจุด การมีสติ คิดและทำอย่างสร้างสรรค์

 

 

ส.ค.ส. พระราชทาน ประจำปี 2537 ทรงกล่าวถึงโครงการพระราชดำริ เพื่อบรรเทาปัญหาจราจรในกรุงเทพมหานคร

ส.ค.ส. พระราชทาน ประจำปี 2538 ทรงให้ข้อคิดในการร่วมมือกันทำงาน เกี่ยวกับการพูด การฟัง

 

ส.ค.ส. พระราชทาน ประจำปี 2539 ทรงให้คนไทยตั้งมั่นอยู่ในความสมดุลในการแก้ปัญหา และการประสานประโยชน์เพื่อประเทศชาติ

 

ส.ค.ส. พระราชทาน ประจำปี 2540 ทรงกล่าวถึงพลังความคิด และให้คติในการพูด การคิด และการทำ

 

ส.ค.ส. พระราชทาน ประจำปี 2541 ทรงพระราชทานกำลังใจ ในการต่อสู้วิกฤตเศรษฐกิจ

 

ส.ค.ส. พระราชทาน ประจำปี 2542 ทรงให้คนไทยมีความเพียร เช่นเดียวกับพระมหาชนก และทรงเน้นเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงว่าเป็นทางแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ

ส.ค.ส. พระราชทาน ประจำปี 2543 ทรงกล่าวถึงการเข้าสู่สหัสวรรษใหม่ และให้มองโลกในแง่ดี

 

 

ส.ค.ส. พระราชทาน ประจำปี 2544 ทรงให้ทบทวนบทเรียนจากอดีต เพื่อเตรียมตัวฟันฝ่าปัญหาในอนาคต และตั้งมั่นอยู่ในความดี และความสุจริตใจ

 

 

ส.ค.ส. พระราชทาน ประจำปี 2545 ทรงกล่าวถึงปัญหาความขัดแย้ง ขัดแข้งขัดขากัน และให้แก้ปัญหาโดยใช้หัว คือสมอง ควบคุมทุกส่วนของตัว รวมทั้งขา ให้อยู่ในระเบียบ

ส.ค.ส. พระราชทาน ประจำปี 2546 ทรงกล่าวถึงสุนัขทรงเลี้ยง ว่าเป็นเพื่อนที่ดี

 

ส.ค.ส. พระราชทาน ประจำปี 2547 ทรงกล่าวถึงเหตุการณ์รุนแรงที่เกิดขึ้นทั่วโลก ภายหลังเหตุการณ์วินาศกรรม 11 กันยายน พ.ศ. 2544 ทรงให้คนไทยมีความรักสามัคคีกัน

หมายเลขบันทึก: 325432เขียนเมื่อ 6 มกราคม 2010 15:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:11 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท