ภาวะไข้..หลังจากได้ยาเคมีบำบัด เราจะต้องดูแลกันอย่างไร


โทรคุยกับน้องมะปรางค์ .......

ทราบว่าท่านอาจารย์ธวัชชัย...มีไข้หลังจากได้รับยาเคมีบำบัด

จากประสบการณ์ที่เคยดูแลผู้ป่วยมา

 

 

ภาวะไข้ หลังจากได้รับยาเคมีบำบัดเกิดจากอะไรได้บ้าง??

 

อาจกิดจาก Febrile neutopenia  

ซึ่งเป็นภาวะไข้และเม็ดเลือดขาวชนิดนิวโทรฟิลต่ำ หมายถึง การวัดอุณหภูมิของร่างกาย โดยวัดทางปากได้มากกว่า 38.3°C หรือวัดได้ 38°C เป็นเวลานานกว่า 1 ชั่วโมง          

เม็ดเลือดขาวชนิดนิวโทรฟิลต่ำ  ดูได้จากจำนวน absolute neutrophil count (ANC) น้อยกว่า 500/mm หรือน้อยกว่า 1000 /mm3  มีแนวโน้มลดต่ำลงน้อยกว่า 500 /mm3 ใน 48 ชั่วโมง 

ผู้ป่วยที่มีปัญหาภาวะไข้และเม็ดเลือดขาวชนิดนิวโทรฟิลต่ำ จะต้องได้รับการดูแลรักษาอย่างรวดเร็วภายใน 30 นาที ถึง 1 ชั่วโมง 

ผู้ป่วยต้องได้รับการตรวจร่างกายอย่างละเอียด เพื่อหาตำแหน่งของการติดเชื้อ ตำแหน่งที่มีโอกาสติดเชื้อ คือ ช่องปาก ไซนัส หู บริเวณรอบทวารหนัก 

แพทย์จะพิจารณาให้ยาปฏิชีวนะ 3-7 วัน

กรณีผู้ป่วยไม่ตอบสนองต่อยาปฏิชีวนะ แพทย์อาจพิจารณาให้ยาต้านเชื้อราร่วมด้วย    ถ้าการตอบสนองการรักษาดีขึ้น จะให้ยาจนครบ 10-14 วันและ ANC มากกว่า 1000 /mm.3 แล้วให้หยุดยาปฏิชีวนะได้

กรณีผู้ป่วย acute myeloblastic leukemia

การให้ granucyte colony stimulating factor (G-CSF) ในช่วง induction therapy จะช่วยลดระยะเวลานอนในโรงพยาบาลได้  

        

การคำนวณ ANC = จำนวนเม็ดเลือดขาว X (ร้อยละของนิวโทรฟิล + ร้อยละของ bands)/ 100

 

 

การดูแลเพื่อป้องกันการติดเชื้อ

1.  แนะนำการปฏิบัติตัวดังนี้

  • ดูแลความสะอาดปากฟัน ควรทำทุกครั้งหลังจากการรับประทานอาหารและก่อนนอน โดยการแปรงฟัน หรือบ้วนปากด้วยน้ำเกลือ

  • ดูแลความสะอาดของอวัยวะสืบพันธุ์ ควรทำทุกครั้งหลังจากการปัสสาวะหรืออุจจาระด้วยการใช้สบู่ฟอกให้สะอาด และซับให้แห้ง

  • อาบน้ำทำความสะอาดร่างกายวันละ 2 ครั้ง เช้า เย็น

  • ล้างมือ ก่อน และ หลังรับประทานอาหารทุกมื้อ รวมทั้งหลังจากการใช้ห้องน้ำทุกครั้ง

2. ประเมินอาการที่บ่งบอกถึงการติดเชื้อ จากภาวะภูมิต้านทานต่ำ ดังนี้

  • วัดสัญญาณชีพทุก 4 ชั่วโมง

  • สังเกตอาการผิดปกติขณะที่ขับถ่าย เช่น แสบขัด มีอาการเจ็บปวดขณะปัสสาวะ ปัสสาวะขุ่น   มีตะกอน หรือมีเลือดปนไหม

  • สังเกต และบันทึก ลักษณะและปริมาณตลอดจนจำนวนครั้งของการ ขับถ่ายอุจจาระ เช่นอุจจาระเหลว ถ่ายบ่อย หรือมีมูกเลือดปน

  • สังเกต และบันทึก ลักษณะจำนวนครั้งของการหายใจ การไอ  ลักษณะ สี และปริมาณ ของเสมหะ

  • สังเกตความผิดปกติของเยื่อบุต่างๆ เช่น

    • เยื่อบุช่องปากอักเสบ ริมฝีปากมีแผล หรือ เริม

    • ผิวหนังมีรอย อักเสบบวมแดง เช่นบริเวณที่เจาะเลือด หรือฉีดยา

    • ผิวหนังมีตุ่ม ฝีหนอง หรือมีการอักเสบรอบๆทวารหนัก

3.  ดูแลโดยใช้มาตรการ การป้องกันการติดเชื้อ โดย

  • ผู้ดูแลต้องล้างมือก่อนและหลังสัมผัสผู้ป่วยทุกครั้ง

  • สอบถามผลเลือดจากแพทย์ พยาบาลก็ได้นะคะ

  • ในกรณีที่ผู้ป่วยมีค่า WBC < 1500 cell /mm3  ให้สวมผ้าปิดปากปิดจมูกทุกครั้งที่ให้การพยาบาล ถ้าจำเป็นต้องเข้าเยี่ยมจะต้องสวมผ้าปิดปากปิดจมูกทุกครั้ง

  • ควรให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารที่ต้มสุกสะอาด งดรับประทานผัก  ผลไม้สด

.............

มาถึงตรงนี้ ขอให้อาจารย์ธวัชชัย หายไข้เร็วๆนะคะ คนไข้..ส่วนมากจะผ่านภาวะนี้ไปได้ค่ะ

หมายเลขบันทึก: 325240เขียนเมื่อ 5 มกราคม 2010 19:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 17:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)

ขอบคุณสำหรับคำแนะนำค่ะ"พี่แก้ว"

(ถึงเป็นพยาบาลก็ใช่ว่าจะรู้ทุกเรื่อง..จริงไหมคะ)

จะนำไปแนะนำเพื่อนและผู้ป่วยนะคะ

P

ยินดีค่ะ เราเป็นพยาบาลจะต้องมีความรู้สามารถประเมินอาการผู้ป่วย เพื่อจะได้รับการรักษาอย่างถูกวิธีค่ะ

หายไปนาน... แต่คิดถึงเหมือนเดิมนะคะ

 

สวัสดีค่ะ พี่แก้ว

ขอบคุณมากๆ ค่ะ สำหรับคำแนะนำดีๆ หนูจะพริ้นบันทึกนี้เก็บไว้เป็นคู่มือการดูแลผู้ป่วยนะคะ

ล่าสุดวันนี้ อาการไข้ไม่มีแล้วค่ะ :)

แต่ต้องให้ยาแก้อักเสบผ่านทางเส้นเลือดค่ะ :)

P

น้องปลายฟ้า หายเงียบไปนานนะคะ

คิดถึงเช่นกันค่ะ

P

ยินดีค่ะ

พรุ่งนี้น้องๆพยาบาลจะทำ Case conference เกี่ยวกับประสบการณ์ในการดูแลผู้ป่วย AML ถ้ามีประเด็นน่าสนใจ จะเขียนไว้ให้อ่านนะคะ

onconurse ใหม่ขอรายงานตัวเป็นสมาชิกค่ะ

ค่า bands คืออะไรค่ะ ช่วยตอบที

ขอบคุณค่ะ

ขอบคุณค่ะสำหรับ anc

เม็ดเลือดขาวชุด Granulocyes จะอยู่ภายในไขกระดูก

เม็ดเลือดขาวที่ค่อยๆ เจริญเติบโต โดยเซลล์อ่อนสุดคือ Myeloblast ซึ่งจะเจริญไปเป็น Promyelocyte, Myelocyte Metamyelocyte, Band form และ Segmented Form ตามลำดับ ปกติจะอยู่ในไขกระดูก

จะมีแต่รุ่น Band และ Segmented Form ในกระแสโลหิต

ถ้าหากมีเซลล์รุ่นอ่อนกว่า ปรากฏในกระแสโลหิต แสดงถึงภาวะผิดปกติ เช่น มีสิ่งกระตุ้นให้ตัวอ่อนออกมาในกระแสเลือดหรือมีการติดเชื้อ หรือเป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาว

ดังนั้นการพบเซลล์ตัวอ่อน(bands form) ในกระแสเลือด ถือว่าผิดปกติ ต้องมาตรวจด่วนว่า เป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาวหรือไม่ 

ชอบอ่านข้อมูลที่พี่แก้วเขียนค่ะ ได้ความรู้และเข้าใจง่ายดี ตอนนี้ดูแลผู้ป่วยAutologoust stem cell transplantation ค่ะ ยังมีcase ไม่เยอะ ต้องศึกษาเรื่อยๆค่ะ

ขอคำแนะนำหน่อยครับ ใครมีเทคนิคพิเศษ ที่นับค่าBand Neutrophillให้ได้แม่นยำมากยิ่งขึ้นบ้าง นอกจากจะดูรูปร่าง แล้วต้องดูอะไรพิเสษเพิ่มเติม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท