ปัญหาการว่างงานในจังหวัดสงขลา (1)


ข้อมูลพื้นฐานจังหวัดสงขลา

สงขลา เป็นจังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทยมีพื้นที่ติดต่อกับรัฐเคดาห์ (ไทรบุรี) ของมาเลเซียเป็นเมืองท่า และเมืองชายทะเลที่สำคัญแห่งหนึ่งของภาคใต้ มาแต่สมัยโบราณมีโบราณสถานและโบราณวัตถุมากมาย อีกทั้งมีขนบธรรมเนียมประเพณี ภาษาและการละเล่นพื้นเมืองที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมของบรรพบุรุษตกทอดให้ชนรุ่นหลังได้ศึกษามากมาย สงขลามีสถานที่ท่องเที่ยวทั้งที่เป็นชายทะเลน้ำตกทะเลสาบและมีทรัพยากรธรรมชาติอันอุดมสมบูรณ์  

 อำเภอหาดใหญ่ เป็นศูนย์กลางการค้า การคมนาคม เป็นเมืองชุมทางของภาคใต้มีความเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วในทางเศรษฐกิจ ขณะเดียวกันอำเภอเมืองสงขลายังคงมีสภาพบ้านเมืองที่เก่าแก่อันเป็นเอกลักษณ์ สงขลาจึงเป็นสถานที่ซึ่งเหมาะแก่การท่องเที่ยวเพราะมีลักษณะที่แตกต่างกันในตัว 2 ลักษณะคือ สภาพเก่าแก่ของบ้านเมืองสงขลาและความเจริญของเมืองหาดใหญ่ ด้วยระยะทางห่างกันประมาณ 30 กิโลเมตร

จังหวัดสงขลา ครอบคลุมพื้นที่ 7,393 ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วยอำเภอเมืองสงขลา อำเภอระโนด อำเภอกระแสสินธุ์ อำเภอสทิงพระ อำเภอสิงหนคร อำเภอควนเนียง อำเภอรัตภูมิ อำเภอบางกล่ำ อำเภอหาดใหญ่ อำเภอนาหม่อม อำเภอจะนะ อำเภอเทพา อำเภอนาทวี อำเภอสะบ้าย้อย อำเภอสะเดา และอำเภอคลองหอยโข่ง

ยุทธศาสตร์การพัฒนากลุ่มจังหวัดสงขลา

กลุ่มจังหวัดสงขลา  นำศักยภาพของการเป็นแหล่งธุรกิจยางพาราใหญ่ที่สุดของประเทศ โดยมีการส่งออกยางพาราผ่านด่านศุลกากรสะเดา ปาดังเบซาร์ และท่าเรือสงขลา จำนวนสูงถึง 66 % ของการส่งออกยางทั้งประเทศ การเป็นเมืองชายแดนในพื้นที่เขตเศรษฐกิจ 3 ฝ่าย (IMT-GT) การมีพื้นที่เชื่อมโยง 2 ฝั่งทะเลอ่าวไทยและอันดามัน การเป็นแหล่งท่องเที่ยวระดับนานาชาติ และศักยภาพด้านการศึกษาระดับภูมิภาคและนานาชาติมากำหนดเป็น วิสัยทัศน์ของกลุ่มจังหวัดสงขลา ว่า “ศูนย์กลางยางพาราโลก เมืองท่าสองทะเล เมืองธุรกิจการค้าการท่องเที่ยว และการศึกษาของภาคใต้

เป้าประสงค์

    • เพิ่มจํานวนนักวิจัย และบุคคลด้านยางพาราที่มีขีดความสามารถสูง และมีผลงานการวิจัยที่นําเอาประโยชน์สูงสุดจากยางมาใชทั้งในด้านการเพิ่มผลผลิตการสร้างมูลค่าเพิ่มและการลดต้นทุนการผลิตที่ก้าวล้ำนําหน้า
    • มีฐานข้อมูลยางพาราครบถ้วน ถูกต้อง และเชื่อถือได ทั้งข้อมูลของประเทศ – ผู้ผลิตยาง/ข้อมูลของประเทศผู้ใชยาง/ข้อมูล ของประเทศไทย สามารถใหบริการเกษตรกรและผู้สนใจทั่วไปได้ตลอดเวลา
    • มีการพัฒนาการผลิตยางพาราที่ก้าวล้ำนําหน้าทั้งในระดับเกษตรกร     ระดับอุตสาหกรรมไม้ยาง รวมทั้งทําให้เกิดผลผลิตภัณฑยางที่ได มาตรฐานสากล     อย่างหลากหลายจากทุกระดับของสังคม โดยผลลัพธ์การพัฒนาคือการยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรชาวสวนยางพาราให้สูงขึ้นอย่างเด่นชัด
    • ระบบตลาดยางพารามีความเข้มแข็งและเป็นตลาดที่สากลยอมรับ
    • การเพิ่มมูลค่าการค้าระหว่างประเทศ ให้มีการค้ารวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 10 ต่อป จากปัจจุบันมูลค่าการค้าชายแดน 173,106 ล้านบาท เป็นประมาณ 253,500 ล้านบาท ในปี 2550
  • จํานวนและรายไดจากการท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นโดยนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นปีละ ร้อยละ 10 และมีรายได้จากการท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นร้อยละ 10 – 15 ต่อป จากรายไดปัจจุบัน 14,433 ล้านบาทเพิ่มเป็นประมาณ 23,100 ล้านบาท ในป 2550
  • พัฒนาด้านการศึกษาไปสูระดับสากลและหลักสูตรนานาชาติ พร้อมกับส่งเสริมประชาชนให้เข้าสู่การศึกษาต่อเนื่องในรูปแบบกากรศึกษาทางไกลในระบบ ICT
  • พัฒนาศักยภาพในการจัดการแข่งขันกีฬาระดับนานาชาติ เพื่อสร้างความพร้อมในการ       เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาซีเกมสป 2550 ร่วมกับกลุ่มจังหวัดข้างเคียงของวิสัยทัศน์ดังกล่าว ได้แก่ การเพิ่มรายได้จากสินค้ายางพารา ให้เกษตรกรมีผลตอบแทนสูงขึ้น การเพิ่มมูลค่าการค้าระหว่างประเทศ การค้ารวมเพิ่มขึ้น รายได้จากการท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น พัฒนาศักยภาพในการจัดการแข่งขันกีฬาระดับนานาชาติ และพัฒนาด้านการศึกษาไปสู่ระดับสากลและหลักสูตรนานาชาติ
คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 32507เขียนเมื่อ 31 พฤษภาคม 2006 15:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 13:53 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ดีคะ ชอบมากเขียนให้อ่านอีกนะค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท