ตามไปดูกระบวนการการจัดการความรู้เพื่อป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก


                 เป็นโอกาสดีอีกครั้งที่ได้เข้าไปร่วมสังเกตการณ์ การจัดการความรู้เรื่องการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก ของกลุ่มหมออนามัยและชุมชน (อบต.+อสม.)   ที่ดำเนินการทำการจัดการความรู้เมื่อวันที่ 29 30 สิงหาคม 2548 แต่เสียดายที่ไม่สามารถอยู่ร่วมเรียนรู้ได้ทั้งสองวัน    ทำให้เห็นภาพกระบวนการจัดการความรู้ (ในมิติที่เรียกว่าเรียนรู้จากการเห็นของจริงได้ภาพชัดขึ้นจากเดิมที่เคยแต่ได้อ่านโมเดลปลาทู   ปลาตะเพียน )       ที่สคส.ทำหน้าที่เป็นคุณอำนวยในการชวนพูดชวนคุยจากกลุ่มผู้เข้าร่วมประชุมซึ่งถือเป็นชุมชนนักปฏิบัติการ (Cop)ในเรื่องการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกเพื่อสกัดองค์ความรู้ในเรื่องนี้ออกมา  ซึ่งจะต้องมีกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในครั้งต่อ ๆไป  

                การจัดการความรู้เริ่มตั้งแต่คุณอ้อม จากสคส. เปิดฉากด้วยการให้ทุกคนแนะนำตัวบอกสิ่งที่ดีและไม่ดีในตัวเอง ถือเป็นการเปิดใจระหว่างกลุ่มที่จะมาร่วมเรียนรู้ด้วยกันให้สามารถยอมรับข้อดีข้อเสียของกันและกันก่อให้เกิดความคุ้นเคยและไว้วางใจซึ่งกันและกันมากขึ้น     ต่อจากนั้นเป็นการนำเสนอการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของชุมชนที่เป็น Best Practice อันได้แก่ โรงพยาบาลแมคเคนส์ จ.เชียงใหม่และของจังหวัดอุดรธานี    ตกบ่ายแบ่งกลุ่มย่อย 5 กลุ่มเพื่อไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้ความสำเร็จในการทำงานซึ่งกันและกันในกลุ่มย่อยโดยหัวปลา(KV) ในการประชุมครั้งนี้คือ การมีส่วนร่วมของชุมชนในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก  มีคุณอำนวย และคุณลิขิตประจำกลุ่ม ทำหน้าที่ในการดึงความรู้ฝังลึกออกมาจากสมาชิกกลุ่ม  โชคดีได้เข้าร่วมในกลุ่มที่ประกอบด้วยชุมชนซึ่งมีอบต.และอสม.จากหลายจังหวัดเห็นพลังของชุมชนในการร่วมแรงร่วมใจที่ส่งผลต่อความสำเร็จของงาน  ทุกคนมีส่วนร่วมในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เล่าเรื่องความสำเร็จกิจกรรมที่ทำในชุมชน ที่ประทับใจคือการที่ชุมชนใช้ภูมิปัญญาชาวบ้านคือการใช้ปูนกินหมากปั้นเป็นก้อนกลม ๆ ใส่ในตุ่มน้ำแทนการใช้ทรายอะเบต (กรณีทรายอะเบตไม่พอ)เพื่อให้เกิดเป็นฝ้าที่ผิวน้ำและทำให้น้ำไม่เหมาะในการวางไข่ของยุงลาย    และในบางชุมชนก็ใช้ผ้าขาวบางห่อทรายอะเบตก่อนที่จะใส่ลงในตุ่มน้ำเพื่อให้ทรายสามารถอยู่ได้นานขึ้น     อ๋อ นี่เองที่คือส่วนของตัวปลา ( KS)  ที่ทุกคนร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ดึงความรู้ฝังลึกของแต่ละคนออกมาให้เป็นความรู้ที่เปิดเผย   โดยมีคุณลิขิตทำหน้าที่บันทึกเพื่อเป็นคลังความรู้ (KA) ต่อไป    ซึ่งแต่ละกลุ่มย่อยก็เปรียบเสมือนปลาทูแต่ละตัว   ซึ่งปลาทูแต่ละตัวก็ต้องไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันในกลุ่มใหญ่อีกครั้งไปเชื่อมต่อกันเป็นปลาตะเพียน  เสียดายที่ไม่ได้เห็นการใช้เครื่องมือตารางอิสรภาพเพราะติดภารกิจไม่ได้ดูหนังจนจบม้วน     แต่คิดว่าจะพยายามหาโอกาสร่วมเรียนรู้การจัดการคาวมรู้อีกในครั้งต่อๆ ไป

                กลับมากรุงเทพลองนั่งทบทวนทำ ARR ตัวเองสิ่งหนึ่งที่พบและลองสรุปแบบKM  ก็พบว่าการอ่านและพยายามทำความเข้าใจเรื่องการจัดการความรู้ที่ได้มาก็ถือเป็น Tacit Knowledge ที่เก็บไว้ในตัว    การได้ไปเห็นของจริงที่เป็น Explicit  Knowledge  ร่วมแลกเปลี่ยนกับผู้อื่นก็ทำให้ตัวเราเกิดการผนึกความรู้มากยิ่งขึ้น (combination) ต่อยอดความรู้เดิม  เลยกลับมาเขียนบลอกเพื่อให้เป็นการ Externalization

                ถ้าใครมีข้อแนะนำและร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วย  จะยินดีมากค่ะ
คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 3246เขียนเมื่อ 30 สิงหาคม 2005 22:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 มิถุนายน 2012 16:30 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท