หนังสือพิมพ์ท้องถิ่น


วันที่ 31 ธันวาคม 2552  ช่วงเย็นก่อนหน้าขับขี่จักรยานยนต์ไปหาหนังสิอพิมพ์ท้องถิ่น  ปกติทุก 15 วัน จังหวัดน่านจะมีหนังสืิอพิมพ์ท้องถิ่นออกจำหน่าย  บางคนเรียกว่ารายงวดหวย  ไปซื้อหามาวันนี้ได้ 4 ฉบับ คือ ถิ่นน่าน , นัันทบุรีนิวส์ , ข่าวเมืองน่าน , นครน่าน ผู้ขายบอกว่า เหนือน่าน ไม่ได้เอามาส่งในงวดนี้ ปกติจะหาหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นทุกฉบับมาอ่านสะสมความรู้

ความจริงยังมีหนังสือพิมพ์นอกจากที่กล่าวอยู่อีก คือ น่านนิวส์ , ก้องสยาม  และ ประชาชาติ  สำหรับฉบับหลังสุดมาแปลกกว่าในลักษณะถ่ายเอกสาร นาน ๆ ที่จะได้เห็นโดยเผยโฉมในโอกาสสำคัญ ๆ  และเนื้อหาจะมีน้อยกว่ากรอบที่ระบุถวายพระพร  บางคนส่ายหน้า บางคนพูดว่า เป็นหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นเพื่อช่วยด้านความเป็นอยู่รอด.....

พูดถึงหนัีงสือพิมพ์ท้องถิ่น  มีพัฒนาการขึ้นกว่าที่ผ่านมา นับจาก เสียงชาวน่าน ที่เก่าแก่แต่ระยะหลังผันไปทำหนังสือในอินเทอร์เน็ต หรือ แดนไทย ฉบับนี้นับแต่คุณไกรเลิศ เหลืองเจริญรัศมี ถึงแก่กรรมออกจำหน่ายอยู่ระยะหนึ่งก็หยุดไป  หนังสือพิมพ์ท้องถิ่น จ.น่านและจังหวัดอื่น ๆ  ผมเชื่อว่ามีพัฒนาการที่น่าสนใจ และน่าที่หลายพวกเราจะได้ติดตามเรียนรู้เสนอแนะส่งเสริมสร้างสรรค์ ถือว่าหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น เป็นแหล่งเรียนรู้หรือแหล่งข้อมูลที่สะท้อนความคิด ข้อมูลท้องถิ่นได้น่าสนใจโดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อมูลในจังหวัดจะมีความเข้มข้นกว่าหนังสือพิมพ์ส่วนกลาง 

มีเว็ปไซด์น่าสนใจ ตามลิ๊งค์  http://www.tja.or.th/  และที่นี่อีกครับ  http://www.presscouncil.or.th/th2/content/view/266/16/

หมายเลขบันทึก: 324307เขียนเมื่อ 31 ธันวาคม 2009 18:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 12:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

เรียนคุณธนู

          ตอนผมอยู่ที่จังหวัดตราด  ผมเขียนบทความลงในหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นที่ชื่อว่า  ประชามติ  ของคุณจักรกฤษ  แววคล้ายหงส์  ผมเพิ่งรู้ว่าหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นมีอิทธิพลมาก  เขียนอยู่ 2 ปี ฉบับใหนไปราชการส่งต้นฉบับไม่ทัน ชาวบ้านจะโทรมาถามที่ศูนย์ กศน. ว่าผมเป็นอะไรหรือเปล่า  เห็นด้วยอย่างยิ่งครับ ที่ว่าหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น สามารถเป็นแหล่งเรียนรู้ได้ เป็นอย่างดี

ท่าน ผอ.สมนึก ครับ

               สวัสดีปีเก่าก่อนอีกไม่กี่ชั่วโมงจะปีใหม่ เปลี่ยน พ.ศ.ใหม่ ผมเองอาจโชคดีที่ได้รับความกรุณาและได้รับโอกาสจากพี่ ๆ นักเขียน นักคิด นักหนังสือพิมพ์อาวุโสท้องถิ่น และส่วนกลาง เช่นที่น่านจาก คุณศักดา ปรางค์วัฒนากุล คุณน่านนที ธีระไพรพฤกษ์ ฯลฯ และที่เป็นส่วนกลาง พอจะรู้จักกับคุณไพฑูรย์ สุนทร อดีต บก.นสพ.ไทยรัฐ ทำให้ได้เรียนรู้ สะสมประสบการณ์มาตั้งแต่ พ.ศ.2529  เขียนบทความโดยใช้นามปากกาส่งให้ นสพ.ท้องถิ่นและ่ส่วนกลาง เป็นวิทยาทาน  เพราะเห็นคุณค่าหนังสือพิมพ์และการสื่อสาร การให้ความรู้และเข้าใจพี่น้องสื่อมวลชนยังจำเป็น ได้พูดคุยกับผู้อาวุโสทางกฎหมาย และผู้่ที่อุดมการณ์ใกล้เคียงจะได้ประสานขอความรู้จากผู้รู้จาก สถาบันอิศรา มูลนิธิพัฒนาสื่อมวลชนแห่งประเทศไทย มาให้ความรู้แก่นักข่าว นักหนังสือพิมพ์จังหวัดน่านในปี 2553 ผมเชื่อว่า หนังสือพิมพ์ท้องถิ่นกับชาว กศน.น่าน จะได้มีการประสานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย การทำงานกับคนที่หลากหลายไม่ง่าย ต้องอดทน ต้องใช้ความพยายามต่อเนื่อง ( เคี่ยวเข็ญ ) เสียสละและให้เกียรติเพื่อนผองน้องพี่สื่อมวลชนและผู้สนใจ คนไม่เห็นฟ้าดินเห็น ช่วยกันคนละไม้คนละมือครับ

"ถือว่าหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น เป็นแหล่งเรียนรู้หรือแหล่งข้อมูลที่สะท้อนความคิด ข้อมูลท้องถิ่นได้น่าสนใจโดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อมูลในจังหวัดจะมีความเข้มข้นกว่าหนังสือพิมพ์ส่วนกลาง"

ผมว่าไม่เสมอไปหรอกครับ บางทีหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นก็เว่อร์และเหมือนกับว่าลอกข่าวเหมือนๆกันหมด ไม่เป็นตัวของตัวเอง

คุณคนน่านครับ

  • ตรงประเด็น ข้อที่กล่าวว่า ....ลอกข่าวเหมือนๆกันหมด....
  • ข้อที่กล่าวไว้หลายท่านห่วงใย นอกจากจะเห็นข่าวเหมือน ๆ แล้ว
  • ยังมีครับที่ได้นำเสนอบทความเหมือนกันใน นสพ.ต่างฉบับ 
  • เป็นการบ้านที่จะมีการพูดจา สัมมนา ประชุมระดมความคิดเห็นกันต่อไป

 

ขอคัดถ้อยคำสำคัญจากที่ พลตรี หลวงวิจิตรวาทการ ได้แสดงในเครื่องกระจายเสียงวิทยุโทรศัพท์ ที่สถานีศาลาแดง วันเสาร์ ที่ ๑๖ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๗๓ มาแบ่งปัน

"...หนังสือพิมพ์ คืออะไร ข้าพเจ้าไม่ต้องอธิบาย เพราะเรารู้จักกันดีอยู่แล้ว ที่จริงเรารู้จักดีเกินไป เราพบเห็นหนังสือพิมพ์มากเกินไป เผอิญมีสุภาษิตของไทยเราอยู่ว่า "ของดีไม่มีมาก"  เราเห็นหนังสือพิมพ์มีมาก เราก็เลยไม่นึกว่าเป็นของดี  แท้จริงหนังสือพิมพืเป็นสิ่งที่มีค่ามากที่สุด...."

"...คนที่มีหนังสือพิมพ์อ่าน  ก็เหมือนเจ้าโลก  พอตื่นเข้าก็ได้รับรายงานเหตุการณ์ทั่วโลก..."

"....นักปราชญ์ฝรั่งเศส ชื่อ ลาบุเลย์ กล่าวว่า " ถ้าท่านประสงค์จะทราบว่าประเทศไหนสำคัญเพียงไร  ก็จงนับจำนวนหนังสือพิมพ์ของประเทศนั้นดูเถิด"

 

แบ่งปันกันต่อจากกระดานก่อนครับ

"....หนังสือพิมพ์เมื่อได้กำเนินขึ้นแล้ว ก็เป็นสิ่งที่มีอำนาจมากที่สุด  เพราะอำนาจที่จะชักจูงหัวใจคนให้น้อมเชื่อไปตามข้อความที่ตนเขียน แต่ทั้งนี้ข้าพเจ้าหมายความถึงหนังสือพิมพ์ที่ดี  หนังสือพิมพ์ที่มีธรรมะ แต่ถ้าเป็นหนังสือพิมพ์เหลวไหล  ก็ไม่สามารถจะได้รับความเชื่อถือของประชาชนอยู่เอง

ส่วนหนึ่งพิมพ์ที่ดีมีหลักฐาน มีความยุติธรรม พูดความจริง แสดงความคิดเห็นอย่างเที่ยงตรง ก็ย่อมเป็นหนังสือที่มีอำนาจมากที่สุด....."

สาระความรู้ที่พลตรี หลวงวิจิตรวาทการ ได้กล่าวไว้เมื่อ พ.ศ.๒๔๗๓ ยังคงคมมีคุณค่า ควรที่ผู้เกี่ยวข้องจะได้ตระหนัก 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท