จาก ๙ ข้อคิดไปค่ายอาสาฯ สู่การทดลอง "เดินเท้าเข้าหมู่บ้าน"


ไม่เจาะจงการเรียนรู้ใดๆ อย่างชัดแจ้ง ปล่อยเลยให้นิสิตเลือกที่จะเรียนรู้ตามความสมัครใจ หากแต่ย้ำว่าให้ลองประมวลแนวคิดทั้ง ๙ ข้อไปลองใช้เป็นเครื่องมือลงสู่ชุมชนดูบ้างเท่านั้นเอง

ภายหลังการร่วมเสวนาในประเด็น ๙ ข้อคิด
ในการไปค่ายอาสาพัฒนายุติลง
  ตกภาคกลางคืน 
ก็เป็นกิจกรรมนันทนาการทั่วๆ ไป เป็นการเปิดเวที
ให้นิสิตได้ร่วมคิดร่วมสร้างกิจกรรม  โดยนำเรื่องราวประสบการณ์ค่ายของตัวเองมาผูกโยงเป็นเรื่องราวและแสดงให้เพื่อนๆ ได้ดูได้ชมกันอย่างแสนสนุก 
ซึ่งสุดท้ายก็เป็นกิจกรรมหลอมรวมใจที่ผมเป็นผู้นำกระบวนการ  เสร็จแล้วก็ส่งผู้นำค่ายทุกคนเข้านอนอย่างเป็นกันเอง

 

ครั้นรุ่งเช้า  เรากำหนดให้ผู้นำค่ายทั้งหลายตื่นตั้งแต่เช้ารุ่ง  จัดแจงออกเป็นกลุ่มๆ  เพื่อเข้าสู่กระบวนการเรียนรู้ชุมชนในหัวข้อ “เดินเท้าเข้าหมู่บ้าน” 

 


เดินเท้าเข้าหมู่บ้าน...

 

การเดินเท้าเข้าหมู่บ้านถือเป็นกระบวนการหนึ่งที่ผมและทีมงานผูกโยงไว้เป็นการเรียนรู้แบบง่ายๆ  โดยหวังว่านิสิตจะได้นำความรู้ที่ได้จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเวทีครั้งนี้  รวมถึงความรู้ หรือแง่คิดที่เกิดจากการสังเคราะห์ในประเด็น ๙ ข้อคิดในการไปค่ายอาสาพัฒนาไปลองประยุกต์ใช้ดูสักยกสองยก

 

แน่นอนครับ  มันเหมือนเรียนภาคทฤษฎีเสร็จก็นำไปสู่การปฏิบัติจริง  หากแต่คราวนี้เป็นการทดลองแบบสบายๆ เน้นให้นิสิตชาวค่ายได้ฝึกทักษะเบื้องต้นไว้ก่อน  พอไปค่ายจริงๆ จะได้ไม่เขินอายที่จะใช้กระบวนยุทธอย่างจริงๆ จัง  โดยก่อนหน้านี้ คุณสมปองและทีมงานก็ประสานชุมชนไว้เป็นที่เรียบร้อยแล้วว่า  จะมีนิสิต “เดินเท้าเข้าหมู่บ้าน” 

 


การต้มข้าวโพดในรุ่งเช้าของชาวบ้าน

ทั้งผมและทีมงานไม่เจาะจงการเรียนรู้ใดๆ อย่างชัดแจ้ง  ปล่อยเลยให้นิสิตเลือกที่จะเรียนรู้ตามความสมัครใจ  หากแต่ย้ำว่าให้ลองประมวลแนวคิดทั้ง ๙ ข้อไปลองใช้เป็นเครื่องมือลงสู่ชุมชนดูบ้างเท่านั้นเอง  อันได้แก่

  • รู้ตัวตนโครงการ 
  • ทุกหมู่บ้านมีเรื่องเล่า 
  • เราไม่ใช่นัก “เสก-สร้าง” 
  • ทุกเส้นทางมีปัญหา 
  • คลังปัญญาชุมชน   
  • เราคือคนต้นแบบ 
  • อย่าแยกส่วนการเรียนรู้ 
  • หันกลับไปดู “บ้านเกิด” 
  • ก่อเกิดองค์ความรู้
     

นอกจากเรื่องดังกล่าวแล้ว  สิ่งหนึ่งที่ผมซ่อนงำไว้ก็คือ  ผมปรารถนาให้นิสิตได้ตื่นเช้าๆ ดูพระอาทิตย์ร่วมกันบ้าง  รวมถึงการปรารถนาให้พวกเขาได้เห็นชีวิตแรกรุ่งของชาวบ้านบ้าง ว่าเป็นเช่นใด  มันแตกต่างจากชีวิตนิสิตนักศึกษาในมหาวิทยาลัยสักแค่ไหน  (เที่ยวดึก-นอนดึก-ตื่นสาย)  หรือแม้แต่บางที  มันอาจจะช่วยให้เขาได้หวนคิดถึงคนที่บ้านของเขาบ้างก็เป็นได้-

 


 

ผมไม่ได้เข้าร่วมเกาะติดสถานการณ์ของการ “เดินเท้าเข้าหมู่บ้าน” ของนิสิต  เพราะต้องการให้ทุกคนมีเสรีที่จะเที่ยวท่อง-เรียนรู้ หรือแม้แต่ทดลองการปฏิบัติจริงด้วยตัวเองโดยไม่ต้องรู้สึกว่ากำลังถูกประเมินในระยะเผาขน  หากแต่ไม่วายส่งเจ้าหน้าที่ผู้ชำนาญการลัดเลาะไปแบบห่างๆ  เพื่อสังเกตการณ์และเก็บข้อมูลชุมชนมาแลกเปลี่ยนกับนิสิต

 

ครั้งนี้, นิสิตใช้เวลาอยู่ในหมู่บ้านค่อนข้างนาน  พอกลับเข้ามาในที่พักก็เห็นได้ชัดว่า..แต่ละคน
สดชื่นสดใสและมีชีวิตชีวาเป็นอย่างมาก  หลายคนมีเรื่องมากมายมาเล่าให้เพื่อนต่างกลุ่มฟังอย่างออกรสออกชาติ  เสร็จแล้วก็นั่งจับเข่าเปิดใจถอดบทเรียนการ “เดินเท้าเข้าหมู่บ้าน” 
เพื่อเตรียมนำเสนอ...

 

 

และแล้วก็มาถึงห้วงเวลาอันสำคัญ  แต่ละกลุ่มได้ส่งตัวแทนออกมานำเสนอผลพวงการเรียนรู้จากการเดินเท้าเข้าหมู่บ้าน  ซึ่งเป็นที่น่าทึ่งไม่น้อย  เพราะเรื่องที่บอกเล่าออกมานั้น  แทบไม่น่าเชื่อว่าในเวลาอันจำกัด พวกเขาจะเรียนรู้และจัดเก็บข้อมูลได้มากมายถึงเพียงนี้

  • บางกลุ่มเล่าถึงที่มาที่ไปของคำว่า “กุดร่อง”  ว่าเป็นร่องน้ำลึกที่พ่อค้าชาวจีนเคยล่องเรือมาค้าขาย
  • บางกลุ่มเล่าถึงวิถีชีวิตการเลี้ยงชีพในรุ่งเช้าของชาวบ้าน ทั้งการจับปลา ทำไร่ข้าวโพด
  • บางกลุ่มเล่าถึงเรื่องราวสำนักสงฆ์เล็กๆ ที่หยัดยืนอยู่อย่างสมถะ
  • บางกลุ่มเล่าถึงคลังความรู้ที่ปรากฏอยู่ในชุมชน และวิถีความเชื่อ
  • บางกลุ่มเล่าถึงสถานะของผู้คนที่อยู่ในหมู่บ้านว่ามีการศึกษาในระดับใด  ประกอบอาชีพอะไร  อพยพมาจากที่ใด  ระบบการคมนาคม  และกลุ่มคน หรือตระกูลที่บุกเบิกหมู่บ้าน
  • บางกลุ่มบอกเล่าถึงระบบเครือญาติในหมู่บ้านและปัญหาสุขภาพของชาวบ้าน
  • ฯลฯ...

 

 

ทั้งหมดนั้น  คือผลพวงของการเดินเท้าเข้าหมู่บ้าน เสมือนการเตรียมพร้อมในการลงสู่หมู่บ้านจริงๆ ในค่ายปลายฝนต้นหนาวที่กำลังจะมาเยือนในเวลาอันใกล้

 

สำหรับผมแล้ว  ผมสุขใจเป็นอย่างมากกับการเห็นผู้นำค่ายสามารถนำเอาแนวคิดที่เราต่างได้ร่วมขบคิดไปประยุกต์เป็นเครื่องมือในการลงพื้นที่ได้อย่างเป็นธรรมชาติ  ผ่านการพบปะพุดคุย มากกว่าการทำตัวเป็นผู้ชำนาญการจัดเก็บข้อมูลแบบไร้กระบวนท่า –แข็ง และไร้ชีวิตชีวา

 

 

สุดท้ายนั้น  ผมได้ชวนให้แต่ละคนสรุปช่วยกันว่าแต่ละกลุ่มได้ใช้ข้อคิดจาก ๙ ข้อใดไปใช้กับกิจกรรม “เดินเท้าเข้าหมู่บ้าน”  บ้าง  รวมถึงการตั้งคำถามว่า ถึงตรงนี้แล้ว  แต่ละคนพอจะเห็นลู่ทางในการนำกระบวนการเช่นนี้ไปบูรณาการในค่ายของตัวเองบ้างหรือไม่ ...

 

แน่นอนครับ  ผมเชื่อเหลือเกินว่า  เมื่อค่ายปลายฝนต้นหนาวสิ้นสุดลง  ผมคงได้รับรู้ถึงเรื่องราวมากมายของคนค่ายที่ดูเป็นรูปธรรมมากกว่าที่ผ่านมา  และที่แน่ๆ  ผมคงได้รับรู้ความเป็น “ชุมชน”  จากวิถีแห่งการ “เดินเท้าเข้าหมู่บ้าน”  เฉกเช่นครั้งนี้อย่างไม่ต้องสงสัย -

 

...


๑๑ ตุลาคม ๕๒
กุดร่อง,มหาสารคาม

 

 

หมายเลขบันทึก: 323367เขียนเมื่อ 27 ธันวาคม 2009 09:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:07 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (13)

สวัสดีครับอาจารย์

เป็นกิจกรรมที่น่าสนใจมาก ๆ เลยครับ

สวัสดีปีใหม่ครับ

พระมหาแล ขำสุข(อาสโย)

เรียนรู้ความจริง ของจริง ที่ดำรงอยู่จริง จากคนที่รู้จริง(ชาวบ้าน)

                    

                           มีกิจกรรมอย่างนี้มากๆ  เด็กๆจะได้มีสุขภาพจิตแข็งแรง

                     ห่างจากไฟ  แสง  สี  บ้าง  แวะมาสวัสดีปีใหม่ด้วยค่ะ 

                    ขอให้อาจารย์และครอบครัวมีความสุขนะคะ

สวัสดีค่ะ

แวะเข้ามาทักทายค่ะ

อ่านแล้วคิดถึงสมัยเป็นนักศึกษา

เคยทำค่ายอาสาฯ เป็นงานหลักค่ะ

สวัสดีปีใหม่นะคะ

ขอให้มีความสุขในการทำงานค่ะ

ฝากความระลึกถึง "น้องดิน" เณรน้อยในหนังสือด้วยค่ะ

สวัสดีค่ะ

แวะมาอ่านเรื่องราวและกิจกรรมดีๆค่ะ

และมาสวัสดีปีใหม่ด้วยค่ะ

 

                   คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...

สวัสดีครับ คุณหนานเกียรติ

ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมยาม ถามข่าวและให้กำลังใจ นะครับ..
นี่เป็นเสมือนการฝึกปฏิบัติหลังจากเรียนทฤษฎีในแบบการร่วมเสวนาในเวทีเมื่อวานนั่นเอง

อย่างน้อย ก็ชวนให้เด็กๆ ตื่นเช้าๆ สัมผัสความสดใสของเช้าชื่นแห่งหมู่บ้าน ..

ขอบคุณครับ

นมัสการ พระอาจารย์มหาแล ขำสุข(อาสโย)

บทเรียนนี้ ชี้และย้ำให้เห็นการเรียนรู้จริงจากชุมชน "บวร" บ้าน-วัด-โรงเรียน ไปในตัว ครับ

สวัสดีครับ พี่วิไล บุรีรัตน์

กิจกรรมนี้  ฝึกทักษะการเรียนรู้ชุมชน เก็บข้อมูลชุมชนและโยงไปเรื่องจิตอาสาไปในตัว...

ขอบคุณครับ

สวัสดีครับ krupadee

สวัสดีปีใหม่ครับ-ขอให้เต็มไปด้วยความดีงาม เสมอไป นะครับ

เป็นกำลังใจให้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท