การบริหารสถาบันการศึกษาเพื่อความเป็นเลิศ


องค์การที่มีขีดสมรรถนะสูง(HPO) องค์การแห่งการเรียนรู้(LO) องค์การแห่งนวัตกรรม(IO)

1.  การบริหารสถานศึกษาเพื่อความเป็นเลิศ  มีหลักการ แนวคิด  ทฤษฎี  อะไรบ้าง  มีรายละเอียดเป็นอย่างไร 

                หลักการและแนวคิดในการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศ  ต้องมองที่ระบบ  การดำเนินการใด ๆ  ให้บรรลุเป้าหมายต้องมองที่  “คน”  เพราะคนสามารถรับรู้  เรียนรู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้  ทฤษฎีที่นำมาใช้เพื่อการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศใช้ทฤษฎีองค์การ  ดังนี้

                องค์การที่ขีดสมรรถนะสูง  (Hight  Performarce  Organization : HPO)

                                -  เน้นผู้รับบริการ  (Customer  Driven)

                                -  บรรลุภารกิจ  (Mission  Orienteul)

                                -  เรียนรู้ทันโลก  ปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง  (Learning  Organization)

                                -  ใช้เทคโนโลยีให้เป็นประโยชน์  (Technology  based)

                                -  มีส่วนร่วม  (Empowerment  Participation)

                                -  เป็นเครือข่าย  (Networking  Organization)

                                -  รับผิดชอบต่อผลงาน  (Account  Organization)

                องค์การแห่งการเรียนรู้  (Learning  Organization)

                เป็นการพัฒนาองค์การโดยเน้นการพัฒนาการการเรียนรู้ของผู้นำในองค์การและการเรียนรู้ร่วมกันของตนในองค์การ  (Team  Learning)  เพื่อให้เกิดการปรับเปลี่ยน  องค์ความรู้  ประสบการณ์  ทักษะร่วมกัน  นอกจากนั้นจะทำให้องค์การและบุคลากรมีกระบวนการการทำงานที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลโดยมีการเชื่อมโยงรูปแบบการทำงานเป็นทีม  (Team  working)  สร้างกระบวนการให้เกิดความเข้าใจยอมรับความเปลี่ยนแปลง  เปิดโอกาสให้ทีมงานและมีการให้อำนาจในการตัดสินใจ  เพื่อเป็นการส่งเสริมให้เกิดบรรยากาศ ของการคิดริเริ่ม  (Initratire)  และการสร้างนวัตกรรม  (Innovation)

                องค์การแห่งนวัตกรรม  (Innovative  Organization)   

                การบริหารจัดองค์การแนวใหม่ในการปรับเปลี่ยนคุณลักษณะหรือพฤติกรรมองค์การ  เพื่อตอบสนองต่อสิ่งเร้าของบริบทโลกาภิวัฒน์ที่มีความรู้และนวัตกรรมเป็นปัจจัยหลักในการเพิ่มคุณค่าและพัฒนาผ่านการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกันของบุคลากรในองค์การและขยายไปสู่องค์การภาพรวม

 

                                                                             องค์การแห่งการเรียนรู้

                                                                     (Innovative  Organization)

                                                                               

                                                                             องค์การแห่งการเรียนรู้

                                                                       (Learning  Organization)

 

 

                                                                                การจัดการความรู้

                                                                     (Knowledge  management)

 

 

                                                                                    ความรู้

                                                                              (Knowledge)

 

                แนวคิดเกี่ยวกับความรู้  การจัดการความรู้  และการก้าวสู่องค์การแห่งการเรียนรู้

 

 

                                                                                   การเรียนรู้

 

                                                                               การทำงานเป็นทีม

 

                                                                             การแลกเปลี่ยนความรู้

 

 านคิดสำคัญที่เป็นพื้นฐานในการพัฒนาไปสู่องค์การแห่งนวัตกรรม

 

2.  ทฤษฎีองค์การ  แต่ละยุคมีความแตกต่างกันอย่างไรบ้าง

 

ทฤษฎีสมัยดั้งเดิม

ทฤษฎีองค์การแบบดั้งเดิมใหม่

ทฤษฎีองค์การกลุ่มสมัยใหม่

ทฤษฎีองค์การบูรณาการอนาคต

เป็นระบบปิด  มีรูปแบบคล้ายเครื่องจักรกลให้ความสำคัญและศึกษาองค์การที่เป็นทางการเท่านั้น  มุ่งค้นหาวิธีการบริหารองค์การว่าทำอย่างไรองค์การจะมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด  มองพนักงานเหมือนเครื่องจักรและเชื่อว่าปัจจัยที่จูงคนได้คือ  ปัจจัยทางเศรษฐทรัพย์หรือเงินเพียงอย่างเดียวยึดกฎเกณฑ์เป็นหลัก  มีการจัดองค์การเป็นแบบระบบราชการ  การทำงานทุกอย่างในองค์การจะมีวิธีที่ดีที่สุดเพียงวิธีเดียว

มองว่าเป็นระบบเปิดมีชีวิตมากกว่ากลุ่มแรก  ให้ความสำคัญกับมนุษย์มากยิ่งขึ้น  มีฐานความคิดแบบดั้งเดิม  แต่มีสิ่งใหม่ ๆ  เพิ่มเข้ามาคือให้ความสำคัญกับองค์การที่ไม่เป็นทางการเพิ่มขึ้นเชื่อว่าในการจูงใจคนให้ทำงานไม่ใช่เรื่องเงินเพียงอย่างเดียว  แต่มีเรื่องจิตวิทยาและสังคมวิทยาด้วย  เช่น  ทฤษฎีของ  Maslow  ทฤษฎีของ  Herzbery  ทฤษฎี x,y ของ McGregor

เป็นทฤษฎีที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อลดข้อขัดแย้งและปัญหาที่เกิดขึ้นจากโครงสร้างและกระบวนการทำงานภายในองค์การของ 2 กลุ่ม แรก  มุ่งเน้นการตัดสินใจที่เป็นเหตุเป็นผลภายใต้ข้อจำกัดของการบริหารในด้านต่าง ๆ  ระบบนี้เป็นระบบเปิดมีแนวคิดและเทคนิคการบริหารที่ทันสมัยมาใช้เพื่อให้องค์การมีประสิทธิภาพสูงสุด  เช่น  ทฤษฎี Z  การบริหารคุณภาพ  ทั่วทั้งองค์การ (TQM)  ทฤษฎีใหม่จะมีทฤษฎีย่อยอยู่ 2 ทฤษฎี  คือ  ทฤษฎีระบบและทฤษฎีการบริหารตามสถานการณ์

ในอนาคตจะมีการบูรณาการแนวความคิดต่าง ๆ  เข้าด้วยกันเป็นระบบเปิดที่เน้นเรื่องคนและและการจัดการความรู้ (knowledge Management)  การมีส่วนของทุกภาคส่วน  และเป็นการสร้างองค์การไปสู่องค์การที่ขีดสมรรถนะสูง (Hight Performance  Organization : HPO)

 

3.  การบริหารงานที่มุ่งผลสัมฤทธิ์คืออะไร  มีความสำคัญอย่างไร

การบริหารงานที่มุ่งผลสัมฤทธิ์  (Result  Based  Management : RBM)

คือ  วิธีการบริหารจัดการที่เป็นระบบที่มุ่งเน้นที่ผลสัมฤทธิ์หรือผลการปฏิบัติงานเป็นหลัก  โดยมีการวัดผลการปฏิบัติงานที่ชัดเจนเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

ความสำคัญของ  RBM

            การบริหารงานที่มุ่งผลสัมฤทธิ์  ส่งผลให้การทำงานแล้วเสร็จตามกำหนดเกิดผลดีต่อองค์การ  มีการใช้ทรัพยากรขององค์การอย่างคุ้มค่า  เสมอหนึ่งการใช้ทรัพยากรของตนเอง  มีการเน้นการทำงานโดยยึดผลลัพธ์เป็นหลัก  มีการวัดผลลัพธ์และค่าใช้จ่าย  ดังนั้นทุกองค์การต้องดำเนินตามแนวของการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์กล่าวคือ  ทุกองค์การต้องกำหนดวัตถุประสงค์  เป้าหมายการดำเนินการของงานอย่างเป็นรูปธรรม  และวิธีการวัดผลสัมฤทธิ์  ตลอดจนข้อตกลงผลงาน           ไว้ล่วงหน้า  เพื่อใช้ประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลขององค์การ  ในที่นี่ขอเสนอการบริหารงานที่มุ่งผลสัมฤทธิ์ (RBM)  ในรูปแบบของการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการ  (PMQA)  และการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการของโรงเรียนชุมชนบ้านพุดหง  ซึ่งสามารถนำไปสู่ความสำเร็จในการเป็นโรงเรียนรับรางวัลพระราชทาน 

4.  สถานศึกษานิติบุคล  สอดคล้องกับหลักการ  แนวคิด  ทฤษฎีอะไรบ้าง  ทำไมจึงคิดเช่นนั้น

สถานศึกษานิติบุคคล

                ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ  มีเจตนารมณ์กำหนดให้  สถานศึกษาเป็นนิติบุคคลก็เพื่อให้สถานศึกษามีความเป็นอิสระคล่องตัว  สามารถบริหารและจัดการศึกษาในสถานศึกษาไดสะดวก  รวดเร็วมีประสิทธิภาพ  ตามหลักการกระจายอำนาจและการบริหารที่ใช้โรงเรียนเป็นฐาน  (School  Based  Management : SBM)  โดยมุ่งให้การจัดการศึกษาเบ็ดเสร็จที่สถานศึกษา

                ความสอดคล้องกับหลักการ  แนวคิด  ทฤษฎี

                จากหลักการของสถานศึกษานิติบุคคลมีความสอดคล้องกับทฤษฎีองค์การโดยเฉพาะ  องค์การที่มีขีดสมรรถนะ  (Hight  Performance  Organization : HPO)  ที่คิดเช่นนั้นเพราะตรงกับความหมายของ  HPO  คือ  สถานศึกษาต้องเป็นองค์การที่เก่ง  มีแผนรองรับกับสภาวะต่าง ๆ  อย่างชัดเจนมีการวิเคราะห์สถานการณ์ที่สามารถกระทบต่อการทำงานจากรอบด้านทุกมุมมองทำให้สามารถปฏิบัติภารกิจบรรลุตามวัตถุประสงค์ได้อย่างมีประสิทธิภาพตรงตามเวลา  และคุณภาพของผลงานดีเยี่ยมเป็นที่ยอมรับ  ดังนั้น   สถานศึกษานิติบุคคลตามเจตนารมณ์ของกระทรวงศึกษาธิการจึงจะเป็น   “องค์การที่มีขีดสมรรถนะ  (HPO)”  และการก้าวไปสู่  HPO  จึงต้องมีการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ  (PMQA)  ซึ่งโรงเรียนชุมชนบ้านพุดหงกำลังดำเนินการอยู่  (ดังเอกสารที่แนบมาแล้ว)  

5.  คุณลักษณะความเป็นเลิศทางการบริหารมีองค์ประกอบอะไรบ้าง  มีรายละเอียดเป็นอย่างไร

            ความเป็นเลิศทางการบริหารในทัศนะของผู้เขียน  คือความสามารถนำพาองค์การไปสู่องค์การที่มีขีดสมรรถนะสูง  (Hight  Performance  Organization)  หรือ  HPO  ควรจะมีลักษณะความเป็นเลิศทางการบริหาร  ดังนี้

                                1.  เน้นผู้รับบริการ  (Customer  Driven)  ทำอย่างไรให้คนมาใช้บริการมาก ๆ

                                2.  บรรลุภารกิจ  (Mission  Orienteul)  ทำตามสัญญาที่ให้ไว้

                                3.  เรียนรู้ทันโลก  ปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง  (Learning  Organization)  ศึกษาหาความรู้อย่างต่อเนื่องในโลกแห่งการเรียนรู้ตามกระแสโลกาภิวัฒน์

                                4.  ใช้เทคโนโลยีให้เป็นประโยชน์  (Technology  based)  ในการบริหารรวมทั้งความคิดความอ่าน

                                5.  มีส่วนร่วม  (Empowerment  Participation)  เป็นการกระจายไปยังจุดที่ต้องใช้อำนาจนั้น  เพื่อให้เกิดความรวดเร็ว  สะดวก  สำหรับการมีส่วนร่วมเพื่อร่วมคิด  ร่วมทำ  ร่วมตัดสินใจ

                                6.  เป็นเครือข่าย  (Networking  Organization)  องค์การที่มีสมรรถนะสูงต้องสามารถเป็นเครือข่ายให้กับหน่วยงานต่าง ๆ  ได้

                                7.  รับผิดชอบต่อผลงาน  (Account  Organization) 

6.  คุณภาพชีวิตการทำงาน  (Quality  of  work  Life : QWL)  คืออะไร  มีความสำคัญอย่างไรบ้าง

            คุณภาพชีวิตการทำงาน  (QWL)  คือ  สิ่งต่าง ๆ  ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตการทำงานของแต่ละบุคคลและสภาพแวดล้อมในการทำงานภายในองค์การ  แต่มีเป้าหมายสำคัญร่วมกันอยู่ที่การลดความตึงเครียดทางจิตใจ  เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในงานที่ทำ  ซึ่งถือเป็นกลไกสำคัญในการปรับปรุงคุณภาพชีวิตในสถานที่ทำงาน

            ความสำคัญของ  QWL

            QWL   มีความสำคัญอย่างยิ่ง  กล่าวคือเมื่อแต่ละบุคคลได้ใช้ชีวิตการทำงานกับสิ่งที่ตนเองพอใจ  ก็จะทำให้มีสภาพจิตใจและอารมณ์ที่ดี  ซึ่งส่งผลให้ทำงานดีตามไปด้วย  จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่แต่ละองค์การแสวงหาแนวทางที่จะให้เกิดความพึงพอใจระหว่างคนทำงานและองค์การเพื่อให้องค์การสามารถบรรลุเป้าหมายสูงสุด  เพราะเมื่อเกิดความไม่พอใจกันขึ้นระหว่างคนทำงานกับองค์การย่อมเกิดความขัดแย้งและต่อต้าน  คุณภาพชีวิตการทำงานย่อมตกต่ำลง  ผลที่ตามมาคือความเสียหายอย่างใหญ่หลวงขององค์การไม่สามารถบรรลุเป้าหมายที่วางไว้และส่งผลกระทบต่อสังคมและประเทศชาติ

 

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 323310เขียนเมื่อ 26 ธันวาคม 2009 23:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 23:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

การบริหารโรงเรียนสู่ความเป็นเลิศ อาจต้องผ่านอุปสรรคที่จะต้องฝ่าฟันอย่าท้อแท้ ดังนั้น ใจของผู้บริหารจะต้องอดทนและยึดมั่นกับอุดมการณ์ ขอเป็นกำลังใจให้ครับผมมีอะไรก็เมลล์ไปแลกเปลี่ยนความคิดได้ที่ [email protected]ครับผม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท