เปตอง


เปตอง

เปตอง




หลักการทั่วไป

ข้อ 1.  เปตองเป็นกีฬาที่เล่นโดยมีผู้เล่น 2 ฝ่าย และแบ่งการเล่นออกได้  ดังนี้
  - ผู้เล่นฝ่ายละ 3 คน (Triples)
  - ผู้เล่นฝ่ายละ 2 คน (Doubles)
  - ผู้เล่นฝ่ายละ 1 คน (Single)
    1.1  ในการเล่ยฝ่ายละ 3 คนผู้เล่นแต่ละคนต้องมีลูกเปตองคนละ 2 ลูก
    1.2  ในการเล่นฝ่ายละ 2 คนผู้เล่นแต่ละคนต้องมีลูกเปตองคนละ 3 ลูก
    1.3  ในการเล่นฝ่ายละ 1 คนผู้เล่นแต่ละคนต้องมีลูกเปตองคนละ 3 ลูก
    1.4  ห้ามจัดให้มีการเล่นนอกเหนือจากกฎที่ได้กำหนดไว้ในข้อ 1 นี้

ข้อ 2.  ลูกเปตองที่ใช้เล่นต้องได้รับการรับรองจากสหพันธ์เปตองนานาชาติหรือสมาคมสหพันธ์เปตองแห่งประเทศไทยฯ และต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้
  ก. เป็นโลหะ
  ข. มีเส้นผ่านศูนย์กลางระหว่าง 7.05-8.00 เซนติเมตร
  ค. มีน้ำหนักระหว่าง 650 - 800 กรัม จะต้องมีเครื่องหมายของโรงงานผู้ผลิต ตัวเลขแสดงน้ำหนักและเลขรหัส ปรากฏบนลูกเปตอง อย่างชัดเจน
  ง. เป็นลูกเปตองที่ผลิตจากโรงงานที่ได้รับการรับรองจากสหพันธ์ฯ และห้ามเปลี่ยนแปลงสภาพเดิม ไม่ว่าจะใช้ตะกั่วบัดกรี หรือนำเอาดินทราย มาติดเพิ่มหรือใส่ลงในลูกเปตองในลักษณะที่มีเจตนาส่อไปในทางทุจริตแต่อนุญาตให้เจ้าของสลักชื่อ หรือเครื่องหมายบนลูกเปตอง
    2.1 ผู้เล่นที่ฝ่าฝืนหรือละเมิดกฎข้อ 2(ง) จะถูกลงโทษให้ออกจากการแข่งขัน
    2.2 ลูกเปตองที่ถูกเปลี่ยนแปลงสภาพเดิม ผู้กระทำผิดจะถูกลงโทษดังนี้
      ก. กรณีปลอมแปลงลูกเปตองผู้กระทำผิดจะถูกถอนใบอนุญาต(บัตรประจำตัวนักกีฬา) 15 ปี และอาจถูก ลงโทษจากคณะกรรมการวินัยอีกด้วย
      ข. กรณีใช้ความร้อนเพื่อดัดแปลงสภาพของลูกเปตอง ผู้กระทำผิดจะถูกถอนใบอนุญาต (บัตรประจำตัว นักกีฬา) 2 ปี และห้ามเข้าทำการแข่งขันชนะเลิศแห่งชาติ และนานาชาติเป็นระยะเวลา 3 - 5 ปี
    2.3 กรณีหนึ่งกรณีใดที่ได้ระบุไว้ใน ข้อ 2.2 (ก) และ(ข) ถ้าผู้เล่นได้ยืมลูกเปตองจากผู้อื่นมาเล่น เจ้าของลูกเปตองผู้ให้ยืม จะถูกลงโทษภาคทัณฑ์เป็นระยะเวลา 2 ปี
    2.4 ถ้าลูกเปตองนั้นมิได้ถูกกระทำทุจริต แต่เนื่องจากลูกเปตองนั้นเก่ามากหรือมีการผิดพลาดจากโรงงานผู้ผลิตและเมื่อ ตรวจสอบแล้วไม่ได้ลักษณะตามที่ได้กำหนดไว้ในข้อ 2 (ก),(ข),และ(ค) จะต้องเปลี่ยนลูกเปตองนั้นทันทีและอาจเปลี่ยนแปลงเกมส์การเล่นใหม่
    2.5 เพื่อประโยชน์ของฝ่ายตน ก่อนทำการแข่งขันทุกครั้ง ผู้เล่นทั้งสองฝ่ายควรตรวจสอบลูกเปตองของตน และฝ่ายตรง ข้ามให้ถูกต้องตามเงื่อนไขที่ได้กำหนดไว้ในข้อ 2(ก),(ข)และ(ค)
    2.6 ในกรณีที่มีการผ่าลูกเปตองเพื่อตรวจสอบ ถ้าลูกเปตองนั้นมิได้ถูกกระทำการทุจริต ฝ่ายประท้างจะต้องรับผิดชอบชดใช้ หรือเปลี่ยนลูกเปตองนั้นให้แก่ฝ่ายเสียหายและเจ้าหองลูกเปตองไม่มีสิทธิ์ที่จะเรียกร้องค่าเสียหายใดๆอีก
    2.7 ในระหว่างการแข่งขัน ผู้ตัดสินและกรรมการชี้ขาดอาจตรวจสอบลูกเปตองของผู้เล่นทุกคนได้ทุกเวลา
    2.8 การประท้วงของนักกีฬาว่าด้วยเรื่องการตรวจสอบลูกเปตองจะกระทำได้ในระหว่างการเล่น 2 เที่ยวแรกเท่านั้น
    2.9 กลังจากเล่นเที่ยวที่ 3 แล้วถ้ามีการประท้วงเกี่ยวกับลูกเปตองของฝ่ายตรงข้ามเมื่อตรวจสอบแล้วพบว่าลูกเปตอง นั้นไม่ผิดกติกาแต่อย่างใดฝ่ายที่ประท้วงจะถูกปรับ 3 คะแนนโดยนำไปเพิ่มในป้ายคะแนนฝ่ายตรงข้าม
    2.10 ลูกเป้าต้องทำด้วยไม้หรือใยสังเคราะห์ มีเส้นผ่านศูนย์กลางระหว่าง 25 - 35 ม.ม. และอาจทาสีได้ แต่ต้องสามารถ มองเห็นได้ชัดเจนในขอบเขตของสนาม

ข้อ 3.  ก่อนเริ่มการแข่งขัน หากกรรมการผู้ตัดสินหรือผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามขอตรวจสอบใบอนุญาต (บัตรประจำตัวนักกีฬา) ผู้เล่นนั้นๆจะต้องแสดงให้ดูทันที ใบอนุญาต(บัตรประจำตัวนักกีฬา)ทุกประเภทต้องออกดดยสมาคมสหพันธ์เปตองแห่งประเทศไทยฯมีรูปถ่ายขนาด 1 นิ้ว มีลายเซ็นของผู้ถือบัตร และต้องมีตราของชมรม หรือสมาคมนั้น ประทับคาบอยู่บนรูปถ่ายด้วย

ข้อ 4.  ห้ามผู้เล่นทุกคนเปลี่ยนลูกเป้าหรือลูกเปตองในระหว่างการแข่งขันเว้นแต่ในกรณีดังนี้
  4.1 ลูกเป้าหรือลูกเปตองหาย หาไม่พบ(กำหนดเวลาในการค้นหา 5 นาที)
  4.2 ถ้าลูกเปตองหนึ่งแตกเป็น 2 ชิ้นหรือหลายชิ้น ให้ปฏิบัติตามกฎข้อย่อยดังนี้
   ก. ถ้าหมดลูกเปตองเล่นแล้ว ให้นับคะแนนจากชิ้นที่ใหญ่ที่สุด
   ข. ถ้ายังมีลูกเปตองเหลือเล่นอยู่ ให้นำลูกเปตองอื่นที่มีลักษณะใกล้เคียงกันมาเปลี่ยนทันทีโดยให้นำมาวางแทนที่ตำแหน่งชิ้นใหญ่ ที่สุดของลูกเปตองที่แตกนั้นแล้วเล่นต่อไปตามปกติกฎข้อ 4.2 นี้ ให้ใช้กับลูกเป้าด้วย

วิธีการเล่น

ข้อ 5.  เปตองเป็นกีฬาที่เล่นได้กับสนามทุกสภาพ ยกเว้นพื้นคอนกรีตพื้นไม้ และพื้นดินที่มีหญ้าขึ้นสูงโดย มีคณะกรรมการจัดการแข่งขันหรือผู้ตัดสินเป็นผู้กำหนด ผู้เล่นทุกทีมต้องเล่นในสนามที่กำหนดให้ สำหรับการแข่งขันชิงชนะเลิศระดับชาติ และนานาชาติ สนามต้องมีขนาดกว้าง 4 เมตร ยาว 15 เมตร เป็นอย่างน้อย
  5.1 ส่วนการแข่งขันอื่นๆ สมาคมสหพันธ์ฯ อาจอนุโลมให้เปลี่ยนแปลงขนาดของสนามได้ตามความจำเป็นและเหมาะสมแต่ต้องมีขนาด กว้าง 3.50 เมตร และยาว 13 เมตร เป็นอย่างน้อย
  5.2 เกมส์หนึ่งกำหนดให้ใช้ 13 คะแนน สำหรับการแข่งขันในรอบแรกและรอบต่อๆไป (จะใช้เพียง 11 คะแนนก็ได้) สำหรับรอบชิงชนะเลิศ ในระดับนานาชาติ หรือแห่งชาติให้ใช้ 15 คะแนน

ข้อ 6.  ผู้เล่นทุกคนต้องลงสู่สนามแข่งขันตามเวลาที่กำหนดให้ และทำการเสี่ยงว่าฝ่ายใดจะเป็นฝ่ายโยนลูกเป้า
  6.1 ผู้เล่นคนหนึ่งคนใดในทีมซึ่งเป็นฝ่ายชนะในการเสี่ยง เป็นผู้โยนลูกเป้าเมื่อเลือกจุดเริ่มแล้วให้เขียนวงกลมบนพื้นมีขนาดพอที่เจ้าทั้งสองข้าง เข้าไปยืนอยู่ได้ (เส้นผ่านศูนย์กลาง ระหว่าง 0.35-0.50 เมตร) วงกลมนั้นจะต้องห่างจากสิ่งกีดขวางต่างๆ และเส้นเขตสนามไม่น้อยกว่า 1 เมตร สำหรับการแข่ง ขันในสภาพสนามที่ไม่มีขอบเขตของสนามให้เขียนวงกลมห่างจากวงกลมของสนามอื่นไม่น้อยกว่า 2 เมตร
  6.2 ผู้ที่เตรียมเล่น จะต้องเข้าไปยืนอยู่ภายในวงกลมห้ามเหยียบเส้นรอบวงห้ามยกเท้าพ้นพื้น และห้ามออกจากวงกลมก่อนที่ลูกเปตองจะตกถึงพื้นส่วน ส่วนอื่นของร่างกายจะถูกพื้นนอกวงกลมไม่ได้เว้นแต่คนขาพิการซึ่งได้รับอนุญาตเป็นกรณีพิเศษให้วางเท้าข้างเดียวในวงกลมได้ ส่วนนักกีฬาพิการที่ต้องนั่งรถเข็น ให้ ขีดวงกลมรอบล้อรถเข็นได้และที่วางเท้ารถเข็นต้องให้อยู่สูงเหนือขอบวงกลม
  6.3 ผู้เล่นคนหนึ่งคนใดในทีมซึ่งเป็นผู้โยนลูกเป้า ไม่บังคับว่าจะต้องเป็นผู้โยนลูกเปตองลูกแรกเสมอไป
  6.4 ในกรณีที่สนามไม่ดี (ชำรุด) ห้ามผู้เล่นตกลงกันเองไปแข่งขันสนามอื่นโดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้ตัดสิน

ข้อ 7.  ลูกเป้าที่โยนไปแล้วถือว่าดีจะต้องมีกฎเกณฑ์ดังนี้
  7.1 มีระยะห่างระหว่างขอบวงกลมด้านใกล้ที่สุดถึงลูกเป้า
   ก. ไม่น้อยกว่า 4 เมตร และไม่เกิน 8 เมตร สำหรับเด็กเล็ก (อายุไม่เกิน 12 ปี)
   ข. ไม่น้อยกว่า 5 เมตร และไม่เกิน 8 เมตร สำหรับยุวชน (อายุระหว่าง 13-14 ปี)
   ค. ไม่น้อยกว่า 6 เมตร และไม่เกิน 10 เมตร สำหรับเยาวชน (อายุระหว่าง 15-17 ปี)
   ง. ไม่น้อยกว่า 6 เมตร และไม่เกิน 10 เมตร สำหรับผู้ใหญ่ (ไม่จำกัดอายุ)
  7.2 วงกลมต้องอยู่ห่างจากสิ่งกีดขวางต่างๆ และเส้นเขตสนามหรือเส้นฟาล์วไม่น้อยกว่า 1 เมตร
  7.3 ตำแหน่งลูกเป้าต้องอยู่ห่างจากสิ่งกีดขวางต่างๆ และเส้นเขตสนามไม่น้อยกว่า 1 เมตร
  7.4 ลูกเป้าจะต้องอยู่ในตำแหน่งที่มองเป็นได้อย่างชัดเจน ขณะยืนตัวตรงอยู่ในวงกลม(ถ้ามีการโต้แย้ง ในกรณีนี้ผู้ตัดสินเป็นผู้ชี้ขาด)
  7.5 การโยนลูกเป้าในเที่ยวต่อๆ ไปให้เขียนวงกลมรอบตำแหน่งที่ลูกเป้าอยู่ในเที่ยวที่แล้ว เว้นแต่กรณีดังนี้
   ก. วงกลมมีระยะห่างจากสิ่งกีดขวางและเส้นเขตสนามน้อยกว่า 1 เมตร ในกรณีนี้ผู้เล่นต้องเขียนวงกลมให้ห่างจากสิ่งกีดขวางและเส้น ขอบสนามตามที่กติกาได้กำหนดไว้
   ข. โยนลูกเป้าไม่ได้ระยะตามที่กติกากำหนดไว้ แม้จะโยนไปในทิศทางใดก็ตาม กรณีนี้ผู้เล่นต้องถอยหลังตามแนวตรง (ตั้งฉาก)จากตำแหน่ง เดิมของลูกเป้าในเที่ยวที่แล้วจนกว่าจะได้ระยะในการโยนตามที่กติกากำหนดไว้ แต่ทั้งนี้วงกลมนั้นจะถอยหลังได้ไม่เกิน 11 เมตร นับจากเส้นสนามด้านบน จนถึงเส้นขอบวงกลมด้านใกล้สุด
   ค. ลูกเป้าที่อยู่ในระยะการโยนหรือเล่นได้ แต่ผู้เล่นที่มีสิทธิ์โยนลูกเป้าไม่ประสงค์จะเล่นในระยะนั้นๆ กรณีนี้ผู้เล่นสามารถถอยหลังตาม แนวตรง(ตั้งฉาก)จากตำแหน่งเดิมของลูกเป้าในเที่ยวที่แล้วนั้นได้ตามความพอใจ แต่ทั้งนี้วงกลมนั้นจะถอยหลังได้ไม่เกิน 11 เมตร นับจากเส้นสนามด้านบน จนถึงเส้นขอบวงกลมด้านใกล้สุด
   ง. ถ้าผู้เล่นฝ่ายเดียวกัน โยนลูกเป้าไปแล้ว 3 ครั้ง ยังไม่ได้ดีตามกติกาที่กำหนด จะต้องเปลี่ยนให้ผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามเป็นผู้โยน ซึ่งมีสิทธิ์โยนได้ 3 ครั้งเช่นเดียวกัน และอาจย้ายวงกลมถอยหลังได้ตามแนวตรง(ตั้งฉาก)แต่ทั้งนี้วงกลมนั้นจะถอยหลังได้ไม่เกิน 11 เมตร นับจากเส้นสนามด้านบนจนถึงเส้นขอบวงกลมด้านใกล้ สุด วงกลมที่เขียนขึ้นใหม่นั้นจะเปลี่ยนแปลงอีกไม่ได้แม้ว่าผู้เล่นของทีมหลังนี้จะโยนลูกเป้าไม่ดีทั้ง 3 ครั้งก็ตาม
   จ. ถึงแม้ทีมที่โยนลูกเป้า 3 ครั้งแรกโยนไม่ได้ดีตามที่กติกากำหนดก็ตามแต่ทีมที่โยนลูกเป้าครั้งแรกนั้นยังมีสิทธิ์เป็นฝ่ายโยนลูกเปตอง ลูกแรกอยู่

ข้อ 8.  ลูกเป้าที่โยนไปแล้วถูกผู้ตัดสิน ผู้เล่น ผู้ดู สัตว์ หรือสิ่งที่เคลื่อนไหวอื่นๆ แล้วหยุดให้นำมาโยนใหม่ โดยไม่นับรวมอยู่ในการโยน 3 ครั้งที่ได้กำหนดไว้
  8.1 หลังจากการโยนลูกเป้าและลูกเปตองลูกแรกไปแล้ว ฝ่ายตรงข้ามยังมีสิทธิ์ประท้วงว่าด้วยตำแหน่งของลูกเป้านั้นได้ ถ้าการประท้วงนั้นถูกต้อง ให้เริ่มโยนลูกเป้าและลูกเปตองใหม่
  8.2 ถ้าฝ่ายตรงข้ามได้โยนลูกเปตองไปด้วยแล้ว 1 ลูก ให้ถือว่าตำแหน่งลูกเป้านั้นดี และไม่มีสิทธิ์ประท้วงใดๆ ทั้งสิ้น

ข้อ 9.  ลูกเป้าที่โยนไปแล้วถือว่าฟาล์วมี 5 กรณี ดังนี้
  9.1 เมื่อลูกเป้าที่โยนไปแล้วไม่ได้ตำแหน่งที่ถูกต้องตามที่กำหนดไว้ในข้อ 7
  9.2 เมื่อลูกเป้าเคลื่อนที่ออกนอกเส้นฟาล์ว แต่ลูกเป้าคาบเส้น ยังถือว่าดีอยู่ลูกเป้าที่ถือว่าฟาล์ว คือลูกเป้าที่ได้ออกเส้นฟาล์วเท่านั้น
  9.3 เมื่อลูกเป้าเคลื่อนที่ไปแล้ว ผู้เล่นไม่สามารถมองเห็นจากวงกลมตามที่กำหนดไว้ในข้อ 7.4 แต่ถ้าลูกเป้าถูกลูกเปตองบังอยู่ไม่ถือว่าฟาล์ว ทั้งนี้ผู้ตัดสินมีสิทธิ์ที่จะยกลูกเปตองที่บังอยู่ออกชั่วคราวเพื่อตรวจสอบว่า ลูกเป้านั้นมองเห็นได้ชัดเจนหรือไม่
  9.4 เมื่อลูกเป้าเคลื่อนที่ไปมีระยะห่างจากวงกลมเกินกว่า 20 เมตร หรือน้อยกว่า 3 เมตร
  9.5 เมื่อลูกเป้าเคลื่อนที่ไปแล้ว หาไม่พบ ภายใน 5 นาที

ข้อ 10.  ก่อนหรือหลังการโยนลูกเป้าห้ามผู้เล่นปรับพื้นที่ หรือเคลื่อนย้ายสิ่งต่างๆ เช่น กรวด หิน ดิน ทราย ใบไม้ ฯลฯ ในบริเวณสนามแข่งขันโดยเด็ดขาด เว้นแต่ผู้เตรียมตัวจะลงเล่นเท่านั้นมีสิทธิ์ที่จะปรับสนามที่มีหลุมซึ่งเกินจากการโยนลูกเปตองของผู้เล่น คนที่แล้วและอาจใช้ลูกเปตองปรับหลุมนั้นได้ไม่เกิน 3 ครั้ง ผู้เล่นที่ฝ่าฝืนกฎจะต้องถูกลงโทษดังนี้
   10.1 ถูกเตือน
   10.2 ปรับลูกที่เล่นไปแล้วนั้นหรือลูกที่กำลังจะเล่นเป็นลูกฟาล์ว
   10.3 ปรับเฉพาะผู้กระทำผิดให้งดเล่น 1 เที่ยว
   10.4 ปรับเป็นแพ้ทั้งทีม
   10.5 ปรับให้แพ้ทั้ง 2 ทีม ถ้ากระทำผิดเหมือนกัน หรือสมรู้ร่วมคิดกัน

ข้อ 11.  ในระหว่างการเล่นแต่ละเที่ยวหากมีใบไม้ กระดาษหรือสิ่งอื่นๆมาบังลูกเป้าโดยบังเอิญให้เอาออกได้
   11.1 เมื่อลูกเป้าหยุดนิ่งแล้ว และเคลื่อนที่ไปใหม่โดยแรงลมพัด หรือจากการลาดเอียงของพื้นสนาม จะต้องนำกลับมาวางที่ตำแหน่งเดิม
   11.2 เมื่อลูกเป้าเคลื่อนที่โดยอุบัติเหตุอันเกิดขึ้นจากผู้ตัดสิน ผู้ดู สัตว์ สิ่งเคลื่อนไหวอื่นๆ รวมทั้งลูกเป้าหรือลูกเปตองที่เคลื่อนที่มาจาก สนามอื่นให้นำลูกเป้านั้นมาวางที่ตำแหน่งเดิมทั้งนี้ต้องมีเครื่องหมายกำหนดจุดเดิมของลูกเป้า
   11.3 เพื่อหลีกเลี่ยงการประท้วงทั้งปวง ผู้เล่นควรทำเครื่องหมายบนพื้นสนามตามตำแหน่งของลูกเป้าหรือลูกเปตองไว้มิฉะนั้นจะไม่มี สิทธิ์ประท้วงใดๆ ทั้งสิ้น
   11.4 ลูกเป้าที่อยู่บนพื้นสนามซึ่งมีน้ำขังอยู่ถือว่าดี หากลูกเป้านั้นยังไม่ลอยบนน้ำ

ข้อ 12.   ในระหว่างการเล่นแต่ละเที่ยวหากลูกเป้าเคลื่อนที่ไปอยู่อีกสนามหนึ่ง ให้ถือว่าลูกเป้านั้นยังดีอยู่
   12.1 ถ้าสนามนั้นมีการแข่งขันอยู่ฝ่ายที่ต้องใช้ลูกเป้านั้นจะต้องหยุดรอเพื่อคอยให้ผู้เล่นที่กำลังเล่นอยู่ในสนามนั้นเล่นจบก่อน
   12.2 ผู้เล่นที่มีปัญหาตามข้อ 12.1 จะต้องแสดงออกถึงความมีน้ำใจความอดทนและความเอื้ออารีย์ต่อกัน

ข้อ 13.  ในระหว่างการเล่นแต่ละเที่ยว ถ้าลูกเป้าเกิดฟาล์วขึ้น ให้ปฏิบัติตามกฎข้อย่อยดังนี้
   13.1 ถ้าผู้เล่นทั้งสองฝ่ายมีลูกเปตองเหลือเล่นอยู่การเล่นเที่ยวนั้น ถือว่าโมฆะ ต้องเริ่มเล่นใหม่ที่ด้านตรงข้าม
   13.2 ถ้าฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดมีลูกเปตองเหลือผยู่เพียงฝ่ายเดียว ฝ่ายนั้นจะได้คะแนนเท่ากับจำนวนลูกเปตองที่เหลืออยู่โดยไม่ต้องเล่น และจะเริ่มเล่นใหม่ที่ด้านตรงข้าม
   13.3 ถ้าทั้งสองฝ่ายหมดลูกเปตองเหมือนกัน ให้เริ่มเล่นใหม่ที่ด้านตรงข้ามโดยให้ทีมที่ได้คะแนนเที่ยวที่แล้วเป็นฝ่ายโยนลูกเป้า

ข้อ 14.  ลูกเป้าที่ถูกยิงแล้วเคลื่อนที่ไปจากตำแหน่งเดิม
   14.1 ถ้าลูกเป้าที่ถูกยิงแล้วเคลื่อนที่ไปถูกผู้ดู หรือผู้ตัดสินแล้วหยุดให้ลูกเป้านั้นอยู่ในตำแหน่งใหม่
   14.2 ถ้าลูกเป้าถูกยิงแล้วเคลื่อนที่ไปถูกผู้เล่นคนหนึ่งคนใดแล้วหยุด ฝ่ายตรงข้ามที่ทำให้ลูกเป้าหยุดมีสิทธิ์เลือกปฏิบัติตามกฎข้อย่อยดังนี้
   ก. ให้ลูกเป้าอยู่ตำแหน่งใหม่
   ข. นำลูกเป้ามาวางที่ตำแหน่งเดิม
   ค. วางลูกเป้าตามแนวยาวตรงระหว่างตำแหน่งเดิมกับตำแหน่งใหม่แต่ต้องอยู่ในพื้นที่ที่กำหนดไว้ในกติกาแล้วเริ่มเล่นต่อไปตามปกติ
   14.3 กรณีตามข้อ 14.2 (ข) และ(ค) จะกระทำได้ต่อเมื่อผู้เล่นได้ทำเครื่องหมายที่ตำแหน่งลูกเป้าไว้เท่านั้นมิฉะนั้นจะต้องให้ลูกเป้านั้นอยู่ที่ตำแหน่งใหม่

ข้อ 15.  ในระหว่างการเล่นแต่ละเที่ยวหากลูกเป้าเคลื่อนที่ไปอยู่ในสนามอื่นถือว่ายังดีอยู่ ในเที่ยวต่อไป จะต้องกลับมาเล่นที่สนามเดิมด้านตรงข้ามแต่ต้องเป็นไปตามที่กำหนดไว้ในกติกาข้อ 7

ลูกเปตอง


ข้อ 16.  ผู้เล่นคนหนึ่งคนใดในทีมที่ชนะในการเสี่ยงหรือชนะในเที่ยวที่แล้วเป็นผู้โยนลูกเป้า และลูกเปตองลูกแรก
   16.1 ห้ามผู้เล่นใช้เครื่องช่วยอื่นใดหรือแม้แต่ขีดเส้นบนพื้นสนามเพื่อเป็นที่สังเกตุจุดตกของลูกเปตองที่ตนจะโยนและไม่อนุญาตให้ ผู้เล่นถือลูกเปตองหรือสิ่งอื่นในมืออีกข้างหนึ่งในขณะโยนลูกเปตองลูกสุดท้ายของตน (ยกเว้นผ้าเช็ดลูกเปตอง)
   16.2 ห้ามทำให้ลูกเปตองหรือลูกเป้าเปียกน้ำ (ยกเว้นกรณีฝนตก)
   16.3 ถ้าลูกเปตองลูกแรกที่เล่นไปแล้วเกิดฟาล์ว ต้องเปลี่ยนให้ผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามเป็นผู้เล่น และถ้าลูกที่โยนไป ยังฟาล์วอยู่จะสลับกันโยน ฝ่ายละ 1 ลูก จนกว่าฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดโยนลูกเปตองได้ดีแล้ว จึงเล่นต่อไปตามปกติ
   16.4 ฝ่ายใดที่ทำให้ลูกเปตองในสนามฟาล์วทั้งหมดโดยไม่มีลูกเปตองเหลืออยู่ในสนาม ฝ่ายที่ทำให้ลูกเปตองฟาล์วจะต้องเป็นฝ่ายเล่น ลูกต่อไป ทั้งนี้หากมีปัญหาให้ใช้กติกาข้อ 29 เป็นหลัก

ข้อ 17.  เมื่อผู้เล่นคนหนึ่งคนใต ได้เข้าไปยืนอยู่ในวงกลมเพื่อเตรียมเล่นแล้ว ผู้ดูและนักกีฬาทุกคนต้องอยู่ใน ความสงบ
     17.1 ห้ามผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามเดินหรือแสดงท่าทางอย่างหนึ่งอย่างใดที่เป็นการรบกวนสมาธิของผู้ที่กำลังเล่นเว้นแต่ผู้ร่วมทีมเท่านั้น ที่มีสิทธิ์เข้าไปอยู่ในสนาม เพื่อแนะแนวทางการโยนลูกเปตองของฝ่ายตนได้
     17.2 ผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามจะต้องยืนอยู่ด้านข้าง หรือด้านหลังของผู้เตรียนมเล่นและจะต้องอยู่ห่างไม่น้อยกว่า 2 เมตร
     17.3 ผู้เล่นที่ฝ่าฝืนกฎข้อ 17 ผู้ตัดสิน จะต้องเตือนก่อน 1 ครั้ง และถ้ามีการฝ่าฝืนซ้ำอีก ผู้ตัดสินอาจพิจารณาให้ออกจากการ แข่งขันก็ได้

ข้อ 18.  ลูกเปตองทุกลูกที่โยนไปแล้ว ห้ามนำมาโยนใหม่เว้นแต่ลูกเปตองที่โยนไปแล้วถูกหยุด หรือเปลี่ยน ทิศทางโดยบังเอิญ เนื่องจากถูกลูกเปตองหรือลูกเป้าซึ่งเคลื่อนที่มาจากสนามอื่นหรือถูกสัตว์และสิ่งเคลื่อนไหวอื่นๆ กรณีนี้ให้นำลูกเปตองกลับมาโยน ใหม่ได้
   18.1 ห้ามทดลองโยนลูกเปตองในระหว่างการแข่งขัน
   18.2 เมื่อคณะกรรมการจัดการแข่งขันได้กำหนดเส้นเขตสนามแต่ละสนามเรียบร้อยแล้ว ผู้เล่นแต่ละทีมจะต้องลงทำการแข่งขันใน สนามที่กำหนดให้ ในระหว่างการเล่นหากลูกเปตองออกนอกสนามให้ถือว่ายังดีอยู่ (เว้นแต่ที่ได้กำหนดไว้ในข้อ 19)
   18.3 ในการณีที่สนามแข่งขันทั้งหมดมีขอบกั้นอยู่ ขอบกั้นนั้นจะต้องอยู่รอบนอกขอบเส้นฟาล์ว และจะต้องห่างกันไม่น้อยกว่า 0.30 เมตร
   18.4 เส้นฟาล์วจะต้องอยู่รอบนอกเส้นเขตสนามและจะต้องห่างกัน 1 เมตร เป็นอย่างน้อย และไม่เกิน 4 เมตร เป็นอย่างมาก

ข้อ 19.  ลูกเปตองทุกลูกที่กลิ้งผ่านเส้นฟาล์วและย้อนกลับเข้ามาในสนามถือว่าเป็นลูกฟาล์วแต่ถ้าลูกเปตอง ทับอยู่บนเส้นฟาล์วยังไม่ผ่านเลยออกไปให้ถือว่าเป็นลูกดีอยู่ ลูกจะฟาล์วก็ต่อเมื่อได้ผ่านพ้นเส้นเขตสนาม และเส้นฟาล์วออกไปทั้งลูก
   19.1 ถ้าลูกเปตองผ่านพ้นเส้นฟาล์วและไปกระทบกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งหรือจากความลาดเอียงของพื้นที่ทำให้ลูกเปตองนั้นย้อนกลับ เข้ามาในสนามอีก ถือว่าเป็นลูกฟาล์ว และทุกสิ่งที่ถูกเคลื่อนที่โดยลูกเปตองที่ฟาล์วนั้นให้กลับมาวางที่ตำแหน่งเดิมทั้งหมด ส่วนสิ่งของที่ไม่อยู่ในการเล่นให้ เอาออกพ้นสนามทันที
   19.2 ลูกเปตองที่ฟาล์วแล้ว ต้องนำออกนอกสนามทันที มิฉะนั้นจะถือว่าเป็นลูกดีหลังจากการโยนลูกเปตองอีกลูกหนึ่งไปแล้ว

ข้อ 20.  ลูกเปตองลูกที่โยนไปแล้วถูกทำให้หยุด ให้ปฏิบัติตามกฎข้อย่อย ดังนี้
   20.1 โดยผู้ดู หรือผู้ตัดสินให้ลูกเปตองนั้นอยู่ในตำแหน่งที่ถูกทำให้หยุด
   20.2 โดยผู้เล่นฝ่ายเดียวกัน ถือว่าเป็นลูกฟาล์ว
   20.3 โดยผู้เล่นฝ่ายตรงข้าม ฝ่ายผู้เล่นจะโยนใหม่ หรือรักษาตำแหน่งที่ลูกเปตองนั้นหยุดก็ได้
   20.4 เมื่อลูกเปตองหนึ่งที่ถูกยิงไปแล้วถูกทำให้หยุดโดยผู้เล่นคนหนึ่งผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามของผู้ที่ทำให้ลูกเปตองนั้นหยุด อาจเลือกเล่น ตามกฎข้อย่อย ดังนี้
   (ก) ให้ลูกเปตองนั้นอยู่ในตำแหน่งที่ถูกทำให้หยุด
   (ข) ให้นำลูกเปตองนั้นมาวางตามแนวตรงระหว่างตำแหน่งเดิมกับตำแหน่งใหม่ตามความพอใจแต่ต้องเป็นตำแหน่งที่สามารถเล่นต่อได้และ ได้ทำเครื่องหมายไว้ก่อนเท่านั้น
   (ค) ผู้เล่นที่มีเจตนาทำให้ลูกเปตองที่เคลื่อนที่หยุดจะถูกปรับให้แพ้ทั้งทีมทันที

ข้อ 21.  เมื่อโยนลูกเปตอง หรือลูกเป้าไปแล้วผู้เล่นทุกคนมีเวลาสำหรับโยนลูกเปตองภายใน 1 นาที โดยเริ่มจับ เวลาตั้งแต่ลูกเป้าหรือลูกเปตองที่เล่นไปแล้วนั้นหยุด หากมีการวัดเกิดขึ้น ให้เริ่มจับเวลาเมื่อการวัดนั้นเสร็จสิ้นลง
   21.1 กฎกำหนดเวลานี้ให้ใช้สำหรับการโยนลูกเป้าทุกครั้งด้วย
   21.2 ผู้เล่นที่ไม่ปฏิบัติตามกฎกำหนดเวลานี้ จะถูกลงโทษตามที่ได้กำหนดไว้ในข้อ 10.

ข้อ 22.  ถ้าลูกเปตองลูกหนึ่งหยุดนิ่งแล้วเคลื่อนที่ไปใหม่ เนื่องจากถูกลมพัดหรือเนื่องจากความลาดเอียงของ สนามก็ตามจะต้องนำลูกเปตองนั้นมาวางที่ตำแหน่งเดิมสำหรับลูกเปตองนั้นมาวางที่ตำแหน่งเดิมสำหรับลูกเปตองที่เคบื่อนที่โดยอุบัติเหตุจากผู้เล่น ผู้ดู สัตว์ สิ่งที่เคลื่อนไหวอื่นๆ ก็จะต้องนำกลับมาวางที่ตำแหน่งเดิมเช่นเดียวกันเพื่อหลีกเลี่ยงการประท้วงทั้งปวง ผู้เล่นทุกคนควรทำเครื่องหมายตาม ตำแหน่งลูกเป้า และลูกเปตองไว้ทั้งหมด

ข้อ 23.  ผู้เล่นที่นำลูกของผู้อื่นไปเล่นจะถูกเตือน 1 ครั้ง และลูกเปตองที่เล่นไปนั้นยังคงถือว่าเป็นลูกดี และต้องนำลูกเปตองของตนไปเปลี่ยนแทนที่ตำแหน่งนั้นทันทีเมื่อการวัดได้สิ้นสุดลง
   23.1 ถ้ามีการกระทำผิดซ้ำในเกมส์เดียวกันให้ถือว่าลูกเปตองนั้นเป็นลูกฟาล์วและทุกสิ้งที่ถูกลูกเปตองนั้นทำให้เคลื่อนที่ไปจะต้อง นำกลับมาวางไว้ที่เดิม
   23.2ก่อนการโยนลูกเปตองทุกครั้งผู้เล่นจะต้องทำความสะอาดลูกเปตองของตน มิให้มีสิ่งหนึ่งสิ่งใดติดอยู่มิฉะนั้นจะถูกลงโทษตามที่ กำหนดไว้ในข้อ 10.

ข้อ 24.  ลูกเปตองทุกลูกที่โยนไปผิดเงื่อนไขตามกติกา ถือว่าเป็นลูกฟาล์วและทุกสิ่งที่ถูกลูกเปตองนั้นทำให้เคลื่อน ที่ไปจะต้องนำมาวางที่ตำแหน่งเดิมกฎนี้ให้ใช้สำหรับลูกเปตองที่ผู้เล่นยืนผิดวงกลมซึ่งไม่ใช่วงกลมเดิมที่โดยลูกเป้าที่ถูกต้อง (ทีมที่โยนลูกเป้าต้องลบรอยขีด วงกลมเก่าที่อยู่บริเวณใกล้เคียงออกให้หมด)
   ในกรณีเช่นนนี้ฝ่ายตรงข้ามมีสิทธิ์ปฏิบัติตามกฎว่าด้วยการได้เปรียบและยอมให้ลูกเปตองที่โยนไปนั้นเป็นลูกดีก็ได้ ถ้าเห็นว่า ลูกของฝ่ายตนได้เปรียบคู่ต่อสู้

การวัดระยะและการวัดคะแนน


ข้อ 25.  ในการวัดคะแนนอนุญาตให้โยกย้ายลูกเปตองหรือสิ่งกีดขวางต่างๆ ที่อยู่ระหว่างลูกเป้าและลูกเปตอง ที่เกี่ยวข้องได้แต่ต้องทำเครื่องหมายที่ตำแหน่งสิ่งนั้น ๆ ไว้ก่อนโยกย้ายเมื่อการวัดคะแนนเสร็จสิ้นลง ให้นำทุกสิ่งที่โยกย้ายไปนั้นกลับมาวางที่ตำแหน่งเดิม ทั้งหมด ถ้าสิ่งกีดขวางที่มีปัญหานั้นไม่อาจโยกย้ายได้ ให้ใช้วงเวียนทำการวัด

ข้อ 26.  ในการวัดคะแนนระหว่างลูกเปตอง 2 ลูก ซึ่งอยู่ใกล้เคียงกันมากผู้เล่นคนหนึ่งได้วัดไปแล้ว และบอกว่า ฝ่ายตนได้ ผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามมีสิทธิ์ที่จะวัดใหม่ เพื่อความแน่ใจและถูกต้อง (ส่วนอุปกรณ์การวัด ต้องเป็นอุปกรณ์ที่ได้มาตรฐานห้ามวัดโดยการนับระยะ เท้า) เมื่อทั้งสองฝ่ายได้วัดคะแนนแล้วหลายครั้งยังตกลงไม่ได้ต้องให้ผู้ตัดสินเป็นผู้วัดเพื่อตัดสิน และผลการตัดสินถือเป็นที่สิ้นสุดยุติ และหากผู้เล่นฝ่าฝืน กติกาข้อนี้ให้ผู้ตัดสินตักเตือน 1 ครั้ง หากยังฝ่าฝืนอีกให้ปรับเป็นแพ้

ข้อ 27.  เมื่อเสร็จสิ้นการแข่งขันแต่ละเที่ยวลูกเปตองทุกลูกที่ถูกนำออกก่อนการวัดคะแนน ให้ถือว่าเป็นลูกฟาล์ว และไม่มีสิทธิ์โต้แย้งใดๆ ทั้งสิ้น

ข้อ 28.  ถ้าผู้เล่นฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดทำการวัดคะแนนแล้ว ไปทำให้ลูกเป้าหรือลูกเปตองที่มีปัญาหานั้นเคลื่อนที่ จะต้องเป็นฝ่ายเสียคะแนนนั้นไป และในการวัดแต่ละครั้งต้องให้ผู้เล่นของทีมที่ทำให้ลูกเปตองเกิดปัญหา ทำการวัดก่อนทุกครั้งไปในการวัดคะแนนแต่ ละครั้งก่อนทำการวัด ผู้ตัดสินต้องทำการคาดคะเนเสียก่อนว่าลูกใดได้เปรียบและถ้าได้วัดไปแล้ว บังเอิญผู้ตัดสินไปทำให้ลูกเปตองหรือลูกเป้าเคลื่อนที่ ผู้ตัดสินจะต้องทำการวัดใหม่ และภายหลังการวัดปรากฏว่าลูกเปตองที่คาดคะเนว่าชนะยังคงชนะอยู่ ให้กรรมการตัดสินตามความเป็นจริง แต่ถ้าการวัด ครั้งใหม่แล้วปรากฏว่าลูกเปตองที่คาดคะเนว่าจะชนะกลับแพ้ ให้ผู้ตัดสินตัดสินด้วยความเที่ยงธรรม

ข้อ 29.  ในกรณีที่ลูกเปตองของทั้งสองฝ่ายมีระยะห่างจากลูกเป้าเท่ากันหรือติดกับลูกเป้าทั้ง 2 ลูก ให้ปฏิบัติตามกฎ ข้อย่อย ดังนี้
  29.1 ถ้าทั้งสองฝ่ายหมดลูกเปตองเล่นแล้วการเล่นเที่ยวนั้นถือว่าเป็นโมฆะ จะต้องเริ่มเล่นใหม่ที่ด้านตรงข้ามโดยผู้เล่นฝ่ายที่ได้คะแนน ในเที่ยวที่แล้วเป็นผู้โยนลูกเป้า
  29.2 ถ้าฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดมีลูกเปตองเหลือเล่นอยู่เพียงฝ่ายเดียว ฝ่ายนั้นจะต้องเล่นจนหมดลูกเปตองเพื่อทำคะแนนเพิ่มเติมตามจำนวนลูก เปตองที่อยู่ใกล้เป้ามากที่สุด
  29.3 ถ้าทั้งสองฝ่ายยังมีลูกเปตองเหลืออยู่ ฝ่ายที่โยนลูกเปตองที่หลังจะต้องเป็นฝ่ายเล่นลูกต่อไปถ้าลูกเปตองทั้งสองฝ่ายยังเสมอกัน อยู่อีกต้องเปลี่ยนให้อีกฝ่ายหนึ่งเป็นผู้เล่นและต้องสลับกันโยนฝ่ายละ 1 ลูก จนกว่าฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดจะได้คะแนนแล้วเล่นต่อไปตามปกติ

ข้อ 30.  หากมีสิ่งหนึ่งสิงใดเกราะติดกับลูกเปตองหรือลูกเป้าจะต้องเอาสิ้งนั้นออกก่อนการวัดคะแนนทุกครั้ง

ข้อ 31.  การเสนอข้อประท้วงต่อผู้ตัดสินจะกระทำได้ในระหว่างการแข่งขันของแต่ละเกมส์เท่านั้น เมื่อเกมส์การ แข่งขันนั้นๆ ได้สิ้นสุดลงจะไม่มีสิทธิ์ประท้วงใดๆ ทั้งสิ้น เพื่อประโยชน์ของฝ่ายตน ผู้เล่นทุกคนต้องคอยระวังการละเมิดกติกาของฝ่ายตรงข้าม บัตรประจำตัว นักกีฬา รุ่นของผู้เล่น สนามแข่งขัน มาตรฐานของลูกเปตอง เป็นต้น

ข้อ 32.  ในขณะทำการจับสลากและการประกาศผลการจับสลาก ผู้เล่นทุกคนต้องอยู่พร้อมกันที่โต๊ะอำนวยการ หลังจากการประกาศผลไปแล้ว 15 นาทีทีมที่ไม่ได้ลงสนามแข่งขันจะถูกปรับเสียคะแนนให้แก่ฝ่ายตรงข้าม 1 คะแนน
  32.1 หากเกินกำหนดเวลา 15 นาทีไปแล้ว การปรับคะแนนจะทวีเพิ่มขึ้น 1 คะแนนทุกๆ 5 นาที
  32.2 บทลงโทษตามข้อ 32 จะมีผลบังคับหลังจากการประกาศให้เริ่มทำการแข่งขันทุกครั้ง
  32.3 หลังจากประกาศการแข่งขันได้ผ่านพ้นไปแล้ว 1 ชั่วโมง ทีมที่ยังไม่ได้ลงแข่งขันจะถูกปรับให้เป็นผู้แพ้ในเกมส์นั้น
  32.4 ทีมที่มีผู้เล่นไม่ครบจำนวนก็ต้องลงทำการแข่งขันตามเวลากำหนดโดยไม่อนุญาตให้รอผู้ร่วมทีมที่มาล่าช้าและจะเล่นลูกเปตอง ได้ตามจำนวนที่ผู้เล่นมีสิทธิ์เท่านั้น(ตามประเภทที่แข่งขัน)

ข้อ 33.  เมื่อการแข่งขันในเที่ยวนั้นได้เริ่มเล่นไปแล้ว ผู้เล่นที่มาล่าช้าไม่มีสิทธิ์ลงเล่นในเที่ยวนั้นทันที แต่อนุญาตให้ลงเล่นในเที่ยวต่อไปได้
  33.1 เมื่อการแข่งขันในเกมส์นั้น ได้ดำเนินไปแล้ว 1 ชั่วโมง ผู้เล่นที่มาล่าช้าหมดสิทธิ์ลงทำการแข่งขันในเกมส์นั้น
  33.2 ถ้าการแข่งขันนั้นแบ่งเป็นสายจะอนุญาตให้ผู้เล่นที่มาล่าช้าลงแข่งขันในเกมส์ที่ 2 ได้ไม่ว่าผลการแข่งขันในเกมส์แรกจะ แพ้หรือชนะก็ตาม
  33.3 หากทีมที่มีผู้เล่นไม่ครบจำนวนสามารถชนะการแข่งขันในเกมส์นั้นจะอนุญาตให้ผู้เล่นที่มาล่าช้าลงแข่งขันในเกมส์ต่อไปได้ แต่ต้องเป็นผู้เล่นของทีมนั้น และต้อ

คำสำคัญ (Tags): #เปตอง
หมายเลขบันทึก: 323203เขียนเมื่อ 26 ธันวาคม 2009 14:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:07 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ช่อยบอกการบุ้งลูกเปตองหน่อยดั้ยหมยฮะ

จะทัมรายงานส่งฮะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท